ฉันจะทนอยู่ได้อย่างไรกับความเศร้าโศก?
“ผมรู้สึกถูกกดดันมากที่จะระงับความรู้สึกเอาไว้” ไมก์อธิบายเมื่อหวนนึกถึงตอนที่บิดาของเขาเสียชีวิต. สำหรับไมก์ การระงับความโศกเศร้าเป็นสิ่งที่ลูกผู้ชายควรทำ. กระนั้น ภายหลังเขาก็ตระหนักว่าเขาผิด. ดังนั้น เมื่อเพื่อนของไมก์สูญเสียคุณปู่ไปไมก์จึงรู้ว่าจะทำอะไร. เขาบอกว่า “ถ้าเป็นเมื่อสองสามปีที่แล้ว ผมคงตบไหล่เขาและบอกว่า ‘เป็นลูกผู้ชายนะ.’ แต่ตอนนี้ผมแตะแขนเขาแล้วบอกว่า ‘ระบายความรู้สึกออกมาอย่างที่คุณรู้สึกเถอะ. มันจะช่วยให้คุณรับมือกับมันได้. ถ้าคุณอยากให้ผมไป ผมจะไป. ถ้าคุณอยากให้ผมอยู่ ผมจะอยู่. แต่ไม่ต้องกลัวจะแสดงความรู้สึกออกมา.’”
แมรีแอนน์ก็รู้สึกถูกกดดันให้ระงับความรู้สึกเช่นกันเมื่อสามีของเธอตาย. เธอจำได้ว่า “ดิฉันกังวลมากเกี่ยวกับการเป็นแบบอย่างที่ดีแก่คนอื่น ๆ จนดิฉันไม่ยอมให้ตัวเองแสดงความรู้สึกที่แท้จริงออกมา แต่ในที่สุดดิฉันก็เรียนรู้ว่า การพยายามจะแสดงความเข้มแข็งให้คนอื่นเห็นนั้นไม่ได้ช่วยดิฉันเลย. ดิฉันเริ่มวิเคราะห์สภาพการณ์ของตัวเองและบอกว่า ‘ร้องไห้เถอะถ้าเธอต้องร้อง. อย่าพยายามจะเป็นคนเข้มแข็งนักเลย. ระบายความรู้สึกออกมาเถิด.’”
ดังนั้น ทั้งไมก์และแมรีแอนน์แนะนำว่า จงแสดงความโศกเศร้าออกมา! และพวกเขาพูดถูก. เพราะเหตุใด? ก็เพราะการแสดงความโศกเศร้าเป็นการระบายอารมณ์อย่างหนึ่งที่จำเป็น. การระบายความรู้สึกของคุณออกมาสามารถผ่อนความกดดันที่คุณได้รับ. การแสดงอารมณ์ออกมาตามธรรมชาตินั้น ถ้าควบคู่ไปกับความเข้าใจและความรู้ที่ถูกต้อง จะทำให้คุณปรับความรู้สึกของคุณให้มีสัดส่วนที่เหมาะสม.
แน่นอน ไม่ใช่ทุกคนจะแสดงความโศกเศร้าออกมาเหมือนกัน. และปัจจัยต่าง ๆ เช่นผู้เป็นที่รักตายอย่างกะทันหันหรือตายหลังจากเจ็บป่วยมานานอาจมีผลกระทบต่อปฏิกิริยาทางอารมณ์ของผู้ที่ยังอยู่. แต่สิ่งหนึ่งที่ดูเหมือนแน่นอนคือ: การเก็บกดความรู้สึกของคุณเอาไว้อาจเป็นอันตรายทั้งต่อร่างกายและจิตใจได้. เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่าถ้าจะระบายความโศกเศร้าของคุณออกมา. โดยวิธีใด? พระคัมภีร์มีคำแนะนำที่ใช้ได้ผลจริงอยู่หลายข้อทีเดียว.
การระบายความโศกเศร้า—อย่างไร?
การพูดคุย อาจเป็นการระบายที่ช่วยได้มากอย่างหนึ่ง. หลังจากบุตรชายหญิงของท่านสิบคนเสียชีวิต อีกทั้งเรื่องน่าเศร้าอื่น ๆ ที่ท่านประสบ โยบผู้เป็นหัวหน้าครอบครัวในสมัยโบราณกล่าวดังนี้: “ข้าเบื่อชีวิตของข้า ข้าจะร้องทุกข์อย่างไม่ยับยั้ง ข้าจะพูดด้วยจิตใจขมขื่นของข้า.” (โยบ 1:2, 18, 19; 10:1, ฉบับแปล ใหม่) โยบไม่อาจยับยั้งความทุกข์ของท่านได้อีกต่อไป. ท่านจำต้องระบายความรู้สึกนั้นออกมา ท่านจำต้อง “พูด.” ในทำนองคล้ายกัน นักประพันธ์บทละครชาวอังกฤษชื่อเชกสเปียร์เขียนไว้ในเรื่องแม็กเบ็ต ว่า “จงแสดงความโทมนัสออกมาเป็นถ้อยคำ ความโศกเศร้าที่ไม่ได้พูดออกมากระซิบบอกหัวใจที่อัดแน่นและสั่งให้สลาย.”
ดังนั้น การพูดถึงความรู้สึกของคุณกับ “เพื่อนแท้” ซึ่งจะรับฟังอย่างอดทนและด้วยความเห็นอกเห็นใจจะทำให้คลายความเศร้าได้บ้าง. (สุภาษิต 17:17) การพูดเรื่องประสบการณ์และความรู้สึกออกมามักจะทำให้เข้าใจและจัดการกับเรื่องนั้นง่ายขึ้น. และถ้าผู้ฟังเป็นอีกคนหนึ่งที่สูญเสียผู้เป็นที่รักซึ่งได้รับมือกับการสูญเสียของเขาหรือเธออย่างได้ผล คุณอาจสามารถรับรู้ข้อแนะบางอย่างเกี่ยวกับวิธีที่คุณจะรับมือได้. เมื่อลูกของเธอตาย มารดาคนหนึ่งชี้แจงถึงเหตุผลที่การพูดคุยกับอีกคนหนึ่งซึ่งเผชิญการสูญเสียที่คล้ายกันนั้นช่วยได้: “การที่ทราบว่า ใครสักคนได้ผ่านสิ่งเดียวกันมา ได้หลุดพ้นความรู้สึกนั้นมาได้ และทราบว่าเธอยังคงมีชีวิตอยู่และมีสภาพค่อนข้างปกติในชีวิตอีกนั้นเสริมกำลังแก่ดิฉันมาก.”
จะว่าอย่างไรถ้าคุณไม่สะดวกใจจะพูดถึงความรู้สึกของคุณ? หลังจากซาอูลและโยนาธานสิ้นชีวิต ดาวิดได้แต่งเพลงแสดงความรู้สึกอาลัยสุดแสนซึ่งท่านระบายความโศกเศร้าของท่านออกมา. บทประพันธ์อันเต็มไปด้วยความเศร้าโศกนี้ในที่สุดก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งแห่งบทจารึกของพระธรรมซามูเอลฉบับที่สองในคัมภีร์ไบเบิล. (2 ซามูเอล 1:17-27; 2 โครนิกา 35:25) ในทำนองคล้ายกัน บางคนเห็นว่า การแสดงความรู้สึกของตนออกมาด้วยการเขียนนั้นง่ายกว่า. หญิงม่ายคนหนึ่งชี้แจงว่า เธอจะเขียนความรู้สึกของเธอลงไว้ แล้วอีกหลายวันหลังจากนั้นก็อ่านสิ่งที่เธอได้เขียนไว้. เธอพบว่า การทำเช่นนี้เป็นการระบายอารมณ์ที่ช่วยได้มากทีเดียว.
ไม่ว่าโดยการพูดคุยหรือโดยการเขียน การสื่อความถึงความรู้สึกของคุณสามารถช่วยคุณให้ปลดเปลื้องความโศกเศร้าของคุณ. อนึ่ง การทำเช่นนั้นยังสามารถช่วยขจัดความเข้าใจผิดได้ด้วย. มารดาคนหนึ่งซึ่งสูญเสียบุตรอธิบายว่า “สามีดิฉันกับดิฉันได้ยินถึงคู่อื่น ๆ ว่าหย่ากันหลังจากสูญเสียลูก และเราไม่ต้องการให้เรื่องนั้นเกิดขึ้นกับเรา. ดังนั้น เมื่อไรก็ตามที่เรารู้สึกโกรธ อยากจะตำหนิอีกฝ่ายหนึ่ง เราจะพูดคุยกันถึงเรื่องนั้น. ดิฉันคิดว่า เราใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นจริง ๆ ด้วยการพูดคุยกันอย่างนั้น.” ฉะนั้น การระบายความรู้สึกออกมาจะช่วยคุณให้เข้าใจว่า ถึงแม้คุณอาจประสบความสูญเสียอย่างเดียวกัน แต่คนอื่น ๆ อาจแสดงความโศกเศร้าในวิธีต่างออกไป ในแบบของเขาเองและด้วยวิธีของเขาเอง.
อีกสิ่งหนึ่งที่อาจทำให้การคลายความโศกเศร้าง่ายขึ้นคือการร้องไห้. คัมภีร์ไบเบิลบอกว่ามี “วาระสำหรับร่ำไห้.” (ท่านผู้ประกาศ 3:1, 4) แน่นอน ความตายของผู้ที่เรารักย่อมทำให้มีวาระเช่นนั้น. การหลั่งน้ำตาแห่งความโศกเศร้าดูเหมือนเป็นส่วนที่จำเป็นของขั้นตอนการเยียวยา.
โรม 12:15.) คุณก็เช่นกัน ไม่ควรรู้สึกละอายเมื่อคุณร้องไห้. ดังที่เราได้เห็น คัมภีร์ไบเบิลมีตัวอย่างมากมายของชายและหญิงที่มีความเชื่อ รวมทั้งพระเยซูคริสต์ด้วย ซึ่งหลั่งน้ำตาแห่งความโศกเศร้าอย่างเปิดเผยโดยไม่กระดากอายแม้แต่น้อย.—เยเนซิศ 50:3; 2 ซามูเอล 1:11, 12; โยฮัน 11:33, 35.
หญิงสาวคนหนึ่งอธิบายวิธีที่เพื่อนสนิทได้ช่วยเธอให้รับมือเมื่อคุณแม่ของเธอเสียชีวิต. เธอจำได้ว่า “เพื่อนของดิฉันอยู่พร้อมเสมอเพื่อช่วยดิฉัน. เธอร้องไห้กับดิฉัน, พูดคุยกับดิฉัน. ดิฉันจึงเผยความรู้สึกของดิฉันได้อย่างไม่ต้องปิดบัง และนั่นสำคัญมากสำหรับดิฉัน. ดิฉันร้องไห้อย่างไม่ต้องกระดากอาย.” (ดูคุณอาจพบว่า ความรู้สึกของคุณค่อนข้างจะเป็นสิ่งที่ไม่อาจรู้ล่วงหน้าได้อยู่ช่วงหนึ่ง. น้ำตาอาจไหลออกมาโดยไม่มีอะไรเตือนล่วงหน้า. หญิงม่ายคนหนึ่งพบว่าการซื้อของในซูเปอร์มาร์เก็ต (ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอทำบ่อย ๆ กับสามี) อาจทำให้เธอร้องไห้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเธอเอื้อมมือไปหยิบอาหารที่สามีเธอเคยชอบเนื่องด้วยความเคยชิน. จงอดทนกับตัวคุณเอง. และอย่ารู้สึกว่า คุณจำต้องกลั้นน้ำตาเอาไว้. จงจำไว้ว่า น้ำตาเป็นสิ่งปกติและเป็นส่วนที่จำเป็นในการแสดงความโศกเศร้า.
การรับมือกับความรู้สึกผิด
ดังที่กล่าวก่อนหน้านี้ บางคนมีความรู้สึกผิดหลังจากสูญเสียผู้เป็นที่รักไปด้วยความตาย. เรื่องนี้อาจช่วยชี้แจงความโศกเศร้าอย่างรุนแรงของยาโคบผู้ซื่อสัตย์เมื่อท่านถูกชักจูงให้เชื่อว่าโยเซฟบุตรชายของท่านถูก “สัตว์ร้าย” ฆ่าตาย. ยาโคบเองได้ส่งโยเซฟไปตรวจดูสวัสดิภาพของพวกพี่ชายของเขา. ดังนั้น ยาโคบคงทรมานใจด้วยความรู้สึกว่าตนผิด เช่น ‘ทำไมข้าถึงส่งโยเซฟไปคนเดียว? ทำไมข้าถึงส่งเขาออกไปในบริเวณที่มีแต่สัตว์ร้ายเต็มไปหมด?’—เยเนซิศ 37:33-35.
บางทีคุณอาจรู้สึกว่า การที่คุณละเลยบางอย่างไปนั้นมีส่วนทำให้คนที่คุณรักเสียชีวิต. การตระหนักว่าความรู้สึกผิดเช่นนั้น ไม่ว่าจริงหรือคิดเอาเอง เป็นปฏิกิริยาปกติของความโศกเศร้า จะช่วยได้มาก. กรณีนี้ก็เช่นกัน อย่ารู้สึกว่าคุณต้องเก็บความรู้สึกเช่นนั้นไว้กับตัวเอง. การพูดคุยในเรื่องที่ว่า คุณรู้สึกผิดแค่ไหนนั้นอาจช่วยให้มีการผ่อนคลายที่จำเป็นได้มาก.
แต่จงตระหนักว่า ไม่ว่าเราจะรักอีกคนหนึ่งมากแค่ไหน เราก็ไม่อาจควบคุมชีวิตของเขาหรือเธอได้ และเราไม่อาจป้องกันคนที่เรารักไว้จาก “วาระและเหตุท่านผู้ประกาศ 9:11, ล.ม.) นอกจากนั้น ไม่มีข้อสงสัยว่า คุณไม่ได้มีเจตนาไม่ดี. ตัวอย่างเช่น ในการที่ไม่ได้นัดหมายแพทย์ให้เร็วขึ้น คุณตั้งใจ จะให้คนที่คุณรักป่วยและเสียชีวิตไหม? แน่นอน คุณไม่ได้ตั้งใจเช่นนั้น! ถ้าเช่นนั้น คุณมีความผิดจริง ๆ ไหมในการทำให้คนนั้นตาย? ก็ไม่มี.
การณ์ที่ไม่ได้คาดล่วงหน้า.” (มารดาคนหนึ่งเรียนรู้ที่จะรับมือกับความรู้สึกผิดหลังจากบุตรสาวของเธอเสียชีวิตในอุบัติเหตุรถยนต์. เธออธิบายว่า “ดิฉันรู้สึกผิดที่ให้เธอออกไป. แต่ดิฉันได้มาตระหนักว่า ไม่มีเหตุผลที่รู้สึกเช่นนั้น. ไม่มีอะไรผิดที่ให้เธอไปทำธุระกับพ่อ. มันเป็นอุบัติเหตุร้ายแรง.”
คุณอาจบอกว่า ‘แต่ก็มีหลายสิ่งเหลือเกินที่ฉันน่าจะได้พูดหรือได้ทำ.’ จริงอยู่ แต่มีใครในพวกเราจะบอกได้ว่าเราเป็นพ่อ, เป็นแม่, หรือเป็นลูกที่ดีพร้อม? คัมภีร์ไบเบิลเตือนเราให้ระลึกว่า “เราทุกคนต่างก็พลาดพลั้งกันหลายครั้ง. ถ้าผู้ใดไม่พลาดพลั้งในวาจา ผู้นั้นก็เป็นคนสมบูรณ์.” (ยาโกโบ 3:2, ล.ม.; โรม 5:12) ฉะนั้น จงยอมรับความจริงที่ว่า คุณเป็นคนไม่สมบูรณ์. การจมอยู่กับความคิดที่ว่า “ถ้าเพียงแต่ฉันได้ทำอย่างโน้นอย่างนี้” จะไม่เปลี่ยนแปลงแก้ไขอะไรได้ มีแต่จะทำให้อาการคลายเศร้าของคุณเป็นไปอย่างเชื่องช้า.
ถ้าคุณมีเหตุผลที่ฟังขึ้นพอจะเชื่อว่าคุณมีความผิดจริง ไม่ใช่คิดเอาเอง ถ้าเช่นนั้นก็จงพิจารณาปัจจัยสำคัญที่สุดในการบรรเทาความรู้สึกผิดนี้ นั่นคือการให้อภัยจากพระเจ้า. คัมภีร์ไบเบิลทำให้เรามั่นใจ: “ข้าแต่พระยะโฮวา, ถ้าหากพระองค์จะทรงจดจำการอสัตย์อธรรมทั้งหมดไว้, ใครจะทนไหว? แต่พระองค์มีการอภัยโทษ.” (บทเพลงสรรเสริญ 130:3, 4) คุณไม่อาจย้อนกลับไปในอดีตแล้วแก้ไขอะไรได้. แต่คุณสามารถร้องขอการอภัยโทษสำหรับความผิดพลาดในอดีตได้. แล้วอะไรอีก? หากพระเจ้าทรงสัญญาจะอภัยความผิดพลาดของคุณทั้งสิ้นในอดีต คุณก็ควรจะให้อภัยตัวคุณเองด้วย มิใช่หรือ?—สุภาษิต 28:13; 1 โยฮัน 1:9.
การรับมือกับความโกรธ
อาจเป็นได้ไหมว่า คุณรู้สึกโกรธแพทย์, พยาบาล, เพื่อน, หรือแม้แต่คนที่เสียชีวิตไหม? จงตระหนักว่า นี่ก็เช่นกันเป็นปฏิกิริยาปกติที่มีต่อการสูญเสีย. บางทีความโกรธของคุณอาจเป็นสิ่งธรรมดาที่มาพร้อมกับการที่คุณรู้สึกเจ็บปวด. นักเขียนคนหนึ่งบอกว่า “เพียงแต่รู้ตัวว่าโกรธ โดยไม่แสดงความโกรธออกมา แต่รู้ว่าคุณโกรธ คุณก็จะพ้นจากผลกระทบที่เสียหายจากความโกรธได้.”
นอกจากนั้น การแสดงความโกรธออกมาก็อาจช่วยได้ด้วย. อย่างไร? แน่นอน ไม่ใช่การระเบิดอารมณ์ออกมาโดยไม่ยับยั้ง. คัมภีร์ไบเบิลเตือนว่า การโกรธนาน ๆ เป็นอันตราย. (สุภาษิต 14:29, 30) แต่คุณอาจได้รับการปลอบโยนด้วยการพูดคุยเรื่องนั้นกับเพื่อนที่เข้าใจ. และบางคนพบว่า การออกกำลังกายอย่างเต็มที่เมื่อเขารู้สึกโกรธเป็นการระบายอารมณ์ที่ช่วยได้.—ดู เอเฟโซ 4:25, 26 ด้วย.
แม้ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นคนเปิดเผยและจริงใจในเรื่องความรู้สึก แต่มีข้อควรระวัง. มีความแตกต่างมากระหว่างการแสดงความรู้สึกออกมากับการระบายความโกรธใส่คนอื่น. ไม่มีความจำเป็นจะต้องตำหนิคนอื่นว่าเป็นเหตุให้เราโกรธและข้องขัดใจ. ดังนั้น อย่าลืมพูดถึงความรู้สึกของคุณออกมา แต่อย่าให้เป็นในเชิงเป็นปฏิปักษ์.” (สุภาษิต 18:21) มีทางช่วยอันยอดเยี่ยมทางหนึ่งในการรับมือกับความโศกเศร้า และตอนนี้เราจะพิจารณาถึงทางช่วยนั้น.
ความช่วยเหลือจากพระเจ้า
คัมภีร์ไบเบิลรับรองกับเราดังนี้: “พระยะโฮวาทรงสถิตอยู่ใกล้ผู้มีใจชอกช้ำ, และคนที่มีใจสุภาพ [ใจชอกช้ำ, ล.ม.] พระองค์จะทรงช่วยให้รอด.” (บทเพลงสรรเสริญ 34:18) ใช่แล้ว ยิ่งกว่าสิ่งอื่นใด สัมพันธภาพกับพระเจ้าสามารถช่วยคุณให้รับมือกับการเสียชีวิตของคน ที่คุณรักได้. โดยวิธีใด? ข้อแนะที่ใช้ได้ผลจริงทั้งปวงที่มีให้ไว้นั้นล้วนแต่อาศัยหรือไม่ก็สอดคล้องกับคัมภีร์ไบเบิล พระวจนะของพระเจ้า. การนำหลักการเหล่านั้นไปใช้จะช่วยคุณให้รับมือได้.
นอกจากนี้ อย่าประเมินค่าของการอธิษฐานต่ำไป. คัมภีร์ไบเบิลสนับสนุนเราให้ “มอบภาระของท่านไว้กับพระยะโฮวา และพระองค์เองจะทรงค้ำจุนท่าน.” (บทเพลงสรรเสริญ 55:22, ล.ม.) ถ้าหากการที่คุณพูดระบายความรู้สึกออกมากับเพื่อนที่เห็นอกเห็นใจนั้นช่วยได้ละก็ การที่คุณระบายความในใจกับ “พระเจ้าผู้ทรงชูใจทุกอย่าง” จะช่วยได้มากยิ่งกว่านั้นสักเพียงไร!—2 โกรินโธ 1:3.
การอธิษฐานไม่เพียงทำให้รู้สึกสบายใจขึ้นเท่านั้น. “พระองค์ผู้สดับคำอธิษฐาน” ทรงสัญญาจะประทานพระวิญญาณบริสุทธิ์แก่ผู้รับใช้ของพระองค์ที่ทูลขอด้วยความจริงใจ. (บทเพลงสรรเสริญ 65:2; ลูกา 11:13) และพระวิญญาณบริสุทธิ์ หรือพลังปฏิบัติการของพระเจ้านั้นสามารถให้คุณมี “กำลังที่เกินกว่ากำลังปกติ” เพื่อจะทนได้วันต่อวัน. (2 โกรินโธ 4:7, ล.ม.) จงจำไว้ว่า พระเจ้าทรงสามารถช่วยผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์ของพระองค์ให้อดทนกับปัญหาทุกอย่างที่เขาอาจเผชิญ.
สตรีผู้หนึ่งซึ่งสูญเสียบุตรไปหวนคิดถึงวิธีที่พลังของการอธิษฐานได้ช่วยเธอกับสามีให้ทนกับการสูญเสียนั้น. เธออธิบายว่า “ถ้าเรากลับบ้านตอนกลางคืนและเกิดความรู้สึกโศกเศร้าจนยากจะหักห้ามใจได้ เราจะอธิษฐานเสียงดังด้วยกัน. ครั้งแรกที่เราต้องทำสิ่งนั้นสิ่งนี้โดยไม่มีเธอ เช่น การประชุมประจำประชาคมครั้งแรกที่เราไปโดยไม่มีเธอ การประชุมภาคครั้งแรกที่เราเข้าร่วมโดยไม่มีเธอ เราจะอธิษฐานขอกำลัง. เมื่อเราตื่นในตอนเช้าและความเป็นจริงของเรื่องนั้นดูเหมือนทนไม่ได้ เราจะทูลอธิษฐานขอพระยะโฮวาทรงช่วยเรา. เพราะเหตุผลบางอย่าง ดิฉันรู้สึกช้ำใจจริง ๆ ที่ต้องเดินเข้าบ้านคนเดียว. และดังนั้น ทุกครั้งที่ดิฉันกลับบ้านคนเดียว ดิฉันจะทูลอธิษฐานขอพระยะโฮวาทรงโปรดช่วยดิฉันให้รักษาความสงบใจเอาไว้.” สตรีผู้ซื่อสัตย์คนนี้เชื่ออย่างมั่นคงและอย่างถูกต้องว่า คำอธิษฐานเหล่านั้นก่อผลที่แตกต่างไป. คุณเช่นกันอาจพบสิ่งนั้นในการตอบคำอธิษฐานไม่หยุดหย่อนของคุณ คือ ‘สันติสุขแห่งพระเจ้าที่เหนือกว่าความคิดทุกอย่างจะป้องกันรักษาหัวใจและความสามารถในการคิดของคุณไว้.’—ฟิลิปปอย 4:6, 7, ล.ม.; โรม 12:12.
ความช่วยเหลือที่พระเจ้าทรงโปรดให้นั้นก่อผลที่เป็นประโยชน์จริง ๆ. เปาโล คริสเตียนอัครสาวกกล่าวถึงพระเจ้าว่า “พระองค์ผู้ทรงโปรดให้เราได้รับความชูใจในการทุกข์ยากทั้งสิ้นของเรา, เพื่อเราจะได้ชูใจคนเหล่านั้นที่มีความทุกข์ยากอย่างหนึ่งอย่างใด.” จริงอยู่ การช่วยเหลือนั้นไม่ขจัดความเจ็บปวดนั้นออกไป แต่ก็ทำให้ทนได้ง่ายขึ้น. นั่นไม่หมายความว่าคุณจะไม่ร้องไห้อีกหรือจะลืมคนที่คุณรักไป. แต่คุณจะฟื้นตัวได้. และขณะที่คุณทำเช่นนั้น สิ่งที่คุณได้รับสามารถทำให้คุณเป็นคนที่เข้าใจดีขึ้นและเห็นอกเห็นใจมากขึ้นในการช่วยคนอื่น ๆ ให้รับมือกับการสูญเสียในทำนองเดียวกัน.—2 โกรินโธ 1:4.