ฉันจะทำอย่างไรเมื่ออยู่ระหว่างสองวัฒนธรรม?
บท 22
ฉันจะทำอย่างไรเมื่ออยู่ระหว่างสองวัฒนธรรม?
พ่อหรือแม่ของคุณย้ายมาจากประเทศอื่นไหม?
□ ใช่ □ ไม่ใช่
วัฒนธรรมหรือภาษาที่คุณใช้ในโรงเรียนต่างจากที่บ้านไหม?
□ ใช่ □ ไม่ใช่
“ครอบครัวผมเป็นคนอิตาลี พวกเขาแสดงความรักความอบอุ่นอย่างเปิดเผย. ตอนนี้เราอยู่ที่อังกฤษ. คนที่นี่ดูมีระเบียบและสุภาพเรียบร้อยมาก. ผมรู้สึกเข้ากับทั้งสองวัฒนธรรมไม่ได้ เมื่ออยู่กับคนอังกฤษ ผมดูเป็นคนอิตาลี และเมื่ออยู่กับคนอิตาลี ผมกลับดูเหมือนคนอังกฤษ.”—จอซูแอะ จากอังกฤษ
“ที่โรงเรียนครูบอกให้ผมมองหน้าครูตอนครูพูด. แต่เมื่อพ่อพูดแล้วผมมองหน้าพ่อ พ่อกลับบอกว่าไม่มีมารยาท. ผมรู้สึกว่าตัวเองอยู่ระหว่างสองวัฒนธรรม.”—แพทริก เกิดที่ฝรั่งเศสแต่พ่อแม่เป็นชาวแอลจีเรีย
เมื่อพ่อแม่คุณย้ายมาอยู่ประเทศนี้ พวกเขาต้องเจอปัญหาหนักมาก. จู่ ๆ พวกเขาต้องอยู่ท่ามกลางผู้คนที่มีภาษา วัฒนธรรม และการแต่งกายที่ต่างออกไป. พวกเขาต่างจากคนอื่นอย่างเห็นได้ชัด. ผลคือ คนส่วนใหญ่มักมีอคติและดูถูกเหยียดหยามพวกเขา.
คุณเจอเรื่องแบบนี้ด้วยไหม? หนุ่มสาวคนอื่น ๆ ที่มีพ่อแม่เป็นคนต่างชาติเจอปัญหาบางอย่างดังต่อไปนี้. ขีด ✔ หน้าปัญหาที่คุณคิดว่ารับมือยากที่สุด.
□ ถูกเยาะเย้ย. นอร์ยังเด็กตอนที่เธอกับครอบครัวย้ายจากจอร์แดนมาอยู่ที่อเมริกาเหนือ. เธอบอกว่า “เราใส่เสื้อผ้าไม่เหมือนคนอื่น พวกเขาจึงหัวเราะเยาะเรา. เราไม่เข้าใจมุขตลกของคนอเมริกันเลย.”
□ สับสนว่าเป็นคนชาติไหน. เด็กสาวคนหนึ่งชื่อนาเดียเล่าว่า “ฉันเกิดที่เยอรมัน. แต่เพราะพ่อแม่เป็นคนอิตาลี ฉันจึงพูดภาษาเยอรมันติดสำเนียงอิตาลี เพื่อน ๆ เลยเรียกฉันว่า ‘ต่างชาติงี่เง่า.’ แต่เมื่อไปอิตาลี ฉันกลับพูดภาษาอิตาลีสำเนียงเยอรมัน. ฉันเลยไม่รู้ว่าตัวเองเป็นชาติอะไรกันแน่. ไม่ว่าจะไปไหน ฉันก็เป็นคนต่างชาติ.”
□ ช่องว่างระหว่างวัฒนธรรม. อันนาอายุ 8 ขวบตอนที่เธอกับ
ครอบครัวย้ายมาลอนดอน ประเทศอังกฤษ. เธอเล่าว่า “ฉันกับน้องชายปรับตัวเข้ากับลอนดอนได้อัตโนมัติ. แต่สำหรับพ่อแม่แล้วไม่ง่ายเลย เพราะพวกเขาเคยใช้ชีวิตอยู่แต่ที่มาเดราซึ่งเป็นเกาะเล็ก ๆ ของโปรตุเกส.”เวินอายุ 3 ขวบตอนที่เธอกับพ่อแม่ซึ่งเป็นชาวกัมพูชาย้ายมาออสเตรเลีย. เธอเล่าว่า “พ่อแม่ฉันปรับตัวไม่ค่อยได้. พ่อมักหัวเสียและโมโหฉันบ่อย ๆ เพราะฉันไม่เข้าใจทัศนะและความคิดของเขา.”
□ สิ่งกีดขวางด้านภาษา. เอียนอายุ 8 ขวบตอนที่เขากับครอบครัวย้ายจากเอกวาดอร์มาที่นิวยอร์ก ประเทศสหรัฐ. หลังจากอยู่ที่นั่นได้หกปี เขาบอกว่า “ตอนนี้ผมพูดภาษาอังกฤษมากกว่าภาษาสเปน. ครูที่โรงเรียนพูดอังกฤษ เพื่อน ๆ พูดอังกฤษ และเมื่อพูดกับน้องชายผมก็พูดอังกฤษ. ผมคิดอะไรเป็นอังกฤษไปหมด ผมลืมภาษาสเปนไปแล้ว.”
หลีเกิดที่ออสเตรเลีย แต่พ่อแม่เป็นชาวกัมพูชา เธอพูดว่า “เมื่อฉันพูดกับพ่อแม่และอยากพรรณนาว่ารู้สึกอย่างไร ปรากฏว่าฉันรู้ภาษาของพ่อแม่ไม่ดีพอจึงพรรณนาไม่ได้.”
นอร์ที่พูดถึงตอนต้นบอกว่า “เมื่ออยู่บ้าน พ่อพยายามให้เราพูดภาษาของเขาคือภาษาอาหรับ แต่เราไม่อยากพูด. สำหรับเราแล้ว การเรียนภาษาอาหรับเป็นการเพิ่มภาระให้เรา. เพื่อน ๆ ของเราพูดอังกฤษ. รายการทีวีก็เป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด. แล้วเราจะเรียนอาหรับไปทำไม?”
คุณจะทำอะไรได้?
ดังที่เห็นแล้ว ไม่ใช่คุณคนเดียวที่เจอปัญหาแบบนี้. คุณอาจแก้ปัญหาโดยพยายามลืมพื้นเพทางวัฒนธรรมทั้งหมดของคุณและปรับตัวให้
เข้ากับประเทศใหม่. แต่การทำแบบนี้คงทำให้พ่อแม่ไม่พอใจซึ่งคุณจะลำบาก. ดังนั้น คุณน่าจะลองหาวิธีรับมือกับปัญหาและพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส. ลองมาดูคำแนะนำต่อไปนี้.จะมองอย่างไรเมื่อถูกเยาะเย้ย? คุณไม่มีทางทำให้ทุกคนชอบคุณได้. และบางคนก็ชอบหาเรื่องเยาะเย้ยคนอื่น. (สุภาษิต 18:24) ดังนั้น ไม่มีประโยชน์ที่จะคอยแก้อคติของคนพวกนี้ เสียเวลาเปล่า ๆ. กษัตริย์โซโลมอนผู้ชาญฉลาดให้ข้อสังเกตว่า “คนชอบเยาะเย้ยไม่ชอบการตักเตือน.” (สุภาษิต 15:12, ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย) คนที่ถูกว่าไม่ได้เป็นฝ่ายผิด แต่คนที่ว่าคนอื่นอย่างมีอคตินั่นแหละเป็นคนโง่.
จะทำอย่างไรเมื่อสับสนว่าเป็นคนชาติไหน? เป็นเรื่องปกติที่เราอยากเป็นส่วนหนึ่งของสังคม เช่นครอบครัวหรือวัฒนธรรม. ถ้าคุณคิดว่าคุณค่าของคุณขึ้นอยู่กับภูมิหลังของครอบครัวหรือวัฒนธรรม การคิดเช่นนั้นไม่ถูก. คนอื่นอาจตัดสินคุณอย่างนั้น แต่พระเจ้าไม่เป็นเช่นนั้น. อัครสาวกเปโตรกล่าวว่า “พระเจ้าไม่ทรงลำเอียง แต่พระองค์ทรงชอบพระทัยคนที่ยำเกรงพระองค์และประพฤติชอบธรรมไม่ว่าจะเป็นคนชาติใด.” (กิจการ 10:34, 35) ถ้าคุณพยายามทำให้พระยะโฮวาพระเจ้าพอพระทัย พระองค์ก็จะถือว่าคุณเป็นคนหนึ่งในครอบครัวของพระองค์. (ยะซายา 43:10; มาระโก 10:29, 30) จะมีอะไรดีไปกว่านี้ไหม?
จะเชื่อมช่องว่างระหว่างวัฒนธรรมอย่างไร? ในเกือบทุกครอบครัว พ่อแม่กับลูก ๆ มักจะมีทัศนะที่เอเฟโซส์ 6:2, 3
แตกต่างกัน. แต่ในกรณีของคุณอาจแตกต่างมากกว่าคนอื่น เพราะพ่อแม่อยากให้คุณทำตามประเพณีบ้านเกิดของพวกเขา แต่คุณก็อยากทำตัวให้เข้ากับประเทศใหม่. ดังนั้น คุณต้อง “นับถือบิดามารดา” แล้วชีวิตคุณจะราบรื่น.—แทนที่จะต่อต้านประเพณีของพ่อแม่เพราะคิดว่าไม่เหมาะกับคุณ ให้พยายามหาเหตุผลว่าทำไมพ่อแม่คุณจึงทำตามประเพณีนั้น. (สุภาษิต 2:10, 11) ลองถามตัวเองว่า ‘ประเพณีเหล่านั้นขัดกับหลักการในพระคัมภีร์ไหม? ถ้าไม่ขัด ประเพณีนั้นไม่ดีตรงไหน? แล้วจะอธิบายให้พ่อแม่ฟังด้วยความนับถืออย่างไร?’ (กิจการ 5:29) แน่นอน ถ้าคุณพูดภาษาของพ่อแม่ได้คล่อง คุณก็จะแสดงความนับถือพ่อแม่ได้ง่ายขึ้นเพราะคุณเข้าใจความคิดของพวกเขาและอธิบายความรู้สึกของคุณได้.
จะข้ามสิ่งกีดขวางด้านภาษาอย่างไร? บางครอบครัวพบว่า ถ้าพวกเขาพูดแต่ ภาษาของพ่อแม่ตอนอยู่บ้าน เด็ก ๆ จะมีโอกาสเรียนทั้งสองภาษาได้ดี. คุณน่าจะลองใช้วิธีนี้. คุณคงอยากให้พ่อแม่ช่วยสอนวิธีเขียนภาษานั้นด้วย. สเตลิโอสซึ่งโตในเยอรมันแต่ภาษาแม่ของเขาคือภาษากรีก บอกว่า “พ่อแม่พิจารณาข้อคัมภีร์กับผมทุกวัน. พวกเขาอ่าน แล้วผมก็เขียนตาม. ตอนนี้ผมอ่านและเขียนได้ทั้งภาษากรีกและเยอรมัน.”
ยังมีประโยชน์อะไรอีก? จอซูแอะที่พูดถึงตอนต้นบอกว่า “ผมเรียนภาษาของพ่อแม่เพราะอยากใกล้ชิดพวกเขามากขึ้น ที่สำคัญจะได้พูดคุยเรื่องพระเจ้ากับพวกเขาได้. การเรียนภาษาของพ่อแม่ช่วยผมให้เข้าใจว่าพวกเขารู้สึกอย่างไร. แถมยังช่วยพวกเขาให้เข้าใจผมด้วย.”
สะพานเชื่อมไม่ใช่สิ่งกีดขวาง
คุณจะมองภูมิหลังทางวัฒนธรรมว่าเป็นสิ่งกีดขวางคุณกับคนอื่น หรือมองว่าเป็นสะพานเชื่อมคุณเข้ากับพวกเขา? หนุ่มสาวคริสเตียนหลายคนพยายามเชื่อมช่องว่างระหว่างวัฒนธรรมเพราะมีเหตุผลมากกว่านี้. พวกเขาอยากบอกข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้าแก่คนที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามา. (มัดธาย 24:14; 28:19, 20) ซาโลมัวซึ่งย้ายมาลอนดอนตอน 5 ขวบ บอกว่า “การอธิบายพระคัมภีร์ได้สองภาษาเป็นเรื่องที่เยี่ยมมาก. ผมเกือบลืมภาษาแม่ไปแล้ว แต่ตอนนี้ผมอยู่ในประชาคมภาษาโปรตุเกส ผมเลยพูดคล่องทั้งอังกฤษและโปรตุเกส.”
นอร์ที่พูดถึงตอนต้นเห็นว่าต้องมีผู้ประกาศที่พูดภาษาอาหรับได้. เธอบอกว่า “ตอนนี้ฉันกำลังเรียนและพยายามรื้อฟื้นภาษาที่ฉันลืมไปแล้ว. ความคิดของฉันเปลี่ยนไป. ตอนนี้เมื่อฉันพูดผิด ฉันอยาก ให้มีคนคอยแก้ไข. ฉันอยาก เรียนภาษาอาหรับจริง ๆ.”
ถ้าคุณคุ้นเคยกับสองวัฒนธรรมและพูดได้สองภาษาหรือมากกว่านั้น คุณก็ได้เปรียบ. การรู้ทั้งสองวัฒนธรรมจะทำให้คุณเข้าใจความรู้สึกของผู้คนและตอบข้อสงสัยในเรื่องพระเจ้าได้ดีขึ้น. (สุภาษิต 15:23) พริตตีซึ่งเกิดที่อังกฤษแต่มีพ่อแม่เป็นคนอินเดีย บอกว่า “เวลาไปประกาศฉันสบายมากเพราะฉันเข้าใจทั้งสองวัฒนธรรม. ฉันเข้าใจวิถีชีวิตทั้งสองแบบ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่พวกเขาเชื่อหรือคิด.”
แทนที่จะคิดว่าคุณเสียเปรียบเพราะอยู่ระหว่างสองวัฒนธรรม คุณน่าจะมองว่าตัวเองได้เปรียบมิใช่หรือ? จำไว้ว่า พระยะโฮวารักคุณอย่างที่คุณเป็น ไม่ว่าคุณหรือครอบครัวจะมาจากไหน. เช่นเดียวกับหนุ่มสาวที่กล่าวไปแล้ว คุณจะใช้ความรู้และประสบการณ์เพื่อช่วยคนที่เป็นเชื้อชาติเดียวกับคุณให้เรียนรู้เรื่องพระยะโฮวาพระเจ้าแห่งความรักและไม่ลำเอียงได้ไหม? การทำอย่างนั้นจะทำให้คุณมีความสุขอย่างแท้จริง.—กิจการ 20:35
ข้อคัมภีร์หลัก
“พระเจ้าไม่ทรงลำเอียง.”—กิจการ 10:34
ข้อแนะ
ถ้าเพื่อน ๆ ล้อคุณเรื่องเชื้อชาติ ก็อย่าโมโห ให้อารมณ์ดีไว้. ในที่สุด พวกเขาจะเบื่อและเลิกล้อคุณไปเอง.
คุณรู้ไหม . . . ?
ถ้าคุณเก่งทั้งสองภาษา คุณจะหางานได้ง่ายขึ้น.
แผนปฏิบัติการ
เพื่อจะรู้ภาษาของพ่อแม่ดีขึ้น ฉันจะ ․․․․․
สิ่งที่ฉันอยากถามพ่อแม่เกี่ยวกับเรื่องนี้คือ ․․․․․
คุณคิดอย่างไร?
● การรู้ภูมิหลังของพ่อแม่จะช่วยคุณให้เข้าใจตัวเอง ดีขึ้นอย่างไร?
● การที่คุณมีภูมิหลังทางวัฒนธรรมหลากหลายทำให้คุณได้เปรียบหนุ่มสาวคนอื่นอย่างไร?
[คำโปรยหน้า 160]
“ผมมีความสุขที่ได้ช่วยคนอื่น. ผมอธิบายพระคัมภีร์ได้ในภาษารัสเซีย ฝรั่งเศส และมอลโดวา.”—โอเลก
[ภาพหน้า 161]
คุณน่าจะมองภูมิหลังทางวัฒนธรรมของคุณว่าเป็นสะพานเชื่อมคุณเข้ากับคนอื่น