ทำไมพ่อแม่ไม่ยอมให้ฉันสนุกบ้าง?
บท 37
ทำไมพ่อแม่ไม่ยอมให้ฉันสนุกบ้าง?
แอลลิสันวัยรุ่นในออสเตรเลียรู้ว่า ทุกเช้าวันจันทร์เธอจะเจอเรื่องเครียด ๆ ที่โรงเรียน.
เธอเล่าว่า “ทุกคนพูดถึงสิ่งที่เขาทำในวันเสาร์อาทิตย์. เขาเล่าเรื่องที่ฟังดูน่าตื่นเต้น เช่น ไปงานปาร์ตีกี่งาน จูบผู้ชายมากี่คน แม้แต่เรื่องที่วิ่งหนีตำรวจ . . . ซึ่งฟังดูน่ากลัว แต่ก็น่าตื่นเต้น. พวกเขากลับบ้านตอนตีห้าและพ่อแม่ก็ไม่ว่าอะไร. ส่วนฉันต้องเข้านอนก่อนที่พวกนั้นจะออกไปเที่ยวซะอีก.
“พอเพื่อน ๆ ในห้องเล่าเรื่องที่ไปผจญภัยมาในวันเสาร์อาทิตย์ แล้วหันมาถามว่าฉันทำอะไรมาบ้าง. . . . ฉันรู้สึกว่าไม่มีอะไรน่าสนุกแค่ไปประชุมไปประกาศ จึงตอบไปว่าไม่ได้ทำอะไรเลย. พวกเขาเลยชวนว่า งั้นไปกับเราไหมล่ะ.
“พอวันจันทร์ผ่านไปคุณคงคิดว่าค่อยยังชั่ว แต่เปล่า. พอถึงวันอังคาร ทุกคนก็พูดถึงเสาร์อาทิตย์ที่จะถึง. ฉันได้แต่นั่งฟังพวกเขาคุยกันและรู้สึกเหมือนเป็นคนนอกคอก.”
เมื่อคุณไปโรงเรียนในเช้าวันจันทร์ คุณเจอเรื่องทำนองนี้ไหม? คุณอาจรู้สึกว่าโลกภายนอกน่าสนุก แต่พ่อแม่กลับขังคุณไว้ไม่ให้ออกไป. หรือเหมือนคุณไปสวนสนุก แต่พ่อแม่ไม่ยอมให้คุณเล่นเครื่องเล่นอะไรเลย. คุณไม่ได้อยากทำเหมือนเพื่อนทุกอย่าง แค่อยากสนุกบ้าง. เช่น คุณบอกได้ไหมว่า เสาร์อาทิตย์นี้คุณ อยากทำอะไรมากที่สุด?
□ ไปดิ้น
□ ไปงานปาร์ตี
□ ไปดูคอนเสิร์ต
□ ไปดูหนัง
□ อื่น ๆ
ที่จริง คุณควรได้สนุกสนาน. พระผู้สร้างอยากให้คุณมีความสุขในวัยหนุ่มสาว. (ท่านผู้ประกาศ 3:1, 4) พ่อแม่ก็อยากให้คุณสนุกด้วย แม้คุณอาจไม่เชื่อก็ตาม. แต่พวกเขายังเป็นห่วงอยู่สองอย่าง นั่นคือ (1) สิ่งที่คุณจะทำ และ (2) คนที่คุณจะไปด้วย.
ถ้าเพื่อนชวนคุณไปเที่ยว แต่คุณไม่แน่ใจว่าพ่อแม่จะยอมให้ไปไหม คุณจะทำอย่างไร? ให้มาดูทางเลือกสามอย่างและผลที่จะตามมา.
ทางเลือก ก ไม่ขอ แต่ไป
ทำไมคุณเลือกแบบนี้. คุณอยากให้เพื่อนเห็นว่าคุณมีอิสระแค่ไหน. คุณคิดว่าคุณรู้ดีกว่าพ่อแม่ คุณไม่ค่อยเชื่อการตัดสินใจของพวกเขา.—สุภาษิต 15:5
ผลที่ตามมา. เพื่อนอาจประทับใจ แต่พวกเขาจะเห็นว่าคุณเป็นคนหลอกลวง. ถ้าคุณหลอกพ่อแม่ได้ คุณก็หลอกเพื่อนได้เหมือนกัน. ถ้าพ่อแม่รู้เข้า พวกเขาจะเสียใจที่ถูกหลอก และคุณอาจถูกห้ามไม่ให้ไปเที่ยวไหนสุภาษิต 12:15
อีก. การไม่เชื่อฟังพ่อแม่และแอบหนีเที่ยวเป็นทางเลือกที่โง่.—ทางเลือก ข ไม่ขอ และไม่ไป
ทำไมคุณเลือกแบบนี้. คุณคิดว่าเพื่อนบางคนที่ไปด้วยไม่น่าคบ หรือรู้ว่าสิ่งที่เขาชวนไปทำนั้นไม่ถูกต้อง. (1 โครินท์ 15:33; ฟิลิปปอย 4:8) หรือคุณอาจอยากไปแต่ไม่กล้าขอพ่อแม่.
ผลที่ตามมา. ถ้าคุณไม่ไปเพราะรู้ว่าไม่เหมาะ คุณจะมั่นใจมากขึ้นเพราะคุณมีเหตุผลให้เพื่อน. แต่ถ้าคุณไม่ไปเพราะไม่กล้าขอพ่อแม่ คุณอาจต้องนั่งเซ็งอยู่ที่บ้านและคิดว่ามีแต่คุณคนเดียวที่อดสนุก.
ทางเลือก ค ขอ และรอดู
ทำไมคุณเลือกแบบนี้. คุณยอมรับอำนาจของพ่อแม่และเชื่อการตัดสินใจของพวกเขา. (โกโลซาย 3:20) คุณรักพ่อแม่และไม่อยากทำให้พวกเขาเสียใจโดยแอบหนีเที่ยว. (สุภาษิต 10:1) คุณยังมีโอกาสอธิบายให้พ่อแม่ฟังว่าทำไมพวกเขาน่าจะยอมให้คุณไป.
ผลที่ตามมา. พ่อแม่จะรู้สึกว่าคุณรักและนับถือพวกเขา. และถ้าพ่อแม่เห็นว่าเรื่องที่คุณขอมีเหตุผล พวกเขาอาจยอมให้ไปก็ได้.
เหตุผลที่พ่อแม่ไม่ยอมให้ไป
ถ้าพ่อแม่ไม่ยอมให้คุณไปเที่ยวล่ะ? คุณคงหงุดหงิด. แต่ถ้าคุณเข้าใจมุมมองของพ่อแม่ คุณจะยอมรับได้ง่ายขึ้น. ตัวอย่างเช่น ที่พ่อแม่ไม่ให้คุณไปอาจเป็นเพราะเหตุผลต่อไปนี้:
มีความรู้และประสบการณ์มากกว่าคุณ. ถ้าเลือกได้ คุณคงอยากว่ายน้ำในที่ที่มีเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยใช่ไหม? ทำไมล่ะ? เพราะเมื่อคุณเล่นน้ำอย่างสนุกสนาน คุณคงไม่ทันเห็นอันตราย. แต่เจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยอยู่ในที่สูงมองเห็นอันตรายได้ดีกว่า.
เช่นเดียวกัน พ่อแม่คุณมีความรู้และประสบการณ์มากกว่า พวกเขาจึงเห็นอันตรายที่คุณอาจไม่เห็น. พ่อแม่ก็เหมือนเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยที่ชายหาด คืออยากช่วยคุณให้หลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจทำลายชีวิตคุณ ไม่ใช่ทำให้คุณหมดสนุก.
รักคุณ. พ่อแม่อยากปกป้องคุณ. ถ้ายอมได้พวกเขาคงให้ตามที่คุณขอเพราะเขารักคุณ และถ้าพ่อแม่ไม่ให้แสดงว่ามันจำเป็นจริง ๆ. เมื่อคุณขออนุญาตพ่อแม่ พวกเขา คงคิดก่อนว่าถ้าให้ตามที่คุณขอจะเกิดอะไรขึ้นเพื่อจะไม่ต้องเสียใจภายหลัง. และเมื่อมั่นใจว่าคุณจะไม่ได้รับอันตรายใด ๆ เลย พวกเขาก็จะอนุญาต.
ทำอย่างไรพ่อแม่ถึงจะอนุญาต
มีปัจจัยสี่อย่างที่เกี่ยวข้อง.
ซื่อสัตย์: อย่างแรก ให้ถามใจตัวเองว่า ‘จริง ๆ แล้วทำไมถึงอยากสุภาษิต 7:1, 2) แต่ถ้าคุณไม่บอกพ่อแม่ตรง ๆ พวกเขาจะไม่ไว้ใจคุณและคงไม่อนุญาตให้คุณไป.
ไป? เพราะฉันอยากไปเองหรือตามเพื่อน? หรือเพราะมีคนที่ฉันปิ๊งไปด้วย?’ แล้วให้บอกพ่อแม่ตามตรง. พวกเขาเคยเป็นวัยรุ่นมาก่อนและรู้จักคุณดี. ดังนั้น พ่อแม่คงดูเจตนาคุณออก. พ่อแม่คงชอบที่คุณพูดตรงไปตรงมาและจะให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์กับคุณ. (เลือกเวลาที่เหมาะ: อย่าเซ้าซี้พ่อแม่ตอนที่เขาเพิ่งกลับจากที่ทำงานหรือกำลังวุ่นกับเรื่องอื่น. ให้ขอตอนที่พ่อแม่ไม่ยุ่งมาก. แต่อย่า
คอยจนถึงนาทีสุดท้ายแล้วพยายามคาดคั้นพวกเขาให้ตอบ. พ่อแม่คงไม่ชอบที่ต้องตัดสินใจอย่างกระชั้นชิด. ขอแต่เนิ่น ๆ ให้เวลาพวกเขาคิด พ่อแม่คงชอบถ้าคุณเข้าใจหัวอกพวกเขา.ให้ข้อมูลชัดเจน: อย่าตอบคลุมเครือ. อธิบายให้ชัดเจนว่าคุณอยากทำอะไร. พ่อแม่คงไม่อยากได้ยินคุณตอบว่า “หนูไม่รู้” โดยเฉพาะเมื่อถามว่า “มีใครไปบ้าง?” “จะมีผู้ใหญ่คอยดูแลไหม?” หรือ “งานจะเลิกกี่โมง?”
ท่าที: อย่ามองว่าพ่อแม่เป็นฝ่ายตรงกันข้าม. ให้มองว่าพวกเขาอยู่ฝ่ายเดียวกับคุณ ซึ่งจริง ๆ แล้วก็เป็นอย่างนั้น. ถ้าคุณมองว่าพ่อแม่อยู่ฝ่ายเดียวกับคุณ คุณจะไม่เถียงเพื่อเอาชนะและพ่อแม่คงยอมฟังคุณมากขึ้น. อย่าพูดว่า “พ่อแม่ไม่ไว้ใจหนูเลย” “ใคร ๆ เขาก็ไปกัน” หรือ “เพื่อนหนู ยังไปเลย พ่อแม่เขาไม่เห็นว่าอะไร.” แสดงให้พ่อแม่เห็นว่าคุณโตพอที่จะยอมรับและทำตามการตัดสินใจของพวกเขา. ถ้าคุณทำอย่างนั้น พ่อแม่จะไว้ใจคุณ. และคราวหน้า พวกเขาคงเต็มใจอนุญาตให้คุณไป.
เชิญอ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมได้ในเล่ม 2 บท 32
ข้อคัมภีร์หลัก
“ลูกเอ๋ย จงฉลาดและทำให้เราปลาบปลื้มใจ.”—สุภาษิต 27:11, ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย
ข้อแนะ
ถ้าคุณจะไปงานสังสรรค์ ให้คิดล่วงหน้าว่าจะปลีกตัวออกมาอย่างไร โดยคิดว่าจะพูดหรือทำอะไรเพื่อจะออกจากงานได้ถ้ามีสิ่งที่ขัดกับสติรู้สึกผิดชอบ.
คุณรู้ไหม . . . ?
พ่อแม่ที่รักลูกจะคิดถึงความปลอดภัยก่อน. ถ้าคุณไม่อธิบายเหตุผลให้ชัดเจน หรือให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน พ่อแม่คงไม่อนุญาตตามที่คุณขอ.
แผนปฏิบัติการ
ถ้าไปดูหนังหรือไปงานสังสรรค์แล้วเห็นหรือได้ยินสิ่งที่ ขัดกับสติรู้สึกผิดชอบ ฉันจะ ․․․․․
สิ่งที่ฉันอยากถามพ่อแม่เกี่ยวกับเรื่องนี้คือ ․․․․․
คุณคิดอย่างไร?
● เมื่อคุณขออนุญาตพ่อแม่ ทำไมคุณไม่อยากบอกรายละเอียดทั้งหมด?
● ถ้าคุณปิดบังรายละเอียดที่สำคัญและพ่อแม่อนุญาตให้ไป คุณอาจต้องเจออะไรบ้าง?
[คำโปรยหน้า 268]
“ตอนผมเด็กกว่านี้ ผมโง่มาก. ผมคิดว่าสิ่งที่ทำนั้น ‘สนุก’ แต่มันไม่ได้สนุกเลย. เราทำอะไรก็จะได้รับผลอย่างนั้น. ผมเสียใจจริง ๆ ที่ไม่ได้ฟังพ่อแม่.”—ไบรอัน
[ภาพหน้า 269]
เช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยที่ชายหาด พ่อแม่ของคุณอยู่ในที่ที่มองเห็นอันตรายได้ดีกว่า