ทำไมพระเยซูไม่มีส่วนร่วมในการเมือง?
ทำไมพระเยซูไม่มีส่วนร่วมในการเมือง?
ขอให้นึกภาพเหตุการณ์ตอนเย็นวันหนึ่งในปีสากลศักราช 32. เวลานั้นพระเยซูผู้เป็นมาซีฮาตามคำพยากรณ์ทรงมีชื่อเสียงในหมู่ประชาชนแล้วเพราะพระองค์ได้ทรงรักษาคนที่เจ็บป่วยและถึงกับปลุกคนตายให้ฟื้น. วันนี้ พระองค์ทรงทำให้ฝูงชนหลายพันคนประทับใจยิ่งนักโดยทำการอัศจรรย์หลายอย่างและสอนเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับพระเจ้า. ตอนนี้ พระองค์บอกให้ฝูงชนที่หิวนั่งรวมกันเป็นกลุ่ม ๆ. พระองค์ทูลอธิษฐานถึงพระยะโฮวาและเลี้ยงอาหารพวกเขาทุกคนโดยการอัศจรรย์. หลังจากนั้น พระองค์ทรงเก็บอาหารที่เหลือ ไม่ปล่อยให้อะไรเสียเปล่า. ฝูงชนมีท่าทีอย่างไร?—โยฮัน 6:1-13
เมื่อเห็นการอัศจรรย์ที่พระเยซูทรงทำและเห็นว่าพระองค์สามารถควบคุมฝูงชนจำนวนมากได้และดูแลความจำเป็นของพวกเขาได้เป็นอย่างดี ประชาชนจึงคิดว่าพระเยซูเหมาะอย่างยิ่งที่จะเป็นกษัตริย์. (โยฮัน 6:14) ไม่แปลกที่พวกเขาจะคิดเช่นนั้น. คุณคงจำได้ว่าชาวยิวต้องการเหลือเกินที่จะมีกษัตริย์ที่ดีและมีความสามารถ อีกทั้งแผ่นดินเกิดที่พวกเขารักก็อยู่ภายใต้การปกครองที่กดขี่ของมหาอำนาจต่างชาติ. พวกเขาจึงพยายามกดดันให้พระเยซูมีส่วนร่วมในการเมือง. ให้เรามาดูว่าพระเยซูทรงทำอย่างไร.
โยฮัน 6:15 กล่าวว่า “เมื่อพระเยซูรู้ว่าพวกเขาจะตั้งพระองค์เป็นกษัตริย์ พระองค์จึงเสด็จไปที่ภูเขาอีกตามลำพัง.” จุดยืนของพระเยซูเห็นได้ชัดเจน. พระองค์ปฏิเสธอย่างหนักแน่นที่จะมีส่วนร่วมในการเมืองของแผ่นดินเกิด. พระองค์ไม่เคยเปลี่ยนจุดยืน. พระองค์ตรัสว่าผู้ที่ติดตามพระองค์ต้องมีจุดยืนเดียวกับพระองค์. (โยฮัน 17:16) ทำไมพระองค์ทรงมีจุดยืนเช่นนั้น?
ทำไมพระเยซูไม่มีส่วนร่วมในการเมือง?
การที่พระเยซูไม่มีส่วนร่วมในการเมืองนั้นเป็นไปตามหลักการที่เขียนไว้ชัดเจนในพระคัมภีร์. ขอพิจารณาสองหลักการต่อไปนี้.
“มนุษย์ใช้อำนาจเหนือมนุษย์อย่างที่ก่อผลเสียหายแก่เขา.” (ท่านผู้ประกาศ 8:9, ล.ม.) คัมภีร์ไบเบิลสรุปไว้เช่นนั้นเกี่ยวกับการปกครองของมนุษย์ตลอดประวัติศาสตร์. อย่าลืมว่าพระเยซูทรงเคยเป็นกายวิญญาณอยู่ในสวรรค์นานก่อนที่จะมาเป็นมนุษย์บนโลกนี้. (โยฮัน 17:5) ดังนั้น พระองค์ทรงทราบว่าถึงแม้มนุษย์จะมีเจตนาดีแต่ก็ไม่สามารถจะดูแลความจำเป็นของผู้คนนับล้าน ๆ ได้ดีพอ และพระเจ้าก็ไม่ได้สร้างมนุษย์ให้มีความสามารถเช่นนั้น. (ยิระมะยา 10:23) พระเยซูทรงทราบว่าการแก้ปัญหาจะต้องมาจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่รัฐบาลของมนุษย์.
“โลกทั้งโลกอยู่ในอำนาจตัวชั่วร้าย.” (1 โยฮัน 5:19) คุณแปลกใจไหมที่คัมภีร์ไบเบิลกล่าวเช่นนี้? หลายคนรู้สึกอย่างนั้น. พวกเขาคิดถึงคนที่จริงใจซึ่งมีส่วนร่วมในการเมืองเพราะต้องการจะช่วยให้โลกมีสภาพที่ดีและปลอดภัยขึ้น. อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะพยายามเช่นไร แม้แต่ผู้นำที่จริงใจที่สุดก็ไม่สามารถเอาชนะอิทธิพลของผู้ที่พระเยซูเรียกว่า “ผู้ปกครองโลก” ได้. (โยฮัน 12:31; 14:30) นั่นคือเหตุผลที่พระเยซูตรัสกับนักการเมืองคนหนึ่งว่า “ราชอาณาจักรของเราไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโลกนี้.” (โยฮัน 18:36) พระเยซูคือผู้ที่จะเป็นกษัตริย์ของรัฐบาลที่พระเจ้าทรงตั้งขึ้นในสวรรค์. ถ้าพระเยซูมีส่วนร่วมในการเมืองของโลกนี้ ก็แสดงว่าพระองค์ไม่ภักดีต่อรัฐบาลของพระบิดา.
ถ้าเช่นนั้น พระเยซูทรงสอนไหมว่าสาวกของพระองค์ต้องไม่ทำสิ่งใด ๆ ที่รัฐบาลของมนุษย์เรียกร้อง? พระองค์ไม่ได้ทำเช่นนั้นแต่พระองค์ทรงสอนสาวกให้รู้ว่าพวกเขามีหน้าที่รับผิดชอบอะไรทั้งต่อพระเจ้าและต่อรัฐบาลมนุษย์.
พระเยซูยอมรับอำนาจของรัฐบาล
ขณะที่พระเยซูกำลังสอนอยู่ในพระวิหาร พวกผู้ต่อต้านพยายามจับผิดคำพูดของพระองค์โดยถามพระองค์ว่าประชาชนควรเสียภาษีหรือไม่. ถ้าพระเยซูตอบว่าไม่ คำตอบนั้นก็จะถือว่าเป็นการปลุกระดมและกระตุ้นให้ประชาชนที่ลูกา 20:21-25) ดังนั้น สาวกของพระเยซูมีหน้าที่รับผิดชอบทั้งต่อพระเจ้าและต่อซีซาร์ซึ่งหมายถึงรัฐบาลมนุษย์.
คิดจะกบฏเพราะถูกกดขี่ต้องการเป็นอิสระจากโรมมากขึ้น. แต่ถ้าพระเยซูตอบว่าควรเสีย หลายคนก็จะคิดว่าพระองค์ทรงเห็นชอบที่พวกเขาถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม. พระเยซูทรงให้คำตอบอย่างชาญฉลาด. พระองค์ตรัสว่า “ของของซีซาร์จงคืนให้ซีซาร์ แต่ของของพระเจ้าจงคืนให้พระเจ้า.” (รัฐบาลต่าง ๆ ช่วยให้สังคมมีความสงบเรียบร้อยในระดับหนึ่ง. การที่รัฐบาลเหล่านั้นเรียกร้องให้ประชาชนซื่อสัตย์, เสียภาษี, และเคารพกฎหมายเป็นเรื่องที่เหมาะสม. พระเยซูทรงวางตัวอย่างไว้เช่นไรในการคืน ‘ของของซีซาร์ให้ซีซาร์’? พระเยซูถูกเลี้ยงดูโดยบิดามารดาที่เคารพกฎหมายแม้แต่ในสภาพการณ์ที่ยากลำบาก. ตัวอย่างเช่น เมื่อรัฐบาลโรมมีคำสั่งให้ประชาชนไปจดทะเบียนสำมะโนครัว โยเซฟได้พามาเรียภรรยาที่กำลังตั้งครรภ์เดินทางไกลราว ๆ 150 กิโลเมตรไปยังเบทเลเฮม. (ลูกา 2:1-5) เช่นเดียวกับบิดามารดาของพระองค์ พระเยซูทรงเคารพกฎหมายบ้านเมืองและพระองค์ถึงกับเสียภาษีซึ่งตามจริงแล้วพระองค์ไม่จำเป็นต้องเสีย. (มัดธาย 17:24-27) นอกจากนั้น พระองค์ทรงระวังไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ไม่อยู่ในขอบเขตอำนาจของพระองค์. (ลูกา 12:13, 14) พระเยซูทรงให้ความนับถือต่อรัฐบาล แต่พระองค์ปฏิเสธที่จะมีส่วนในรัฐบาลนั้น. แล้วพระเยซูหมายความว่าอย่างไรเมื่อตรัสว่า “ของของพระเจ้าจงคืนให้พระเจ้า”?
วิธีที่พระเยซูคืน ‘ของของพระเจ้าให้พระเจ้า’
คราวหนึ่งมีคนถามพระเยซูว่าในบรรดาบัญญัติที่พระเจ้าประทานแก่มนุษย์นั้นข้อใดสำคัญที่สุด. พระคริสต์ตรัสตอบว่า “ ‘จงรักพระยะโฮวาพระเจ้าของเจ้าด้วยสุดหัวใจของเจ้า ด้วยสุดชีวิตของเจ้า และด้วยสุดความคิดของเจ้า.’ นี่เป็นบัญญัติข้อสำคัญที่สุดและเป็นบัญญัติข้อแรก. บัญญัติข้อที่สองก็เช่นกัน คือ ‘จงมัดธาย 22:37-39) พระเยซูทรงสอนว่าในการคืน ‘ของของพระเจ้าให้พระเจ้า’ นั้น สิ่งที่เราต้องให้กับพระเจ้าในอันดับแรกคือความรัก ซึ่งหมายรวมถึงความจงรักภักดีอย่างสุดหัวใจโดยไม่มีเงื่อนไข.
รักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง.’ ” (เราจะแบ่งความรักนี้ให้ใครหรือสิ่งใดอีกได้ไหม? เราจะภักดีต่อรัฐบาลที่พระยะโฮวาพระเจ้าทรงตั้งขึ้นในสวรรค์และขณะเดียวกันก็ภักดีต่อรัฐบาลของมนุษย์บนโลกนี้ด้วยได้ไหม? พระเยซูได้ตรัสถึงหลักการที่ว่า “ไม่มีใครเป็นทาสของนายสองคนได้ เพราะเขาจะชังนายคนหนึ่งและรักนายอีกคนหนึ่ง หรือไม่ก็จะภักดีต่อนายคนหนึ่งและดูหมิ่นนายอีกคนหนึ่ง.” (มัดธาย 6:24) แม้ในข้อนี้พระเยซูตรัสถึงการที่คนหนึ่งจะภักดีทั้งต่อพระเจ้าและต่อทรัพย์สมบัติ แต่พระองค์ทรงถือว่าหลักการเดียวกันนี้ใช้ได้กับการมีส่วนร่วมในการเมืองด้วย และสาวกของพระองค์ในศตวรรษแรกก็ได้ปฏิบัติตามหลักการเดียวกัน.
บันทึกทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดที่มีในปัจจุบันแสดงให้เห็นว่าสาวกของพระเยซูสมัยโบราณไม่มีส่วนร่วมใด ๆ ในการเมือง. เนื่องจากพวกเขาได้ถวายความเลื่อมใสศรัทธาทั้งสิ้นให้กับพระเจ้าผู้ซึ่งพระคริสต์ทรงเลื่อมใสและนมัสการ พวกเขาจึงไม่ยอมกล่าวคำปฏิญาณแสดงความจงรักภักดีต่อโรมและจักรพรรดิ, ไม่เข้าร่วมในกองทัพ, และรับตำแหน่งใด ๆ ทางการเมือง. ผลคือพวกเขาถูกเกลียดชังอย่างยิ่ง. บางครั้งพวกศัตรูกล่าวหาพวกเขาว่าเป็นคนที่เกลียดชังเพื่อนมนุษย์. คำกล่าวหาเช่นนั้นถูกต้องไหม?
คริสเตียนแท้รักเพื่อนมนุษย์
คุณคงจำได้ว่าพระเยซูตรัสว่าบัญญัติที่สำคัญที่สุดเป็นอันดับสองคือ “จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง.” ดังนั้น เห็นได้ชัดว่าสาวกแท้ของพระคริสต์ไม่ได้เกลียดชังเพื่อนมนุษย์. พระเยซูทรงรักประชาชนและทรงช่วยเหลือพวกมาระโก 5:25-34; โยฮัน 2:1-10
เขาอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยแม้แต่ในเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันของพวกเขา.—แต่ผู้คนรู้จักพระเยซูในฐานะอะไรมากที่สุด? แม้ว่าพระองค์ทรงทำการอัศจรรย์มากมาย แต่ไม่มีใครเรียกพระองค์ว่าผู้รักษาโรค, ผู้เลี้ยงอาหารคนหลายพัน, หรือแม้แต่ผู้ปลุกคนตาย. ประชาชนเรียกพระองค์ว่าอาจารย์ และพระองค์ก็เป็นเช่นนั้นจริง. (โยฮัน 1:38; 13:13) พระเยซูทรงอธิบายว่าเหตุผลสำคัญข้อหนึ่งที่พระองค์เสด็จมายังโลกนี้ก็เพื่อสอนประชาชนเรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้า.—ลูกา 4:43
เพราะเหตุนี้สาวกแท้ของพระคริสต์จึงอุทิศตนเพื่อทำงานเดียวกับที่นายของพวกเขาเคยทำเมื่ออยู่บนแผ่นดินโลก คือสอนผู้คนเกี่ยวกับข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้า. คริสเตียนแท้ทุกคนได้รับมอบหมายจากพระเยซูคริสต์ให้สอนผู้คนทั่วโลกเกี่ยวกับเรื่องนี้. (มัดธาย 24:14; 28:19, 20) ราชอาณาจักรนี้ซึ่งเป็นรัฐบาลในสวรรค์จะปกครองทุกสิ่งที่พระเจ้าได้ทรงสร้างและจะปกครองด้วยความรัก. รัฐบาลนี้จะทำให้พระประสงค์ของพระเจ้าสำเร็จ และกระทั่งขจัดความทุกข์และความตายให้หมดไปด้วย. (มัดธาย 6:9, 10; วิวรณ์ 21:3, 4) จึงไม่แปลกที่คัมภีร์ไบเบิลเรียกข่าวสารของพระคริสต์ว่า “ข่าวดี”!—ลูกา 8:1
ดังนั้น หากคุณต้องการรู้ว่าใครคือสาวกแท้ของพระเยซูคริสต์ในโลกทุกวันนี้ คุณจะรู้ได้อย่างไร? พวกเขากำลังมีส่วนร่วมในการเมืองของโลกนี้ไหม? หรือว่าพวกเขากำลังทำงานสำคัญอย่างเดียวกับที่พระเยซูทรงเคยทำคืองานประกาศและสอนเกี่ยวกับราชอาณาจักรของพระเจ้า?
คุณอยากรู้มากขึ้นเกี่ยวกับราชอาณาจักรของพระเจ้าและประโยชน์ที่คุณจะได้รับจากราชอาณาจักรนี้ในปัจจุบันไหม? เชิญคุณติดต่อพยานพระยะโฮวาในท้องถิ่นหรือเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.watchtower.org ซึ่งเป็นเว็บไซต์ทางการของพวกเขา.
[กรอบ/ภาพหน้า 24, 25]
พยานพระยะโฮวาช่วยเหลือสังคมไหม?
พยานพระยะโฮวาไม่สนับสนุนฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในการเมือง. แต่พวกเขาช่วยเหลือผู้คนในสังคมอย่างเต็มที่ไม่ว่าจะมีเชื้อชาติหรือภูมิหลังเช่นไร. ขอพิจารณาข้อเท็จจริงต่อไปนี้:
▪ พยานพระยะโฮวามากกว่าเจ็ดล้านคนทั่วโลกเป็นอาสาสมัครซึ่งใช้เวลามากกว่า 1.5 พันล้านชั่วโมงในแต่ละปีเพื่อสอนผู้คนเกี่ยวกับเรื่องราวในคัมภีร์ไบเบิลและแสดงให้ผู้คนเห็นว่าคัมภีร์ไบเบิลสามารถช่วยเขาให้เลิกนิสัยและกิจปฏิบัติที่ไม่ดี, สร้างครอบครัวที่มีความสุข, และปรับปรุงชีวิตให้ดีขึ้นได้.
▪ พวกเขาพิมพ์และแจกจ่ายหนังสือโดยไม่คิดมูลค่าในภาษาต่าง ๆ มากกว่า 500 ภาษา ซึ่งในบางภาษาไม่มีการพิมพ์หนังสือในภาษานั้นกันแล้ว.
▪ พวกเขาจัดชั้นเรียนเพื่อฝึกอบรมด้านการพูดในที่สาธารณะซึ่งช่วยหลายล้านคนให้รู้วิธีพูดอย่างชัดเจนและมีศิลปะ.
▪ พวกเขาออกเงินทุนสนับสนุนโครงการส่งเสริมการรู้หนังสือซึ่งช่วยหลายหมื่นคนทั่วโลกให้อ่านออกเขียนได้.
▪ พวกเขามีคณะกรรมการก่อสร้างภูมิภาค 400 คณะทั่วโลกซึ่งฝึกทักษะการก่อสร้างให้แก่อาสาสมัครที่ช่วยสร้างศูนย์การศึกษาคัมภีร์ไบเบิลในที่ต่าง ๆ. ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา มีการสร้างสถานนมัสการที่เรียกว่าหอประชุมราชอาณาจักรมากกว่า 20,000 แห่ง.
▪ พวกเขามีส่วนร่วมในงานบรรเทาทุกข์เมื่อเกิดภัยพิบัติในที่ต่าง ๆ ทั่วโลก โดยให้การช่วยเหลือแก่ทั้งพยานพระยะโฮวาและผู้ที่ไม่ใช่พยานฯ. หลังจากพายุเฮอร์ริเคนพัดถล่มหลายส่วนของสหรัฐฯ เมื่อไม่กี่ปีมานี้ อาสาสมัครพยานฯ ได้ช่วยกันสร้างหอประชุมราชอาณาจักรมากกว่า 90 แห่งและบ้าน 5,500 หลังขึ้นใหม่ภายในสองปี.
[ภาพหน้า 23]
เมื่อฝูงชนกดดันพระเยซูให้มีส่วนร่วมในการเมือง พระองค์ ‘เสด็จไปที่ภูเขาตามลำพัง’