“อย่าลืมการประกาศตามบ้านเป็นอันขาด”
“อย่าลืมการประกาศตามบ้านเป็นอันขาด”
เล่าโดย ยาคอบ นอยเฟลด์
“ไม่ว่าเกิดอะไรขึ้น อย่าลืมการประกาศตามบ้านเป็นอันขาด.” โดยที่ถ้อยคำเหล่านี้แจ่มชัดอยู่ในจิตใจของผม ผมเดินเท้าระยะทางเกือบห้ากิโลเมตรไปยังหมู่บ้านซึ่งอยู่ใกล้ที่สุด. ครั้นไปถึง ผมรู้สึกไม่กล้าประกาศที่บ้านหลังแรก. หลังจากรู้สึกกระวนกระวายอยู่พักหนึ่ง ผมก็เดินเข้าป่าและอธิษฐานด้วยความรู้สึกเร่าร้อน ทูลขอพระเจ้าเพื่อจะมีความกล้าทำการประกาศ. ในที่สุด ผมย้อนกลับไปที่บ้านแรกและสามารถประกาศให้คำพยานได้.
อะไรเป็นสาเหตุทำให้ผมไปที่หมู่บ้านอันแห้งแล้งของประเทศปารากวัย และพยายามออกประกาศตามลำพัง? ผมขอกลับไปเริ่มเรื่องแต่แรก. ผมเกิดเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 1923 ที่หมู่บ้านครอนสตัล นิคมเยอรมันเมนโนไนต์ในยูเครน. ณ ช่วงปลายศตวรรษที่ 18 พวกเมนโนไนต์ได้อพยพจากประเทศเยอรมนีไปยังยูเครนและได้รับสิทธิหลายประการ รวมถึงสิทธิเสรีภาพในการนมัสการ (แต่ไม่ได้สิทธิชักจูงผู้อื่นให้เปลี่ยนศาสนา), มีเขตปกครองตนเอง, และได้รับยกเว้นจากการเกณฑ์เป็นทหาร.
เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์มีอำนาจปกครองประเทศ สิทธิพิเศษต่าง ๆ ดังกล่าวถูกเพิกถอน. พอถึงปลายทศวรรษ 1920 ไร่นาอันกว้างใหญ่ไพศาลของพวกเมนโนไนต์ถูกเปลี่ยนเป็นของรัฐ. ประชาชนจะไม่ได้อาหารนอกเสียจากว่ายอมร่วมมือกับรัฐบาล และถ้าต่อต้านก็จะได้รับการปฏิบัติอย่างโหดร้ายทารุณ. ในช่วงทศวรรษ 1930 หน่วยเคจีบี (ตำรวจลับของอดีตสหภาพโซเวียต) ได้จับกุมผู้ชายหลายคน ปกติแล้วมักดำเนินการในตอนกลางคืน จนในที่สุด หลายหมู่บ้านเหลือผู้ชายเพียงไม่กี่คน. นี่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 1938 ตอนนั้นผมอายุ 14 ปี พ่อถูกจับและผมไม่เห็นหน้าพ่อหรือได้ข่าวจากพ่ออีกเลย. สองปีหลังจากนั้น พี่ชายผมก็ถูกจับเช่นกัน.
ปี 1941 กองทัพของฮิตเลอร์ได้ยึดครองยูเครน. สำหรับพวกเรา นี่หมายถึงการหลุดพ้นอำนาจปกครองของคอมมิวนิสต์. อย่างไรก็ตาม โดยกะทันหันครอบครัวยิวแปดครอบครัวหายไปจากหมู่บ้านอย่างไม่เหลือร่องรอย. ประสบการณ์ต่าง ๆ ในทำนองนี้กลายเป็นคำถามคาใจผม. ทำไมเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น?
ความซื่อสัตย์ช่วยชีวิตผม
ในปี 1943 กองทัพเยอรมันล่าถอยพร้อมกับการพาเอาครอบครัวชาวเยอรมันส่วนใหญ่ รวมทั้งสมาชิกครอบครัวของผมที่เหลืออยู่กลับไปเพื่อให้ร่วมทำสงคราม. พอถึงตอนนั้น ผมถูกเกณฑ์เป็นทหารแล้ว และได้รับมอบหมายให้
ประจำหน่วยเอสเอส (ชูตซ์สตัฟเฟิล กองรักษาการชั้นยอดของฮิตเลอร์) ในโรมาเนีย. เหตุการณ์เล็ก ๆ น้อย ๆ ในเวลานั้นส่งผลต่อชีวิตของผมอย่างมาก.ผู้บังคับกองร้อยประจำหน่วยรบต้องการทดสอบความซื่อสัตย์ของผม. เขาสั่งผมให้เอาเครื่องแบบของเขาไปที่ร้านซักแห้ง. ผมพบเงินจำนวนหนึ่งที่เขาตั้งใจใส่ไว้ในกระเป๋าเสื้อของเขา. เมื่อผมนำเงินมาคืน เขาพูดว่าเขาไม่ลืมอะไรในกระเป๋า. แต่ผมยืนยันว่าผมได้เงินนั้นมาจากกระเป๋าของเขา. ไม่นานต่อมา ผมถูกมอบหมายให้เป็นผู้ช่วยของเขา และได้ทำงานด้านเอกสาร, วางยาม, และดูแลการเงินในหน่วยของเรา.
คืนหนึ่ง กองทัพรัสเซียเข้ายึดหน่วยของเราได้ทั้งหมด ยกเว้นผมคนเดียว ผมถูกละไว้เบื้องหลังเพื่อทำงานบางส่วนของผู้บังคับการให้เสร็จ. เท่าที่ผมทราบ ผมคนเดียวไม่ถูกจับ ทั้งนี้เป็นเพราะผมซื่อสัตย์และได้รับหน้าที่มอบหมายพิเศษ. ไม่เช่นนั้น ผมก็คงถูกจับเช่นกัน.
ด้วยเหตุนี้ ในปี 1944 ผมได้รับอนุญาตอย่างกะทันหันให้ออกประจำการจนกว่าจะมีคำสั่งใหม่. ผมจึงกลับบ้านไปเยี่ยมแม่. ระหว่างรอการเรียกกลับ ผมกลายเป็นลูกมือฝึกงานของช่างก่อตึก และการฝึกแบบนี้เป็นประโยชน์ในตอนหลัง. เดือนเมษายน ปี 1945 กองทหารอเมริกันเข้ายึดครองเมืองของเราใกล้กับมักเดบูร์ก. หนึ่งเดือนต่อมา สงครามได้สิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการ. เรายังมีชีวิตอยู่. ดูเหมือนว่าอนาคตของเราสดใส.
วันหนึ่งในเดือนมิถุนายน เราได้ยินคำประกาศจากโฆษกประจำเมืองประกาศว่า “กองทหารอเมริกันได้ถอนกำลังออกไปเมื่อคืนที่แล้ว และทหารรัสเซียจะมาถึงวันนี้ เวลา 11:00 น.” เรารู้สึกใจหายทันทีเมื่อรู้ว่าเราถูกดักไว้ในเขตควบคุมของคอมมิวนิสต์. ผมและลูกพี่ลูกน้องคนหนึ่งเริ่มวางแผนเตรียมหลบหนีทันที. เราได้ข้ามเข้าไปในเขตทหารอเมริกันตอนกลางฤดูร้อน. ครั้นแล้ว ในเดือนพฤศจิกายน ด้วยความยากลำบากมากมาย ทั้งต้องเสี่ยงต่อการถูกจับ เราได้ย้อนกลับมาในเขตรัสเซียแล้วแอบพาครอบครัวของเราหนีข้ามแดน.
“ตั้งใจฟังให้ดีและนำมาเทียบเคียงกัน”
เราตั้งหลักแหล่งในเขตพื้นที่ซึ่งเวลานั้นคือเยอรมนีตะวันตก. ไม่นานหลังจากนั้น ผมรู้สึกว่าตัวเองเริ่มชอบคัมภีร์ไบเบิล. พอถึงวันอาทิตย์ ผมจะเข้าไปในป่าอ่านพระคัมภีร์ แต่เรื่องที่ผมอ่านดูเหมือนว่ามันแปลก ๆ พรรณนาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนานมาแล้ว. นอกจากนั้น ผมได้เข้ากลุ่มเรียนหลักคำสอนของคริสตจักรเพื่อเตรียมตัวรับบัพติสมาฐานะเป็นสมาชิกนิกายเมนโนไนต์. ผมประหลาดใจมากเมื่อพบถ้อยคำในหนังสือคู่มือถามตอบของคริสตจักรที่ว่า “พระบิดาเป็นพระเจ้า, พระบุตรเป็นพระเจ้า, และพระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นพระเจ้า” ตามด้วยคำถาม “มีพระเจ้าสามองค์หรือ?” คำตอบปรากฏอยู่ข้างล่าง: “ไม่ใช่ สามองค์เป็นองค์เดียว.” ผมถามนักเทศน์ว่าเป็นไปได้อย่างไร. เขากลับตอบอย่างนี้: “นี่พ่อหนุ่ม อย่าเอาจริงเอาจังเกินไปกับเรื่องพรรค์นี้ บางคนคิดมากจนเป็นบ้าเสียสติไปเลย.” ผมเลยตัดสินใจตอนนั้นไม่รับบัพติสมา.
ไม่กี่วันต่อมา ผมได้ยินคนแปลกหน้าคุยกับลูกพี่ลูกน้องของผม. ด้วยความอยากรู้ ผมเข้าไปร่วมวงสนทนา และผมถามเขาสองสามข้อ. ตอนนั้นผมไม่รู้ว่าชายแปลกหน้าคนนี้คือเอริค นิโคไลซิก ผู้รอดชีวิตจากค่ายกักกันเวเวลส์บูร์ก. เขาถามผมว่าอยากเข้าใจคัมภีร์ไบเบิลหรือไม่. เมื่อผมบอกว่าต้องการ เขาให้คำรับรองว่าทุกสิ่งที่เขาสอนผมสามารถพิสูจน์ยืนยันได้จากพระคัมภีร์ของผมเอง.
หลังการเยี่ยมเพียงสองสามครั้ง เอริคได้ชวนผมไปยังการประชุมใหญ่ของพยานพระยะโฮวา ซึ่งผมเชื่อว่านี่เป็นหนึ่งในการประชุมใหญ่ครั้งแรก ๆ หลังสงคราม. ผมประทับใจมาก และผมจดคัมภีร์ทุกข้อที่ผู้บรรยายยกขึ้นมาอ่านหรืออ้างถึง. ไม่นานผมก็ตระหนักว่าการเรียนรู้สิ่งที่พระคัมภีร์สอนนำมาซึ่งหน้าที่รับผิดชอบบางประการ และผมตัดสินใจยุติการศึกษา. นอกจากนั้น ผมรู้สึกว่ายากจะยอมรับว่ามีศาสนาเดียวเป็นศาสนาแท้. ครั้นเอริคเห็นว่าผมปลงใจ
แน่วแน่จะหวนกลับไปหาคริสตจักรเดิม เขาเตือนสติผมดังนี้: “ตั้งใจฟังให้ดีและนำมาเทียบเคียงกัน.”ผมแวะไปหานักเทศน์เพียงสองครั้ง หลังจากนั้นผมได้มาตระหนักว่าพวกเขาพูดไม่เข้าเรื่อง และไม่รู้ความจริงเกี่ยวกับคัมภีร์ไบเบิลแน่ ๆ. ผมเขียนถึงนักเทศน์นักบวชหลายคนถามปัญหาเกี่ยวกับพระคัมภีร์. คนหนึ่งตอบอย่างนี้: “คุณไม่มีสิทธิ์จะค้นคว้าพระคัมภีร์เนื่องจากคุณยังไม่ได้บังเกิดใหม่.”
ตอนนั้น ผู้หญิงที่ผมคบหาอยู่ได้คาดคั้นให้ผมตัดสินใจเลือก. เธอเป็นสมาชิกนิกายเมนโนไนต์ที่เชื่อเรื่องการบังเกิดใหม่. โดยยอมต่อแรงกดดันของครอบครัวเธอซึ่งเกลียดพยานพระยะโฮวา เธอยื่นคำขาดให้ผม หากผมยังคงยึดศาสนาใหม่นี้ เธอจะตัดรักผมทันที. พอถึงตอนนั้น ความจริงก็ชัดแจ้งมากพอ ทำให้ผมรู้ว่าทางเลือกที่ถูกต้องมีทางเดียวเท่านั้น—ผมจึงเลิกคบหากับเธอ.
หลังจากนั้นไม่นาน เอริคกลับมาเยี่ยมอีก. เขากล่าวว่าได้มีกำหนดการให้บัพติสมาในสัปดาห์ถัดไป และถามผมมีความประสงค์จะรับบัพติสมาหรือไม่. ผมลงความเห็นแล้วว่าพยานพระยะโฮวาสอนความจริง และผมต้องการรับใช้พระยะโฮวาพระเจ้า. ดังนั้น ผมจึงตอบรับคำเชิญของเขาและได้รับบัพติสมาในอ่างอาบน้ำเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 1948.
หลังการรับบัพติสมาได้ไม่นาน ครอบครัวของผมตัดสินใจอพยพไปที่ประเทศปารากวัย อเมริกาใต้ และแม่ขอร้องให้ผมไปด้วย. ผมไม่สู้จะเต็มใจนัก เพราะผมต้องการศึกษาพระคัมภีร์และรับการสอนให้มากขึ้น. ตอนที่ผมไปเยือนสำนักงานสาขาของพยานพระยะโฮวาในวีสบาเดิน ผมได้พบเอากุสท์ เพเทอร์ส. เขาเตือนผมให้นึกถึงหน้าที่รับผิดชอบที่ต้องดูแลครอบครัวตัวเอง. เขาแนะนำผมด้วยว่า “ไม่ว่าเกิดอะไรขึ้น อย่าลืมการประกาศตามบ้านเป็นอันขาด. ถ้าคุณลืม คุณจะเป็นเหมือนสมาชิกกิจการ 20:20, 21.
นิกายหนึ่งแห่งคริสต์ศาสนจักร.” ตราบทุกวันนี้ ผมสำนึกถึงความสำคัญของคำแนะนำนั้นและความจำเป็นที่จะประกาศ “ตามบ้านเรือน.”—“ผู้พยากรณ์เท็จ” ในประเทศปารากวัย
ไม่นานหลังจากพบกับเอากุสท์ เพเทอร์ส ผมกับครอบครัวก็ลงเรือมุ่งสู่อเมริกาใต้. การเดินทางของเราสิ้นสุดที่ภูมิภาคกรานชาโค ประเทศปารากวัย ซึ่งทำให้เรามาอยู่ในนิคมของพวกเมนโนไนต์อีกครั้งหนึ่ง. สองสัปดาห์หลังจากที่เรามาถึง ผมได้เดินไปประกาศตามหมู่บ้านใกล้เคียงโดยลำพังเหมือนที่ผมเล่าตอนต้น. ข่าวลือแพร่สะพัดว่ามี “ผู้พยากรณ์เท็จ” ในหมู่ผู้มาใหม่.
ตอนนี้แหละการที่ผมได้ฝึกงานเป็นช่างก่อตึกปรากฏว่ามีค่าอย่างยิ่ง. ครอบครัวผู้อพยพแต่ละรายต้องการสร้างบ้านก่อด้วยอิฐ ใช้ใบจากมุงหลังคา. หกเดือนต่อจากนั้น ผมทำงานสร้างบ้านไม่เคยว่างเว้น และมีหลายโอกาสที่ผมได้ประกาศอย่างไม่เป็นทางการ. ประชาชนมีมารยาทพอสมควร แต่พอก่อผนังบ้านทั้งสี่ด้านเสร็จแล้ว พวกเขาดีใจที่ผมไม่มาให้เขาเห็นหน้าอีก.
ในช่วงนั้น เรือโดยสารได้ขนส่งผู้ลี้ภัยชาวเมนโนไนต์จากเยอรมนีเข้ามาในประเทศนี้อีก. หญิงสาวคนหนึ่งชื่อคาเทรีนา เชลเลนแบร์กเป็นหนึ่งในจำนวนนี้ที่เคยติดต่อพยานฯระยะหนึ่ง และเธอยอมรับเกือบในทันทีว่าสิ่งที่พวกพยานฯสอนนั้นเป็นความจริง. แม้ยังไม่ได้รับบัพติสมา เธอก็แสดงตัวเป็นพยานพระยะโฮวาขณะอยู่บนเรือ. ด้วยเหตุนี้เอง เธอไม่ได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้านิคมเยอรมัน. เธอถูกทิ้งให้อยู่อย่างเดียวดายในเมืองอะซุนซิโอน เมืองหลวงของปารากวัย ครั้นแล้วเธอก็ได้งานทำ โดยเป็นคนรับใช้ในบ้าน, เธอฝึกเรียนภาษาสเปน, สืบหาที่อยู่ของพยานฯจนพบ, และรับบัพติสมา. ในเดือนตุลาคม ปี 1950 ผมได้ผู้หญิงคนนี้ที่กล้าสู้ไม่ท้อถอยมาเป็นภรรยาของผม. เธอพิสูจน์ตัวเป็นผู้สนับสนุนและช่วยเหลือผมในทุกสิ่งที่เราต้องฝ่าฟันด้วยกันมาตลอดหลายปี.
ในช่วงเวลาสั้น ๆ ผมเก็บออมเงินได้พอซื้อรถเทียมม้าและม้าอีกสองตัว และผมใช้รถม้าคันนี้ในงานประกาศ ผมจดจำคำเตือนของบราเดอร์เพเทอร์สไว้ตลอดเวลา. ขณะนั้น น้องสาวของผมซึ่งได้มาเป็นพยานฯเช่นกันสมทบกับเรา. เรามักตื่นนอนตอนตีสี่, เดินทางสี่ชั่วโมง, และประกาศสองหรือสามชั่วโมงแล้วกลับบ้าน.
ผมได้อ่านในสรรพหนังสือของพวกเราว่ามีการจัดการบรรยายสาธารณะ ดังนั้น ผมจึงจัดเตรียมคำบรรยาย. ผมไม่เคยเข้าร่วมการประชุมประชาคมในเยอรมนีแม้แต่ครั้งเดียว ฉะนั้น ผมได้แต่เพียงคาดเดาว่าการประชุมควรจัดอย่างไรและได้บรรยายเรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้า. การประชุมคราวนั้นมีแปดคนไปร่วมฟัง และนี่ก็มากไปสำหรับนักเทศน์นิกายเมนโนไนต์. พวกเขาจัดการรณรงค์ให้เก็บสรรพหนังสือทุกชิ้นที่เกี่ยวข้องกับคัมภีร์ไบเบิลที่พวกเราจ่ายแจกประชาชนมาให้หมด ทั้งยังสั่งห้ามประชาชนทักทายพวกเราด้วย.
ต่อมา ผมถูกเรียกตัวให้ไปที่สำนักงานใหญ่ฝ่ายบริหารนิคมและถูกผู้บริหารและนักเทศน์สองคนจากแคนาดาซักถามอยู่นานหลายชั่วโมง. ในที่สุด คนหนึ่งพูดว่า “พ่อหนุ่ม คุณจะเชื่ออะไรก็ได้ตามใจชอบ แต่ต้องสัญญาว่าจะไม่พูดเรื่องความเชื่อของคุณกับใคร ๆ ทั้งสิ้น.” นั่นเป็นสัญญาซึ่งผมไม่อาจตกลงได้. ดังนั้น พวกเขาออกคำสั่งให้ผมไปจากนิคม เพราะเขาไม่ต้องการ “ผู้พยากรณ์เท็จ” อยู่ท่ามกลาง “พวกพี่น้องที่ซื่อสัตย์.” ครั้นผมปฏิเสธ เขาจึงเสนอจะจ่ายค่าเคลื่อนย้ายสำหรับทุกคนในครอบครัว. ผมก็ยังคงยืนกรานหนักแน่น และไม่ยอมเคลื่อนย้าย.
ฤดูร้อนปี 1953 ผมได้ไปร่วมการประชุมภาคที่เมืองอะซุนซิโอน. ที่นั่น ผมได้พูดคุยกับนาทาน นอรร์จากสำนักงานใหญ่ของพยานพระยะโฮวาในบรุกลิน นิวยอร์ก. ท่านได้แนะนำผมให้ย้ายไปอยู่ในเมืองหลวง และทำงานกับมิชชันนารี
กลุ่มเล็ก ๆ ที่ถูกมอบหมายไปที่นั่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เนื่องจากการประกาศของเราในนิคมเมนโนไนต์ไม่ค่อยบังเกิดผล.จัดให้ราชอาณาจักรของพระเจ้าเป็นอันดับแรก
สมัยนั้นทั่วประเทศปารากวัยมีพยานฯเพียง 35 คน. ผมได้หารือกับภรรยาด้วยเรื่องการคิดจะย้ายไปอยู่เมืองใหญ่ แม้ไม่ค่อยชอบ กระนั้น เธอก็เต็มใจจะตั้งต้นใหม่. ปี 1954 ผมกับคาเทรีนาได้สร้างบ้านอิฐ—เพียงเราสองคนและทำในเวลาว่าง. เราไม่เคยขาดการประชุม และในวันสุดสัปดาห์เราได้พูดคุยกับประชาชนเสมอถึงเรื่องคัมภีร์ไบเบิล.
หน้าที่มอบหมายพิเศษอย่างหนึ่งของผมคือเดินทางไปกับผู้ดูแลหมวด ทำหน้าที่เป็นล่ามในระหว่างการเยี่ยมนิคมชาวเยอรมันในปารากวัย. เนื่องจากผมรู้ภาษาสเปนเพียงเล็กน้อย ครั้งแรกที่ผมแปลคำบรรยายจากภาษาสเปนเป็นเยอรมันน่าจะเป็นงานมอบหมายครั้งที่ยากที่สุดของผม.
เนื่องจากภรรยามีปัญหาด้านสุขภาพ เราจึงย้ายไปอยู่ในประเทศแคนาดา ปี 1957. แล้วย้ายไปที่ประเทศสหรัฐในปี 1963. ไม่ว่าเราอยู่ที่ไหน เราพยายามจัดให้ผลประโยชน์แห่งราชอาณาจักรของพระเจ้าเป็นอันดับแรกในชีวิตของเราเสมอ. (มัดธาย 6:33) ผมขอบพระคุณพระยะโฮวาพระเจ้าอย่างแท้จริงที่พระองค์ทรงให้โอกาสผมได้เรียนความจริงจากคัมภีร์ไบเบิล พระคำของพระองค์ในตอนที่ผมยังหนุ่มแน่น. การฝึกอบรมฝ่ายวิญญาณเช่นนั้นช่วยผมมากมายหลายประการตลอดชีวิตของผม!
นับว่าเป็นสิทธิพิเศษเลิศล้ำที่ช่วยผู้คนเรียนรู้ความจริงอันยอดเยี่ยมจากคัมภีร์ไบเบิล ซึ่งได้ทำให้ผมสบายใจมาก. ความปีติยินดีของผมคือลูกทุกคนรวมถึงหลาน ๆ ได้รับประโยชน์เนื่องด้วยการฝึกอบรมจากคัมภีร์ไบเบิลตั้งแต่ปฐมวัย. ลูกหลานทุกคนกำลังปฏิบัติตามคำแนะนำของบราเดอร์เพเทอร์ส ผู้ซึ่งบอกผมนานมาแล้วว่า “อย่าลืมการประกาศตามบ้านเป็นอันขาด.”
[คำโปรยหน้า 22]
ความปีติยินดีของผมอยู่ที่การได้เห็นบุตรชายหญิงทุกคนและหลาน ๆ ได้รับประโยชน์เนื่องด้วยการฝึกอบรมจากคัมภีร์ไบเบิลตั้งแต่ปฐมวัย
[ภาพหน้า 20, 21]
ผมกับคาเทรีนา ไม่นานก่อนวันสมรสของเราในปี 1950
[ภาพหน้า 21]
กับลูกคนแรกที่บ้านของเราในปารากวัย ปี 1952
[ภาพหน้า 23]
กับครอบครัวขยายของเราในปัจจุบัน
[ที่มาของภาพ]
Photo by Keith Trammel © 2000
[ภาพหน้า 19]
Photo by Keith Trammel © 2000