จงสอนลูก
มาระโกไม่ท้อถอย
มาระโกเขียนหนังสือเกี่ยวกับชีวิตพระเยซูซึ่งเป็นหนึ่งในบันทึกข่าวดีสี่เล่มของคัมภีร์ไบเบิล. บันทึกเล่มนี้สั้นที่สุดและอ่านง่ายที่สุด. มาระโกเป็นใคร? ลูกคิดว่าเขารู้จักพระเยซูไหม?— * ให้เราพิจารณาว่ามาระโกต้องเผชิญการทดสอบอย่างหนักอะไรบ้างและเรียนรู้ว่าเหตุใดมาระโกไม่เคยท้อถอยหรือเลิกการเป็นคริสเตียน.
มีการกล่าวถึงมาระโกครั้งแรกในคัมภีร์ไบเบิลหลังจากกษัตริย์เฮโรดอะกริปปาสั่งจำคุกเปโตร. คืนวันหนึ่งทูตสวรรค์ได้ปล่อยเปโตรออกจากคุก และท่านตรงไปยังบ้านมาเรียมารดาของมาระโกทันทีซึ่งอยู่ในกรุงเยรูซาเลม. การปล่อยเปโตรออกจากที่คุมขังเกิดขึ้นประมาณสิบปีภายหลังพระเยซูถูกประหารในวันปัศคา ปีสากลศักราช 33.—กิจการ 12:1-5, 11-17.
ลูกรู้ไหมทำไมเปโตรไปที่บ้านของมาเรีย?— น่าจะเป็นเพราะท่านรู้จักคนในบ้านและทราบว่าเหล่าสาวกของพระเยซูพากันมาร่วมประชุมที่นั่น. บาร์นาบัสลูกพี่ลูกน้องของมาระโกเป็นสาวกมานานแล้ว อย่างน้อยก็ตั้งแต่เทศกาลเพนเทคอสต์ ปี ส.ศ. 33. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวถึงการมีน้ำใจเอื้อเฟื้อของเขาเพื่อช่วยเหลือเหล่าสาวกใหม่ ๆ ครั้งนั้น. ดังนั้น พระเยซูอาจรู้จักบาร์นาบัส รวมถึงมาเรียผู้เป็นป้าหรือน้าของเขาและมาระโกลูกชายของนาง.—กิจการ 4:36, 37; โกโลซาย 4:10.
ในบันทึกข่าวดีที่เขาได้เขียน มาระโกเล่าเหตุการณ์ในคืนที่พระเยซูถูกจับว่า มีชายหนุ่มคนหนึ่งที่อยู่ที่นั่นมีเพียงเสื้อ “คลุมกายที่เปลือยเปล่า.” เมื่อพวกศัตรูกลุ้มรุมจับพระเยซู มาระโกเขียนว่าชายหนุ่มคนนั้นได้หนีไป. ลูกคิดว่าชายหนุ่มนั้นน่าจะเป็นใคร?— ใช่แล้ว คงจะเป็นมาระโก! ดังนั้น เมื่อพระเยซูและพวกอัครสาวกของพระองค์ไปจากบ้านที่ฉลองปัศคาในคืนวันนั้น ดูเหมือนมาระโกคงรีบสวมเสื้อคลุมและตามไป.—มาระโก 14:51, 52, เชิงอรรถ.
ที่จริง มาระโกมีโอกาสติดต่อกับผู้รับใช้ของพระเจ้าหลายครั้ง อีกทั้งได้รู้เห็นเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวเนื่องกับพระประสงค์ของพระเจ้า. น่าจะเป็นไปได้ว่าเขาได้อยู่ ณ เทศกาลเพนเทคอสต์ปี ส.ศ. 33 ตอนที่มีการหลั่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ ทั้งมีโอกาสได้คบหาใกล้ชิดกับเหล่าผู้รับใช้ที่สัตย์ซื่อของพระเจ้า เช่น เปโตรเป็นต้น. นอกจากนั้น เขาได้ร่วมทางกับบาร์นาบัสลูกพี่ลูกน้องผู้ซึ่งช่วยเหลือเซาโลโดยแนะนำให้รู้จักเปโตรหลังจากพระเยซูได้ปรากฏแก่เซาโลในนิมิตประมาณสามปี. หลายปีหลังจากนั้น บาร์นาบัสไปที่ทาร์ซัสเพื่อไปพบเซาโลที่นั่น.—กิจการ 9:1-15, 27; 11:22-26; 12:25; กาลาเทีย 1:18, 19.
ปี ส.ศ. 47 บาร์นาบัสและเซาโลได้รับเลือกให้ทำงานมิชชันนารี. เขาทั้งสองได้พามาระโกไปด้วย แต่ด้วยสาเหตุที่ไม่ได้อธิบายไว้ มาระโกได้แยกจากพวกเขาแล้วเดินทางกลับบ้านที่เยรูซาเลม. เซาโลซึ่งต่อมารู้จักกันในชื่อโรมันว่าเปาโลรู้สึกไม่พอใจอย่างมาก. และท่านไม่ได้เพิกเฉยต่อสิ่งที่ท่านถือว่าเป็นการผิดพลาดอันร้ายแรงของมาระโก.—เมื่อเดินทางกลับจากงานมิชชันนารี เปาโลกับบาร์นาบัสได้รายงานเล่าถึงความสำเร็จอย่างดีเยี่ยม. (กิจการ 14:24-28) ต่อมา เขาทั้งสองเตรียมกลับไปเยี่ยมเหล่าสาวกใหม่ตามเมืองต่าง ๆ ที่เคยไปประกาศ. บาร์นาบัสต้องการพามาระโกไปด้วย แต่ลูกรู้ไหมว่าเปาโลคิดอย่างไร?— ท่าน “คิดว่าไม่ควร” เพราะคราวก่อนมาระโกเคยทิ้งคนทั้งสองแล้วกลับบ้าน. แน่นอน สิ่งที่เกิดขึ้นถัดจากนั้นคงทำให้มาระโกเสียใจมาก!
เมื่อเกิดโทโส และหลังจาก “ขัดแย้งกันอย่างหนัก” เปาโลและบาร์นาบัสก็แยกทางกัน. บาร์นาบัสพามาระโกไปประกาศที่เกาะไซปรัส ส่วนเปาโลเลือกซีลัสและกลับไปเยี่ยมสาวกใหม่ตามแผนการที่วางไว้. มาระโกคงเสียใจสักเพียงใดที่เขาได้ก่อความบาดหมางขึ้นระหว่างเปาโลกับบาร์นาบัส!—กิจการ 15:36-41.
เราไม่รู้ว่าเพราะอะไรมาระโกแยกทางกลับบ้านในตอนแรก. เขาคงคิดว่าเขามีเหตุผลที่ดี. ไม่ว่าจะอย่างไร ดูเหมือนบาร์นาบัสมั่นใจว่าจะไม่มีเรื่องทำนองนี้เกิดขึ้นอีก. และก็เป็นอย่างนั้นจริง. มาระโกไม่ท้อถอย! ในเวลาต่อมา เขาร่วมงานมิชชันนารีกับเปโตรที่บาบิโลนแดนไกลโพ้น. จากที่นั่น เมื่อเปโตรส่งคำทักทาย ท่านบอกเพิ่มเติมว่า “และมาระโกบุตรของข้าพเจ้าก็ฝากมาด้วย.”—1 เปโตร 5:13.
มัดธาย 8:24; มาระโก 4:37, 38; และลูกา 8:23.
ช่างเป็นสัมพันธภาพที่ใกล้ชิดสนิทสนมอะไรเช่นนี้ระหว่างเปโตรกับมาระโก เนื่องจากคนทั้งสองรับใช้พระเจ้าด้วยกัน! เรื่องนี้ปรากฏชัดอีกด้วยเมื่อเราอ่านบันทึกข่าวดีที่เขียนโดยมาระโก. ในบันทึกเล่มนี้ มาระโกถ่ายทอดสิ่งที่เปโตรได้รู้เห็นและเล่าให้ฟังเกี่ยวกับการประกาศสั่งสอนของพระเยซู. ตัวอย่างเช่น จงเปรียบเทียบการพูดถึงพายุกล้าในทะเลแกลิลี. มาระโกเพิ่มรายละเอียดว่าพระเยซูบรรทมหลับอยู่ตรงไหนในเรือ และทรงหนุนอะไร สิ่งต่าง ๆ ซึ่งชาวประมงอย่างเปโตรคงจะสังเกตเห็น. ให้เราดูเรื่องนี้ด้วยกันโดยอ่านและเปรียบเทียบเรื่องราวในคัมภีร์ไบเบิลที่ภายหลัง เมื่อเปาโลถูกคุมขังอยู่ในโรม ท่านพูดชมเชยมาระโกเนื่องจากการสนับสนุนของเขาอย่างซื่อสัตย์ภักดี. (โกโลซาย 4:10, 11) และเมื่อเปาโลถูกคุมขังที่นั่นอีก ท่านเขียนจดหมายถึงติโมเธียวและขอให้พามาระโกมาด้วย โดยชี้แจงว่า “เขาเป็นประโยชน์ต่อข้าพเจ้าในงานรับใช้.” (2 ติโมเธียว 4:11) โดยแท้แล้ว มาระโกมีสิทธิพิเศษยิ่งใหญ่สักเพียงไรที่ได้ทำงานรับใช้พระเจ้าเพราะเขาไม่ท้อถอย!
^ วรรค 3 ถ้าคุณอ่านกับลูก ขีดยาวเป็นการเตือนให้หยุดสักครู่ และสนับสนุนลูกให้ตอบ.