พระยะโฮวาทรงรู้วิธีช่วยประชาชนของพระองค์ให้รอด
พระยะโฮวาทรงรู้วิธีช่วยประชาชนของพระองค์ให้รอด
“พระยะโฮวาทรงรู้วิธีช่วยคนที่เลื่อมใสพระองค์ให้รอดชีวิตจากการทดสอบ.”—2 เป. 2:9
เหตุใดเราจึงมั่นใจได้ว่าพระยะโฮวา:
ทรงรู้เวลาที่เหมาะสมในการทำให้พระประสงค์ของพระองค์สำเร็จ?
จะทรงใช้อำนาจเข้าแทรกแซงเพื่อช่วยประชาชนของพระองค์?
ทรงรู้ว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ จะดำเนินไปอย่างไรในช่วงความทุกข์ลำบากใหญ่?
1. สภาพการณ์ในโลกจะเป็นเช่นไรในช่วง “ความทุกข์ลำบากใหญ่”?
การสำเร็จโทษตามการพิพากษาของพระเจ้าต่อโลกของซาตานจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน. (1 เทส. 5:2, 3) ระหว่าง “วันใหญ่แห่งพระยะโฮวา” สังคมมนุษย์จะเต็มไปด้วยความยุ่งเหยิงสับสน. (ซฟัน. 1:14-17) ความลำบากขาดแคลนจะกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดา. ช่วงเวลานั้นจะเป็นช่วงที่มีความทุกข์ยากลำบาก “อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นเลยตั้งแต่เริ่มมีมนุษย์โลกจนบัดนี้.”—อ่านมัดธาย 24:21, 22
2, 3. (ก) ประชาชนของพระเจ้าจะเผชิญอะไรในช่วง “ความทุกข์ลำบากใหญ่”? (ข) อะไรจะช่วยเสริมกำลังเราให้พร้อมรับสิ่งที่จะมีมาในวันข้างหน้า?
2 ขณะที่ “ความทุกข์ลำบากใหญ่” ใกล้ถึงจุดสุดยอด ประชาชนของพระเจ้าจะตกเป็นเป้าของการโจมตีอย่างสุดกำลังจาก “โกกแห่งแผ่นดินมาโกก.” ในช่วงที่มีการโจมตีดังกล่าว “กองทัพมหึมา” จะยกมาต่อสู้ประชาชนของพระเจ้า “เหมือนอย่างเมฆคลุมแผ่นดิน.” (ยเอศ. 38:2, 14-16, ฉบับ R73) ไม่มีองค์การใดของมนุษย์จะช่วยคุ้มครองประชาชนของพระยะโฮวาได้. ความรอดของพวกเขาจะขึ้นอยู่กับพระเจ้าแต่เพียงผู้เดียว. พวกเขาจะแสดงปฏิกิริยาอย่างไรเมื่อเผชิญการทำลายล้างซึ่ง ๆ หน้า?
3 ถ้าคุณเป็นผู้รับใช้ของพระยะโฮวา คุณเชื่อไหมว่าพระยะโฮวาทรงสามารถคุ้มครองประชาชนของพระองค์ให้รอดชีวิตผ่านความทุกข์ลำบากใหญ่และพระองค์จะทรงทำอย่างนั้นจริง ๆ? อัครสาวกเปโตรเขียนว่า “พระยะโฮวาทรงรู้วิธีช่วยคนที่เลื่อมใสพระองค์ให้รอดชีวิตจากการทดสอบ แต่เก็บคนอธรรมไว้ทำลายในวันพิพากษา.” (2 เป. 2:9) การใคร่ครวญพระราชกิจในการช่วยให้รอดของพระยะโฮวาในอดีตจะเสริมกำลังเราให้พร้อมรับสิ่งที่จะมีมาในวันข้างหน้าได้. ขอให้เราพิจารณาสามตัวอย่างที่จะช่วยให้เรามีความเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้นว่าพระยะโฮวาทรงสามารถช่วยประชาชนของพระองค์ให้รอด.
รอดชีวิตผ่านน้ำท่วมโลก
4. ต้องทำอะไรให้เสร็จตามกำหนดเวลาก่อนที่น้ำจะท่วมโลก?
4 ก่อนอื่น ขอให้พิจารณาเรื่องราวเกี่ยวกับน้ำท่วมในสมัยโนอาห์. เพื่อพระประสงค์ของพระยะโฮวาจะสำเร็จ การดำเนินการตามกำหนดเวลาเป็นเรื่องสำคัญ. งานใหญ่โตมหึมาในการสร้างเรือและการรวบรวมสัตว์ทั้งหลายเข้าในเรืออย่างปลอดภัยต้องเสร็จสิ้นก่อนที่น้ำจะท่วมโลก. บันทึกในหนังสือเยเนซิศแสดงให้เห็นว่าพระยะโฮวาไม่ได้ให้มีการสร้างเรือก่อนแล้วค่อยตัดสินพระทัยว่าจะให้น้ำมาท่วมโลกเมื่อไร ราวกับว่าพระองค์จำเป็นต้องกำหนดเวลาที่น้ำจะเริ่มท่วมไว้อย่างไม่ตายตัวเผื่อกรณีที่การสร้างเรือเสร็จล่าช้า. แทนที่จะเป็นอย่างนั้น พระเจ้าทรงกำหนดเวลาที่แน่นอนไว้นานแล้วว่าน้ำจะท่วมเมื่อไรก่อนที่พระองค์จะตรัสกับโนอาห์เกี่ยวกับการสร้างเรือ. เรารู้เช่นนั้นได้อย่างไร?
5. พระยะโฮวาทรงประกาศพระประสงค์อะไรตามที่บันทึกไว้ในเยเนซิศ 6:3 และพระองค์ทรงประกาศพระประสงค์ดังกล่าวเมื่อไร?
5 คัมภีร์ไบเบิลบอกเราว่าพระยะโฮวาทรงตัดสินพระทัยและประกาศพระประสงค์ในสวรรค์. ตามในเยเนซิศ 6:3 พระองค์ตรัสว่า “วิญญาณของเราจะไม่สถิตอยู่กับมนุษย์นานเป็นนิตย์, เพราะมนุษย์เป็นแต่เนื้อหนัง. เขาจะดำรงชีวิตอยู่ได้ก็เพียงร้อยยี่สิบปี.” จริง ๆ แล้วข้อความนี้ไม่ได้กล่าวถึงอายุขัยโดยเฉลี่ยของมนุษย์ แต่เป็นคำประกาศของพระยะโฮวาว่าพระองค์ทรงประสงค์ที่จะชำระล้างแผ่นดินโลกให้สะอาดหมดจดจากความชั่วช้าเมื่อไร. * เนื่องจากน้ำเริ่มท่วมในปี 2370 ก่อนสากลศักราช เราจึงสรุปได้ว่าพระเจ้าทรงประกาศพระประสงค์ดังกล่าวในปี 2490 ก่อน ส.ศ. ตอนนั้น โนอาห์อายุ 480 ปี. (เย. 7:6) ประมาณ 20 ปีต่อมา ในปี 2470 ก่อน ส.ศ. โนอาห์ก็มีบุตร. (เย. 5:32) ยังมีเวลาอีกประมาณหนึ่งร้อยปีก่อนน้ำจะเริ่มท่วม แต่พระยะโฮวายังไม่ได้บอกให้โนอาห์ทราบว่าท่านจะมีบทบาทพิเศษในการคุ้มครองครอบครัวมนุษย์ให้อยู่รอดต่อไป. พระเจ้าจะทรงรอไปอีกนานเท่าไรก่อนจะบอกโนอาห์?
6. พระยะโฮวาทรงบัญชาให้โนอาห์สร้างเรือเมื่อไร?
6 ดูเหมือนว่าพระยะโฮวาทรงรอให้เวลาผ่านไปหลายสิบปีก่อนจะบอกโนอาห์ว่าพระองค์จะทำอะไร. เราลงความเห็นเช่นนี้โดยอาศัยอะไร? บันทึกที่มีขึ้นโดยการดลใจบ่งบอกว่าบุตรชายของโนอาห์โตเป็นผู้ใหญ่และแต่งงานแล้วเมื่อพระเจ้าทรงบัญชาให้โนอาห์สร้างเรือ. พระยะโฮวาทรงบอกท่านว่า “เราจะทำข้อสัญญาไว้กับเจ้า, ให้เจ้าเข้าอยู่ในนาวาทั้งบุตรภรรยาและบุตรสะใภ้.” (เย. 6:9-18) ดังนั้น เป็นไปได้ว่าเมื่อโนอาห์ได้รับพระบัญชาให้สร้างเรือ มีเวลาเหลืออยู่เพียง 40 หรือ 50 ปีก่อนที่น้ำจะท่วม.
7. (ก) โนอาห์และครอบครัวแสดงความเชื่ออย่างไร? (ข) ในที่สุดพระเจ้าทรงบอกโนอาห์อย่างชัดเจนเมื่อไรว่าน้ำจะเริ่มท่วมโลก?
7 ตอนที่กำลังสร้างเรือ โนอาห์กับครอบครัวคงต้องสงสัยว่าพระเจ้าจะทำให้พระประสงค์ของพระองค์สำเร็จอย่างไรและน้ำจะท่วมโลกเมื่อไร. ถึงกระนั้น การที่พวกเขาไม่รู้รายละเอียดเหล่านี้ก็ไม่ได้ทำให้พวกเขาหยุดสร้างเรือ. พระคัมภีร์บันทึกไว้ว่า “พระเจ้ารับสั่งให้โนฮาทำอย่างไร, โนฮาก็กระทำอย่างนั้นทุกสิ่งทุกประการ.” (เย. 6:22) ในที่สุด พระยะโฮวาก็ทรงบอกโนอาห์อย่างชัดเจนว่าอีกเจ็ดวันน้ำจะเริ่มท่วม. โนอาห์กับครอบครัวมีเวลาเพียงพอที่จะรวบรวมสัตว์เข้าในเรือ. ดังนั้น เมื่อประตูน้ำทั้งหลายบนฟ้าเปิดออกตอนที่ “โนฮาอายุได้หกร้อยปีในเดือนที่สองวันที่สิบเจ็ดของเดือนนั้น” ทุกสิ่งก็พร้อม.—เย. 7:1-5, 11
8. บันทึกเรื่องน้ำท่วมโลกช่วยเราอย่างไรให้เชื่อมั่นว่าพระยะโฮวาทรงรู้เวลาที่จะช่วยประชาชนของพระองค์ให้รอด?
8 บันทึกเรื่องน้ำท่วมโลกให้หลักฐานว่าพระยะโฮวาทรงมีพระปรีชาสามารถไม่เพียงในฐานะผู้รักษาเวลา แต่ในฐานะผู้ช่วยให้รอดด้วย. เมื่อใกล้จะมัด. 24:36; อ่านฮะบาฆูค 2:3
ถึงอวสานของระบบปัจจุบัน เราแน่ใจได้ว่าทุกสิ่งที่พระยะโฮวาทรงประสงค์จะเกิดขึ้นตามเวลากำหนดของพระองค์ ตาม “วันเวลานั้น” จริง ๆ.—ช่วยให้รอดที่ทะเลแดง
9, 10. พระยะโฮวาทรงใช้ประชาชนของพระองค์ให้ลวงกองทัพอียิปต์มาติดกับอย่างไร?
9 จนถึงตอนนี้ เราได้เห็นแล้วว่าพระยะโฮวาทรงควบคุมเหตุการณ์ต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นตามเวลากำหนดของพระองค์อย่างครบถ้วนเพื่อทำให้พระประสงค์ของพระองค์สำเร็จ. ตัวอย่างที่สองที่เราจะพิจารณาเน้นเหตุผลอีกประการหนึ่งที่เราสามารถไว้วางใจว่าพระยะโฮวาจะช่วยประชาชนของพระองค์ให้รอด กล่าวคือ พระองค์จะทรงใช้อำนาจที่ไม่จำกัดของพระองค์เพื่อให้แน่ใจว่าพระประสงค์ของพระองค์จะสำเร็จ. พระปรีชาสามารถในการช่วยผู้รับใช้ของพระองค์ให้รอดนั้นแน่นอนมากจนบางครั้งพระองค์ทรงใช้พวกเขาให้ลวงศัตรูมาติดกับ. เป็นเช่นนั้นเมื่อพระองค์ทรงปลดปล่อยชาวอิสราเอลจากการเป็นทาสในอียิปต์.
10 ชาวอิสราเอลที่ออกจากอียิปต์อาจมีจำนวนประมาณสามล้านคน. พระยะโฮวาทรงใช้ให้โมเซนำพวกเขาอย่างที่ทำให้ฟาโรห์คิดว่าพวกเขาหลงทาง. (อ่านเอ็กโซโด 14:1-4) ฟาโรห์ไม่อาจต้านทานการล่อใจนี้ได้ เขาจึงนำกองทัพไล่ตามอดีตทาส และต้อนพวกเขาให้จนมุมที่ทะเลแดง. ดูเหมือนว่าพวกเขาไม่มีทางจะหนีรอดได้. (เอ็ก. 14:5-10) แต่แท้จริงแล้ว ชาวอิสราเอลไม่ได้ตกอยู่ในอันตรายเลย. เพราะเหตุใด? เพราะพระยะโฮวากำลังจะเข้าแทรกแซงเพื่อช่วยพวกเขา.
11, 12. (ก) พระยะโฮวาทรงเข้าแทรกแซงเพื่อช่วยประชาชนของพระองค์อย่างไร? (ข) การที่พระเจ้าทรงเข้าแทรกแซงทำให้เกิดผลเช่นไร และบันทึกนี้สอนอะไรเกี่ยวกับพระยะโฮวา?
11 “เสาเมฆ” ที่นำชาวอิสราเอลอยู่ด้านหน้าได้ย้ายไปอยู่ด้านหลังพวกเขา สะกัดกั้นกองทัพของฟาโรห์ไม่ให้เข้ามาใกล้และทำให้พวกเขาตกอยู่ในความมืด. แต่ฝ่ายชาวอิสราเอล เสาเมฆนั้นช่วยให้แสงสว่างแก่พวกเขาอย่างอัศจรรย์ในเวลากลางคืน. (อ่านเอ็กโซโด 14:19, 20) จากนั้น พระยะโฮวาทรงแยกทะเลออกจากกันโดยใช้ลมกล้าที่ พัดมาแต่ทิศตะวันออก ทำให้ “น้ำทะเลไหลกลับและให้ดินแห้งไป.” ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเหตุการณ์นี้คงต้องใช้เวลานานพอสมควร เพราะบันทึกกล่าวไว้ว่าลมพัด “ตลอดคืน” และหลังจากนั้น “ชนชาติยิศราเอลก็พากันเดินไปตามช่องแห้งท่ามกลางท้องทะเล.” เมื่อเทียบกับกองทัพของฟาโรห์ที่ใช้รถรบ ชาวอิสราเอลเคลื่อนที่เชื่องช้ากว่ามาก. ถึงกระนั้น ชาวอียิปต์ไม่มีทางไล่ตามพวกเขาทัน เพราะพระยะโฮวาทรงรบแทนชาติอิสราเอล. พระองค์ “ได้ทรงบันดาลให้กองทัพชาวอายฆุบโตเกิดโกลาหลขึ้น. พระองค์ได้ทำให้ล้อรถนั้นฝืดโคลนจนแล่นไปไม่ใคร่ไหว.”—เอ็ก. 14:21-25
12 เมื่อชาวอิสราเอลทั้งหมดขึ้นฝั่งอีกด้านหนึ่งอย่างปลอดภัยแล้ว พระยะโฮวาทรงบัญชาแก่โมเซว่า “จงยื่นมือออกไปเหนือทะเล, ทำให้น้ำทะเลไหลกลับคืนมาท่วมชาวอายฆุบโตทั้งพลรถและพลม้าของเขา.” เมื่อพวกทหารตะเกียกตะกายหนีน้ำที่ท่วมทับพวกเขา “พระยะโฮวาได้ทรงกระทำให้ชาวอายฆุบโตพินาศไปท่ามกลางทะเล.” พวกเขาไม่มีทางหนีรอดได้เลย. กองทัพของฟาโรห์ “มิได้เหลือสักคนเดียว.” (เอ็ก. 14:26-28) พระยะโฮวาทรงแสดงให้เห็นด้วยวิธีนี้ว่าพระองค์ทรงมีอำนาจที่จะช่วยประชาชนของพระองค์ให้รอดไม่ว่าจะในสถานการณ์ใดก็ตาม.
หนีจากการทำลายกรุงเยรูซาเลม
13. พระเยซูทรงมีพระบัญชาเช่นไร และเหล่าสาวกของพระองค์อาจสงสัยอะไร?
13 พระยะโฮวาทรงรู้อย่างแน่นอนว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรเพื่อทำให้พระประสงค์ของพระองค์สำเร็จ. ตัวอย่างที่สามที่เราจะพิจารณากัน คือการล้อมกรุงเยรูซาเลมในศตวรรษแรก จะเน้นให้เห็นความสำคัญของเรื่องนี้. โดยทางพระบุตร พระยะโฮวาทรงมีพระบัญชาแก่คริสเตียนที่อยู่ในกรุงเยรูซาเลมและในแคว้นยูเดียก่อนที่กรุงจะถูกทำลายในสากลศักราช 70 เพื่อพวกเขาจะหนีเอาชีวิตรอดได้. พระเยซูตรัสว่า “เมื่อเจ้าทั้งหลายเห็นสิ่งน่าสะอิดสะเอียนซึ่งทำให้เกิดความร้างเปล่าตั้งอยู่ในที่บริสุทธิ์ ตามที่กล่าวไว้โดยผู้พยากรณ์ดานิเอล . . . เวลานั้นให้คนที่อยู่ในแคว้นยูเดียเริ่มหนีไปยังภูเขา.” (มัด. 24:15, 16) แต่เหล่าสาวกของพระเยซูจะรู้ได้อย่างไรว่าคำพยากรณ์นี้สำเร็จเป็นจริงตอนไหน?
14. เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้เหล่าสาวกเข้าใจพระบัญชาของพระเยซูอย่างไร?
14 เมื่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ดำเนินไป พวกเขาก็เริ่มเข้าใจคำตรัสของพระเยซู. ใน ส.ศ. 66 กองทัพโรมันซึ่งนำโดยเซสติอุส กัลลุส ยกมาถึงกรุงเยรูซาเลมเพื่อปราบพวกยิวที่กบฏ. เมื่อกบฏชาวยิว ซึ่งรู้จักกันในนามพวกเซลอต หาที่ลี้ภัยในป้อมของพระวิหาร ทหารโรมันก็เริ่มขุดใต้กำแพงพระวิหาร. สำหรับคริสเตียนที่ตื่นตัว ความหมายของเหตุการณ์ดังกล่าวนั้นเห็นได้ชัด: กองทัพชาวนอกรีตที่ถือธงซึ่งเป็นรูปเคารพ (“สิ่งน่าสะอิดสะเอียน”) รุกเข้ามาประชิดกำแพงพระวิหาร (“ที่บริสุทธิ์”). นั่นเป็นเวลาที่สาวกของพระเยซูจะต้อง “เริ่มหนีไปยังภูเขา.” แต่
พวกเขาจะออกจากเมืองนั้นที่ถูกล้อมอยู่ได้อย่างไร? เหตุการณ์กำลังจะพลิกผัน.15, 16. (ก) พระเยซูประทานพระบัญชาที่เจาะจงอะไร และเหตุใดจึงสำคัญที่เหล่าสาวกจะทำตามพระบัญชานั้น? (ข) ความรอดของเราขึ้นอยู่กับอะไร?
15 เซสติอุส กัลลุสกับกองทหารของเขาถอนทัพจากกรุงเยรูซาเลมและเริ่มล่าถอยโดยไม่มีใครทราบสาเหตุแน่ชัด. พวกเซลอตไล่ตามไป. เมื่อสองฝ่ายที่ทำสงครามกันไม่อยู่ในเมือง เหล่าสาวกของพระเยซูจึงมีโอกาสขึ้นมาทันทีที่จะหนี. พระเยซูทรงมีพระบัญชาอย่างเจาะจงให้พวกเขาทิ้งทรัพย์สมบัติวัตถุไว้เบื้องหลังและจากไปโดยไม่ลังเล. (อ่านมัดธาย 24:17, 18) การลงมือทำทันทีเป็นเรื่องจำเป็นจริง ๆ ไหม? ไม่ช้าก็เห็นคำตอบได้อย่างชัดเจน. ไม่กี่วันต่อมา พวกเซลอตก็กลับมาและเริ่มบังคับประชากรชาวเยรูซาเลมและชาวยูเดียให้ร่วมในการกบฏ. สภาพภายในเมืองแย่ลงอย่างรวดเร็วเมื่อชาวยิวฝ่ายต่าง ๆ ที่เป็นปฏิปักษ์กันต่อสู้แย่งชิงกันเพื่อเป็นผู้กุมอำนาจ. การหนีเริ่มยากขึ้นเรื่อย ๆ. เมื่อชาวโรมันกลับมาใน ส.ศ. 70 ก็ยิ่งเป็นไปไม่ได้เลยที่จะหนี. (ลูกา 19:43) ใครก็ตามที่ชักช้าอยู่ก็ติดกับ! สำหรับคริสเตียนที่หนีไปยังภูเขา การเชื่อฟังพระบัญชาของพระเยซูหมายถึงการรอดชีวิต. พวกเขาประสบด้วยตัวเองว่าพระยะโฮวาทรงรู้วิธีช่วยประชาชนของพระองค์ให้รอด. เราเรียนอะไรได้จากเรื่องนี้?
16 ในช่วงความทุกข์ลำบากใหญ่ คริสเตียนจะต้องเอาใจใส่คำแนะนำที่มาจากพระคำและองค์การของพระเจ้า. ตัวอย่างเช่น พระบัญชาของพระเยซูที่ให้ “เริ่มหนีไปยังภูเขา” ใช้ได้กับพวกเราในสมัยปัจจุบันด้วย. แต่เราจะหนีอย่างไรนั้นต้องคอยดูกันต่อไป. * อย่างไรก็ตาม เราแน่ใจได้เลยว่าเมื่อถึงเวลาที่เราต้องปฏิบัติตามพระบัญชาของพระยะโฮวา พระองค์จะทรงบอกเราอย่างชัดเจนว่าต้องทำอย่างไร. เนื่องจากความรอดของเราขึ้นอยู่กับการเชื่อฟัง เราควรถามตัวเองว่า ‘ฉันมีปฏิกิริยาอย่างไรต่อพระบัญชาที่พระยะโฮวาประทานแก่ประชาชนของพระองค์ในเวลานี้? ฉันตอบรับทันที หรือฉันลังเลที่จะทำตาม?’—ยโก. 3:17
ได้รับการเสริมกำลังสำหรับอนาคต
17. คำพยากรณ์ของฮะบาฆูคเผยให้เห็นอะไรเกี่ยวกับการโจมตีประชาชนของพระเจ้าที่จะเกิดขึ้น?
17 ตอนนี้ขอให้เรากลับไปที่การโจมตีอย่างสุดกำลังของโกกที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้น. ในคำพยากรณ์หนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ฮะบาฆูคกล่าวว่า “เมื่อข้าพเจ้าได้ยิน ท้องข้าพเจ้าก็ปั่นป่วน ข่าวนั้นทำให้ริมฝีปากข้าพเจ้าสั่นระริก กระดูกเริ่มผุพัง ตอนนั้นข้าพเจ้าหวาดหวั่นพรั่นใจ แต่ข้าพเจ้าจะคอยวันแห่งความทุกข์ยากลำบากอย่างสงบ คอยให้วันนั้นมาถึงเหมือนคนหนึ่ง [พระเจ้า] มาโจมตีเหล่าศัตรูของเขา [คือกองทัพที่ยกมาคุกคาม].” (ฮบา. 3:16, ล.ม.) แค่ได้ยินรายงานว่าจะมีการโจมตีประชาชนของพระเจ้าก็ทำให้ท้องของผู้พยากรณ์ปั่นป่วน ริมฝีปากสั่น และกำลังก็หดหาย. ปฏิกิริยาของฮะบาฆูคแสดงให้เห็นว่าสภาพของเราจะดูเหมือนว่าเลวร้ายสักเพียงไรเมื่อกองกำลังของโกกยกมาโจมตีเรา. ถึงกระนั้น ท่านผู้พยากรณ์เต็มใจคอยท่าวันใหญ่ของพระยะโฮวาอย่างสงบ โดยไว้วางใจว่าพระยะโฮวาจะช่วยประชาชนของพระองค์ให้รอด. เราสามารถมั่นใจแบบเดียวกันนั้นได้.—ฮบา. 3:18, 19
18. (ก) เรามีเหตุผลอะไรที่จะไม่กลัวการโจมตีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต? (ข) เราจะพิจารณาอะไรในบทความถัดไป?
18 สามตัวอย่างที่เราได้พิจารณาไปแล้วแสดงให้เห็นอย่างไม่มีข้อสงสัยว่าพระยะโฮวาทรงรู้วิธีช่วยประชาชนของพระองค์ให้รอด. พระประสงค์ของพระองค์ไม่มีทางล้มเหลว และพระองค์จะทรงได้รับชัยชนะอย่างแน่นอน. แต่เพื่อจะมีส่วนร่วมในชัยชนะอันรุ่งโรจน์นั้น เราต้องรักษาความซื่อสัตย์จนถึงที่สุด. ในทุกวันนี้ พระยะโฮวาทรงช่วยเราให้รักษาความซื่อสัตย์จงรักภักดีอย่างไร? นั่นคือเรื่องที่จะพิจารณาในบทความถัดไป.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 16 โปรดดูหอสังเกตการณ์ 1 พฤษภาคม 1999 หน้า 19.
[คำถาม]
[ภาพหน้า 24]
กองทัพของฟาโรห์ทำอันตรายชาวอิสราเอลได้ไหม?