“จงบำรุงเลี้ยงฝูงแกะของพระเจ้าซึ่งอยู่ในความดูแลของท่านทั้งหลาย”
“จงบำรุงเลี้ยงฝูงแกะของพระเจ้าซึ่งอยู่ในความดูแลของท่านทั้งหลาย”
“จงบำรุงเลี้ยงฝูงแกะของพระเจ้าซึ่งอยู่ในความดูแลของท่านทั้งหลาย ไม่ใช่โดยฝืนใจ แต่ด้วยความเต็มใจ.”—1 เป. 5:2
1. สถานการณ์ที่คริสเตียนกำลังเผชิญอยู่เป็นเช่นไรเมื่อเปโตรเขียนจดหมายฉบับแรก?
อัครสาวกเปโตรเขียนจดหมายฉบับแรกไม่นานก่อนจักรพรรดิเนโรจะเริ่มข่มเหงคริสเตียนในกรุงโรม. ท่านต้องการเสริมกำลังเพื่อนร่วมความเชื่อให้เข้มแข็ง. พญามาร ‘กำลังเดินไปมา’ หาช่องที่จะขม้ำกินคริสเตียน. เพื่อจะยืนหยัดต้านทานมันได้ พวกเขาจำเป็นต้อง “มีสติอยู่เสมอ” และ “ถ่อมตัวอยู่ใต้พระหัตถ์อันทรงฤทธิ์ของพระเจ้า.” (1 เป. 5:6, 8) พวกเขายังจำเป็นต้องรักษาเอกภาพไว้. พวกเขาไม่อาจปล่อยให้มีการ “กัดกันและกินเนื้อกัน” เพราะนั่นอาจยังผลทำให้พวกเขา “ทำลายกันให้ย่อยยับไป.”—กลา. 5:15
2, 3. เราควรต่อสู้กับใคร และเราจะพิจารณาอะไรในสองบทความนี้?
2 ปัจจุบัน เราเผชิญสถานการณ์คล้าย ๆ กันนั้น. พญามารกำลังหาช่องที่จะขม้ำกินเรา. (วิ. 12:12) และอีกไม่นานก็จะเกิด “ความทุกข์ลำบากใหญ่อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นเลยตั้งแต่เริ่มมีมนุษย์โลกจนบัดนี้.” (มัด. 24:21) คริสเตียนในศตวรรษแรกต้องระวังที่จะไม่ทะเลาะกันเอง เราก็ต้องระวังเช่นกัน. เพื่อที่จะทำได้อย่างนั้น บางครั้งเราจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีคุณวุฒิ.
3 ขอให้เรามาพิจารณาวิธีที่ผู้ปกครองจะเห็นคุณค่าสิทธิพิเศษในการบำรุงเลี้ยง ‘ฝูงแกะของพระเจ้าซึ่งอยู่ในความดูแลของพวกเขา’ มากขึ้น. (1 เป. 5:2) หลังจากนั้น เราจะพิจารณาวิธีบำรุงเลี้ยงที่เหมาะสม. ในบทความถัดไป เราจะพิจารณาวิธีที่ประชาคมจะ “นับถือผู้ที่ทำงานหนักท่ามกลางพวกท่าน ซึ่งนำหน้า” ฝูงแกะ. (1 เทส. 5:12) การพิจารณาเรื่องเหล่านี้จะช่วยเราให้ยืนหยัดต้านทานศัตรูตัวเอ้ของเรา โดยตระหนักว่ามันคือผู้ที่เรากำลังต่อสู้อยู่.—เอเฟ. 6:12
จงบำรุงเลี้ยงฝูงแกะของพระเจ้า
4, 5. ผู้เฒ่าผู้แก่ควรมีทัศนะอย่างไรต่อฝูงแกะ? จงยกตัวอย่าง.
4 เปโตรสนับสนุนผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่คริสเตียนในศตวรรษแรกให้มีทัศนะต่อฝูงแกะที่อยู่ในความดูแลของพวกเขาเช่นเดียวกับพระเจ้า. (อ่าน 1 เปโตร 5:1, 2) ถึงแม้ถือกันว่าเปโตรเป็นเสาหลักของประชาคม แต่ท่านไม่ได้พูดแบบยกตนข่มท่านกับผู้ปกครองทั้งหลาย. แทนที่จะเป็นเช่นนั้น ท่านแนะนำพวกเขาในฐานะเพื่อนผู้ปกครอง. (กลา. 2:9) โดยมีทัศนะเช่นเดียวกับเปโตร คณะกรรมการปกครองในทุกวันนี้กระตุ้นเตือนผู้ปกครองประชาคมให้พยายามทำหน้าที่รับผิดชอบซึ่งเป็นงานหนักในการบำรุงเลี้ยงฝูงแกะของพระเจ้าให้สำเร็จ.
5 ท่านอัครสาวกเขียนว่าผู้เฒ่าผู้แก่ต้อง ‘บำรุงเลี้ยงฝูงแกะของพระเจ้า ซึ่งอยู่ในความดูแลของพวกเขา.’ นับว่าสำคัญที่สุดที่พวกเขาจะต้องยอมรับว่าฝูงแกะนั้นเป็นของพระยะโฮวาและพระเยซูคริสต์. ผู้ปกครองต้องให้การต่อพระเจ้าเกี่ยวกับวิธีที่พวกเขาดูแลแกะของพระเจ้า. สมมุติว่าเพื่อนสนิทขอให้คุณดูแลลูก ๆ ของเขาในช่วงที่เขาไม่อยู่. คุณจะดูแลเด็กอย่างดีรวมทั้งจัดหาอาหารให้พวกเขามิใช่หรือ? ถ้าเด็กคนหนึ่งไม่สบาย คุณจะคอยดูแลให้เขาได้รับการรักษาตามที่จำเป็นมิใช่หรือ? คล้ายกัน ผู้ปกครองในประชาคมควร “บำรุงเลี้ยงประชาคมของพระเจ้าที่พระองค์ทรงซื้อไว้ด้วยพระโลหิตของพระบุตรของพระองค์.” กิจ. 20:28) พวกเขาจำไว้เสมอว่าแกะแต่ละตัวถูกซื้อด้วยพระโลหิตอันสูงค่าของพระคริสต์เยซู. เนื่องจากพวกเขาต้องให้การต่อพระเจ้า ผู้ปกครองจึงจัดเตรียมอาหาร ปกป้อง และดูแลฝูงแกะ.
(6. หน้าที่รับผิดชอบของคนเลี้ยงแกะในสมัยโบราณคืออะไร?
6 ขอให้นึกถึงหน้าที่รับผิดชอบของคนเลี้ยงแกะในสมัยคัมภีร์ไบเบิล. พวกเขาต้องทนร้อนตอนกลางวันและทนหนาวตอนกลางคืนเพื่อเลี้ยงฝูงแกะ. (เย. 31:40) พวกเขาถึงกับเสี่ยงชีวิตเพื่อช่วยแกะ. ดาวิดเมื่อครั้งเป็นเด็กเลี้ยงแกะได้ช่วยฝูงแกะให้พ้นอันตรายจากสัตว์ร้ายต่าง ๆ รวมทั้งจากสิงโตและหมี. ดาวิดเล่าว่าท่านสู้กับสัตว์ร้ายเหล่านั้นโดยที่ท่านได้ “จับหนวด [มัน] ไว้, ตีมันล้มตาย.” (1 ซามู. 17:34, 35) ช่างกล้าหาญจริง ๆ! ท่านคงต้องเข้าไปใกล้ปากสัตว์ร้ายสักเพียงไร! กระนั้น ท่านไม่ลังเลที่จะช่วยแกะ.
7. อาจกล่าวโดยนัยได้ว่าผู้ปกครองฉุดแกะออกจากปากของซาตานอย่างไร?
7 ในทุกวันนี้ ผู้ปกครองต้องระวังการโจมตีของพญามารที่เปรียบดุจการโจมตีของสิงโต. นี่อาจเกี่ยวข้องกับการกระทำที่กล้าหาญราวกับว่ากล้าเข้าไปฉุดตัวแกะออกจากปากของพญามาร. อาจกล่าวโดยนัยได้ว่า ผู้ปกครองช่วยแกะให้รอดพ้นจากความตายได้โดยจับที่หนวดของสัตว์ร้าย. พวกเขาอาจหาเหตุผลกับพี่น้องที่ไม่ระวังตัวซึ่งถูกล่อใจโดยกับดักของซาตาน. (อ่านยูดา 22, 23) แน่นอน ผู้ปกครองไม่สามารถทำอย่างนี้ได้ถ้าไม่ได้รับความช่วยเหลือจากพระยะโฮวา. พวกเขาดูแลแกะที่ได้รับบาดเจ็บด้วยความอ่อนโยน พันแผลให้เขา และทาน้ำมันยาแห่งพระคำของพระเจ้าให้เขา.
8. ผู้ปกครองนำฝูงแกะไปที่ไหน และโดยวิธีใด?
8 นอกจากนั้น คนเลี้ยงแกะนำฝูงแกะไปยังทุ่งหญ้าและที่ที่มีน้ำซึ่งเหมาะจะให้แกะได้กิน. เช่นเดียวกัน ผู้ปกครองนำฝูงแกะไปยังประชาคม โดยสนับสนุนให้พวกเขาเข้าร่วมการประชุมเป็นประจำเพื่อฝูงแกะจะได้รับการเลี้ยงดูเป็นอย่างดีและได้รับ “อาหาร . . . ในเวลาอันเหมาะ.” (มัด. 24:45) ผู้ปกครองอาจต้องใช้เวลามากเป็นพิเศษเพื่อช่วยคนที่ป่วยฝ่ายวิญญาณให้ยอมรับการบำรุงเลี้ยงจากพระคำของพระเจ้า. แกะที่พลัดหลงอาจกำลังพยายามกลับมาหาฝูง. แทนที่จะขู่พี่น้องให้กลัว ผู้ปกครอง อธิบายหลักการในพระคัมภีร์อย่างอ่อนโยนและแสดงให้เห็นว่าเขาจะนำหลักการดังกล่าวไปใช้ในชีวิตได้อย่างไร.
9, 10. ผู้ปกครองควรดูแลคนที่ป่วยฝ่ายวิญญาณอย่างไร?
9 เมื่อคุณป่วย คุณอยากพบแพทย์แบบไหน? แพทย์ที่ใช้เวลาเพียงเล็กน้อยเพื่อฟังคุณแล้วก็สั่งจ่ายยาโดยเร็วเพื่อจะเรียกคนไข้คนต่อไปไหม? หรือว่าคุณอยากปรึกษาแพทย์ที่ตั้งใจฟังคุณเล่าอาการ อธิบายว่าอาการผิดปกติของคุณอาจเกิดจากอะไร แล้วก็บอกทางเลือกในการรักษา?
10 ในทำนองเดียวกัน ผู้ปกครองสามารถรับฟังคนที่ป่วยฝ่ายวิญญาณและช่วยเยียวยาแผลให้เขา ซึ่งการทำอย่างนี้เป็นเหมือนกับการ “ชโลมน้ำมันให้เขาในพระนามพระยะโฮวา.” (อ่านยาโกโบ 5:14, 15) เช่นเดียวกับน้ำมันยาจากกิเลอาด พระคำของพระเจ้าช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยของคนเราได้. (ยิระ. 8:22; ยเอศ. 34:16) เมื่อนำหลักการในคัมภีร์ไบเบิลมาใช้ ผู้ปกครองสามารถช่วยคนที่อ่อนแอให้กลับมามีความสมดุลฝ่ายวิญญาณอีกครั้งหนึ่ง. ใช่แล้ว นับว่าช่วยได้มากทีเดียวเมื่อผู้ปกครองรับฟังแกะที่ป่วยพูดเรื่องที่เขากังวลใจและอธิษฐานกับเขา.
ไม่ใช่โดยฝืนใจ แต่ด้วยความเต็มใจ
11. อะไรกระตุ้นผู้ปกครองให้บำรุงเลี้ยงฝูงแกะของพระเจ้าด้วยความเต็มใจ?
11 ถัดจากนั้น เปโตรเตือนผู้เฒ่าผู้แก่เกี่ยวกับวิธีที่พวกเขาควรทำและไม่ควรทำในการบำรุงเลี้ยง. ผู้ปกครองต้องเลี้ยงฝูงแกะของพระเจ้า “ไม่ใช่โดยฝืนใจ แต่ด้วยความเต็มใจ.” อะไรกระตุ้นผู้ปกครองให้รับใช้พี่น้องอย่างเต็มใจ? อะไรกระตุ้นเปโตรให้บำรุงเลี้ยงและจัดหาอาหารให้แกะของพระเยซูล่ะ? ปัจจัยอย่างหนึ่งก็คือความรักที่ท่านมีต่อองค์พระผู้เป็นเจ้า. (โย. 21:15-17) เพราะความรัก ผู้ปกครอง “ไม่อยู่เพื่อตนเองอีกต่อไป แต่อยู่เพื่อพระองค์ผู้ได้สิ้นพระชนม์เพื่อพวกเขา.” (2 โค. 5:14, 15) ความรักนี้ ซึ่งเป็นความรักที่พวกเขามีต่อพระเจ้าและพี่น้อง กระตุ้นผู้ปกครองให้รับใช้ฝูงแกะ ทุ่มเทกำลัง เวลา และพยายามอย่างเต็มที่ในการรับใช้พี่น้อง. (มัด. 22:37-39) พวกเขาให้ตัวเองอย่างเต็มใจ ไม่ใช่ด้วยฝืนใจ.
12. อัครสาวกเปาโลให้ตัวเองถึงขนาดไหน?
12 ผู้ปกครองควรให้ตัวเองถึงขนาดไหน? ในการดูแลแกะ พวกเขาเลียนแบบอัครสาวกเปาโล เหมือนกับที่ท่านเลียนแบบพระเยซู. (1 โค. 11:1) โดยมีความรักใคร่อันอบอุ่นต่อพี่น้องในเมืองเทสซาโลนิเก เปาโลและเพื่อนร่วมเดินทางจึงยินดีที่จะให้พวกเขา ‘ไม่เพียงแต่ข่าวดีของพระเจ้าเท่านั้น แต่ชีวิตของตนด้วย.’ เมื่อทำอย่างนั้น พวกท่านจึงปฏิบัติอย่างอ่อนโยน “เหมือนแม่ลูกอ่อนทะนุถนอมลูกของตน.” (1 เทส. 2:7, 8) เปาโลเข้าใจว่าแม่ลูกอ่อนรู้สึกอย่างไรต่อลูกน้อย. แม่จะยอมทำทุกอย่างเพื่อลูก รวมถึงการตื่นขึ้นมาตอนกลางดึกเพื่อให้นมลูก.
13. ผู้ปกครองจำเป็นต้องรักษาความสมดุลอย่างไร?
13 ผู้ปกครองจำเป็นต้องระวังเพื่อจะรักษาความสมดุลระหว่างหน้าที่รับผิดชอบในการบำรุงเลี้ยงกับพันธะหน้าที่ที่มีต่อครอบครัวของเขาเอง. (1 ติโม. 5:8) เวลาที่ผู้ปกครองใช้กับประชาคมเป็นเวลาที่มีค่ามากซึ่งสามารถใช้กับครอบครัวของเขา. วิธีหนึ่งที่จะทำให้หน้าที่รับผิดชอบทั้งสองนี้สมดุลกันก็คือเชิญคนอื่น ๆ มาร่วมการนมัสการประจำครอบครัวตอนเย็นเป็นครั้งคราว. ตลอดหลายปี บราเดอร์มาซานาโอะ ซึ่งเป็นผู้ปกครองคนหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น ได้เชิญคนโสดและครอบครัวที่บิดาไม่มีความเชื่อให้ร่วมในการศึกษาประจำครอบครัวกับเขา. ในเวลาต่อมา บางคนที่ได้รับความช่วยเหลืออย่างนี้ได้กลายมาเป็นผู้ปกครองและพวกเขาทำตามแบบอย่างที่ดีของบราเดอร์มาซานาโอะ.
อย่าหาผลประโยชน์โดยมิชอบ บำรุงเลี้ยงฝูงแกะอย่างกระตือรือร้น
14, 15. เหตุใดผู้ปกครองควรระวังที่จะไม่ “อยากได้ผลประโยชน์” และพวกเขาจะเลียนแบบเปาโลได้อย่างไรในเรื่องนี้?
14 นอกจากนั้น เปโตรยังสนับสนุนผู้ปกครองให้บำรุงเลี้ยงฝูงแกะ “ไม่ใช่เพราะอยากได้ผลประโยชน์ แต่ด้วยความกระตือรือร้น.” งานของผู้ปกครองต้องใช้เวลามาก แต่พวกเขาไม่คาดหมายว่าจะได้รับเงินชดเชยใด ๆ. เปโตรมองเห็นความจำเป็นที่จะเตือนเพื่อนผู้ปกครองให้ระวังที่จะไม่บำรุงเลี้ยงฝูงแกะ “เพราะอยากได้ผลประโยชน์.” วิ. 18:2, 3) ผู้ปกครองในสมัยปัจจุบันมีเหตุผลที่ดีที่จะระวังแนวโน้มเช่นนั้น.
เมื่อสังเกตพวกหัวหน้าศาสนาแห่ง “บาบิโลนใหญ่” ที่ใช้ชีวิตอย่างหรูหราฟุ่มเฟือย ในขณะที่ผู้คนมากมายต้องใช้ชีวิตอย่างยากจนข้นแค้น จึงเห็นได้ชัดว่ามีแนวโน้มที่ผู้บำรุงเลี้ยงอาจทำหน้าที่เพราะอยากได้ผลประโยชน์. (15 เปาโลวางตัวอย่างที่ดีไว้สำหรับคริสเตียนผู้ปกครอง. แม้ว่าท่านเป็นอัครสาวกและอาจทำให้คริสเตียนในเมืองเทสซาโลนิเก “มีภาระต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก” เพื่อท่านได้ แต่ท่านไม่ได้ “กินอาหารของใครโดยไม่ให้อะไรตอบแทน.” แทนที่จะทำอย่างนั้น ท่าน “ทำงานหนักและเหน็ดเหนื่อยทั้งวันทั้งคืน.” (2 เทส. 3:8) ผู้ปกครองหลายคนในสมัยปัจจุบัน รวมทั้งคนที่เป็นผู้ดูแลหมวด วางตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้. แม้ว่าพวกเขายินดีรับน้ำใจรับรองแขกของเพื่อนร่วมความเชื่อ แต่พวกเขา “ไม่ให้คนหนึ่งคนใด . . . มีภาระต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก.”—1 เทส. 2:9
16. การบำรุงเลี้ยงฝูงแกะ “ด้วยความกระตือรือร้น” หมายความอย่างไร?
16 ผู้ปกครองบำรุงเลี้ยงฝูงแกะ “ด้วยความกระตือรือร้น.” ความกระตือรือร้นของพวกเขาเห็นได้ชัดจากน้ำใจเสียสละของพวกเขาในการช่วยฝูงแกะ. อย่างไรก็ตาม นั่นไม่ได้หมายความว่าผู้ปกครองที่เปี่ยมด้วยความรักจะบังคับฝูงแกะให้รับใช้พระยะโฮวาหรือรับใช้พระเจ้าด้วยน้ำใจแข่งขันชิงดีกัน. (กลา. 5:26) ผู้ปกครองเข้าใจดีว่าพี่น้องแต่ละคนที่เป็นแกะนั้นแตกต่างกัน. พวกเขากระตือรือร้นที่จะช่วยพี่น้องให้รับใช้พระยะโฮวาอย่างมีความสุข.
ไม่ใช่เป็นนายเหนือฝูงแกะ แต่เป็นแบบอย่าง
17, 18. (ก) เหตุใดบางครั้งเหล่าอัครสาวกมีปัญหาในการเข้าใจคำสอนของพระเยซูเรื่องความถ่อมใจ? (ข) เราอาจอยู่ในสถานการณ์คล้าย ๆ กันอย่างไร?
17 ดังที่เราได้พิจารณาไปแล้ว ผู้ปกครองควรจำไว้เสมอว่าฝูงแกะที่พวกเขาบำรุงเลี้ยงเป็นของพระเจ้า ไม่ใช่ของพวกเขาเอง. พวกเขาระวังที่จะไม่ทำตัว “เป็นนายเหนือคนเหล่านั้นที่เป็นทรัพย์สมบัติของพระเจ้า.” (อ่าน 1 เปโตร 5:3) บางครั้ง อัครสาวกของพระเยซูพยายามเพื่อจะได้ตำแหน่งโดยมีแรงกระตุ้นที่ผิด ๆ. เช่นเดียวกับพวกผู้ปกครองของชาติต่าง ๆ พวกเขาอยากมีตำแหน่งเด่น.—อ่านมาระโก 10:42-45
18 ในทุกวันนี้ พี่น้องที่ “พยายามจะได้ทำหน้าที่ผู้ดูแล” ควรตรวจสอบตัวเองว่าทำไมพวกเขากำลังพยายามเช่นนั้น. (1 ติโม. 3:1) คนที่ตอนนี้เป็นผู้ปกครองอาจถามตัวเองอย่างตรงไปตรงมาว่าพวกเขาอยากมีอำนาจหรือชื่อเสียงเหมือนกับที่เหล่าอัครสาวกอยากมีหรือไม่. ถ้าเหล่าอัครสาวกมีปัญหาในเรื่องนี้ ผู้ปกครองทั้งหลายก็น่าจะเข้าใจได้ว่าพวกเขาจำเป็นต้องพยายามอย่างมากที่จะหลีกเลี่ยงแนวโน้มแบบโลกที่ชอบวางอำนาจเหนือผู้อื่น.
19. ผู้ปกครองควรจำอะไรไว้เมื่อปกป้องฝูงแกะ?
19 จริงอยู่ บางครั้งผู้ปกครองต้องหนักแน่น เช่น เมื่อปกป้องฝูงแกะไว้จาก “พวกหมาป่าที่กดขี่.” (กิจ. 20:28-30) เปาโลบอกทิทุสให้ “กระตุ้นเตือนและว่ากล่าวด้วยอำนาจ” ต่อ ๆ ไป. (ทิทุส 2:15) กระนั้น แม้แต่เมื่อต้องทำเช่นนั้น ผู้ปกครองพยายามให้เกียรติแก่คนที่เกี่ยวข้อง. พวกเขาเข้าใจว่าแทนที่จะว่ากล่าวอย่างรุนแรง การพูดโน้มน้าวอย่างนุ่มนวลมักเกิดผลมากกว่าในการเข้าถึงหัวใจและกระตุ้นให้คนเราดำเนินในทางที่ถูกต้อง.
20. ผู้ปกครองจะเลียนแบบพระเยซูได้อย่างไรในการวางแบบอย่างที่ดี?
20 ตัวอย่างที่ดีของพระคริสต์กระตุ้นผู้ปกครองให้รักฝูงแกะ. (โย. 13:12-15) เรารู้สึกอบอุ่นใจเมื่ออ่านเกี่ยวกับวิธีที่พระองค์ทรงสอนเหล่าสาวกในงานประกาศและงาน สอนคนให้เป็นสาวก. แบบอย่างความถ่อมใจของพระองค์ทำให้เหล่าสาวกรู้สึกประทับใจ กระตุ้นพวกเขาให้ดำเนินในแนวทางที่แสดงว่าพวกเขา “ถ่อมใจถือว่าคนอื่นดีกว่าตัว.” (ฟิลิป. 2:3) ผู้ปกครองในทุกวันนี้ก็ถูกกระตุ้นจากแบบอย่างของพระเยซูด้วย และพวกเขาต้องการเป็น “แบบอย่างให้ฝูงแกะ.”
21. ผู้ปกครองสามารถคอยท่าที่จะได้รับบำเหน็จอะไร?
21 เปโตรกล่าวลงท้ายคำแนะนำที่ท่านให้แก่ผู้เฒ่าผู้แก่โดยกล่าวถึงคำสัญญาที่พวกเขาจะได้ในอนาคต. (อ่าน 1 เปโตร 5:4) ผู้ดูแลที่เป็นผู้ถูกเจิม “จะได้รับมงกุฎแห่งเกียรติยศซึ่งไม่มีวันร่วงโรย” กับพระคริสต์ในสวรรค์. เหล่ารองผู้บำรุงเลี้ยงที่เป็น “แกะอื่น” จะได้รับสิทธิพิเศษในการบำรุงเลี้ยงฝูงแกะของพระเจ้าบนแผ่นดินโลกภายใต้การปกครองของ “ผู้เลี้ยงองค์เอก.” (โย. 10:16) บทความถัดไปจะพิจารณาวิธีที่สมาชิกของประชาคมจะสามารถสนับสนุนผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้นำหน้า.
เพื่อทบทวน
• เหตุใดจึงเหมาะที่เปโตรให้คำแนะนำเพื่อนผู้ปกครองให้บำรุงเลี้ยงฝูงแกะของพระเจ้าที่อยู่ในความดูแลของพวกเขา?
• ผู้ปกครองควรบำรุงเลี้ยงผู้ที่ป่วยฝ่ายวิญญาณอย่างไร?
• อะไรกระตุ้นให้ผู้ปกครองบำรุงเลี้ยงฝูงแกะของพระเจ้าที่อยู่ในความดูแลของพวกเขา?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 21]
เช่นเดียวกับผู้เลี้ยงแกะในสมัยโบราณ ผู้ปกครองในทุกวันนี้ต้องปกป้อง “แกะ” ที่อยู่ในความดูแลของพวกเขา