คุณเกลียดการชั่วไหม?
คุณเกลียดการชั่วไหม?
“ท่าน [พระเยซู] เกลียดการชั่ว.”—ฮีบรู 1:9
1. พระเยซูทรงสอนอะไรในเรื่องความรัก?
พระเยซูคริสต์ทรงเน้นความสำคัญของความรักโดยบอกเหล่าสาวกว่า “เราให้บัญญัติใหม่แก่เจ้าทั้งหลาย คือ ให้พวกเจ้ารักกัน เรารักพวกเจ้ามาแล้วอย่างไร ก็ให้พวกเจ้ารักกันอย่างนั้นด้วย. เพราะเหตุนี้แหละ คนทั้งหลายจะรู้ว่าพวกเจ้าเป็นสาวกของเรา ถ้าพวกเจ้ารักกัน.” (โย. 13:34, 35) พระเยซูทรงบัญชาให้เหล่าสาวกแสดงความรักแบบเสียสละต่อกัน. ความรักนั้นจะเป็นเครื่องหมายระบุตัวพวกเขา. พระเยซูยังกระตุ้นเตือนพวกเขาด้วยว่า “จงรักศัตรูของเจ้าต่อ ๆ ไปและอธิษฐานเพื่อผู้ที่ข่มเหงเจ้าต่อ ๆ ไป.”—มัด. 5:44
2. สาวกของพระคริสต์ควรเกลียดอะไร?
2 แต่นอกจากจะสอนเหล่าสาวกเกี่ยวกับความรักแล้ว พระเยซูยังทรงสอนเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาต้องเกลียดด้วย. มีการกล่าวถึงพระเยซูว่า “ท่านรักความชอบธรรมและท่านเกลียดการชั่ว.” (ฮีบรู 1:9; เพลง. 45:7) นี่แสดงว่าเราต้องไม่เพียงแค่รักความชอบธรรมแต่ต้องเกลียดการทำบาปหรือการชั่วด้วย. น่าสังเกตที่อัครสาวกโยฮันกล่าว อย่างเจาะจงว่า “ทุกคนที่ทำบาปเป็นอาจิณก็ทำผิดกฎหมายของพระเจ้าเป็นอาจิณ ดังนั้น บาปคือการทำผิดกฎหมายของพระเจ้า.”—1 โย. 3:4
3. บทความนี้จะพิจารณาการเกลียดการชั่วในขอบเขตใดบ้างของชีวิต?
3 ดังนั้น ในฐานะคริสเตียนเราควรถามตัวเองว่า ‘ฉันเกลียดการชั่วไหม?’ ให้เราพิจารณาว่าเราจะเกลียดสิ่งชั่วในสี่ขอบเขตต่อไปนี้ของชีวิตได้อย่างไร (1) ทัศนะของเราต่อการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป, (2) ทัศนะของเราต่ออำนาจลึกลับ, (3) ปฏิกิริยาของเราต่อการทำผิดศีลธรรม, และ (4) ทัศนะของเราต่อผู้ที่รักการชั่ว.
จงควบคุมการดื่มแอลกอฮอล์
4. เหตุใดพระเยซูจึงตรัสได้อย่างมั่นใจเมื่อพระองค์เตือนเรื่องการดื่มจัด?
4 พระเยซูทรงดื่มเหล้าองุ่นในบางโอกาส และพระองค์ทรงยอมรับว่านี่เป็นของประทานจากพระเจ้า. (เพลง. 104:14, 15) แต่พระองค์ไม่เคยใช้ของประทานนี้อย่างผิด ๆ ด้วยการดื่มจัด. (สุภา. 23:29-33) พระเยซูจึงตรัสได้อย่างมั่นใจเมื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องนี้. (อ่านลูกา 21:34) การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปอาจนำไปสู่บาปร้ายแรงอื่น ๆ. ด้วยเหตุนั้น อัครสาวกเปาโลเขียนว่า “อย่าเมาเหล้าองุ่น เพราะจะทำให้เป็นคนเสเพล แต่จงเปี่ยมด้วยพระวิญญาณอยู่เสมอ.” (เอเฟ. 5:18) ท่านยังแนะนำสตรีสูงอายุในประชาคมว่าอย่า “เป็นทาสเหล้าองุ่น.”—ทิทุส 2:3
5. คนที่เลือกจะดื่มแอลกอฮอล์อาจถามตัวเองอย่างไร?
5 ถ้าคุณเลือกจะดื่มแอลกอฮอล์ คุณควรถามตัวเองด้วยว่า ‘ฉันมีทัศนะแบบเดียวกับที่พระเยซูมีต่อการดื่มมากเกินไปไหม? ถ้าฉันจำเป็นต้องแนะนำคนอื่นในเรื่องนี้ ฉันจะพูดได้ด้วยความมั่นใจไหม? ฉันดื่มเพื่อหนีความกลัดกลุ้มหรือเพื่อคลายเครียดไหม? ฉันดื่มแอลกอฮอล์มากขนาดไหนในแต่ละสัปดาห์? ฉันแสดงปฏิกิริยาอย่างไรเมื่อมีใครบอกว่าฉันดื่มมากเกินไป? ฉันแก้ตัวหรือถึงกับขุ่นเคืองด้วยซ้ำไหม?’ การปล่อยตัวจนกลายเป็นทาสแอลกอฮอล์อาจส่งผลกระทบต่อความสามารถที่จะใช้เหตุผลในเรื่องต่าง ๆ อย่างถูกต้องและการตัดสินใจอย่างสุขุม. สาวกของพระคริสต์พยายามรักษาความสามารถในการคิดของตน.—สุภา. 3:21, 22
จงหลีกเลี่ยงกิจปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับอำนาจลึกลับ
6, 7. (ก) พระเยซูทรงจัดการซาตานและพวกปิศาจอย่างไร? (ข) เหตุใดกิจปฏิบัติเกี่ยวข้องกับอำนาจลึกลับจึงแพร่หลายมากในทุกวันนี้?
6 ขณะอยู่บนแผ่นดินโลก พระเยซูทรงยืนหยัดต่อต้านซาตานและพวกปิศาจ. พระองค์ทรงปฏิเสธซาตานที่โจมตีความภักดีของพระองค์ซึ่ง ๆ หน้า. (ลูกา 4:1-13) นอกจากนั้น พระองค์ทรงมองออกและต้านทานความพยายามที่จะโน้มน้าวให้พระองค์คิดและทำอย่างที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งมองออกได้ยาก. (มัด. 16:21-23) พระเยซูทรงช่วยคนที่สมควรได้รับความช่วยเหลือให้หลุดพ้นจากการครอบงำที่โหดร้ายของพวกปิศาจ.—มโก. 5:2, 8, 12-15; 9:20, 25-27
7 หลังจากพระเยซูทรงขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ในปี 1914 พระองค์ทรงชำระสวรรค์ให้สะอาดจากอิทธิพลอันเสื่อมทรามของซาตานและพวกปิศาจ. ผลก็คือ ในเวลานี้ซาตานมุ่งมั่นที่จะ “ชักนำทั้งโลกให้หลงผิด” ยิ่งกว่าแต่ก่อน. (วิ. 12:9, 10) ดังนั้น เราไม่ควรแปลกใจที่ความหลงใหลในอำนาจลึกลับมีอยู่ทั่วไปและเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ. เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อป้องกันตัวเราเอง?
8. เราแต่ละคนควรตรวจสอบตัวเองอย่างไรในเรื่องการเลือกความบันเทิง?
พระบัญญัติ 18:10-12) ปัจจุบัน ซาตานและพวกปิศาจโน้มน้าวความคิดของผู้คนโดยทางภาพยนตร์, หนังสือ, และเกมคอมพิวเตอร์ที่ส่งเสริมกิจปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับอำนาจลึกลับ. ด้วยเหตุนั้น เมื่อเลือกความบันเทิงเราแต่ละคนควรถามตัวเองว่า ‘ในช่วงหลายเดือนมานี้ ฉันได้เลือกความบันเทิงจากภาพยนตร์, รายการโทรทัศน์, เกมคอมพิวเตอร์, หนังสือ, หรือหนังสือการ์ตูนที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับกิจปฏิบัติลึกลับไหม? ฉันเข้าใจความสำคัญของการปฏิเสธอิทธิพลของอำนาจลึกลับไหม หรือฉันถือว่าสิ่งเหล่านี้ไม่มีอันตรายแต่อย่างใด? ฉันเคยคิดไหมว่าพระยะโฮวาจะรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับความบันเทิงที่ฉันเลือก? ถ้าฉันรับเอาอิทธิพลของซาตานแล้ว ความรักที่ฉันมีต่อพระยะโฮวาและหลักการอันชอบธรรมของพระองค์จะกระตุ้นฉันให้ขจัดอิทธิพลเหล่านั้นออกไปอย่างเด็ดเดี่ยวไหม?’—กิจ. 19:19, 20
8 คัมภีร์ไบเบิลเตือนไว้อย่างชัดเจนถึงอันตรายที่เชื่อมโยงกับลัทธิผีปิศาจ. (อ่านจงเอาใจใส่คำเตือนของพระเยซูเกี่ยวกับการผิดศีลธรรม
9. คนเราอาจบ่มเพาะความรักต่อการชั่วอย่างไร?
9 พระเยซูทรงสนับสนุนมาตรฐานของพระยะโฮวาในเรื่องศีลธรรมทางเพศ. พระองค์ตรัสว่า “พวกเจ้าไม่ได้อ่านหรือว่าพระองค์ผู้ทรงสร้างมนุษย์ในตอนเริ่มต้นนั้นได้สร้างให้เป็นชายและหญิง แล้วตรัสว่า ‘ด้วยเหตุนี้ผู้ชายจะจากบิดามารดาไปผูกพันใกล้ชิดกับภรรยา และทั้งสองจะเป็นเนื้อหนังเดียวกัน’? พวกเขาจึงไม่เป็นสองอีกต่อไป แต่เป็นเนื้อหนังเดียวกัน. ฉะนั้น ที่พระเจ้าทรงผูกมัดไว้ด้วยกันแล้วนั้นอย่าให้มนุษย์ทำให้แยกจากกันเลย.” (มัด. 19:4-6) พระเยซูทรงรู้ว่าสิ่งที่คนเรารับเข้าไปทางตาจะส่งผลกระทบต่อหัวใจ. ในคำเทศน์บนภูเขา พระองค์จึงตรัสว่า “เจ้าทั้งหลายเคยได้ยินคำที่มีกล่าวไว้ว่า ‘อย่าเล่นชู้.’ แต่เราบอกเจ้าทั้งหลายว่าทุกคนที่มองผู้หญิงอย่างไม่วางตาจนเกิดความกำหนัดในหญิงนั้นก็ได้เล่นชู้ในใจกับนางแล้ว.” (มัด. 5:27, 28) อันที่จริง คนที่เพิกเฉยคำเตือนของพระเยซูกำลังบ่มเพาะความรักต่อการชั่ว.
10. จงเล่าประสบการณ์ที่แสดงว่าคนเราสามารถเลิกนิสัยดูสื่อลามกได้อย่างเด็ดขาด.
10 ซาตานส่งเสริมการทำผิดศีลธรรมทางเพศโดยใช้สื่อลามก. ระบบปัจจุบันเต็มไปด้วยสื่อลามก. คนที่ดูสื่อลามกยอมรับว่าเป็นเรื่องยากที่จะขจัดภาพที่ผิดศีลธรรมออกไปจากความคิดของตน. พวกเขาอาจถึงกับติดสื่อลามกด้วยซ้ำ. ขอให้พิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นกับคริสเตียนคนหนึ่ง. เขาบอกว่า “ผมแอบดูสื่อลามก. ผมสร้างโลกในจินตนาการขึ้นมา ซึ่งผมคิดว่าไม่เกี่ยวข้องเลยกับโลกที่ผมรับใช้พระยะโฮวา. ผมรู้ว่าการทำอย่างนี้ผิด แต่ผมบอกตัวเองว่าพระเจ้ายังคงยอมรับการรับใช้ของผม.” อะไรทำให้พี่น้องคนนี้เปลี่ยนความคิด? เขากล่าวว่า “แม้ว่าเป็นเรื่องยากที่สุดที่ผมเคยทำ ผมตัดสินใจบอกผู้ปกครองเกี่ยวกับปัญหาของผม.” ในที่สุด พี่น้องชายคนนี้ก็เลิกนิสัยที่เสื่อมทรามนี้ได้อย่างเด็ดขาด. เขายอมรับว่า “หลังจากที่ผมชำระชีวิตของผมให้หมดมลทินจากบาปนี้แล้ว ในที่สุดผมก็รู้สึกว่าผมมีสติรู้สึกผิดชอบที่สะอาดอย่างแท้จริง.” คนที่เกลียดการชั่วต้องเรียนรู้ที่จะเกลียดสื่อลามก.
11, 12. เราจะแสดงให้เห็นได้อย่างไรว่าเราเกลียดการชั่วเมื่อเราเลือกดนตรี?
11 ดนตรีและเนื้อร้องอาจมีอิทธิพลต่ออารมณ์ของเราอย่างมาก และด้วยเหตุนั้นจึงมีผลกระทบต่อหัวใจโดยนัยของเรา. ดนตรีเป็นของประทานจากพระเจ้าและมีการใช้ดนตรีในการนมัสการแท้มาเป็นเวลานานแล้ว. (เอ็ก. 15: 20, 21; เอเฟ. 5:19) แต่โลกชั่วของซาตานส่งเสริมดนตรีที่ยกย่องการทำผิดศีลธรรม. (1 โย. 5:19) คุณจะบอกได้อย่างไรว่าดนตรีที่คุณฟังทำให้คุณเป็นมลทินหรือไม่?
12 คุณอาจเริ่มด้วยการถามตัวเองว่า ‘เพลงที่ฉันฟังยกย่องการฆ่าคน, การเล่นชู้, การผิดประเวณี, และการดูหมิ่นพระเจ้าไหม? ถ้าฉันต้องอ่านเนื้อร้องของบางเพลงให้ใครคนหนึ่งฟัง คนนั้นจะเข้าใจว่าฉันเกลียดการชั่วไหม หรือเนื้อร้องนั้นจะบ่งบอกว่าหัวใจฉันไม่สะอาด?’ เราไม่อาจอ้างได้ว่าเราเกลียดการชั่วแต่ขณะเดียวกันก็เลือกที่จะฟังเพลงที่ยกย่องการชั่ว. พระเยซูตรัสว่า “สิ่งที่ออกจากปากก็ออกจากใจ และสิ่งเหล่านั้นทำให้มนุษย์มีมลทิน. ตัวอย่างเช่น สิ่งที่ออกมาจากหัวใจคือ ความคิดชั่วร้าย การฆ่าคน การเล่นชู้ การผิดประเวณี การขโมย การเป็นพยานเท็จ การหมิ่นประมาท.”—มัด. 15:18, 19; เทียบกับยาโกโบ 3:10, 11
จงมีทัศนะแบบเดียวกับที่พระเยซูมีต่อคนที่รักการชั่ว
13. พระเยซูทรงมีทัศนะอย่างไรต่อคนที่ทำผิดจนชาชิน?
13 พระเยซูตรัสว่าพระองค์มาเรียกคนบาปหรือคนที่ทำการชั่วให้กลับใจ. (ลูกา 5:30-32) แต่พระองค์ทรงมีทัศนะอย่างไรต่อคนที่ทำผิดจนชาชิน? พระเยซูทรงเตือนอย่างหนักแน่นให้ระวังอย่าได้ถูกคนแบบนี้โน้มน้าว. (มัด. 23:15, 23-26) พระองค์ตรัสอย่างชัดเจนด้วยว่า “มิใช่ทุกคนที่พูดกับเราว่า ‘พระองค์เจ้าข้า พระองค์เจ้าข้า’ จะได้เข้าราชอาณาจักรสวรรค์ แต่ผู้ที่ทำตามพระประสงค์ของพระบิดาของเราผู้สถิตในสวรรค์จึงจะได้เข้า. ในวันนั้น [เมื่อพระเจ้าทรงสำเร็จโทษตามการพิพากษา] คนเป็นอันมากจะพูดกับเราว่า ‘พระองค์เจ้าข้า พระองค์เจ้าข้า พวกเราได้พยากรณ์ในพระนามของพระองค์และขับปิศาจในพระนามของพระองค์ และทำการอิทธิฤทธิ์หลายอย่างในพระนามของพระองค์มิใช่หรือ?’ ” อย่างไรก็ตาม พระองค์จะทรงปฏิเสธคนที่ทำการชั่วโดยไม่กลับใจว่า “จงไปให้พ้น.” (มัด. 7:21-23) เหตุใดพวกเขาจึงถูกพิพากษาเช่นนั้น? เพราะคนเหล่านี้ไม่นับถือพระเจ้าและทำให้คนอื่นได้รับความเสียหายด้วยการชั่วของพวกเขา.
14. เหตุใดคนทำผิดที่ไม่กลับใจจึงถูกขับออกจากประชาคม?
14 พระคำของพระเจ้าสั่งว่าคนบาปที่ไม่กลับใจจะต้องถูกขับออกจากประชาคม. (อ่าน 1 โครินท์ 5:9-13) มีอย่างน้อยสามเหตุผลที่จำเป็นต้องทำอย่างนั้น กล่าวคือ (1) เพื่อรักษาพระนามพระยะโฮวาให้พ้นจากคำตำหนิ, (2) เพื่อปกป้องประชาคมไว้จากความไม่สะอาด, และ (3) เพื่อช่วยคนที่ทำผิดให้กลับใจหากเป็นไปได้.
15. ถ้าเราต้องการรักษาความภักดีต่อพระยะโฮวา เราควรถามตัวเองอย่างจริงจังเช่นไร?
15 เรามีทัศนะแบบเดียวกับที่พระเยซูมีต่อคนที่ไม่ยอมละเลิกการทำชั่วไหม? เราจำเป็นต้องใคร่ครวญคำถามต่อไปนี้: ‘ฉันจะเลือกคบหาเป็นประจำกับคนที่ถูกตัดสัมพันธ์หรือคนที่ตัดตัวเองจากประชาคมคริสเตียนไหม? จะว่าอย่างไรถ้าคนนั้นเป็นญาติใกล้ชิดซึ่งออกจากบ้านไปแล้ว?’ สถานการณ์เช่นนี้อาจเป็นการทดสอบความรักที่เรามีต่อความชอบธรรมและความภักดีที่เรามีต่อพระเจ้าอย่างแท้จริง. *
16, 17. มารดาคริสเตียนคนหนึ่งประสบความลำบากใจเช่นไร และอะไรช่วยเธอให้ทำตามหลักการของพระเจ้าเกี่ยวกับการตัดสัมพันธ์คนทำผิดที่ไม่กลับใจ?
16 ขอพิจารณาประสบการณ์ของพี่น้องหญิงคนหนึ่งที่
ลูกชายเธอซึ่งเป็นผู้ใหญ่แล้วครั้งหนึ่งเคยรักพระยะโฮวา. แต่ต่อมา เขาเลือกที่จะทำการชั่วอย่างไม่กลับใจ. ด้วยเหตุนั้น ประชาคมจึงตัดสัมพันธ์เขา. พี่น้องหญิงของเราคนนี้รักพระยะโฮวา แต่เธอก็รักลูกชายด้วย และยอมรับว่าเป็นเรื่องยากอย่างยิ่งที่จะทำตามพระบัญชาในพระคัมภีร์ที่ให้หลีกเลี่ยงการติดต่อกับเขา.17 คุณจะให้คำแนะนำอะไรแก่พี่น้องหญิงคนนี้? ผู้ปกครองคนหนึ่งช่วยเธอให้ตระหนักว่าพระยะโฮวาทรงเข้าใจความเจ็บปวดของเธอ. เขาชวนให้เธอคิดถึงความเจ็บปวดที่พระยะโฮวาคงต้องรู้สึกเมื่อบุตรกายวิญญาณของพระองค์บางองค์ขืนอำนาจ. ผู้ปกครองให้เหตุผลแก่เธอว่าแม้พระยะโฮวาทรงรู้ว่าสภาพการณ์เช่นนั้นทำให้เจ็บปวดสักเพียงไร แต่พระองค์ทรงสั่งให้ตัดสัมพันธ์คนทำผิดที่ไม่กลับใจ. เธอเอาใจใส่ข้อเตือนใจนี้และทำตามหลักการของพระเจ้าเกี่ยวกับการตัดสัมพันธ์อย่างภักดี. * ความภักดีเช่นนั้นทำให้พระทัยของพระยะโฮวายินดี.—สุภา. 27:11
18, 19. (ก) การตัดการติดต่อกับคนที่ทำการชั่วให้หลักฐานว่าเราเกลียดอะไร? (ข) ผลอาจเป็นเช่นไรเมื่อเราภักดีต่อพระเจ้าและหลักการของพระองค์?
18 ถ้าคุณเผชิญสถานการณ์คล้าย ๆ กันนั้น ขอให้จำไว้ว่าพระยะโฮวาทรงเห็นใจคุณ. การที่คุณตัดขาดและไม่ติดต่อกับคนที่ถูกตัดสัมพันธ์หรือตัดตัวเองแสดงให้เห็นว่าคุณเกลียดทัศนคติและการกระทำที่ทำให้เกิดผลเช่นนั้น. อย่างไรก็ตาม คุณยังแสดงให้เห็นด้วยว่าคุณรักผู้ทำผิด และคุณต้องการทำสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเขา. การที่คุณภักดีต่อพระยะโฮวาอาจทำให้มีโอกาสมากขึ้นที่ผู้ถูกตีสอนจะกลับใจและกลับมาหาพระยะโฮวา.
19 สตรีคนหนึ่งซึ่งถูกตัดสัมพันธ์และในเวลาต่อมาถูกรับกลับสู่ฐานะเดิมเขียนดังนี้: “ดิฉันดีใจที่พระยะโฮวาทรงรักประชาชนมากถึงขนาดที่พระองค์ทรงคอยดูแลให้องค์การของพระองค์สะอาดอยู่เสมอ. สิ่งที่อาจดูเหมือนโหดร้ายสำหรับคนภายนอกเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ และจริง ๆ แล้วการทำอย่างนั้นเป็นการแสดงความรัก.” คุณคิดว่าพี่น้องคนนี้จะลงความเห็นเช่นนั้นไหมถ้าพี่น้องในประชาคม รวมทั้งคนในครอบครัวของเธอ ยังคงติดต่อกับเธออยู่เรื่อย ๆ ช่วงที่เธอถูกตัดสัมพันธ์? การที่เราทำตามหลักการของพระคัมภีร์เกี่ยวกับการตัดสัมพันธ์ให้หลักฐานว่าเรารักความชอบธรรมและยอมรับสิทธิของพระยะโฮวาในการวางมาตรฐานการประพฤติ.
“จงเกลียดการชั่ว”
20, 21. เหตุใดการเรียนรู้ที่จะเกลียดการชั่วจึงเป็นเรื่องสำคัญ?
20 อัครสาวกเปโตรเตือนว่า “จงมีสติอยู่เสมอและจงเฝ้าระวัง.” เพราะเหตุใด? เพราะ “พญามาร ปรปักษ์ของพวกท่านเดินไปมาเหมือนสิงโตคำราม เสาะหาคนที่มันจะขม้ำกินเสีย.” (1 เป. 5:8) คนที่มันเสาะหานั้นจะเป็นคุณไหม? ส่วนใหญ่แล้วนั่นขึ้นอยู่กับว่าคุณเรียนรู้ที่จะเกลียดการชั่วขนาดไหน.
21 การเพาะความเกลียดต่อการชั่วไม่ใช่เรื่องง่าย. เราเกิดมาเป็นคนบาป และเราอยู่ในโลกที่สนองความปรารถนาทางกาย. (1 โย. 2:15-17) แต่โดยการเลียนแบบพระเยซูคริสต์และปลูกฝังความรักอย่างลึกซึ้งต่อพระยะโฮวาพระเจ้า เราจะประสบความสำเร็จในการเพาะความเกลียดที่เรามีต่อการชั่ว. ให้เราตั้งใจแน่วแน่ว่าจะ “เกลียดการชั่ว” โดยมั่นใจอย่างเต็มที่ว่าพระยะโฮวา “ทรงบำรุงรักษา . . . พวกผู้ชอบธรรมของพระองค์; พระองค์ทรงช่วยเขาให้พ้นจากมือคนชั่ว.”—เพลง. 97:10
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 15 สำหรับการพิจารณาอย่างละเอียดในเรื่องนี้ โปรดดูหอสังเกตการณ์ 15 มกราคม 1982 หน้า 16-24.
คุณจะตอบอย่างไร?
• อะไรจะช่วยเราให้ตรวจสอบทัศนะของเราต่อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์?
• เราอาจทำอะไรได้บ้างเพื่อจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับอำนาจลึกลับ?
• เหตุใดสื่อลามกจึงเป็นอันตราย?
• เราจะเกลียดการชั่วได้โดยวิธีใดเมื่อคนที่เรารักถูกตัดสัมพันธ์?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 29]
ถ้าคุณเลือกที่จะดื่มแอลกอฮอล์ คุณควรพิจารณาอะไร?
[ภาพหน้า 30]
จงระวังอิทธิพลของซาตานที่แฝงอยู่ในความบันเทิง
[ภาพหน้า 31]
คนที่ดูสื่อลามกบ่มเพาะความรักต่อสิ่งใด?