เอกภาพเป็นเครื่องบ่งชี้การนมัสการแท้
เอกภาพเป็นเครื่องบ่งชี้การนมัสการแท้
“เราจะทำให้พวกเขาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเหมือนฝูงแกะในคอก.”—มีคา 2:12, ล.ม.
1. สิ่งทรงสร้างให้หลักฐานอย่างไรถึงพระสติปัญญาของพระเจ้า?
ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญร้องออกมาว่า “ข้าแต่พระเจ้า พระราชกิจของพระองค์มากมายจริง ๆ พระองค์ทรงสร้างการงานนั้นทั้งสิ้นด้วยพระปัญญา แผ่นดินโลกมีสิ่งที่ทรงสร้างเต็มหมด.” (เพลง. 104:24, ฉบับ R73) พระสติปัญญาของพระเจ้าเห็นได้ชัดจากการพึ่งพากันและกันของพืช, แมลง, สัตว์, และแบคทีเรียหลายล้านชนิดในโยงใยแห่งชีวิตที่มีอยู่ในโลกซึ่งมีความซับซ้อนอย่างน่าทึ่ง. นอกจากนั้นแล้ว ในร่างกายของคุณมีกลไกมากมายหลายอย่าง นับตั้งแต่อวัยวะขนาดใหญ่ไปจนถึงโมเลกุลขนาดจิ๋วในเซลล์ของคุณ ทั้งหมดทำงานประสานกันเพื่อทำให้คุณเป็นบุคคลที่สมบูรณ์ครบถ้วนและมีสุขภาพดี.
2. ดังที่เห็นในภาพหน้า 13 เหตุใดเอกภาพในหมู่คริสเตียนคงต้องดูเหมือนว่าเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์?
2 พระยะโฮวาทรงสร้างมนุษยชาติให้พึ่งพาอาศัยกัน. เผ่าพันธุ์มนุษย์มีรูปร่างหน้าตา, บุคลิกภาพ, และความสามารถที่แตกต่างหลากหลาย. นอกจากนั้น พระองค์ทรงสร้างมนุษย์คู่แรกให้มีคุณลักษณะเช่นเดียวกับพระองค์ซึ่งจะทำให้พวกเขาสามารถร่วมมือกัน และพึ่งพาอาศัยกัน. (เย. 1:27; 2:18) อย่างไรก็ตาม โลกแห่งมนุษยชาติโดยทั่วไปในตอนนี้เหินห่างจากพระเจ้า และไม่เคยสามารถร่วมแรงร่วมใจเป็นหนึ่งเดียวกันได้ทั้งหมด. (1 โย. 5:19) ด้วยเหตุนั้น เมื่อคำนึงถึงว่าประชาคมคริสเตียนในศตวรรษแรกประกอบด้วยผู้คนที่แตกต่างกันมาก เช่น ทาสชาวเอเฟโซส์, สตรีสูงศักดิ์ชาวกรีก, ชายชาวยิวที่มีการศึกษา, และอดีตผู้นมัสการรูปเคารพ เอกภาพในหมู่พวกเขาคงต้องดูเหมือนว่าเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์.—กิจ. 13:1; 17:4; 1 เทส. 1:9; 1 ติโม. 6:1
3. คัมภีร์ไบเบิลพรรณนาเอกภาพของคริสเตียนไว้อย่างไร และเราจะพิจารณาอะไรในบทความนี้?
3 การนมัสการแท้ทำให้ผู้คนทำงานประสานกันเป็นอย่างดีเช่นเดียวกับอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายเรา. (อ่าน 1 โครินท์ 12:12, 13) เราจะพิจารณาบางแง่มุมในบทความนี้: การนมัสการแท้ทำให้ผู้คนมีเอกภาพอย่างไร? เหตุใดพระยะโฮวาทรงเป็นผู้เดียวที่สามารถประสานหลายล้านคนจากทุกชาติเข้าด้วยกัน? พระยะโฮวาทรงช่วยเราให้เอาชนะอุปสรรคอะไรที่ขัดขวางเอกภาพ? และคริสเตียนแท้แตกต่างจากคริสต์ศาสนจักรอย่างไรในเรื่องเอกภาพ?
การนมัสการแท้ทำให้ผู้คนมีเอกภาพอย่างไร?
4. การนมัสการแท้ทำให้ผู้คนมีเอกภาพอย่างไร?
4 ผู้นมัสการแท้เข้าใจและยอมรับว่าเนื่องจากพระยะโฮวาทรงสร้างทุกสิ่ง พระองค์จึงมีสิทธิโดยชอบธรรมในฐานะองค์บรมมหิศรแห่งเอกภพ. (วิ. 4:11) ดังนั้น แม้ว่าคริสเตียนแท้อยู่ในสังคมที่แตกต่างกัน พวกเขาทุกคนเชื่อฟังกฎหมายของพระเจ้าอย่างเดียวกันและดำเนินชีวิตโดยใช้หลักการเดียวกันในคัมภีร์ไบเบิล. ผู้นมัสการแท้ทุกคนเรียกพระยะโฮวาอย่างเหมาะสมว่า “พระบิดา.” (ยซา. 64:8; มัด. 6:9) ด้วยเหตุนั้น พวกเขาทั้งหมดเป็นพี่น้องฝ่ายวิญญาณและสามารถมีเอกภาพอันงดงามตามที่ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญพรรณนาไว้ว่า “จงดูเถอะ, ซึ่งพวกพี่น้องอาศัยอยู่พร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันก็เป็นการดีและอยู่เย็นเป็นสุขมากเท่าใด!”—เพลง. 133:1
5. คุณลักษณะอะไรที่ส่งเสริมเอกภาพในหมู่ผู้นมัสการแท้?
5 แม้ว่าคริสเตียนแท้ไม่สมบูรณ์ พวกเขานมัสการร่วมกันอย่างเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เพราะพวกเขาได้เรียนรู้ที่จะรักกันและกัน. พระยะโฮวาทรงสอนพวกเขาให้รักกันอย่างที่ไม่มีใครสอนได้เหมือนพระองค์. (อ่าน 1 โยฮัน 4:) พระคำของพระองค์กล่าวว่า “ท่านทั้งหลายจงสวมความปรานี ความกรุณา ความถ่อมใจ ความอ่อนโยน และความอดกลั้นไว้นาน. จงทนกันและกันเรื่อยไปและให้อภัยกันอย่างใจกว้างถ้าใครมีเหตุจะบ่นว่าผู้อื่น. พระยะโฮวาเต็มพระทัยให้อภัยท่านทั้งหลายอย่างไร ท่านทั้งหลายก็จงทำอย่างนั้น. นอกจากนี้ ท่านทั้งหลายจงสวมความรัก เพราะความรักเป็นสิ่งที่ผูกพันผู้คนให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างสมบูรณ์.” ( 7, 8โกโล. 3:12-14) ความรัก—ซึ่งผูกพันผู้คนให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างสมบูรณ์—เป็นคุณลักษณะหลักที่ช่วยบ่งชี้ว่าใครเป็นคริสเตียนแท้. จากประสบการณ์ของคุณเอง คุณเห็นแล้วมิใช่หรือว่าเอกภาพเช่นนี้เป็นลักษณะเด่นที่เห็นได้ชัดของการนมัสการแท้?—โย. 13:35
6. ความหวังเรื่องราชอาณาจักรช่วยให้เรามีเอกภาพอย่างไร?
6 นอกจากนั้น ผู้นมัสการแท้ยังเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันเพราะพวกเขาถือว่าราชอาณาจักรของพระเจ้าเป็นความหวังอย่างเดียวของมนุษยชาติ. พวกเขายังรู้ด้วยว่าในไม่ช้าราชอาณาจักรของพระเจ้าจะเข้ามาแทนที่รัฐบาลมนุษย์และอวยพรมนุษยชาติที่เชื่อฟังให้มีสันติสุขแท้ที่ยั่งยืน. (ยซา. 11:4-9; ดานิ. 2:44) ดังนั้น คริสเตียนจึงทำอย่างที่พระเยซูตรัสถึงเหล่าสาวกว่า “พวกเขาไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโลกเหมือนข้าพเจ้าไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโลก.” (โย. 17:16) คริสเตียนแท้รักษาความเป็นกลางในโลกที่ขัดแย้งนี้; ด้วยเหตุนั้น พวกเขาสามารถมีเอกภาพแม้แต่เมื่อคนที่อยู่รอบตัวกำลังรบราฆ่าฟันกัน.
การสอนจากแหล่งเดียว
7, 8. การสอนตามหลักพระคัมภีร์ส่งเสริมเอกภาพของเราโดยวิธีใด?
7 คริสเตียนในศตวรรษแรกมีเอกภาพเพราะพวกเขาทั้งหมดได้รับการสอนจากแหล่งเดียวกัน. พวกเขายอมรับว่าพระเยซูกำลังสอนและชี้นำประชาคมทางคณะกรรมการปกครอง ซึ่งประกอบด้วยเหล่าอัครสาวกและผู้เฒ่าผู้แก่ในกรุงเยรูซาเลม. ชายที่อุทิศตัวเหล่านี้ตัดสินโดยอาศัยพระคำของพระเจ้าและส่งเหล่าผู้ดูแลเดินทางเพื่อถ่ายทอดคำสั่งไปถึงประชาคมต่าง ๆ ในหลายดินแดน. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวถึงผู้ดูแลเหล่านั้นว่า “เมื่อเปาโลกับพวกเดินทางไปตามเมืองต่าง ๆ พวกเขาจะถ่ายทอดคำสั่งให้พี่น้องที่นั่นปฏิบัติตาม ซึ่งเป็นคำตัดสินของพวกอัครสาวกและผู้เฒ่าผู้แก่ในกรุงเยรูซาเลม.”—กิจ. 15:6, 19-22; 16:4
8 คล้ายกัน ในทุกวันนี้คณะกรรมการปกครองซึ่งประกอบด้วยคริสเตียนผู้ถูกเจิมด้วยพระวิญญาณส่งเสริมเอกภาพของประชาคมทั่วโลก. คณะกรรมการปกครองจัดพิมพ์สรรพหนังสือที่ให้การหนุนใจฝ่ายวิญญาณในหลายภาษา. อาหารฝ่ายวิญญาณนี้อาศัยพระคำของพระเจ้าเป็นหลัก. ดังนั้น สิ่งที่พวกเขาสอนไม่ได้มาจากมนุษย์ แต่มาจากพระยะโฮวา.—ยซา. 54:13
9. งานที่พระเจ้าประทานแก่เราช่วยเราอย่างไรให้มีเอกภาพ?
9 คริสเตียนผู้ดูแลยังส่งเสริมเอกภาพโดยนำหน้าในการประกาศด้วย. สายสัมพันธ์ของคนที่รับใช้พระเจ้าด้วยกันเหนียวแน่นกว่ามากหากจะเทียบกับสายสัมพันธ์ของผู้คนในโลกซึ่งคบหากันอย่างผิวเผินเท่านั้น. ประชาคมคริสเตียนไม่ได้ถูกตั้งขึ้นให้เป็นแค่ชมรมที่มีจุดประสงค์เพื่อการพบปะสังสรรค์ แต่เพื่อยกย่องเชิดชูพระยะโฮวาและทำงานโรม 1:11, 12; 1 เทส. 5:11; ฮีบรู 10:24, 25) อัครสาวกเปาโลจึงสามารถกล่าวถึงคริสเตียนได้ว่า “ท่านทั้งหลายยืนหยัดมั่นคงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กันเหมือนเป็นคนเดียวเพื่อความเชื่อในข่าวดี.”—ฟิลิป. 1:27
ให้สำเร็จ—ซึ่งก็คือ งานประกาศข่าวดี, การสอนคนให้เป็นสาวก, และการส่งเสริมประชาคมให้เจริญก้าวหน้า. (10. มีวิธีใดบ้างที่ทำให้เราในฐานะประชาชนของพระเจ้ามีเอกภาพ?
10 ดังนั้น ในฐานะประชาชนของพระยะโฮวา เรามีเอกภาพเพราะเรายอมรับพระยะโฮวาในฐานะผู้ปกครององค์สูงสุด, รักพี่น้อง, มีความหวังในเรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้า, และนับถือคนที่พระเจ้าทรงใช้ให้นำหน้าในหมู่พวกเรา. พระยะโฮวาทรงช่วยเราให้เอาชนะทัศนคติบางอย่างที่เป็นผลมาจากความไม่สมบูรณ์ของเราซึ่งอาจทำลายเอกภาพได้.—โรม 12:2
เอาชนะความหยิ่งและความอิจฉา
11. เหตุใดความหยิ่งทำให้เกิดความแตกแยก และพระยะโฮวาทรงช่วยเราอย่างไรให้เอาชนะความหยิ่ง?
11 ความหยิ่งทำให้ผู้คนแตกแยกกัน. คนหยิ่งมักถือว่าตัวเขาเองเหนือกว่าและมักจะชอบโอ้อวด. แต่การทำอย่างนี้มักขัดขวางเอกภาพ; คนที่ได้ฟังคำโอ้อวดอาจรู้สึกอิจฉา. สาวกยาโกโบบอกเราอย่างตรงไปตรงมาว่า “การทะนงตัวเช่นนี้เป็นการชั่ว.” (ยโก. 4:16) การปฏิบัติต่อผู้อื่นโดยถือว่าพวกเขาด้อยกว่าไม่ได้เป็นการแสดงความรัก. พระยะโฮวาทรงเป็นตัวอย่างที่โดดเด่นในเรื่องความถ่อมจากการที่พระองค์ทรงติดต่อเกี่ยวข้องกับมนุษย์ไม่สมบูรณ์อย่างพวกเรา. ดาวิดเขียนว่า “ซึ่งพระองค์ [พระเจ้า] ทรงน้อมพระทัยลงนั้นกระทำให้ข้าพเจ้าเป็นใหญ่ขึ้น.” (2 ซามู. 22:36) พระคำของพระเจ้าช่วยเราให้เอาชนะความหยิ่งโดยสอนเราให้คิดหาเหตุผลอย่างเหมาะสม. เปาโลได้รับการดลใจให้ถามว่า “มีใครทำให้ท่านต่างจากคนอื่นหรือ? ที่จริงแล้ว มีอะไรบ้างที่ท่านมีโดยไม่ได้รับมา? แล้วในเมื่อท่านได้รับมา ทำไมท่านจึงอวดราวกับว่าท่านไม่ได้รับมา?”—1 โค. 4:7
12, 13. (ก) เหตุใดจึงเกิดความอิจฉาได้ง่าย? (ข) ผลจะเป็นอย่างไรถ้าเรามองคนอื่นแบบเดียวกับที่พระยะโฮวาทรงมอง?
12 ความอิจฉาเป็นอุปสรรคอีกอย่างหนึ่งที่มักขัดขวางเอกภาพ. เนื่องจากความไม่สมบูรณ์ที่ได้รับตกทอดมา เราทุกคนมี “น้ำใจอิจฉา” และในบางครั้งแม้แต่คนที่เป็นคริสเตียนมานานก็อาจรู้สึกอิจฉาเกี่ยวกับสภาพการณ์ในชีวิต, ทรัพย์สิน, สิทธิพิเศษ, หรือความสามารถของคนอื่น. (ยโก. 4:5) ตัวอย่างเช่น พี่น้องคนหนึ่งที่แต่งงานแล้วและมีลูกอาจรู้สึกอิจฉาสิทธิพิเศษที่ผู้รับใช้เต็มเวลาคนหนึ่งมี โดยไม่รู้เลยว่าผู้รับใช้เต็มเวลาคนนั้นรู้สึกอิจฉาเขาอยู่เหมือนกันที่เขามีลูก. เราจะป้องกันไม่ให้ความอิจฉาเช่นนั้นทำลายเอกภาพได้อย่างไร?
13 เพื่อเราจะไม่อิจฉา ขอให้จำไว้ว่าคัมภีร์ไบเบิลเปรียบสมาชิกประชาคมคริสเตียนผู้ถูกเจิมว่าเป็นเหมือนกับอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์. (อ่าน 1 โครินท์ 12:14-18) ตัวอย่างเช่น แม้ว่าดวงตาของคุณอาจเด่นกว่าหัวใจที่มองไม่เห็น แต่อวัยวะทั้งสองมีค่ามากสำหรับคุณมิใช่หรือ? คล้ายกัน พระยะโฮวาทรงถือว่าสมาชิกทุกคนในประชาคมมีค่าแม้ว่าบางคนอาจเด่นกว่าคนอื่น ๆ. ดังนั้น ให้เรามองพี่น้องของเราแบบเดียวกับที่พระยะโฮวาทรงมอง. แทนที่จะอิจฉาคนอื่น เราสามารถแสดงความห่วงใยและความสนใจพวกเขาเป็นส่วนตัว. เมื่อทำอย่างนี้ เรามีส่วนทำให้คริสเตียนแท้แตกต่างจากผู้คนในคริสต์ศาสนจักร.
ความแตกแยก—ลักษณะเด่นของคริสต์ศาสนจักร
14, 15. ศาสนาคริสเตียนที่ออกหากเริ่มแตกแยกอย่างไร?
14 เอกภาพของคริสเตียนแท้แตกต่างอย่างชัดเจนกับความขัดแย้งที่มีอยู่ท่ามกลางคริสตจักรต่าง ๆ แห่งคริสต์ศาสนจักร. ในศตวรรษที่สี่ ศาสนาคริสเตียนที่ออกหากแพร่
ไปอย่างกว้างขวางจนจักรพรรดิแห่งโรมซึ่งเป็นคนนอกรีตได้เข้ามาเป็นคริสเตียน อีกทั้งยังเข้ามาควบคุมและสนับสนุนการแผ่ขยายของคริสต์ศาสนจักร. ต่อจากนั้นก็มีความแตกแยกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง. อาณาจักรต่าง ๆ แยกตัวจากโรมและก่อตั้งคริสตจักรประจำชาติของตนเอง.15 อาณาจักรเหล่านั้นทำสงครามกันมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ. ระหว่างศตวรรษที่ 17 และ 18 ประชาชนในบริเตน, ฝรั่งเศส, และสหรัฐส่งเสริมความรักชาติ ทำให้ลัทธิชาตินิยมเป็นเหมือนกับศาสนาหนึ่ง. ระหว่างศตวรรษที่ 19 และ 20 ชาตินิยมเริ่มครอบงำความคิดของมนุษยชาติส่วนใหญ่. ในที่สุด คริสตจักรต่าง ๆ แห่งคริสต์ศาสนจักรก็แตกออกเป็นนิกายมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่ยอมให้กับลัทธิชาตินิยม. สมาชิกโบสถ์ถึงกับออกไปสู้รบกับคนที่มีความเชื่ออย่างเดียวกันที่อยู่ในอีกชาติหนึ่ง. ในปัจจุบันคริสต์ศาสนจักรถูกแบ่งแยกทั้งจากหลักข้อเชื่อของนิกายและจากลัทธิชาตินิยม.
16. คนที่อยู่ในคริสต์ศาสนจักรแตกแยกกันเนื่องด้วยประเด็นใดบ้าง?
16 ในศตวรรษที่ 20 บางนิกายจากหลายร้อยนิกายของคริสต์ศาสนจักรก่อตั้งขบวนการทางศาสนาเพื่อผลักดันให้เกิดเอกภาพ. แต่หลังจากที่พยายามกันหลายสิบปี มีไม่กี่คริสตจักรที่สามารถรวมตัวกัน และสมาชิกโบสถ์ก็ยังคงแตกแยกกันด้วยข้อโต้แย้งต่าง ๆ เช่น วิวัฒนาการ, การทำแท้ง, การรักร่วมเพศ, และการแต่งตั้งผู้หญิงเป็นบาทหลวง. ในบางส่วนของคริสต์ศาสนจักร พวกผู้นำของคริสตจักรพยายามรวมผู้คนจากนิกายต่าง ๆ ด้วยการลดความสำคัญของหลักข้อเชื่อที่เคยทำให้เกิดการแตกแยก. อย่างไรก็ตาม การลดความสำคัญของหลักข้อเชื่อส่งผลทำให้ผู้คนมีความเชื่อที่ไม่ลึกซึ้ง และที่แน่ ๆ ก็คือไม่ได้ทำให้เรือนที่แตกแยกแห่งคริสต์ศาสนจักรมีเอกภาพ.
การนมัสการแท้อยู่เหนือลัทธิชาตินิยม
17. มีการบอกไว้ล่วงหน้าอย่างไรว่าการนมัสการแท้จะทำให้ผู้คน “สมัยสุดท้าย” เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน?
17 แม้ว่ามนุษย์เราในเวลานี้แบ่งแยกกันอย่างน่ากลัวยิ่งกว่าที่แล้ว ๆ มา เอกภาพก็ยังคงทำให้เหล่าผู้นมัสการแท้แตกต่างอย่างเด่นชัด. มีคา ผู้พยากรณ์ของพระเจ้าบอกล่วงหน้าไว้ว่า “เราจะทำให้พวกเขาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเหมือนฝูงแกะในคอก.” (มีคา 2:12, ล.ม.) มีคาบอกล่วงหน้าถึงการยกชูการนมัสการแท้ให้อยู่เหนือการนมัสการอื่น ๆ ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการนมัสการพระเท็จหรือการบูชารัฐประหนึ่งพระเจ้า. ท่านเขียนว่า “เมื่อถึงสมัยสุดท้ายนั้น, ภูเขาอันเป็นที่ตั้งของโบสถ์แห่งพระยะโฮวานั้นจะถูกสถาปนาขึ้นให้เท่าเทียมกับขุนเขาสูงทั้งหลาย, แล้วจะถูกยกชูขึ้นให้สูงเยี่ยมเหนือภูเขาทั้งมวล; ประชาชนจะหลั่งไหลไปถึงที่นั่น. นี่แน่ะ, ประชาชนทั้งสิ้นต่างก็ประพฤติในโอวาทแห่งพระของเขา; ส่วนเราจะประพฤติตามโอวาทแห่งพระยะโฮวาพระเจ้าของเราจนตลอดไป.”—มีคา 4:1, 5
18. การนมัสการแท้ได้ช่วยเราให้เปลี่ยนอะไรบ้าง?
18 นอกจากนั้น มีคาพรรณนาถึงวิธีที่การนมัสการแท้จะทำให้คนที่เคยเป็นศัตรูกันเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน. “ประชาชนเป็นอันมากจะพากันกล่าวว่า, ‘มาเถิดพวกเรา, ให้เราขึ้นไปยังภูเขาแห่งพระยะโฮวา, และยังโบสถ์แห่งพระเจ้าแห่งยาโคบ; พระองค์จะได้ทรงสอนเราให้รู้จักวิถีทางของพระองค์, และมีคา 4:2, 3) คนที่ละทิ้งการนมัสการพระที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือการนมัสการชาติแล้วมานมัสการพระยะโฮวาจะมีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันทั่วโลก. พระเจ้าทรงสอนพวกเขาด้วยวิธีต่าง ๆ ที่เปี่ยมด้วยความรัก.
เราจะได้เดินไปตามทางของพระองค์นั้น.’ . . . เขาทั้งหลายจะเอาดาบของเขาตีเป็นผาลไถนา, และเอาหอกตีเป็นขอสำหรับลิดแขนง: ประเทศต่อประเทศจะไม่ยกดาบขึ้นต่อสู้กัน, และเขาจะไม่ศึกษายุทธศาสตร์อีกต่อไป.” (19. การรวบรวมหลายล้านคนให้เป็นหนึ่งเดียวในการนมัสการแท้ให้หลักฐานที่ชัดเจนในเรื่องใด?
19 เอกภาพในหมู่คริสเตียนแท้ทั่วโลกในทุกวันนี้ไม่มีใครเสมอเหมือน และเป็นหลักฐานที่ชัดเจนว่า พระยะโฮวายังคงชี้นำประชาชนของพระองค์โดยทางพระวิญญาณอยู่เสมอ. ผู้คนจากทุกชาติกำลังถูกรวบรวมให้เป็นหนึ่งเดียวในขอบเขตที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์มนุษย์. ทั้งนี้เป็นความสำเร็จอันน่าทึ่งของภาพโดยนัยที่มีบอกไว้ในวิวรณ์ 7:9, 14 และยังบ่งชี้ว่าในไม่ช้าทูตสวรรค์ของพระเจ้าจะปล่อย “ลม” ที่จะทำลายระบบปัจจุบันอันชั่วช้า. (อ่านวิวรณ์ 7:1-4, 9, 10, 14) นับเป็นสิทธิพิเศษมิใช่หรือที่เราได้เป็นส่วนหนึ่งในสังคมพี่น้องทั่วโลกที่มีเอกภาพ? เราแต่ละคนจะส่งเสริมเอกภาพนั้นได้โดยวิธีใด? บทความถัดไปจะพิจารณาเรื่องนี้.
คุณจะตอบอย่างไร?
• การนมัสการแท้ทำให้ผู้คนเป็นหนึ่งเดียวอย่างไร?
• เราจะป้องกันไม่ให้ความอิจฉามาทำลายเอกภาพในหมู่พวกเราได้อย่างไร?
• เหตุใดลัทธิชาตินิยมไม่อาจทำให้ผู้นมัสการแท้แตกแยก?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 13]
คริสเตียนในศตวรรษแรกมีภูมิหลังที่หลากหลาย
[ภาพหน้า 15]
การที่คุณช่วยงานต่าง ๆ ที่หอประชุมเป็นการส่งเสริมเอกภาพอย่างไร?