รับใช้ในช่วงเวลาที่มีการขยายอย่างน่าทึ่ง
รับใช้ในช่วงเวลาที่มีการขยายอย่างน่าทึ่ง
เล่าโดย ฮาร์ลีย์ แฮร์ริส
วันนั้นเป็นวันที่ 2 กันยายน 1950 ที่เมืองเคนเนตต์ รัฐมิสซูรี สหรัฐอเมริกา. พวกเราที่กำลังประชุมหมวดกันอยู่ถูกฝูงชนปิดล้อม. นายกเทศมนตรีนำกองรักษาการณ์แห่งชาติมาคุ้มครองพวกเราให้ปลอดภัยจากฝูงชนที่ยากจะควบคุม. เหล่าทหารที่ถือปืนยาวซึ่งติดดาบปลายปืนยืนเรียงเป็นแถวหน้ากระดานตามถนน. ท่ามกลางเสียงเย้ยหยัน เราเดินไปที่รถและขับไปที่เมืองเคปเจอราร์โด รัฐมิสซูรี เพื่อไปประชุมกันต่อในส่วนที่เหลืออยู่. ผมรับบัพติสมาที่นั่นตอนอายุได้ 14 ปี. แต่ขอผมเล่า ให้คุณฟังก่อนว่าผมมารับใช้พระยะโฮวาได้อย่างไรในช่วงที่วุ่นวายนั้น.
ในช่วงต้นทศวรรษ 1930 ปู่กับย่าของผมและลูก ๆ อีกแปดคนของท่านได้ฟังแผ่นเสียงที่บันทึกคำบรรยายของ บร. รัทเทอร์ฟอร์ด และเชื่อมั่นว่าพวกเขาได้พบความจริงแล้ว. เบย์และมิลเดรด แฮร์ริส พ่อกับแม่ของผมรับบัพติสมาในปี 1935 ณ การประชุมภาคที่กรุงวอชิงตัน ดี. ซี. พวกเขายินดีจริง ๆ ที่ได้เป็นส่วนของ “มหาชนหมู่ใหญ่” หรือ “ชนฝูงใหญ่” ซึ่งเพิ่งได้รับการระบุตัวในการประชุมภาคครั้งนั้น!—วิ. 7:9, 14
ผมเกิดในปีต่อมา. และอีกปีหนึ่งหลังจากนั้น พ่อแม่ผมก็ย้ายไปอยู่ในเขตโดดเดี่ยวห่างไกลของรัฐมิสซิสซิปปี. ระหว่างที่เราอาศัยอยู่ในเขตนั้น ไม่มีใครมาเยี่ยมเราเลย แม้แต่ผู้ดูแลเดินทางก็ไม่ได้มาเยี่ยมเรา. มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ครอบครัวเราสามารถคบหาสมาคมกับพี่น้องได้ก็เพียงแค่เขียนจดหมายติดต่อกับเบเธลและเข้าร่วมการประชุมใหญ่ต่าง ๆ เท่านั้น.
อดทนเมื่อถูกข่มเหง
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง พยานพระยะโฮวาถูกข่มเหงอย่างหนักเพราะยึดมั่นในจุดยืนที่เป็นกลางทางการเมือง. เราได้ย้ายไปอยู่ที่เมืองเมาเทนโฮม รัฐอาร์คันซอ. วันหนึ่งผมกับพ่อกำลังประกาศตามถนน. จู่ ๆ ก็มีชายคนหนึ่งคว้าวารสารจากพ่อผม แล้วจุดไฟเผาทันที. เขาเรียกเราว่าเป็นพวกขี้ขลาดตาขาวที่ไม่ยอมร่วมรบในสงคราม. ผมร้องไห้ เพราะตอนนั้นผมอายุแค่ห้าขวบ. พ่อมองชายคนนี้อย่างสงบโดยไม่พูดอะไรสักคำจนกระทั่งชายคนนี้เดินจากไป.
แต่ก็ยังมีคนที่ดีต่อเราด้วย. ในโอกาสหนึ่งเมื่อฝูงชนมาล้อมรถของเรา อัยการในท้องถิ่นผ่านมาเห็นเข้า. เขาถามว่า “เกิดอะไรขึ้น?” ชายคนหนึ่งตอบว่า “พยานพระยะโฮวาพวกนี้ไม่ยอมรบเพื่อชาติ!” พออัยการได้ยินก็กระโดดขึ้นมายืนบนบันไดข้างของรถและตะโกนว่า “ผมร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 และผมก็จะร่วมรบในสงครามครั้งนี้กิจ. 27:3
ด้วย! พวกคุณปล่อยคนพวกนี้ไปเถอะ. พวกเขาไม่ทำร้ายใครหรอก!” ฝูงชนค่อย ๆ แยกย้ายกันไป. เรารู้สึกขอบคุณคนดีแบบนี้ที่แสดงความกรุณาต่อเรา!—การประชุมใหญ่เสริมกำลังเรา
การประชุมใหญ่ในปี 1941 ที่เมืองเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี ตรงกับความต้องการของเราพอดี. ตามที่เคยมีการประมาณไว้ มีผู้เข้าร่วมมากกว่า 115,000 คน. ที่น่าทึ่งคือมีถึง 3,903 คนรับบัพติสมา! ผมจำคำบรรยายของ บร. รัทเทอร์ฟอร์ดได้ดี ซึ่งมีชื่อเรื่องว่า “เด็กทั้งหลายของพระมหากษัตริย์.” ท่านพูดโดยตรงกับพวกเราที่เป็นเด็ก และเราทุกคนได้รับหนังสือเล่มสีฟ้าที่สวยงามชื่อเด็กทั้งหลาย คนละหนึ่งเล่ม. การประชุมใหญ่ครั้งนี้เสริมกำลังผมให้เข้มแข็งเพื่อพร้อมจะเผชิญสิ่งที่จะเกิดขึ้นในปีถัดมา ซึ่งเป็นปีที่ผมเริ่มเข้าเรียนชั้นประถม. ผมกับลูกพี่ลูกน้องถูกไล่ออกจากโรงเรียนเนื่องจากไม่เคารพธงชาติ. เราไปโรงเรียนทุกวันเพื่อดูว่าผู้อำนวยการเปลี่ยนใจแล้วหรือยัง. เราเดินผ่านป่าไปโรงเรียนหลายวันในตอนเช้า เพียงเพื่อจะถูกไล่กลับบ้าน. อย่างไรก็ตาม ผมรู้สึกว่านี่เป็นวิธีที่เราแสดงความภักดีต่อราชอาณาจักรของพระเจ้า.
แต่ไม่นานนัก ศาลสูงสุดแห่งสหรัฐตัดสินว่าการเคารพธงไม่ใช่ข้อบังคับทางกฎหมาย. ในที่สุด เราสามารถกลับไปเรียนหนังสือได้. ครูใจดีมากและช่วยเราให้สามารถเรียนทันนักเรียนคนอื่น ๆ. เพื่อน ๆ ที่โรงเรียนก็ปฏิบัติต่อเราด้วยความนับถือเช่นกัน.
ผมยังจำการประชุมใหญ่ที่เมืองคลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ ในปี 1942 ได้ด้วย ซึ่งตอนนั้น บร. นาทาน เอช. นอรร์ได้บรรยายในหัวข้อเรื่อง “สันติสุข—จะยั่งยืนไหม?” คำบรรยายนี้วิเคราะห์วิวรณ์บท 17 ซึ่งชี้ให้เห็นว่าช่วงเวลาที่มีสันติสุขมากกว่าจะเกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2. ด้วยเหตุนั้น จึงมีการคาดหมายกันว่าจะมีการขยายเติบโตมากขึ้น. เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการพัฒนาเช่นนั้นจึงมีการเปิดโรงเรียนกิเลียดขึ้นในปี 1943. ผมไม่รู้เลยว่าโรงเรียนนี้จะมีผลกระทบอย่างไรต่อชีวิตผมในอนาคต. สันติสุขเกิดขึ้นจริง ๆ หลังสงครามและการข่มเหงก็ซาลง. อย่างไรก็ตาม เมื่อสงครามเกาหลีเริ่มต้นขึ้นในปี 1950 การต่อต้านงานประกาศก็ปะทุขึ้นอีกครั้งดังที่พรรณนาไว้ในตอนต้น.
มีส่วนเต็มที่ยิ่งขึ้นในการแผ่ขยาย
ในปี 1954 ผมเรียนจบชั้นมัธยมปลาย และหนึ่งเดือนต่อมาก็เริ่มรับใช้เป็นไพโอเนียร์. หลังจากรับใช้ในเคนเนตต์ รัฐมิสซูรี เมืองที่ฝูงชนรุมล้อมเราในปี 1950 ผมได้รับเชิญให้เข้าเบเธลในเดือนมีนาคม 1955. ส่วนหนึ่งของเขตงานประชาคมที่ผมได้รับมอบหมายคือย่านไทมส์ สแควร์ ซึ่งอยู่ใจกลางนครนิวยอร์ก. ช่างต่างกันมากกับชีวิตในชนบท! ผมสามารถจับความสนใจของชาวนิวยอร์กที่มีธุระยุ่งโดยเปิดวารสารค้างไว้ที่บทความซึ่งเป็นเรื่องที่กระตุ้นความคิดของผู้คน และพูดว่า “คุณเคยถามตัวเองอย่างนี้ไหม?” หลายคนรับวารสาร.
ช่วงเวลาที่ผมชอบที่สุดในเบเธลคือการนมัสการตอนเช้าที่นำโดย บร. นอรร์. น่าทึ่งจริง ๆ ที่ท่านอธิบายข้อคัมภีร์ต่าง ๆ ได้อย่างมีชีวิตชีวาและชี้ให้เราเห็นว่าจะนำข้อนั้นมาใช้ได้อย่างไร! ท่านพูดกับเราที่เป็นหนุ่มโสดเหมือนพ่อพูดกับลูก หลายครั้งให้คำแนะนำที่ดีว่าควรปฏิบัติตัวอย่างไรต่อเพศตรงข้าม. ในปี 1960 ผมก็ตัดสินใจว่าจะแต่งงาน.
ผมยื่นจดหมายแจ้งให้รู้ว่าผมจะออกจากเบเธลภายใน 30 วัน แต่ไม่ได้รับคำตอบ. พอครบ 30 วัน แม้ว่าผมอายมาก ผมรวบรวมความกล้าที่จะถามว่าได้รับจดหมายแจ้งเรื่องวันลาออกของผมไหม. บร. โรเบิร์ต วอลเลนรับโทรศัพท์แล้วก็มาหาผมในที่ทำงาน. เขาถามผมว่า ผมคิดอย่างไรเกี่ยวกับการเป็นไพโอเนียร์พิเศษหรืองานหมวด. ผมตอบว่า “แต่ บร. บ็อบครับ ผมอายุแค่ 24 ปี และผมก็ไม่มีประสบการณ์เลย.”
ต่อด้วยงานหมวด
คืนนั้น มีซองจดหมายขนาดใหญ่ซองหนึ่งวางรอผมอยู่ที่ห้องพัก. ในซองนั้นมีใบสมัครสำหรับไพโอเนียร์พิเศษใบหนึ่งและงานหมวดใบหนึ่ง. ไม่น่าเชื่อเลย! ผมรู้สึกว่าตัวเบาจนเกือบจะลอยได้! ผมมีสิทธิพิเศษใหญ่หลวงที่ได้รับใช้
พี่น้องในงานหมวดที่ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐมิสซูรีและทางตะวันออกของรัฐแคนซัส. แต่ก่อนออกจากเบเธล ผมเข้าร่วมการประชุมสำหรับผู้ดูแลเดินทาง. ในคำพูดลงท้าย บร. นอรร์บอกว่า “การที่คุณเป็นผู้ดูแลหมวดหรือผู้ดูแลภาคไม่ได้หมายความว่าคุณรู้มากกว่าพี่น้องท้องถิ่น. บางคนมีประสบการณ์มากกว่าคุณเยอะ. แต่สภาพการณ์ของพวกเขาไม่เปิดโอกาสให้ได้รับสิทธิพิเศษอย่างนี้. คุณจะเรียนรู้ได้มากจากพวกเขา.”คำพูดดังกล่าวเป็นความจริงทีเดียว! บร. เฟรด โมโลฮันกับภรรยาและ บร. ชาลีย์น้องชายของเขาซึ่งอยู่ที่เมืองพาร์สันส์ รัฐแคนซัส เป็นตัวอย่างที่โดดเด่น. พวกเขาเรียนความจริงตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20. น่ายินดีจริง ๆ ที่ได้ยินประสบการณ์ของพวกเขาซึ่งย้อนไปก่อนผมเกิดด้วยซ้ำ! พี่น้องอีกคนหนึ่งคือ จอห์น ริสเทน พี่น้องสูงอายุที่เปี่ยมด้วยความกรุณาซึ่งอยู่ที่เมืองจอพลิน รัฐมิสซูรี ซึ่งเป็นไพโอเนียร์มาแล้วหลายสิบปี. พี่น้องที่รักเหล่านี้มีความนับถืออย่างลึกซึ้งต่อวิธีดำเนินงานขององค์การ. พวกเขาทำให้ผมรู้สึกว่าตัวเองมีค่าในฐานะที่เป็นผู้ดูแลหมวดของพวกเขา แม้ว่าผมอายุยังน้อย.
ในปี 1962 ผมแต่งงานกับคลอริส โนเค ไพโอเนียร์สาวผมแดงผู้ร่าเริง. ผมรับใช้ในงานหมวดต่อไปด้วยกันกับคลอริส. เมื่อเราพักที่บ้านพี่น้อง เราก็รู้จักพวกเขาดีขึ้น. เราสามารถหนุนใจคนหนุ่มสาวทั้งหลายให้เริ่มทำงานรับใช้เต็มเวลา. วัยรุ่นสองคนในหมวด—เจย์ โคซินสกี และ โจแอนน์ เครสมัน—ต้องการการหนุนใจเช่นนั้นอยู่พอดี. การทำงานรับใช้กับพวกเขาและการเล่าถึงความยินดีของการใช้ชีวิตแบบเสียสละตัวเองกระตุ้นพวกเขาให้ตั้งเป้าหมาย. โจแอนน์ได้เป็นไพโอเนียร์พิเศษ และเจย์รับใช้ที่เบเธล. ต่อมา ทั้งสองแต่งงานกัน ตอนนี้พวกเขาได้รับใช้ในงานหมวดราว ๆ 30 ปีแล้ว.
รับใช้ฐานะมิชชันนารี
ในปี 1966 บร. นอรร์ถามเราว่าสนใจจะไปรับใช้ในต่างประเทศหรือไม่. เราตอบว่า “ที่นี่เราก็มีความสุขดีอยู่แล้ว แต่ถ้ามีความจำเป็นในที่อื่น เราก็พร้อมจะไป.” สัปดาห์ต่อมา เราได้รับเชิญให้เข้าร่วมโรงเรียนกิเลียด. ช่างน่าตื่นเต้นจริง ๆ ที่ได้กลับมาอยู่ที่เบเธลในช่วงที่เข้าโรงเรียนและได้อยู่กับหลายคนที่เรารักและนับถือ! เรายังได้สร้างมิตรภาพกับเพื่อนนักเรียนที่รับใช้อย่างซื่อสัตย์จนกระทั่งถึงวันนี้.
ผมกับคลอริสถูกส่งไปประเทศเอกวาดอร์ในทวีปอเมริกาใต้พร้อมกับเดนิสและเอดวีนา คริสท์, แอนนา ร็อดริเกซ, และเดลียา ซานเชส. เดนิสและเอดวีนาไปที่เมืองหลวงคือกีโต. เรากับแอนนาและเดลียาได้รับมอบหมายให้ไปที่เกวงกา เมืองใหญ่อันดับสามของเอกวาดอร์. เขตงานมอบหมายที่เราได้รับครอบคลุมสองมณฑล. ประชาคมแรกของเกวงกาเริ่มต้นจากห้องนั่งเล่นที่บ้านของเรา. มีพวกเราสี่คนและคนอื่นอีกสองคน. เรานึกสงสัยอยู่ว่าจะทำงานประกาศให้สำเร็จได้อย่างไร.
เมืองเกวงกามีโบสถ์อยู่เต็มไปหมด และมีวันที่เรียกกันว่าวันศักดิ์สิทธิ์มากมาย และมักมีขบวนแห่ทางศาสนา. กระนั้น ผู้คนในเกวงกามีข้อสงสัยหลายอย่าง. ตัวอย่าง
เช่น ครั้งแรกที่ผมพบกับมาริโอ โปโล ซึ่งเป็นแชมป์นักปั่นจักรยานของเกวงกา เขาทำให้ผมแปลกใจเมื่อเขาถามว่า “หญิงแพศยาที่กล่าวถึงในวิวรณ์หมายถึงใคร?”ครั้งหนึ่ง มาริโอมาที่บ้านเราตอนกลางคืนและดูท่าทางกังวลใจ. บาทหลวงนิกายอิแวนเจลิกัลให้หนังสือบางเล่มแก่เขาที่กล่าวหาพยานพระยะโฮวาอย่างรุนแรง. ผมชักเหตุผลกับเขาว่าคนที่ถูกกล่าวหาควรมีโอกาสได้แก้ต่าง. ดังนั้น ในวันรุ่งขึ้นมาริโอเชิญบาทหลวงกับผมไปที่บ้านของเขาเพื่อให้ผมได้ตอบข้อกล่าวหา. ในการพูดคุยกันครั้งนั้น ผมเสนอให้พิจารณากันเรื่องตรีเอกานุภาพ. เมื่อบาทหลวงอ่านโยฮัน 1:1 มาริโอเองเป็นผู้อธิบายความแตกต่างระหว่าง “พระเจ้า” กับ “พระเจ้าองค์หนึ่ง” ตามรากศัพท์ในภาษากรีก. และเราทำอย่างนี้กับพระคัมภีร์ทุกข้อที่มีการกล่าวถึง. บาทหลวงจากไปโดยไม่ได้ให้ข้อพิสูจน์เรื่องตรีเอกานุภาพ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจ. เหตุการณ์นี้ทำให้มาริโอกับภรรยาเขาเชื่อมั่นว่าเรามีความจริง และทั้งสองได้มาเป็นผู้ปกป้องคำสอนของคัมภีร์ไบเบิลเป็นอย่างดี. น่ายินดีจริง ๆ ที่เห็นว่าประชาคมในเมืองเกวงกาเพิ่มขึ้นจนมี 33 ประชาคม และเมื่อรวมทั้งหมดแล้วมี 63 ประชาคมในเขตอันกว้างใหญ่นี้ที่เป็นเขตมอบหมายแรกของเรา—ช่างเป็นการขยายที่น่าทึ่งจริง ๆ!
เห็นการแผ่ขยายจากสำนักงานสาขา
ในปี 1970 ผมถูกเรียกตัวให้ไปเบเธลในเมืองไกวอากีล พร้อมกับแอล ชูโล. เราสองคนช่วยกันดูแลงานสาขา. โจ เซเคอแร็ก ทำงานไม่เต็มเวลาในการช่วยจัดส่งหนังสือไปให้ 46 ประชาคมทั่วประเทศ. มีอยู่ช่วงหนึ่งที่คลอริสรับใช้ในฐานะมิชชันนารีขณะผมทำงานที่เบเธล. เธอสามารถช่วย 55 คนให้รับบัพติสมา บ่อยครั้งมีนักศึกษาของเธอสามถึงห้าคนรับบัพติสมา ณ การประชุมใหญ่ในแต่ละครั้ง.
ตัวอย่างเช่น คลอริสศึกษากับสตรีคนหนึ่งชื่อลูเครสยาที่ถูกสามีต่อต้าน. แต่ลูเครสยาก็รับบัพติสมาในที่สุดและเริ่มรับใช้เป็นไพโอเนียร์ประจำ. เธอสอนแนวทางของพระยะโฮวาให้ลูก ๆ. ตอนนี้ลูกชายสองคนเป็นผู้ปกครอง และคนหนึ่งเป็นไพโอเนียร์พิเศษ ส่วนลูกสาวรับใช้เป็นไพโอเนียร์. หลานสาวแต่งงานกับพี่น้องชายที่ดีคนหนึ่ง และทั้งคู่รับใช้เป็นไพโอเนียร์พิเศษด้วย. ครอบครัวนี้ได้ช่วยหลายคนให้เรียนความจริง.
พอถึงปี 1980 มีผู้ประกาศประมาณ 5,000 คนในเอกวาดอร์. มีการเติบโตอย่างมากจนสำนักงานของเราเล็กเกินไป. พี่น้องคนหนึ่งยกที่ดิน 200 ไร่ที่อยู่นอกเมืองไกวอากีลให้. ในปี 1984 เราเริ่มสร้างสำนักงานสาขาใหม่และหอประชุมใหญ่บนที่ดินผืนนี้ ซึ่งมีการอุทิศในปี 1987.
หลายคนเต็มใจมาช่วยทำให้มีการขยายเติบโต
ตลอดหลายปี เป็นเรื่องที่น่าอบอุ่นใจที่เห็นผู้ประกาศและไพโอเนียร์หลายคนจากประเทศอื่น ๆ ได้มาที่เอกวาดอร์เพื่อช่วยในที่ที่ต้องการผู้ประกาศราชอาณาจักรมากกว่า. ตัวอย่างหนึ่งที่เด่นชัดในความคิดผมคือ แอนดี คิดด์ ครูโรงเรียนที่เกษียณแล้วจากประเทศแคนาดา. เขาย้ายไปเอกวาดอร์ในปี 1985 ตอนที่เขาอายุได้ 70 ปีและรับใช้อย่างซื่อสัตย์จนกระทั่งเสียชีวิตในปี 2008 เมื่ออายุ 93 ปี. เมื่อผมเห็นเขาครั้งแรกในงานมอบหมาย เขาเป็นผู้ดูแลคนเดียวในประชาคมหนึ่งที่เล็กมาก. เขาต้องพยายามอย่างหนักเพื่อใช้ภาษาสเปนในการบรรยายสาธารณะแล้วก็นำการศึกษาหอสังเกตการณ์. เขายังนำโรงเรียนการรับใช้ตามระบอบของพระเจ้าและทำส่วนการประชุมการรับใช้ส่วนใหญ่ด้วย! ในเขตนั้น ตอนนี้มีประชาคมที่กำลังเติบโตสองประชาคม มีผู้ประกาศเกือบ 200 คนและผู้ปกครองท้องถิ่นหลายคน.
พี่น้องอีกคนหนึ่ง บร. เออร์เนสโต ดิอัซ ซึ่งได้ย้ายจากสหรัฐกับครอบครัวได้พูดหลังจากอยู่ในเอกวาดอร์ได้แปดเดือนว่า “ลูกสามคนของเราเรียนรู้ภาษาได้อย่างรวดเร็วและกลายมาเป็นครูที่ดีเยี่ยม. ในฐานะพ่อ ผมได้บรรลุเป้าที่ดูเหมือนเป็นไปไม่ได้ในระบบนี้ นั่นคือการเป็นไพโอเนียร์ประจำ รับใช้เต็มเวลาร่วมกับครอบครัว. เรานำการศึกษาพระคัมภีร์รวมกันทั้งหมด 25 ราย. ทั้งหมดนี้ยังผล
ทำให้ครอบครัวเราเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันมากขึ้น และที่เหนือกว่าสิ่งใด ผมใกล้ชิดพระยะโฮวาอย่างที่ไม่เคยรู้สึกมาก่อน.” เรารู้สึกขอบคุณพี่น้องที่รักเหล่านี้จริง ๆ!มีการขยายสาขาให้ใหญ่ขึ้นในปี 1994 ทำให้อาคารต่าง ๆ มีขนาดใหญ่กว่าเดิมเป็นสองเท่า. ในปี 2005 เราทะลุยอดผู้ประกาศ 50,000 คน และจำเป็นต้องมีการขยายสาขาให้ใหญ่ขึ้นอีก. การขยายนี้รวมถึงการขยายหอประชุมใหญ่, อาคารพักอาศัย, และออฟฟิซของแผนกแปลให้ใหญ่ขึ้น. มีการอุทิศอาคารใหม่เหล่านี้ในวันที่ 31 ตุลาคม 2009.
เมื่อผมถูกไล่ออกจากโรงเรียนในปี 1942 มีพยานฯ ในสหรัฐราว ๆ 60,000 คน. ตอนนี้มีมากกว่าหนึ่งล้านคน. เมื่อเรามาถึงเอกวาดอร์ในปี 1966 ที่นี่มีผู้ประกาศราชอาณาจักรประมาณ 1,400 คน. ตอนนี้มีมากกว่า 68,000 คน. และก็แน่นอนว่ายังจะมีมากกว่านี้อีก เนื่องจากมีรายศึกษาพระคัมภีร์ถึง 120,000 รายและมากกว่า 232,000 คนที่มาร่วมประชุมอนุสรณ์ระลึกถึงการสิ้นพระชนม์ของพระคริสต์ในปี 2009. พระยะโฮวาทรงอวยพรประชาชนของพระองค์จริง ๆ ในวิธีที่เราไม่เคยคาดคิดมาก่อน. น่าตื่นเต้นสักเพียงไรที่ได้อยู่ในช่วงเวลาและสถานที่ที่มีการขยายอย่างน่าทึ่ง! *
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 34 ระหว่างที่กำลังเตรียมบทความนี้ บร. ฮาร์ลีย์ แฮร์ริส เสียชีวิตอย่างซื่อสัตย์ต่อพระยะโฮวา.
[ภาพหน้า 5]
การประชุมใหญ่กลางแจ้ง (1981) และหอประชุมใหญ่ที่ไกวอากีล (2009) ในที่ดินผืนเดียวกัน