จงให้ “ความกรุณารักใคร่” ควบคุมคำพูดของคุณ
จงให้ “ความกรุณารักใคร่” ควบคุมคำพูดของคุณ
“นางเอ่ยปากพูดอย่างคนมีปัญญาและนางให้ความกรุณารักใคร่ควบคุมคำพูดของนาง.”—สุภา. 31:26, ล.ม.
1, 2. (ก) ผู้นมัสการพระยะโฮวาได้รับการสนับสนุนให้พัฒนาคุณลักษณะอะไร? (ข) จะมีการพิจารณาอะไรในบทความนี้?
คำสั่งสอนสำคัญที่กษัตริย์ละมูเอลในสมัยโบราณได้รับจากพระมารดามีเรื่องเกี่ยวกับคุณสมบัติสำคัญอย่างหนึ่งของภรรยาที่ดีรวมอยู่ด้วย. พระมารดาสอนท่านว่า “นาง [ภรรยาที่ดี] เอ่ยปากพูดอย่างคนมีปัญญาและนางให้ความกรุณารักใคร่ควบคุมคำพูดของนาง.” * (สุภา. 31:1, 10, 26, ล.ม.) สตรีที่ฉลาดสุขุมและทุกคนที่ปรารถนาจะเป็นที่พอพระทัยพระยะโฮวาพระเจ้าควรพูดด้วยความกรุณารักใคร่. (อ่านสุภาษิต 19:22) คำพูดของผู้นมัสการแท้ทุกคนควรแสดงให้เห็นความกรุณารักใคร่อย่างชัดเจน.
2 ความกรุณารักใคร่คืออะไร? ควรแสดงความกรุณารักใคร่ต่อใคร? เราจะให้ “ความกรุณารักใคร่” ควบคุมคำพูดได้อย่างไร? การทำเช่นนั้นจะมีผลกระทบอย่างไรต่อการพูดจาสนทนากับคนในครอบครัวและเพื่อนคริสเตียน?
เมื่อความรักภักดีกระตุ้นให้เกิดความกรุณา
3, 4. (ก) ความกรุณารักใคร่คืออะไร? (ข) ความกรุณารักใคร่แตกต่างอย่างไรกับความกรุณาที่ผู้คนทั่วไปแสดงต่อกัน?
3 ดังที่เห็นได้จากรูปคำ ความกรุณารักใคร่รวมคุณลักษณะทั้งสองอย่างไว้ คือความรักและความกรุณา. ความกรุณารักใคร่เกี่ยวข้องกับการแสดงความกรุณา กล่าวคือ การให้ความสนใจเป็นส่วนตัวต่อผู้อื่นและการแสดงความห่วงใยด้วยการช่วยเหลือและพูดอย่างที่คำนึงถึงผู้อื่น. เนื่องจากความรักก็เป็นปัจจัยอย่างหนึ่งด้วย ดังนั้น การแสดงความกรุณารักใคร่จึงต้องแสดงความสนใจในสวัสดิภาพของคนอื่น ๆ ด้วยความรัก. อย่างไรก็ตาม คำภาษาเดิมที่แปลว่าความกรุณารักใคร่นี้มีความหมายมากกว่าความกรุณาที่เกิดมาจากความรัก. ความกรุณารักใคร่หมายถึงการแสดงความกรุณาอย่างเต็มใจและอย่างภักดีต่อใครคนหนึ่งจนกระทั่งบรรลุจุดประสงค์ของการแสดงความกรุณานั้น.
4 ความกรุณารักใคร่ต่างจากความกรุณาในอีกแง่หนึ่ง. ความกรุณาที่ผู้คนทั่วไปแสดงต่อกันอาจแสดงแม้กระทั่งต่อคนแปลกหน้า. อัครสาวกเปาโลและคนอื่น ๆ อีก 275 คนที่ประสบภัยเรืออับปางได้รับความกรุณาแบบนี้จากชาวเกาะมอลตา ที่ไม่เคยพบกันมาก่อน. (กิจ. 27:37–28:2) ตรงกันข้าม ความกรุณารักใคร่เกี่ยวข้องกับความผูกพันกันอย่างภักดีระหว่างบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันอยู่แล้ว. * ดาวิดได้แสดงความกรุณารักใคร่เช่นนี้ต่อมะฟีโบเซ็ธ.—2 ซามู. 9:7
ต้องคิดใคร่ครวญและอธิษฐาน
5. อะไรจะช่วยเราให้ควบคุมคำพูดของเรา?
5 การพูดด้วยความกรุณารักใคร่ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย. สาวกยาโกโบเขียนว่า “ไม่มีมนุษย์คนใดทำให้ลิ้นเชื่องได้. มันเป็นสิ่งที่ก่อความเสียหาย ควบคุมไม่ได้ และเต็มไปด้วยพิษที่ทำให้ถึงตาย.” (ยโก. 3:8) อะไรจะช่วยเราให้ควบคุมอวัยวะที่ยากจะควบคุมนี้ได้? ถ้อยคำที่พระเยซูตรัสกับ หัวหน้าศาสนาในสมัยของพระองค์ทำให้เราเข้าใจลึกซึ้งในเรื่องนี้. พระองค์ตรัสว่า “ใจเต็มไปด้วยสิ่งใด ปากก็พูดตามนั้น.” (มัด. 12:34) เพื่อให้ความกรุณารักใคร่ควบคุมคำพูดของเรา เราต้องปลูกฝังคุณลักษณะนี้ในหัวใจของเรา ซึ่งก็คือตัวตนที่แท้จริงของเรา. ให้เรามาพิจารณากันว่าการคิดใคร่ครวญและการอธิษฐานช่วยเราให้ทำเช่นนั้นได้อย่างไร.
6. เหตุใดเราควรใคร่ครวญด้วยความรู้สึกขอบคุณเกี่ยวกับกิจการของพระยะโฮวาที่แสดงถึงความกรุณารักใคร่?
6 คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า พระยะโฮวาพระเจ้าทรง “บริบูรณ์ด้วยความกรุณารักใคร่.” (เอ็ก. 34:6, ล.ม.) ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญร้องเพลงว่า “ข้าแต่พระยะโฮวา, แผ่นดินโลกเต็มไปด้วยพระกรุณาคุณของพระองค์.” (เพลง. 119:64) มีบันทึกมากมายในพระคัมภีร์ที่บอกว่าพระยะโฮวาทรงแสดงความกรุณารักใคร่ต่อผู้นมัสการพระองค์อย่างไร. การคิดใคร่ครวญด้วยความรู้สึกขอบคุณเกี่ยวกับ ‘กิจการของพระยะโฮวา’ สามารถช่วยเราปลูกฝังความปรารถนาที่จะพัฒนาคุณลักษณะนี้ที่พระเจ้าทรงพอพระทัย.—อ่านบทเพลงสรรเสริญ 77:12
7, 8. (ก) พระยะโฮวาทรงแสดงความกรุณารักใคร่เช่นไรต่อโลตและครอบครัว? (ข) ดาวิดรู้สึกอย่างไรที่ได้รับพระกรุณารักใคร่จากพระเจ้า?
7 ยกตัวอย่าง ขอให้คิดถึงวิธีที่พระยะโฮวาทรงช่วยโลตหลานชายของอับราฮามและครอบครัวของท่านเมื่อพระองค์ทรงทำลายเมืองโซโดมที่ท่านอาศัยอยู่. เมื่อใกล้ถึงเวลาที่จะทำลายเมืองนั้น ทูตสวรรค์ที่มาหาโลตกระตุ้นท่านให้พาครอบครัวหนีออกจากเมืองนั้นโดยเร็ว. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “เมื่อโลตยังช้าอยู่, ทูตจึงจับมือของโลตกับมือภรรยาและมือบุตรสาวทั้งสองของโลตจูงออกไป, เพราะพระยะโฮวาทรงพระกรุณาแก่โลต: ทูตจึงได้พาเขาออกไปให้พ้นเมืองนั้น.” เมื่อเราใคร่ครวญถึงการช่วยให้รอดนี้เรารู้สึกประทับใจและถูกกระตุ้นให้ยอมรับว่านั่นเป็นการแสดงพระกรุณารักใคร่ของพระเจ้ามิใช่หรือ?—เย. 19:16, 19
8 ขอให้พิจารณาตัวอย่างของกษัตริย์ดาวิดแห่งอิสราเอลโบราณด้วย ซึ่งท่านได้ร้องเพลงว่า “[พระยะโฮวา] ทรงโปรดยกความผิดทั้งหมดของเจ้า; [พระองค์] ทรงรักษาบรรดาโรคของเจ้าให้หาย.” ดาวิดคงต้องรู้สึกขอบคุณสักเพียงไรที่พระองค์ทรงให้อภัยบาปที่ท่านทำกับนางบัธเซบะ! ท่านสรรเสริญพระยะโฮวาโดยกล่าวว่า “ฟ้าสวรรค์สูงจากพื้นดินมากเท่าใด, พระองค์ทรงพระกรุณาแก่คนที่ยำเกรงพระองค์มากเท่านั้น.” (เพลง. 103:3, 11) การคิดใคร่ครวญในเรื่องเหล่านี้และเรื่องอื่น ๆ ในพระคัมภีร์ทำให้หัวใจเราเปี่ยมด้วยความรู้สึกขอบคุณสำหรับพระกรุณารักใคร่ของพระยะโฮวา และกระตุ้นเราให้สรรเสริญและขอบพระคุณพระองค์. ยิ่งเรารู้สึกขอบคุณจากหัวใจมากเท่าไร เราก็มีแนวโน้มที่จะเป็นผู้เลียนแบบพระเจ้าองค์เที่ยงแท้มากเท่านั้น.—เอเฟ. 5:1
9. มีเหตุผลที่หนักแน่นอะไรสำหรับผู้นมัสการพระยะโฮวาที่จะแสดงความกรุณารักใคร่ในชีวิตประจำวัน?
9 ตัวอย่างต่าง ๆ ในพระคัมภีร์แสดงให้เห็นว่าพระยะโฮวาทรงแสดงความกรุณารักใคร่—ความรักภักดีของพระองค์—ต่อคนเหล่านั้นที่มีสายสัมพันธ์อันดีกับพระองค์. จะว่าอย่างไรสำหรับคนที่ไม่มีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพระเจ้าผู้ทรงพระชนม์อยู่? พระยะโฮวาทรงเกรี้ยวกราดหรือไม่กรุณาพวกเขาไหม? ไม่เลย. ลูกา 6:35 กล่าวว่า “[พระเจ้า] ทรงกรุณาต่อคนอกตัญญูและคนชั่ว.” “พระองค์ทรงบันดาลให้ดวงอาทิตย์ขึ้นส่องแสงแก่คนดีและคนชั่ว อีกทั้งทรงบันดาลให้ฝนตกแก่คนชอบธรรมและคนอธรรม.” (มัด. 5:45) ก่อนที่เราจะเรียนและปฏิบัติตามความจริง เราได้รับพระกรุณาที่พระเจ้าทรงแสดงต่อมนุษยชาติทั่วไปอยู่แล้ว. แต่ในฐานะผู้นมัสการพระองค์ เราเป็นผู้รับความรักภักดีของพระองค์ ซึ่งก็คือความกรุณารักใคร่อันมั่นคงของพระองค์. (อ่านยะซายา 54:10) เรารู้สึกขอบคุณสักเพียงไรในเรื่องนี้! และนั่นเป็นเหตุผลที่หนักแน่นจริง ๆ ที่จะแสดงความกรุณารักใคร่ทั้งในคำพูดและแง่มุมอื่น ๆ ในชีวิตประจำวันของเรา!
10. เหตุใดคำอธิษฐานช่วยเราได้มากในการทำให้ความกรุณารักใคร่เป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพของเรา?
10 การอธิษฐานเป็นสิทธิพิเศษที่มีประโยชน์อย่างยิ่งในการช่วยเราพัฒนาความกรุณารักใคร่. ทั้งนี้ก็เพราะความรักและความกรุณา ซึ่งเป็นองค์ประกอบของความกรุณากลา. 5:22) เราสามารถปลูกฝังความกรุณารักใคร่ในหัวใจเราได้โดยยอมให้พระวิญญาณชี้นำเรา. วิธีที่ตรงที่สุดเพื่อจะได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระยะโฮวาก็คือโดยการทูลขอจากพระองค์. (ลูกา 11:13) นับว่าเหมาะสมที่เราจะอธิษฐานขอพระวิญญาณของพระเจ้าครั้งแล้วครั้งเล่าและยอมรับการชี้นำจากพระวิญญาณ. ใช่แล้ว เราต้องคิดใคร่ครวญและอธิษฐานหากเราต้องการจะให้ความกรุณารักใคร่ควบคุมคำพูดของเรา.
รักใคร่ เป็นส่วนของผลพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระยะโฮวา. (ความกรุณารักใคร่ควบคุมคำพูดของคู่สมรส
11. (ก) เรารู้ได้อย่างไรว่าพระยะโฮวาทรงคาดหมายให้สามีแสดงความกรุณารักใคร่ต่อภรรยา? (ข) ความกรุณารักใคร่จะช่วยสามีให้ควบคุมคำพูดได้อย่างไร?
11 อัครสาวกเปาโลกระตุ้นผู้เป็นสามีว่า “จงรักภรรยาเสมออย่างที่พระคริสต์ทรงรักประชาคมและได้สละพระองค์เองเพื่อประชาคม.” (เอเฟ. 5:25) เปาโลยังเตือนพวกเขาให้ระลึกถึงสิ่งที่พระยะโฮวาทรงบอกกับอาดามและฮาวาอีกด้วย. ท่านเขียนว่า “ผู้ชายจะจากบิดามารดาไปผูกพันใกล้ชิดกับภรรยา และทั้งสองจะเป็นเนื้อหนังเดียวกัน.” (เอเฟ. 5:31) เห็นได้ชัดว่า พระยะโฮวาทรงคาดหมายให้สามีผูกพันใกล้ชิดกับภรรยาอย่างภักดี แสดงความกรุณารักใคร่ต่อเธอเสมอ. สามีที่ให้ความรักภักดีควบคุมคำพูดของเขาจะไม่เปิดเผยข้อผิดพลาดของภรรยาต่อหน้าธารกำนัลหรือพูดดูถูกดูหมิ่นเธอ. เขายินดียกย่องชมเชยเธอ. (สุภา. 31:28) หากมีเหตุที่ทำให้ขัดแย้งกัน ความกรุณารักใคร่จะกระตุ้นสามีให้ควบคุมตนเองเพื่อจะไม่พูดอะไรที่เป็นการดูถูกเหยียดหยามภรรยา.
12. ภรรยาจะแสดงให้เห็นได้อย่างไรว่าเธอให้ความกรุณารักใคร่ควบคุมคำพูดของเธอ?
12 ภรรยาควรให้ความกรุณารักใคร่ควบคุมคำพูดของเธอด้วย. คำพูดของเธอไม่ควรได้รับอิทธิพลจากน้ำใจของโลก. ด้วยความ “นับถือสามีอย่างสุดซึ้ง” เธอพูดถึงสามีในทางที่ดีต่อหน้าธารกำนัลและพูดอย่างที่จะทำให้สามีได้รับความนับถือมากขึ้นไปอีก. (เอเฟ. 5:33) เพื่อจะไม่ทำให้ลูกนับถือพ่อน้อยลง เธอไม่โต้แย้งหรือสงสัยการตัดสินใจของสามีต่อหน้าลูก. เธอพูดเรื่องนั้นเป็นส่วนตัวกับสามี. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “สตรีที่มีปัญญาทุกคนย่อมก่อสร้างบ้านเรือนของตนขึ้น.” (สุภา. 14:1) บ้านของเธอเป็นสถานที่ที่น่าอยู่และทุกคนในครอบครัวรู้สึกสบายใจเมื่ออยู่บ้าน.
13. ความกรุณารักใคร่ควรปรากฏชัดที่ไหนเป็นพิเศษ และจะเป็นเช่นนั้นได้อย่างไร?
13 แม้แต่ในบ้าน คู่สมรสต้องพูดอย่างที่แสดงให้เห็นว่าพวกเขานับถือกันเสมอ. เปาโลเขียนว่า “จงละทิ้งทุกสิ่งเหล่านี้เสีย คือการเดือดดาล ความโกรธ การชั่ว การพูดหยาบหยาม และอย่าให้มีคำพูดหยาบโลนออกมาจากปากท่านทั้งหลาย.” ท่านเสริมอีกว่า “จงสวมความปรานี ความกรุณา ความถ่อมใจ ความอ่อนโยน และความอดกลั้นไว้นาน. . . . ท่านทั้งหลายจงสวมความรัก เพราะความรักเป็นสิ่งที่ผูกพันผู้คนให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างสมบูรณ์.” (โกโล. 3:8, 12-14) เมื่อลูกคุ้นกับการได้ยินคำพูดที่แสดงความรักและความกรุณาในบ้าน พวกเขาจะไม่เพียงแต่เจริญเติบโต แต่เป็นไปได้มากที่พวกเขาจะพยายามเลียนแบบวิธีพูดของพ่อแม่.
14. หัวหน้าครอบครัวจะพูดให้กำลังใจคนในครอบครัวได้อย่างไร?
เพลง. 119:76) วิธีหนึ่งที่โดดเด่นซึ่งพระยะโฮวาใช้ปลอบโยนประชาชนของพระองค์ก็คือโดยกระตุ้นเตือนและชี้นำพวกเขา. (เพลง. 119:105) หัวหน้าครอบครัวจะได้รับประโยชน์จากตัวอย่างของพระบิดาผู้อยู่ในสวรรค์และพูดให้กำลังใจคนในครอบครัวของเขาได้อย่างไร? พวกเขาทำอย่างนั้นได้โดยให้คำแนะนำและให้กำลังใจตามที่จำเป็น. การนมัสการประจำครอบครัวในตอนเย็นเป็นโอกาสที่ดีเยี่ยมในการรับความรู้ที่มีค่าอย่างยิ่งจากคัมภีร์ไบเบิล!—สุภา. 24:4
14 ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญเขียนเกี่ยวกับพระยะโฮวาว่า “ขอทรงโปรดให้พระกรุณาคุณของพระองค์เป็นที่ประเล้าประโลม.” (แสดงความรักภักดีต่อเพื่อนร่วมความเชื่อ
15. ผู้ปกครองและผู้ใหญ่ฝ่ายวิญญาณคนอื่น ๆ อาจพูดอย่างไรเพื่อปกป้องพี่น้องในประชาคม?
15 กษัตริย์ดาวิดอธิษฐานว่า “ขอโปรดให้พระกรุณาและความสัตย์ซื่อของพระองค์บำรุงรักษา [“ปกป้อง,” ล.ม.] ข้าพเจ้าไว้เป็นเนืองนิตย์.” (เพลง. 40:11) คริสเตียนผู้ปกครองและผู้ใหญ่ฝ่ายวิญญาณคนอื่น ๆ ในประชาคมอาจเลียนแบบพระยะโฮวาในเรื่องนี้อย่างไร? การที่เราใช้คำพูดแบบที่ช่วยคนอื่น ๆ ให้สนใจคำแนะนำในพระคัมภีร์เป็นการแสดงความกรุณารักใคร่อย่างแน่นอน.—สุภา. 17:17
16, 17. เราจะแสดงได้โดยวิธีใดว่าความกรุณารักใคร่ควบคุมคำพูดของเรา?
16 เราควรทำอะไรหากเห็นว่าเพื่อนคริสเตียนคนหนึ่งกำลังติดตามแนวทางที่ขัดกับหลักการในคัมภีร์ไบเบิล? ความกรุณารักใคร่จะกระตุ้นเราให้พยายามพูดเพื่อช่วยเขาให้แก้ไขมิใช่หรือ? (เพลง. 141:5) ถ้าเรารู้ว่าเพื่อนร่วมความเชื่อคนหนึ่งทำผิดร้ายแรง ความรักภักดีกระตุ้นเราให้สนับสนุนผู้ทำผิดที่จะ “เชิญพวกผู้เฒ่าผู้แก่ในประชาคมมาหา” เพื่อพวกเขาจะ “อธิษฐานเพื่อเขาและชโลมน้ำมันให้เขาในพระนามพระยะโฮวา.” (ยโก. 5:14) หากเห็นว่าคนที่ทำผิดไม่ยอมติดต่อผู้ปกครองแล้วเราไม่รายงานเรื่องนั้น นั่นไม่ได้เป็นการแสดงความรักและความกรุณาต่อเขา. บางคนในพวกเราอาจท้อแท้, ว้าเหว่, รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า, หรือจมอยู่กับความผิดหวัง. วิธีหนึ่งที่แสดงได้เป็นอย่างดีว่าความกรุณารักใคร่ควบคุมคำพูดของเราก็คือการที่เรา “พูดปลอบโยนคนทุกข์ใจ.”—1 เทส. 5:14
17 เมื่อศัตรูของพระเจ้าแพร่ข่าวลือเกี่ยวกับเพื่อนร่วมความเชื่อ เราควรแสดงปฏิกิริยาอย่างไร? แทนที่จะสงสัยความซื่อสัตย์มั่นคงของพี่น้อง เราควรบอกปัดคำพูดแบบนั้นโดยไม่ตอบโต้ หรือถ้าผู้กล่าวหาเป็นคนมีเหตุผลก็อาจถามเขาว่าเขารู้เรื่องนั้นจริง ๆ ไหม. หากศัตรูของประชาชนสุภา. 18:24
ของพระเจ้าพยายามจะรู้ว่าพี่น้องคริสเตียนของเราอยู่ที่ไหนเพื่อทำอันตรายพวกเขา เราจะไม่ให้ข้อมูลแก่คนพวกนั้นเพราะเรามีความรักภักดีต่อพี่น้อง.—คนที่ “เมตตาจะประสบชีวิต”
18, 19. เหตุใดความกรุณารักใคร่ไม่ควรอยู่ห่างจากปากของเราในการติดต่อสัมพันธ์กับเพื่อนผู้นมัสการ?
18 ความรักภักดีควรปรากฏชัดในการติดต่อสัมพันธ์ทุกอย่างกับเพื่อนผู้นมัสการพระยะโฮวา. แม้แต่เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ยุ่งยาก ความกรุณารักใคร่ไม่ควรอยู่ห่างจากปากของเรา. เมื่อความกรุณารักใคร่ของบุตรหลานชาติอิสราเอลเป็น “เหมือนน้ำค้างที่สูญหายไปโดยเร็ว” พระยะโฮวาไม่พอพระทัย. (โฮ. 6:4, 6) ตรงกันข้าม พระยะโฮวาทรงยินดีถ้าพวกเขาแสดงความกรุณารักใคร่อยู่เสมอ. ให้เรามาดูกันว่าพระองค์ทรงอวยพรคนที่ทำเช่นนั้นอย่างไร.
19 สุภาษิต 21:21 บอกว่า “คนที่ประพฤติตามความชอบธรรมและความเมตตาจะประสบชีวิต, ความชอบธรรมและเกียรติศักดิ์.” พระพรอย่างหนึ่งที่พวกเขาจะได้รับก็คือ เขาจะประสบชีวิต—ไม่ใช่แค่สั้น ๆ แต่เป็นชีวิตที่ไม่รู้สิ้นสุด. พระยะโฮวาทรงช่วยเขาให้ “ยึดชีวิตแท้ไว้ให้มั่น.” (1 ติโม. 6:12, 19) ดังนั้น ขอให้เรา “ประพฤติการประกอบด้วยคุณ [“ความกรุณารักใคร่,” ล.ม.] แลความเมตตาต่อกันแลกัน.”—ซคา. 7:9
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 1 สำหรับคำภาษาเดิมที่พระคัมภีร์ฉบับแปลโลกใหม่แปลไว้ว่า “ความกรุณารักใคร่” พระคัมภีร์ฉบับที่เราใช้อยู่ (ฉบับ OV83) แปลคำนี้โดยใช้คำต่าง ๆ เช่น ความอารี, ความกรุณา, พระกรุณาคุณ, ความเมตตากรุณา, ความโปรดปราน.
^ วรรค 4 สำหรับการพิจารณาอย่างละเอียดในเรื่องที่ว่าความกรุณารักใคร่ต่างจากความภักดี, ความรัก, และความกรุณาอย่างไร โปรดดูหอสังเกตการณ์ 15 พฤษภาคม 2002 หน้า 12-13, 18-19.
คุณอธิบายได้ไหม?
• คุณจะอธิบายความหมายของความกรุณารักใคร่อย่างไร?
• อะไรจะช่วยให้ความกรุณารักใคร่ควบคุมคำพูดของเรา?
• คู่สมรสอาจแสดงความรักภักดีอย่างไรในการพูด?
• อะไรจะแสดงให้เห็นว่าความกรุณารักใคร่ควบคุมคำพูดของเราในการติดต่อสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมความเชื่อ?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 23]
ดาวิดสรรเสริญพระกรุณารักใคร่ของพระยะโฮวา
[ภาพหน้า 24]
คุณนมัสการประจำครอบครัวในตอนเย็นเป็นประจำไหม?