ตอบสนองสติรู้สึกผิดชอบของคุณ
ตอบสนองสติรู้สึกผิดชอบของคุณ
“ทุกสิ่งสะอาดสำหรับคนสะอาด. แต่ไม่มีอะไรสะอาดสำหรับคนมีมลทินและไม่มีความเชื่อ.”—ติโต 1:15, ล.ม.
1. เปาโลเกี่ยวข้องกับประชาคมต่าง ๆ บนเกาะครีตอย่างไร?
หลังจากเสร็จสิ้นการเดินทางสามรอบในฐานะมิชชันนารี อัครสาวกเปาโลถูกจับและในที่สุดก็ถูกส่งตัวไปยังกรุงโรม ซึ่งท่านถูกกักตัวอยู่ที่นั่นสองปี. ท่านทำอะไรเมื่อถูกปล่อยตัว? หลังจากนั้นระยะหนึ่ง ท่านได้ไปเยือนเกาะครีตกับติโต ซึ่งเปาโลได้เขียนจดหมายไปหาเขาว่า “ข้าพเจ้าละท่านไว้ที่เกาะครีตก็เพื่อให้ท่านแก้ไขสิ่งที่บกพร่องและแต่งตั้งผู้เฒ่าผู้แก่ไว้.” (ติโต 1:5, ล.ม.) การทำหน้าที่มอบหมายของติโตมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องสติรู้สึกผิดชอบด้วย.
2. ติโตต้องรับมือกับปัญหาอะไรบนเกาะครีต?
2 เปาโลแนะนำติโตเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ปกครองประชาคม แล้วก็ชี้ว่ามี “หลายคนที่เป็นคนดื้อรั้น เป็นคนพูดไร้สาระ และเป็นคนล่อลวง.” คนเหล่านี้ “บ่อนทำลายความเชื่อของทุกคนในบ้านโดยสอนเรื่องที่ไม่ควรสอน.” ติโตต้อง “ว่ากล่าวพวกเขา.” (ติโต 1:10-14, ล.ม.; 1 ติโมเธียว 4:7) เปาโลกล่าวว่าจิตใจและสติรู้สึกผิดชอบของพวกเขามี “มลทิน” ในความหมายที่ว่าเป็นรอยด่าง เหมือนกับเสื้อผ้าดี ๆ สวย ๆ อาจเลอะเป็นรอยด่างจากเสื้อตัวอื่นที่สีตก. (ติโต 1:15) บางคนในพวกนั้นอาจมีภูมิหลังเป็นชาวยิว เพราะพวกเขา “ยึดมั่นกับการรับสุหนัต.” ประชาคมต่าง ๆ ในทุกวันนี้ไม่ได้ถูกบ่อนทำลายโดยคนที่มีทัศนะของตัวเองในเรื่องอย่างนั้น; ถึงกระนั้น เราสามารถเรียนได้มากเกี่ยวกับสติรู้สึกผิดชอบจากคำแนะนำที่เปาโลให้แก่ติโต.
คนที่มีสติรู้สึกผิดชอบไม่สะอาด
3. เปาโลเขียนอะไรถึงติโตเกี่ยวกับสติรู้สึกผิดชอบ?
3 ขอให้สังเกตฉากเหตุการณ์ที่เปาโลกล่าวถึงสติรู้สึกผิดชอบ. “ทุกสิ่งสะอาดสำหรับคนสะอาด. แต่ไม่มีอะไรสะอาดสำหรับคนมีมลทินและไม่มีความเชื่อ ทั้งจิตใจและสติรู้สึกผิดชอบของพวกเขาล้วนมีมลทิน. พวกเขาป่าวประกาศว่ารู้จักพระเจ้า แต่ด้วยการกระทำ พวกเขาปฏิเสธพระองค์.” เห็นได้ชัดว่าบางคนในเวลานั้นจำเป็นต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพื่อจะ “มีความเชื่อที่มั่นคง.” (ติโต 1:13, 15, 16, ล.ม.) พวกเขากำลังมีปัญหาในการแยกแยะว่าอะไรสะอาดอะไรไม่สะอาด และเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับสติรู้สึกผิดชอบของพวกเขา.
4, 5. บางคนในประชาคมต่าง ๆ มีข้อบกพร่องอะไร และเรื่องนี้มีผลกระทบต่อพวกเขาอย่างไร?
4 สิบกว่าปีก่อนหน้านั้น คณะกรรมการปกครองคริสเตียนลงความเห็นว่าการรับสุหนัตไม่เป็นข้อเรียกร้องอีกต่อไปสำหรับผู้นมัสการแท้ และพวกเขาได้แจ้งให้ประชาคมต่าง ๆ ทราบตามนั้น. (กิจการ 15:1, 2, 19-29) ถึงกระนั้น บางคนที่เกาะครีตยังคง “ยึดมั่นกับการรับสุหนัต.” พวกเขาแสดงความไม่เห็นด้วยกับคณะกรรมการปกครองอย่างเปิดเผย โดย “สอนเรื่องที่ไม่ควรสอน.” (ติโต 1:10, 11, ล.ม.) ด้วยความคิดที่บิดเบือน พวกเขาอาจกำลังส่งเสริมกฎระเบียบ จากพระบัญญัติเกี่ยวกับอาหารและความสะอาดตามพิธีกรรม. พวกเขาอาจต่อเติมเสริมแต่งสิ่งที่พระบัญญัติกล่าวไว้ เหมือนกับคนที่อยู่ก่อนพวกเขาในสมัยของพระเยซู รวมทั้งส่งเสริมนิทานของชาวยิวและบัญญัติของมนุษย์.—มาระโก 7:2, 3, 5, 15; 1 ติโมเธียว 4:3.
5 การคิดเช่นนั้นมีผลกระทบที่ไม่ดีต่อการวินิจฉัยและความสำนึกด้านศีลธรรม คือสติรู้สึกผิดชอบของพวกเขา. เปาโลเขียนว่า “ไม่มีอะไรสะอาดสำหรับคนมีมลทินและไม่มีความเชื่อ.” สติรู้สึกผิดชอบของพวกเขาเพี้ยนไปมากจนไม่อาจเป็นเครื่องนำทางที่ไว้ใจได้อีกต่อไปสำหรับการกระทำและการประเมินค่าต่าง ๆ. นอกจากนั้น พวกเขาตัดสินเพื่อนคริสเตียนในเรื่องส่วนตัว เรื่องซึ่งคริสเตียนคนหนึ่งอาจตัดสินใจอย่างหนึ่งแต่คนอื่นอาจตัดสินใจอีกอย่างหนึ่ง. ในแง่นี้ ชาวครีตเหล่านี้ถือว่าการกระทำและทางเลือกบางอย่างไม่สะอาด ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่เป็นอย่างนั้น. (โรม 14:17; โกโลซาย 2:16) แม้ว่าเขาประกาศตัวว่ารู้จักพระเจ้า แต่การกระทำของพวกเขาปรากฏให้เห็นตรงกันข้าม.—ติโต 1:16.
“สะอาดสำหรับคนสะอาด”
6. เปาโลกล่าวถึงคนสองประเภทอะไร?
6 เราจะได้รับประโยชน์จากสิ่งที่เปาโลเขียนถึงติโตได้โดยวิธีใด? ขอให้สังเกตการเปรียบเทียบความแตกต่างที่พบในข้อความนี้: “ทุกสิ่งสะอาดสำหรับคนสะอาด. แต่ไม่มีอะไรสะอาดสำหรับคนมีมลทินและไม่มีความเชื่อ ทั้งจิตใจและสติรู้สึกผิดชอบของพวกเขาล้วนมีมลทิน.” (ติโต 1:15, ล.ม.) แน่นอน เปาโลไม่ได้หมายความว่าสำหรับคริสเตียนที่สะอาดด้านศีลธรรม ทุกสิ่งถือว่าสะอาดและอนุญาตให้ทำได้ไปเสียทั้งหมด. เราสามารถมั่นใจว่าเป็นอย่างนั้นเนื่องจากเปาโลแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนในจดหมายอีกฉบับหนึ่งว่าคนที่ทำผิดประเวณี, ไหว้รูปเคารพ, ถือผี, และอื่น ๆ “จะไม่ได้รับราชอาณาจักรของพระเจ้า.” (ฆะลาเตีย 5:19-21, ล.ม.) ดังนั้น เราจึงต้องลงความเห็นว่าเปาโลกำลังกล่าวถึงความจริงโดยทั่วไปที่เกี่ยวกับคนสองประเภท คนที่สะอาดด้านศีลธรรมและฝ่ายวิญญาณกับคนที่ไม่สะอาดด้านศีลธรรมและฝ่ายวิญญาณ.
7. เฮ็บราย 13:4 ห้ามอะไร แต่อาจมีคำถามอะไรเกิดขึ้น?
7 สิ่งซึ่งคริสเตียนที่จริงใจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงไม่ได้จำกัดเฉพาะสิ่งที่คัมภีร์ไบเบิลห้ามโดยระบุไว้อย่างชัดเจน. ตัวอย่างเช่น ขอให้พิจารณาคำกล่าวที่ตรงไปตรงมานี้: “จงให้การสมรสเป็นที่นับถือแก่คนทั้งปวง และจงให้เตียงสมรสปราศจากมลทิน เพราะพระเจ้าจะทรงพิพากษาคนผิดประเวณีและคนเล่นชู้.” (เฮ็บราย 13:4, ล.ม.) แม้แต่คนที่ไม่ใช่คริสเตียนและคนที่ไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับคัมภีร์ไบเบิลก็คงลงความเห็นได้อย่างถูกต้องว่าข้อนี้ห้ามการเล่นชู้. เห็นได้ชัดจากข้อนี้และข้อพระคัมภีร์อื่น ๆ ว่าพระเจ้าทรงตำหนิการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างชายหรือหญิงที่สมรสแล้วกับคนที่ไม่ได้เป็นสามีหรือภรรยาตามกฎหมาย. แต่จะว่าอย่างไรสำหรับคนที่ยังไม่สมรสสองคนที่ร่วมเพศทางปาก? วัยรุ่นจำนวนมากอ้างว่าการมีความสัมพันธ์กันแบบนี้ไม่ใช่เรื่องเสียหายเพราะไม่ใช่การมีเพศสัมพันธ์. คริสเตียนจะถือว่าการร่วมเพศทางปากเป็นเรื่องสะอาดได้ไหม?
8. ในเรื่องการร่วมเพศทางปาก คริสเตียนแตกต่างจากหลายคนในโลกอย่างไร?
เฮ็บราย 13:4 และ 1 โกรินโธ 6:9 ให้ข้อพิสูจน์ว่าพระเจ้าไม่พอพระทัยทั้งการเล่นชู้และการผิดประเวณี (ภาษากรีก พอร์เนีย ). การผิดประเวณีหมายรวมถึงอะไร? คำภาษากรีกคำนี้หมายถึงการใช้อวัยวะเพศทั้งแบบธรรมดาและแบบวิปริตโดยมีความมุ่งหมายที่หยาบโลน. การผิดประเวณีรวมถึงความสัมพันธ์ทางเพศที่ผิดทำนองคลองธรรมทุกรูปแบบนอกสายสมรส. ดังนั้น การผิดประเวณีจึงรวมถึงการร่วมเพศทางปากด้วย แม้มีข้อเท็จจริงที่ว่าวัยรุ่นจำนวนมากทั่วโลกได้ยินได้ฟังมาหรือลงความเห็นกันว่าการร่วมเพศทางปากเป็นเรื่องที่ยอมรับได้. คริสเตียนแท้ไม่คิดและทำโดยอาศัยความคิดเห็นของ ‘คนพูดไร้สาระ และคนล่อลวง.’ (ติโต 1:10, ล.ม.) พวกเขายึดมั่นในมาตรฐานที่สูงกว่าของพระคัมภีร์บริสุทธิ์. แทนที่จะพยายามหาเหตุผลสนับสนุนว่าการร่วมเพศทางปากเป็นเรื่องถูกต้อง พวกเขาเข้าใจว่าตามหลักพระคัมภีร์แล้วนั่นนับเป็นการผิดประเวณี หรือพอร์เนีย และพวกเขาฝึกสติรู้สึกผิดชอบของตนให้ทำหน้าที่สอดคล้องกับความรู้นี้. *—กิจการ 21:25; 1 โกรินโธ 6:18; เอเฟโซ 5:3.
8เสียงต่างกันการตัดสินใจต่างกัน
9. ถ้า “ทุกสิ่งสะอาด” บทบาทของสติรู้สึกผิดชอบคืออะไร?
9 แต่เปาโลหมายความเช่นไรเมื่อท่านกล่าวว่า “ทุกสิ่งสะอาดสำหรับคนสะอาด”? เปาโลกำลังกล่าวถึงคริสเตียนที่ได้นำความคิดและความสำนึกด้านศีลธรรมของตนให้ประสานกับมาตรฐานของพระเจ้าซึ่งเราพบในพระคำที่มีขึ้นโดยการดลใจของพระองค์. คริสเตียนเหล่านั้นตระหนักว่า ในหลายเรื่องที่พระเจ้าไม่ได้ตำหนิโดยตรง นั่นเปิดโอกาสให้มีความแตกต่างในหมู่ผู้มีความเชื่อ. แทนที่จะวิพากษ์วิจารณ์ พวกเขายอมรับว่า สิ่งที่พระเจ้าไม่ได้ทรงตำหนิถือว่า “สะอาด.” พวกเขาไม่คาดหมายให้ทุกคนคิดเหมือนตนทุกกระเบียดนิ้วในแง่มุมต่าง ๆ ของชีวิตที่คัมภีร์ไบเบิลไม่ได้ให้คำแนะนำโดยตรงในเรื่องนั้น ๆ. ให้เรามาพิจารณาบางตัวอย่าง.
10. งานแต่งงาน (หรืองานศพ) อาจก่อให้เกิดข้อท้าทายอย่างไร?
10 มีหลายครอบครัวที่คนหนึ่งเปลี่ยนมาเป็นคริสเตียนแต่คู่สมรสไม่ได้เปลี่ยน. (1 เปโตร 3:1; 4:3) สถานการณ์อย่างนี้อาจทำให้เกิดข้อท้าทายบางอย่าง เช่น เมื่อมีงานสมรสหรืองานศพของญาติ. ขอให้นึกภาพกรณีของภรรยาคริสเตียนคนหนึ่งที่สามียังไม่ได้มีความเชื่อแบบเดียวกับเธอ. ญาติคนหนึ่งของสามีกำลังจะแต่งงาน และจะมีการจัดพิธีสมรสกันที่โบสถ์แห่งหนึ่ง. (หรือว่าญาติซึ่งอาจเป็นบิดาหรือมารดาเสียชีวิต และจะจัดงานศพกันที่โบสถ์แห่งหนึ่ง.) ทั้งคู่ได้รับเชิญ และสามีต้องการให้ภรรยาไปด้วยกันกับเขา. สติรู้สึกผิดชอบของเธอกล่าวเช่นไรเกี่ยวกับการไปร่วมงาน? เธอจะทำเช่นไร? ขอให้นึกภาพการตัดสินใจที่อาจเป็นไปได้ในสองทางดังต่อไปนี้.
11. จงพรรณนาวิธีที่ภรรยาคนหนึ่งซึ่งเป็นคริสเตียนอาจหาเหตุผลในเรื่องที่ว่าจะไปร่วมงานแต่งงานที่โบสถ์หรือไม่ และนั่นนำไปสู่ข้อสรุปเช่นไรในตอนท้าย?
11 ดวงพรคิดใคร่ครวญคำสั่งอันหนักแน่นในคัมภีร์ไบเบิลที่ว่า ‘จงออกมาจากเมืองบาบิโลนใหญ่’ จักรวรรดิโลกแห่งศาสนาเท็จ. (วิวรณ์ 18:2, 4, ล.ม.) ก่อนหน้านี้เธอเคยเป็นสมาชิกของคริสตจักรที่กำลังจะมีการจัดงานแต่งงาน และเธอรู้ว่าระหว่างพิธีผู้เข้าร่วมทุกคนจะได้รับเชิญให้ร่วมในพิธีกรรมทางศาสนา เช่น การอธิษฐาน, การร้องเพลง, หรือการแสดงท่าทางบางอย่าง. เธอตัดสินใจอย่างเด็ดขาดว่าจะไม่เป็นส่วนหนึ่งในการกระทำแบบนั้น และไม่ต้องการแม้แต่จะอยู่ที่นั่นเพราะอาจถูกกดดันให้ฝ่าฝืนความซื่อสัตย์มั่นคงของตน. ดวงพรนับถือสามีและต้องการจะให้ความร่วมมือกับสามีผู้เป็นประมุขตามหลักพระคัมภีร์; กระนั้น เธอไม่ต้องการประนีประนอมหลักการในพระคัมภีร์. (กิจการ 5:29) ด้วยเหตุนั้น เธออธิบายอย่างผ่อนหนักผ่อนเบากับสามีว่าแม้ว่าเขาอาจตัดสินใจจะไปร่วมงาน เธอไม่สามารถไปด้วยได้. เธออาจอธิบายว่าหากเธอไปและไม่ร่วมในพิธีบางอย่าง นั่นอาจทำให้เขารู้สึกกระดากใจ และในเมื่อเป็นอย่างนั้นคงดีกว่าที่เธอจะไม่ไป. การตัดสินใจของเธอทำให้เธอมีสติรู้สึกผิดชอบที่สะอาด.
12. บางคนอาจหาเหตุผลและตอบคำเชิญให้ไปร่วมงานแต่งงานที่โบสถ์อย่างไร?
ดานิเอล 3:15-18) เธอตัดสินใจจะไปกับสามีแต่จะไม่เข้าร่วมพิธีใด ๆ ทางศาสนา และเธอทำอย่างนั้นตามสติรู้สึกผิดชอบของเธอ. เธออธิบายกับสามีอย่างผ่อนหนักผ่อนเบาแต่ชัดเจนว่าสติรู้สึกผิดชอบของเธอจะยอมให้เธอทำอะไรและไม่ทำอะไร. วาณีหวังว่าสามีจะมองเห็นความแตกต่างระหว่างการนมัสการแท้กับการนมัสการเท็จ.—กิจการ 24:16.
12 วาณีเผชิญสถานการณ์ที่ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งที่แทบจะเหมือนกันกับสถานการณ์ของดวงพร. เธอนับถือสามี, ตั้งใจแน่วแน่จะรักษาตัวภักดีต่อพระเจ้า, และตอบสนองสติรู้สึกผิดชอบของเธอที่ได้รับการฝึกจากคัมภีร์ไบเบิล. หลังจากที่คิดพิจารณาแง่มุมต่าง ๆ ที่ดวงพรได้ใคร่ครวญ วาณีหาข้อมูลจากบทความ “คำถามจากผู้อ่าน” ในหอสังเกตการณ์ ฉบับ 15 พฤษภาคม 2002 พร้อมกับอธิษฐาน. เธอจำได้ว่าชายหนุ่มชาวฮีบรูสามคนยอมทำตามคำสั่งที่ให้ไปอยู่ในสถานที่ซึ่งจะมีการไหว้รูปเคารพ แต่กระนั้นพวกเขาก็รักษาความซื่อสัตย์มั่นคงได้โดยไม่เข้าร่วมในการก้มกราบรูปเคารพนั้น. (13. เหตุใดจึงไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องน่าตกใจที่คริสเตียนสองคนลงความเห็นต่างกัน?
13 ข้อเท็จจริงที่ว่าคริสเตียนสองคนอาจลงความเห็นต่างกันแนะให้เห็นไหมว่าใครจะทำอะไรก็ไม่เป็นไรหรือว่าคนหนึ่งในสองคนนี้คงต้องมีสติรู้สึกผิดชอบที่ฝึกมาไม่ดีพอ? ไม่ใช่เช่นนั้น. เนื่องจากในอดีตดวงพรเคยมีประสบการณ์ในเรื่องดนตรีและอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบพิธีต่าง ๆ ของคริสตจักร เธออาจรู้สึกว่าการไปร่วมงานจะเป็นอันตรายโดยตรงสำหรับเธอ. และการที่ในอดีตเธอเคยร่วมพิธีทางศาสนาด้วยกันกับสามีอาจมีผลกระทบต่อสติรู้สึกผิดชอบของเธอ. ดังนั้น เธอมั่นใจว่าการตัดสินใจอย่างนี้ดีที่สุดสำหรับเธอ.
14. คริสเตียนควรจำอะไรไว้เสมอเกี่ยวกับเรื่องการตัดสินใจเป็นส่วนตัว?
14 การตัดสินใจของวาณีเป็นการเลือกที่ไม่ฉลาดไหม? คนอื่นไม่ควรจะพูดเช่นนั้น. พวกเขาไม่ควรตัดสินหรือวิพากษ์วิจารณ์ที่เธอเลือกไปร่วมงานโดยที่ไม่ร่วมทำพิธีใด ๆ ทางศาสนา. ขอให้นึกถึงคำแนะนำของเปาโลในเรื่องการตัดสินใจเป็นส่วนตัวว่าจะกินหรือไม่กินอาหารบางอย่าง: “ผู้ที่กินอย่าดูถูกผู้ที่ไม่กิน และผู้ที่ไม่กินอย่าตัดสินผู้ที่กิน . . . เขาจะยืนมั่นหรือล้มลงก็ขึ้นอยู่กับนายของเขา. ที่จริง เขาจะยืนมั่นเพราะพระยะโฮวาทรงทำให้เขายืนมั่นได้.” (โรม 14:3, 4, ล.ม.) แน่นอน ไม่มีคริสเตียนแท้คนใดต้องการจะสนับสนุนคนอื่นให้เพิกเฉยต่อการชี้นำของสติรู้สึกผิดชอบที่ได้รับการฝึกแล้ว เพราะการทำอย่างนั้นคงเป็นเหมือนกับการไม่สนใจเสียงที่อาจเป็นคำเตือนที่ช่วยชีวิต.
15. เหตุใดควรคำนึงถึงสติรู้สึกผิดชอบและความรู้สึกของคนอื่น ๆ อย่างจริงจัง?
15 กลับมาดูฉากเหตุการณ์นี้กันต่อ คริสเตียนทั้งสองคนควรพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ผลกระทบที่มีต่อคนอื่น. เปาโลให้คำแนะนำเราว่า “จงตั้งใจว่า จะไม่ทำสิ่งใดให้โรม 14:13, ล.ม.) ดวงพรอาจรู้ว่าสถานการณ์คล้าย ๆ กันนี้ได้ทำให้พี่น้องในประชาคมหรือครอบครัวเธอไม่สบายใจอย่างมาก และสิ่งที่ทำอาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อลูก ๆ. ในอีกด้านหนึ่ง วาณีอาจตระหนักว่าการเลือกทำคล้าย ๆ กับที่เธอเลือกไม่เคยทำให้เกิดปัญหาในประชาคมหรือในท้องถิ่น. สตรีทั้งสองคนนี้—และเราทุกคน—ควรยอมรับว่าสติรู้สึกผิดชอบที่ได้รับการฝึกอย่างถูกต้องนั้นต้องไวในเรื่องผลกระทบที่มีต่อคนอื่น ๆ. พระเยซูตรัสว่า “ผู้ใดจะนำผู้เล็กน้อยเหล่านี้คนหนึ่งที่เชื่อในเราให้หลงผิด, ถ้าได้เอาหินโม่ก้อนใหญ่ผูกคอผู้นั้นถ่วงเสียที่ทะเลลึกก็ดีกว่า.” (มัดธาย 18:6) หากใครคนหนึ่งไม่สนใจว่าจะทำให้ผู้อื่นสะดุด สติรู้สึกผิดชอบของเขาอาจมีมลทิน เหมือนกับคริสเตียนบางคนที่เกาะครีต.
พี่น้องหลงผิดหรือก้าวพลาดไป.” (16. เราสามารถคาดหมายว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเช่นไรในตัวคริสเตียนคนใดคนหนึ่งเมื่อเวลาผ่านไป?
16 คริสเตียนควรมีความก้าวหน้าทางฝ่ายวิญญาณอยู่เรื่อย ๆ เช่นเดียวกับที่การฟังและการตอบสนองสติรู้สึกผิดชอบของเขาเองควรปรับให้ดีขึ้น. ให้เรานึกภาพกรณีของสมชาย ซึ่งรับบัพติสมาเมื่อไม่นานนี้. สติรู้สึกผิดชอบบอกเขาให้หลีกห่างจากกิจปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามหลักพระคัมภีร์ที่เขาเคยยุ่งเกี่ยว ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการไหว้รูปเคารพหรือเลือด. (กิจการ 21:25) ที่จริง ตอนนี้เขาระวังที่จะหลีกเลี่ยงแม้แต่สิ่งที่มีส่วนคล้ายแค่เพียงเล็กน้อยกับสิ่งที่พระเจ้าทรงห้าม. แต่ในอีกด้านหนึ่ง เขารู้สึกงงว่าทำไมบางคนปฏิเสธบางสิ่งที่เขาถือว่ารับได้ เช่น รายการโทรทัศน์บางรายการ.
17. จงยกตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าเวลาและความก้าวหน้าฝ่ายวิญญาณอาจมีผลต่อสติรู้สึกผิดชอบและการตัดสินใจของคริสเตียนคนหนึ่งอย่างไร.
17 เมื่อเวลาผ่านไป สมชายมีความรู้มากขึ้นและเข้าใกล้พระเจ้ามากขึ้น. (โกโลซาย 1:9, 10) พร้อมด้วยผลเช่นไร? เสียงที่อยู่ภายในเขาได้รับการฝึกอย่างมากมาย. ในเวลานี้ สมชายมีแนวโน้มมากขึ้นที่จะฟังสติรู้สึกผิดชอบของตนและพิจารณาหลักการของพระคัมภีร์อย่างรอบคอบ. อันที่จริง เขาตระหนักว่าบางสิ่งที่มีส่วนคล้ายแค่เพียงเล็กน้อยกับสิ่งที่พระเจ้าทรงห้ามซึ่งเขาหลีกเลี่ยงนั้นจริง ๆ แล้วไม่ใช่สิ่งที่ขัดกับความคิดของพระเจ้า. นอกจากนั้น เนื่องจากตอบรับหลักการในคัมภีร์ไบเบิลมากขึ้นและเต็มใจตอบสนองสติรู้สึกผิดชอบของตนที่ได้รับการฝึกมาอย่างดี ตอนนี้สมชายจึงถูกกระตุ้นโดยสติรู้สึกผิดชอบของเขาให้หลีกเลี่ยงรายการโทรทัศน์ที่ก่อนหน้านั้นเขารู้สึกว่ายอมรับได้. ใช่ สติรู้สึกผิดชอบของเขาได้รับการขัดเกลาให้ดีขึ้น.—บทเพลงสรรเสริญ 37:31.
18. เรามีเหตุผลอะไรที่จะยินดี?
18 ในประชาคมส่วนใหญ่ มีคริสเตียนที่มีความก้าวหน้าฝ่ายวิญญาณในทุกระดับขั้น. บางคนยังใหม่ในความเชื่อ. สติรู้สึกผิดชอบของเขาแทบจะไม่ส่งเสียงเตือนอะไรเลยในบางเรื่อง ทว่าในเรื่องอื่น ๆ เสียงจากภายในส่งเสียงเตือนอย่างชัดเจน. คนเช่นนั้นอาจต้องการเวลาและความช่วยเหลือที่จะปรับให้เข้ากับการชี้นำของพระยะโฮวาและตอบสนองสติรู้สึกผิดชอบของเขาเองที่ได้รับการฝึกฝน. (เอเฟโซส์ 4:14, 15) น่ายินดี ในประชาคมเดียวกันนี้ก็มักจะมีหลายคนที่มีความรู้ลึกซึ้งและมีประสบการณ์ในการใช้หลักการในคัมภีร์ไบเบิล และสติรู้สึกผิดชอบของเขาสอดคล้องกันอย่างดีกับความคิดของพระเจ้า. ช่างเป็นเรื่องน่ายินดีสักเพียงไรที่อยู่ในแวดวงของ “คนสะอาด” เช่นนั้นซึ่งตระหนักว่าสิ่งต่าง ๆ อันเป็นที่ยอมรับขององค์พระผู้เป็นเจ้านั้น “สะอาด” ทางศีลธรรมและฝ่ายวิญญาณ! (เอเฟโซ 5:10) ขอให้เราทุกคนมีเป้าหมายที่จะพัฒนาจนถึงจุดนั้นและรักษาไว้ซึ่งสติรู้สึกผิดชอบเช่นนั้นซึ่งสอดคล้องกับความรู้ถ่องแท้เกี่ยวกับความจริงและความเลื่อมใสพระเจ้า.—ติโต 1:1.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 8 หอสังเกตการณ์ ฉบับ 15 กันยายน 1983 หน้า 27-29 ให้ข้อสังเกตสำหรับการพิจารณาที่เกี่ยวข้องกับคู่สมรส.
คุณจะตอบอย่างไร?
• เหตุใดคริสเตียนบางคนที่เกาะครีตมีสติรู้สึกผิดชอบที่มีมลทิน?
• คริสเตียนสองคนที่มีสติรู้สึกผิดชอบซึ่งได้รับการฝึกอย่างดีอาจตัดสินใจต่างกันอย่างไร?
• เมื่อเวลาผ่านไป ควรเกิดอะไรขึ้นกับสติรู้สึกผิดชอบของเรา?
[คำถาม]
[แผนที่หน้า 26]
(รายละเอียดดูวารสาร)
ซิซิลี
กรีซ
ครีต
เอเชียน้อย
ไซปรัส
ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
[ภาพหน้า 28]
คริสเตียนสองคนที่เผชิญสถานการณ์คล้าย ๆ กันอาจตัดสินใจต่างกัน