การรับเอาความรู้เกี่ยวกับพระเจ้าโดยวิธีใด?
การรับเอาความรู้เกี่ยวกับพระเจ้าโดยวิธีใด?
บางคนอาจสงสัยว่าพระเจ้าสนพระทัยจริง ๆ ในการเปิดเผยพระองค์เองแก่มนุษย์หรือไม่. หากพระองค์สนพระทัย พระองค์ทรงเปิดเผยพระองค์อย่างไร?
จอห์น แคลวิน นักปฏิรูปโปรเตสแตนต์ในศตวรรษที่ 16 ได้สรุปไว้อย่างถูกต้องว่ามนุษย์ไม่สามารถรู้จักพระเจ้าได้ด้วยความพยายามของตัวเอง เว้นเสียแต่พระองค์ทรงเปิดเผยพระองค์เองแก่มนุษยชาติ. อย่างไรก็ดี บางคนอาจสงสัยว่าพระเจ้าสนพระทัยจริง ๆ ในการเปิดเผยพระองค์เองแก่มนุษย์หรือไม่. และถ้าพระองค์สนพระทัย พระองค์ทรงเปิดเผยพระองค์อย่างไร?
พระยะโฮวา “พระผู้สร้างองค์ยิ่งใหญ่” มีเหตุผลในทุกสิ่งที่พระองค์ทรงกระทำ. นอกจากนี้ ในฐานะ “พระเจ้าผู้ทรงฤทธิ์” พระองค์ทรงสามารถอย่างเต็มที่ในการทำให้พระประสงค์ของพระองค์บรรลุผลสำเร็จ. (ท่านผู้ประกาศ 12:1, ล.ม.; เอ็กโซโด 6:3) เราแน่ใจได้ว่าพระองค์ทรงเต็มพระทัยจะเปิดเผยพระประสงค์ของพระองค์แก่มนุษย์ เพราะอาโมศผู้พยากรณ์ของพระองค์ได้รับการดลใจให้เขียนว่า “พระยะโฮวาเจ้าองค์บรมมหิศรจะไม่ทรงทำสิ่งใด เว้นแต่พระองค์ได้ทรงเปิดเผยเรื่องซึ่งพระองค์ถือเป็นความลับแก่ผู้รับใช้ของพระองค์คือพวกผู้พยากรณ์.” แต่ขอสังเกต ข้อนี้กล่าวว่าพระเจ้าได้ทรงเปิดเผยพระประสงค์ของพระองค์เฉพาะแก่ผู้รับใช้ของพระองค์ แก่บรรดาผู้ที่รักพระองค์อย่างจริงใจเท่านั้น. นั่นเป็นไปตามเหตุผลมิใช่หรือ? คุณจะเปิดเผยเรื่องที่คุณถือเป็นความลับแก่ผู้ใด? แก่ใครก็ได้ไหม หรือว่าคุณจะเปิดเผยแก่เพื่อนสนิทที่สุดของคุณเท่านั้น?—อาโมศ 3:7, ล.ม.; ยะซายา 40:13, 25, 26.
สติปัญญาและความรู้ของพระเจ้าทำให้คนถ่อมใจเปี่ยมด้วยความรู้สึกเกรงขาม และนั่นนับว่าเหมาะสม. กระนั้น เพื่อเราจะได้รับประโยชน์เป็นส่วนตัวจากสติปัญญาและความรู้ของพระเจ้า การมีแค่ความรู้สึกเกรงขามยังไม่พอ. คัมภีร์ไบเบิลเน้นว่า เพื่อจะเรียนรู้พระดำริของพระเจ้า เราต้องมีหัวใจถ่อม: ‘รักษาบัญญัติของเราไว้กับเจ้า; ยอมที่จะตะแคงหูของเจ้าลงฟังพระปัญญา, และน้อมใจของเจ้าลงเพื่อความเข้าใจ; ร้องหาความรู้, และส่งเสียงของเจ้าวอนหาความเข้าใจ; เสาะหาพระปัญญาเหมือนหาเงิน.’—สุภาษิต 2:1-4.
คนถ่อมใจที่ทุ่มเทความพยายามแบบนี้จะสามารถมารู้จักพระเจ้าได้จริง ๆ. ข้อความตอนนั้นในสุภาษิตกล่าวต่อไปว่า “พระยะโฮวาพระราชทานปัญญาความรู้และความเข้าใจออกมาจากพระโอษฐ์ของพระองค์.” ใช่แล้ว ผู้ที่แสวงหาความจริงอย่างจริงใจสามารถ “เข้าใจความชอบธรรมความยุติธรรม, และสิทธิธรรม, เออ, ทุก ๆ วิถีทาง.”—สุภาษิต 2:6-9.
การแสวงหาความจริง
สารานุกรมเกี่ยวกับศาสนา กล่าวว่า “สิ่งที่เป็นลักษณะเด่นในชีวิตมนุษย์คือความจำเป็นที่จะแยกออกระหว่างสิ่งที่จริงกับสิ่งที่ไม่จริง, สิ่งที่มีอำนาจกับสิ่งที่ไร้อำนาจ, สิ่งที่แท้จริงกับสิ่งที่หลอกลวง, สิ่งที่บริสุทธิ์กับสิ่งที่แปดเปื้อน, สิ่งที่ชัดเจนกับสิ่งที่สับสน, รวมทั้งที่จะแยกแยะเรื่องต่าง ๆ ที่คลุมเครือทางด้านจรรยา.” เพื่อสนองความจำเป็นดังกล่าว ผู้คนได้แสวงหาความจริงมานานแล้ว. ตราบใดที่พวกเขามุ่งแสวงหาพระยะโฮวาซึ่งผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญเรียกพระองค์ว่า “พระเจ้าแห่งความสัตย์จริง” พวกเขาก็ได้ก้าวบทเพลงสรรเสริญ 31:5.
หน้าไปในการพบความจริงตราบนั้น.—พระนามยะโฮวามีความหมายตามตัวอักษรว่า “พระองค์ทรงบันดาลให้เป็น.” (เยเนซิศ 2:4, ล.ม. เชิงอรรถ) ด้วยเหตุนี้ ความหมายแห่งพระนามของพระเจ้านั่นเองทำให้เรามุ่งความสนใจไปที่ตำแหน่งพระผู้สร้างและพระประสงค์ของพระองค์. ที่จริงแล้ว การรู้จักและการใช้พระนามยะโฮวาเป็นเครื่องหมายสำคัญของศาสนาแท้. พระเยซูทรงยอมรับอย่างชัดแจ้งในข้อเท็จจริงนี้. พระเยซูได้ทูลพระเจ้าในคำอธิษฐานเกี่ยวกับเหล่าสาวกของพระองค์ว่า “ข้าพเจ้าได้กระทำให้เขารู้จักพระนามของพระองค์, และยังจะกระทำให้เขารู้อีก เพื่อความรักซึ่งพระองค์ได้ทรงรักข้าพเจ้าจะอยู่ในเขา และข้าพเจ้าจะอยู่ในเขา.”—โยฮัน 17:26.
โดยอาศัยมิตรภาพที่เขามีกับพระเจ้า ชาวฮีบรูโบราณคนหนึ่งชื่อโยเซฟ เมื่อเผชิญกับภารกิจในการเปิดเผยความหมายของความฝัน ได้กล่าวด้วยความมั่นใจว่า “อันจะแก้ฝัน [“การตีความ,” ล.ม.] นั้นเป็นการของพระเจ้ามิใช่หรือ?”—เยเนซิศ 40:8; 41:15, 16.
หลายศตวรรษต่อมา กษัตริย์นะบูคัดเนซัรแห่งบาบิโลนได้ทรงพระสุบินซึ่งเหล่านักปราชญ์ของท่านไม่สามารถตีความได้. ผู้พยากรณ์ดานิเอลได้ทูลกษัตริย์ว่า “มีพระเจ้าองค์หนึ่งสถิตในสวรรค์ซึ่งทรงเป็นผู้เปิดเผยความลับ และพระองค์ได้ทรงแจ้งให้ราชานะบูคัดเนซัรทราบถึงสิ่งซึ่งจะเกิดขึ้นในตอนปลายแห่งสมัย.”—ดานิเอล 2:28, ล.ม.
ตัวอย่างของโยเซฟและดานิเอลแสดงว่าสติปัญญาและความรู้ของพระเจ้ามีไว้พร้อมเฉพาะแต่สำหรับคนที่รับใช้พระยะโฮวาพระเจ้าเท่านั้น. แน่นอน การที่เราจะได้รับความพอพระทัยจากพระเจ้าอาจเรียกร้องให้ละทิ้งทัศนะที่เราเคยยึดถือแต่ก่อน. ชาวยิวในศตวรรษแรกซึ่งเข้ามาเป็นคริสเตียนต้องทำเช่นนั้นทีเดียว. เนื่องจากได้รับการอบรมเลี้ยงดูให้นับถือและเชื่อฟังกฎหมายต่าง ๆ ที่ตั้งขึ้นภายใต้ระบบยิว จึงต้องใช้เวลาที่พวกเขาจะยอมรับพระเยซูฐานะพระมาซีฮา. พระองค์เสด็จมาเพื่อทำให้พระบัญญัติของโมเซ ซึ่งใช้เป็น “เงาของสิ่งดีที่จะมาภายหน้า” นั้นสำเร็จ. (เฮ็บราย 10:1; มัดธาย 5:17; ลูกา 24:44, 45) มีการนำ “พระบัญญัติของพระคริสต์” เข้ามาแทน ซึ่งเหนือกว่าพระบัญญัติของโมเซมากนัก.—ฆะลาเตีย 6:2; โรม 13:10; ยาโกโบ 2:8.
เราทุกคนล้วนเกิดมาในโลกที่เหินห่างจากพระเจ้า. เนื่องจากบาปที่สืบทอดมาจากมนุษย์คู่แรก เราจึงเกิดมาเป็นศัตรูกับพระเจ้า ขาดความรู้ถ่องแท้เกี่ยวกับพระประสงค์ของพระองค์. เรายังได้รับหัวใจทรยศเป็นมรดกด้วย. (ยิระมะยา 17:9; เอเฟโซ 2:12; 4:18; โกโลซาย 1:21) เพื่อจะมีมิตรภาพกับพระเจ้า เราต้องหัดที่จะคิดตามแบบพระเจ้า. การทำเช่นนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย.
อาจเป็นเรื่องยากที่จะละทิ้งแนวคิดทางศาสนาหรือกิจปฏิบัติที่ผิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเราได้รับการสอนเรื่องดังกล่าวมาตั้งแต่วัยเด็ก. แต่ฉลาดไหมที่จะดำเนินต่อไปใน
แนวทางที่ผิด? ไม่เลยทีเดียว! เป็นการฉลาดกว่าอย่างแน่นอนที่จะเปลี่ยนแนวการคิดของคนเราและโดยวิธีนี้จึงได้รับความพอพระทัยจากพระเจ้า.การระบุช่องทางแห่งคำแนะนำของพระเจ้า
เราจะพบความช่วยเหลือในการเข้าใจพระคำแห่งความจริงได้จากที่ไหนเพื่อจะดำเนินชีวิตตามพระคำนั้น? ในอิสราเอลโบราณ พระเจ้าได้ทรงตั้งบุคคลที่ไว้ใจได้และภักดีให้อยู่ในตำแหน่งที่มีความรับผิดชอบในการนำชาตินั้น. พระคริสต์ ประมุขของประชาคมคริสเตียนในทุกวันนี้ชี้นำคนเหล่านั้นที่แสวงหาความจริงอย่างจริงใจเช่นกัน. พระองค์ทรงทำเช่นนั้นผ่านทางเหล่าสาวกของพระองค์ที่วางใจได้และภักดี ผู้ซึ่งประกอบกันเป็นช่องทางที่รับผิดชอบในการชี้นำและปกป้องผู้ที่แสวงหาความจริงอย่างจริงจัง. (มัดธาย 24:45-47; โกโลซาย 1:18) แต่คนเราจะระบุช่องทางแห่งคำแนะนำของพระเจ้าได้อย่างไร?
สาวกแท้ของพระเยซูคริสต์พยายามจะสะท้อนคุณลักษณะอย่างเดียวกับที่พระเยซูทรงสำแดงขณะเป็นมนุษย์. ในโลกที่ชั่วมากขึ้นทุกที เป็นเรื่องง่ายที่จะระบุตัวสาวกเหล่านี้ขณะที่พวกเขาแสดงคุณลักษณะที่เลื่อมใสพระเจ้าดังกล่าวอย่างที่ไม่มีใดเหมือน. (โปรดดูกรอบในหน้า 6.) มีการสะท้อนให้เห็นคุณลักษณะเหล่านี้ในศาสนาที่คุณได้เข้าร่วมไหมหรือในศาสนาของเพื่อนบ้านคุณ? คงจะคุ้มค่าที่จะตรวจสอบเรื่องนี้โดยอาศัยคัมภีร์ไบเบิลเป็นหลัก.
เราขอเชิญผู้อ่านของเราให้ทำเช่นนี้โดยการศึกษาคัมภีร์ไบเบิล. ปีที่ผ่านไป เฉลี่ยแล้ว มีมากกว่า 6,000,000 คนใน 235 ดินแดนได้รับประโยชน์จากการจัดเตรียมนี้โดยศึกษาคัมภีร์ไบเบิลกับพยานพระยะโฮวา. การได้รับสติปัญญาและความรู้เกี่ยวกับพระเจ้าเป็นกิจกรรมที่ดำเนินอย่างต่อเนื่อง, น่าพอใจ, และให้ผลตอบแทน. เชิญศึกษาคัมภีร์ไบเบิลเพื่อจะได้รับสติปัญญาและความรู้เกี่ยวกับพระเจ้า. คุณจะไม่มีวันเสียใจเลยที่ได้ทำเช่นนี้. ใช่แล้ว เราสามารถ รู้จักพระเจ้าได้จริง ๆ!
[กรอบหน้า 6]
คนที่ปฏิบัติประสานลงรอยกับพระเจ้าต้อง . . .
รักษาความเป็นกลางในความขัดแย้งทางการเมือง.—ยะซายา 2:4.
เกิดผลดีโดยทำตามพระทัยประสงค์ของพระเจ้า.—มัดธาย 7:13-23.
แสดงความรักแท้ในระหว่างพวกเขาเอง.—โยฮัน 13:35; 1 โยฮัน 4:20.
พูดอย่างสอดคล้องลงรอยกันทุกหนแห่ง.—มีคา 2:12.
ไม่เลียนแบบเจตคติและความประพฤติที่ผิดของผู้คนในโลกรอบตัวเขา.—โยฮัน 17:16.
เป็นพยานถึงความจริงและทำให้คนเป็นสาวก.—มัดธาย 24:14; 28:19, 20.
ประชุมกันเป็นประจำเพื่อหนุนใจกันและกัน.—เฮ็บราย 10:25.
สรรเสริญพระเจ้าเป็นกลุ่มที่ประกอบด้วยชนนานาชาติ.—วิวรณ์ 7:9, 10.
[ภาพหน้า 7]
ได้รับความรู้เกี่ยวกับพระเจ้าเป็นรายบุคคล, เป็นครอบครัว, และทั้งประชาคม