กล้าหาญโดยอาศัยความเชื่อและความเกรงกลัวพระเจ้า
กล้าหาญโดยอาศัยความเชื่อและความเกรงกลัวพระเจ้า
“จงเข้มแข็งและกล้าหาญเถิด . . . พระเยโฮวาห์พระเจ้าของเจ้าทรงสถิตกับเจ้า.”—ยะโฮซูอะ 1:9, ฉบับแปลใหม่.
1, 2. (ก) จากมุมมองของมนุษย์ โอกาสที่ชาติอิสราเอลจะชนะชาวคะนาอันมีมากน้อยขนาดไหน? (ข) ยะโฮซูอะได้รับคำรับรองเช่นไร?
ในปี 1473 ก่อนสากลศักราช ชาติอิสราเอลเตรียมพร้อมจะเข้าสู่แผ่นดินที่ทรงสัญญา. โมเซกล่าวเตือนใจประชาชนเกี่ยวกับความยากลำบากที่รออยู่ข้างหน้า ดังนี้: “ในวันนี้เจ้าทั้งหลายจะข้ามแม่น้ำยาระเด็น, เข้าไปขับไล่ชาวประเทศที่ใหญ่ และมีอำนาจมากกว่าเจ้าและเมืองใหญ่ซึ่งมีกำแพงสูงเทียมฟ้า, ชาวประเทศนั้นใหญ่สูงและมีกำลังมากเป็นลูกหลานพวกอะนาค, ที่เจ้าทั้งหลายได้ยินเขาว่า, ใครจะต่อสู้พวกอะนาคได้?” (พระบัญญัติ 9:1-3) ใช่แล้ว นักรบร่างยักษ์เหล่านี้เป็นที่เล่าขานกันไปทั่ว! นอกจากนั้น ชาวคะนาอันบางพวกมีกองทัพที่มีอาวุธยุทโธปกรณ์พร้อมสรรพ ทั้งม้าและรถม้าซึ่งติดใบมีดเหล็กที่ล้อ.—วินิจฉัย 4:13.
2 ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งนั้น ชาติอิสราเอลเคยเป็นทาสและอยู่ในถิ่นทุรกันดารมาเพิ่งจะครบ 40 ปี. ด้วยเหตุนั้น จากมุมมองของมนุษย์ โอกาสที่พวกเขาจะชนะนั้นดูจะเลือนลาง. กระนั้น โมเซมีความเชื่อ; ท่านสามารถ “เห็น” ว่าพระยะโฮวากำลังนำพวกเขาอยู่. (เฮ็บราย 11:27) โมเซบอกประชาชนว่า “พระยะโฮวาพระเจ้าของเจ้าพระองค์เป็นผู้ที่ข้ามไปข้างหน้าเจ้าทั้งหลาย . . . พระองค์จะทำลายเขาเสีย, และจะให้เขาทั้งหลายล้มลงต่อหน้าเจ้า.” (พระบัญญัติ 9:3; บทเพลงสรรเสริญ 33:16, 17) หลังจากโมเซสิ้นชีวิต พระยะโฮวาทรงรับรองกับยะโฮซูอะว่าพระองค์จะหนุนหลังพวกเขา โดยตรัสดังนี้: “เจ้าจงยกข้ามแม่น้ำยาระเดนนี้, กับพลไพร่ทั้งปวงเหล่านี้, ไปยังแผ่นดินซึ่งเรายกให้แก่เขา, คือแก่พวกยิศราเอล. จะไม่มีผู้ใดอาจยืนต่อสู้กับเจ้าจนสิ้นชีวิตของเจ้า. เราได้อยู่กับโมเซฉันใด เราจะอยู่กับเจ้าฉันนั้น.”—ยะโฮซูอะ 1:2, 5.
3. อะไรช่วยให้ยะโฮซูอะมีความเชื่อและความกล้าหาญ?
3 เพื่อจะได้รับการสนับสนุนและการชี้นำจากพระยะโฮวา ยะโฮซูอะต้องอ่านและคิดรำพึงกฎหมายของพระเจ้าและดำเนินชีวิตสอดคล้องกับกฎหมายนั้น. พระยะโฮวาตรัสว่า “แล้วเจ้าจะมีความจำเริญและเจ้าจะสำเร็จผลเป็นอย่างดี เราสั่งเจ้าไว้แล้วมิใช่หรือว่าจงเข้มแข็งและกล้าหาญเถิด อย่าตกใจหรือคร้ามกลัวเลย เพราะว่าเจ้าไปในถิ่นฐานใดพระเยโฮวาห์พระเจ้าของเจ้าทรงสถิตกับเจ้า.” (ยะโฮซูอะ 1:8, 9, ฉบับแปลใหม่) เนื่องจากยะโฮซูอะฟังพระเจ้า ท่านจึงกล้าหาญ, เข้มแข็ง, และประสบความสำเร็จในชีวิต. ทว่า ผู้คนส่วนใหญ่ในชั่วอายุเดียวกันไม่ยอมฟัง. ผลก็คือ พวกเขาไม่ประสบความสำเร็จและตายเสียในถิ่นทุรกันดาร.
ประชาชนที่ไม่มีความเชื่อและขาดความกล้าหาญ
4, 5. (ก) เจตคติของผู้สอดแนมสิบคนเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับเจตคติของยะโฮซูอะและคาเลบ? (ข) พระยะโฮวาทรงมีปฏิกิริยาเช่นไรต่อการขาดความเชื่อของประชาชนเหล่านี้?
4 สี่สิบปีก่อนหน้านั้นเมื่อชาติอิสราเอลมาถึงชายแดนของคะนาอันเป็นครั้งแรก โมเซส่ง 12 คนไปสำรวจและประเมินสถานการณ์. สิบคนกลับมาด้วยความกลัว. พวกเขาโอดครวญว่า “ชาวเมือง [“ทั้งสิ้น,” ล.ม.] ที่เราเห็นนั้นเป็นคนรูปร่างโตใหญ่นัก. ที่นั่นเราได้เห็นพวกลูกหลานอะนาคที่เป็นคนมีรูปร่างโตใหญ่ [“พวกเนฟิลิมและลูกหลานของพวกอะนาคซึ่งสืบเชื้อสายจากพวกเนฟิลิม,” ล.ม.]; พวกเราเปรียบกับเขาดูเหมือนตั๊กแตน.” ‘ชาวเมืองทั้งสิ้น’—ไม่เฉพาะพวกอะนาคเท่านั้น—มีรูปร่างสูงใหญ่ไปหมดไหม? ไม่ใช่อย่างนั้นแน่. พวกอะนาคเป็นลูกหลานของพวกเนฟิลิมที่อยู่ก่อนน้ำท่วมโลกไหม? แน่นอนว่าไม่ใช่! ถึงกระนั้น เพราะการพูดเกินจริงดังกล่าวความกลัวจึงแพร่สะพัดไปทั่วค่าย. ประชาชนถึงกับต้องการกลับไปยังอียิปต์ ดินแดนที่พวกเขาเคยเป็นทาส!—อาฤธโม 13:31–14:4.
5 อย่างไรก็ตาม ผู้สอดแนมสองคนคือยะโฮซูอะกับคาเลบแสดงความกระตือรือร้นในการเข้าสู่แผ่นดินที่ทรงสัญญา. ทั้งสองกล่าวว่า “เขาทั้งหลายเป็นอาหารของเรา, แลร่มฤทธิ์ของเขาก็สูญไปแล้ว, พระยะโฮวาก็อยู่ฝ่ายเราอย่าอาฤธโม 14:9) ยะโฮซูอะและคาเลบมองในแง่ดีอย่างไม่มีเหตุผลไหม? ไม่ใช่อย่างนั้นแน่นอน! พร้อม ๆ กันกับคนทั้งหมดในชาติ ท่านทั้งสองได้เห็นพระยะโฮวาทรงทำให้อียิปต์ที่เกรียงไกรและพระทั้งหลายของชาตินี้เสื่อมเสียเกียรติภูมิด้วยภัยพิบัติสิบประการ. จากนั้น ท่านทั้งสองเห็นพระยะโฮวาจัดการฟาโรห์กับกองทัพให้จมในทะเลแดง. (บทเพลงสรรเสริญ 136:15) เห็นได้ชัด ไม่มีเหตุผลเลยที่ผู้สอดแนมสิบคนและประชาชนที่ถูกพวกเขาโน้มนำควรจะกลัว. พระยะโฮวาตรัสแสดงความเจ็บปวดพระทัยอย่างยิ่งว่า “เขาทั้งหลายจะไม่เชื่อฟังคำของเรา, เพราะบรรดาการสำคัญที่เราได้สำแดงท่ามกลางเขาทั้งหลายนานไปเท่าใด?”—อาฤธโม 14:11.
กลัวเขาเลย.” (6. ความกล้าหาญเกี่ยวพันกับความเชื่ออย่างไร และเราเห็นเรื่องนี้อย่างไรในสมัยปัจจุบัน?
6 พระยะโฮวาทรงเจาะลึกลงไปถึงรากของปัญหา กล่าวคือทัศนคติที่ขลาดกลัวของประชาชนเผยให้เห็นถึงการขาดความเชื่อของพวกเขา. ใช่แล้ว ความเชื่อและความกล้าหาญเกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิด ถึงขนาดที่อัครสาวกโยฮันสามารถเขียนเกี่ยวกับประชาคมคริสเตียนและสวัสดิภาพฝ่ายวิญญาณของประชาคมว่า “นี่แหละเป็นความชนะซึ่งได้มีชัยแก่โลก, คือความเชื่อของเราทั้งหลาย.” (1 โยฮัน 5:4) ปัจจุบัน ความเชื่อเช่นเดียวกับที่ยะโฮซูอะและคาเลบมียังผลให้มีการประกาศข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรไปทั่วโลก โดยพยานพระยะโฮวาหกล้านกว่าคน ทั้งที่ยังหนุ่มและที่แก่แล้ว ทั้งที่แข็งแรงและที่อ่อนแอ. ไม่มีศัตรูคนไหนจะสามารถทำให้กองทัพผู้ประกาศที่ทรงพลังและกล้าหาญนี้เงียบเสียง.—โรม 8:31.
อย่า “ถอยกลับ”
7. การ “ถอยกลับ” หมายถึงอะไร?
7 ผู้รับใช้พระยะโฮวาในปัจจุบันประกาศข่าวดีอย่างกล้าหาญเพราะพวกเขามีจิตใจแบบเดียวกับอัครสาวกเปาโล ซึ่งได้เขียนไว้ว่า “เราไม่ใช่คนที่จะถอยกลับสู่ความพินาศ แต่เป็นคนที่มีความเชื่อซึ่งจะรักษาชีวิตไว้.” (เฮ็บราย 10:39, ล.ม.) การ “ถอยกลับ” ดังที่เปาโลกล่าวถึงนี้ไม่ได้หมายถึงเพียงแค่การเกิดความกลัวขึ้นชั่วครู่ชั่วยาม เพราะผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์ของพระเจ้าหลายคนเกิดความกลัวขึ้นมาในบางครั้ง. (1 ซามูเอล 21:12; 1 กษัตริย์ 19:1-4) แทนที่จะเป็นอย่างนั้น พจนานุกรมคัมภีร์ไบเบิลเล่มหนึ่งอธิบายว่าคำนี้หมายถึง “ถดถอย, ถอนกลับ, หย่อนยานในการยึดความจริงเอาไว้.” พจนานุกรมเล่มเดียวกันนี้ยังเสริมอีกว่า การ “ถอยกลับ” อาจเป็นการใช้อุปมาอุปไมย เทียบการรับใช้พระเจ้าที่ถดถอยว่าเหมือนกับ “การลดใบเรือซึ่งทำให้เรือแล่นช้าลง.” แน่นอน คนที่มีความเชื่อเข้มแข็งไม่คิดจะ “แล่นช้าลง” เมื่อเกิดความยุ่งยากลำบากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการข่มเหง, สุขภาพไม่ดี, หรือการทดลองอื่น ๆ. แทนที่จะเป็นอย่างนั้น พวกเขารุดหน้าต่อไปในการรับใช้พระยะโฮวา โดยตระหนักว่าพระองค์ทรงใฝ่พระทัยในพวกเขาอย่างลึกซึ้งและทรงทราบข้อจำกัดของพวกเขา. (บทเพลงสรรเสริญ 55:22; 103:14) คุณมีความเชื่อแบบนั้นไหม?
8, 9. (ก) พระยะโฮวาทรงเสริมความเชื่อแก่คริสเตียนในยุคแรกโดยวิธีใด? (ข) เราสามารถทำอะไรได้เพื่อเสริมความเชื่อของเรา?
8 ครั้งหนึ่ง เหล่าอัครสาวกรู้สึกตัวว่าขาดความเชื่อ ดังลูกา 17:5) คำขออันจริงใจนี้ได้รับคำตอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันเพนเทคอสต์ ส.ศ. 33 เมื่อได้มีการเทพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่ทรงสัญญาไว้ลงบนเหล่าสาวก และทำให้พวกเขาเข้าใจลึกซึ้งยิ่งขึ้นในพระคำและพระประสงค์ของพระเจ้า. (โยฮัน 14:26; กิจการ 2:1-4) โดยที่ได้รับการเสริมความเชื่อ เหล่าสาวกเริ่มต้นการรณรงค์ประกาศซึ่งทำให้ข่าวดีไปถึง “มนุษย์ทุกคนที่อยู่ใต้ฟ้า” แม้ประสบการต่อต้านขัดขวาง.—โกโลซาย 1:23; กิจการ 1:8; 28:22.
นั้นพวกเขาพูดกับพระเยซูว่า “ขอพระองค์โปรดให้ความเชื่อของพวกข้าพเจ้ามากยิ่งขึ้น.” (9 เพื่อจะเสริมความเชื่อและรุดหน้าต่อไปในงานรับใช้ เราก็เช่นกันต้องศึกษาและคิดรำพึงข้อพระคัมภีร์ที่อ่านและอธิษฐานขอพระวิญญาณบริสุทธิ์. เฉพาะแต่โดยประทับความจริงของพระเจ้าลงในจิตใจและหัวใจ—เช่นเดียวกับที่ยะโฮซูอะ, คาเลบ, และสาวกคริสเตียนในยุคแรกได้ทำ—เราจึงจะมีความเชื่อที่ทำให้เรามีความกล้าหาญที่จำเป็นเพื่ออดทนในการต่อสู้ฝ่ายวิญญาณและได้ชัยชนะ.—โรม 10:17.
เพียงแค่เชื่อว่ามีพระเจ้าไม่พอ
10. ความเชื่อแท้หมายรวมถึงอะไรบ้าง?
10 ดังที่ผู้รักษาความซื่อสัตย์มั่นคงในกาลโบราณแสดงให้เห็น ความเชื่อที่นำพาให้กล้าหาญและอดทนหมายรวมมากกว่าเพียงแค่เชื่อว่ามีพระเจ้า. (ยาโกโบ 2:19) เพื่อจะมีความเชื่อเช่นนั้นเราต้องมารู้จักพระยะโฮวาในฐานะที่ทรงเป็นบุคคลและต้องเชื่อมั่นเต็มเปี่ยมในพระองค์. (บทเพลงสรรเสริญ 78:5-8; สุภาษิต 3:5, 6) นั่นหมายถึงการเชื่ออย่างสุดหัวใจว่าการทำตามกฎหมายและหลักการของพระเจ้าเป็นประโยชน์ที่สุดสำหรับเรา. (ยะซายา 48:17, 18) นอกจากนี้ ความเชื่อยังเกี่ยวข้องกับการมีความมั่นใจเต็มเปี่ยมว่าพระยะโฮวาจะทรงทำตามคำสัญญาทุกอย่างให้สำเร็จและเป็น “ผู้ประทานบำเหน็จให้แก่ทุกคนที่ปลงใจแสวงหาพระองค์.”—เฮ็บราย 11:1, 6; ยะซายา 55:11.
11. ยะโฮซูอะกับคาเลบได้รับการอวยพรอย่างไรสำหรับความเชื่อและความกล้าหาญของตน?
11 ความเชื่อเช่นนั้นไม่หยุดนิ่ง. ความเชื่อเช่นนั้นเติบโตขึ้นเมื่อเราใช้ความจริงในการดำเนินชีวิต, “ชิม” ผลประโยชน์ต่าง ๆ, “เห็น” คำตอบสำหรับคำอธิษฐานของเรา, และในวิธีอื่น ๆ รู้สึกถึงการชี้นำของพระยะโฮวาในชีวิตเรา. (บทเพลงสรรเสริญ 34:8, ฉบับแปลใหม่; 1 โยฮัน 5:14, 15) เราแน่ใจได้เลยว่าความเชื่อของยะโฮซูอะกับคาเลบนั้นคงต้องเข้มแข็งยิ่งขึ้นขณะที่ท่านทั้งสองสัมผัสรับรู้ถึงความดีของพระเจ้า. (ยะโฮซูอะ 23:14) ขอให้พิจารณาจุดสังเกตดังต่อไปนี้: ทั้งสองรอดชีวิตผ่านการเดินทางเร่ร่อนในถิ่นทุรกันดาร 40 ปี ดังที่พระเจ้าได้ทรงสัญญาไว้กับพวกเขา. (อาฤธโม 14:27-30; 32:11, 12) ทั้งสองมีบทบาทอย่างมากในช่วงหกปีที่พิชิตคะนาอัน. ประการสุดท้าย ท่านทั้งสองมีชีวิตยืนยาวและสุขภาพดี และได้รับแม้กระทั่งที่ดินและเมืองเป็นของตนเอง. พระยะโฮวาประทานรางวัลอย่างบริบูรณ์จริง ๆ แก่คนที่รับใช้พระองค์อย่างซื่อสัตย์และกล้าหาญ!—ยะโฮซูอะ 14:6, 9-14; 19:49, 50; 24:29.
12. พระยะโฮวา ‘ทรงเชิดชูคำตรัสของพระองค์’ อย่างไร?
บทเพลงสรรเสริญ 138:2, ฉบับแปลใหม่) เมื่อพระยะโฮวาทรงใช้พระนามของพระองค์รับประกันคำสัญญาอะไร ความสำเร็จของคำสัญญานั้นก็ถูก “เชิดชู” ในแง่ที่ว่าคำสัญญานั้นสำเร็จอย่างที่เกินความคาดหมายใด ๆ ทั้งสิ้น. (เอเฟโซ 3:20) ใช่แล้ว พระยะโฮวาไม่เคยทำให้คนที่ “ปีติยินดี” ในพระองค์ต้องผิดหวัง.—บทเพลงสรรเสริญ 37:3, 4, ฉบับแปลใหม่.
12 ความกรุณารักใคร่ของพระเจ้าที่มีต่อยะโฮซูอะกับคาเลบทำให้นึกถึงถ้อยคำของผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญที่ว่า “พระองค์ทรงเชิดชูพระนามและพระวจนะของพระองค์เหนือสารพัด.” (ชายผู้ที่ “ทำให้พระเจ้าพอพระทัย”
13, 14. เหตุใดฮะโนคจำเป็นต้องมีความเชื่อและความกล้าหาญ?
13 เราสามารถเรียนได้มากเกี่ยวกับความเชื่อและความกล้าหาญโดยพิจารณาตัวอย่างที่พยานก่อนยุคคริสเตียนอีกคนหนึ่งได้วางไว้ คือฮะโนค. แม้แต่ก่อนท่านเริ่มกล่าวพยากรณ์ ฮะโนคคงทราบอยู่แล้วว่าความเชื่อและความกล้าหาญของท่านจะถูกทดสอบ. เป็นเช่นนั้นอย่างไร? เพราะพระยะโฮวาได้ตรัสไว้ในสวนเอเดนว่าจะมีความเป็นศัตรูหรือความเกลียดชังกันระหว่างคนที่รับใช้พระเจ้ากับคนที่รับใช้พญามารซาตาน. (เยเนซิศ 3:15) ฮะโนคทราบด้วยว่าความเกลียดชังนี้ได้ปะทุขึ้นในช่วงต้นประวัติศาสตร์มนุษย์เมื่อคายินฆ่าเฮเบลผู้เป็นน้องชาย. ที่จริง บิดาของเขา คืออาดาม มีชีวิตอยู่เกือบ 310 ปีหลังจากที่ฮะโนคเกิด.—เยเนซิศ 5:3-18.
14 แต่แม้ว่าทราบข้อเท็จจริงอย่างนั้น ฮะโนค “ดำเนินกับพระเจ้า” อย่างกล้าหาญ และตำหนิ ‘คำพูดอันน่าตกตะลึง’ ที่ผู้คนพูดถึงพระยะโฮวา. (เยเนซิศ 5:22; ยูดา 14, 15, ล.ม.) การยืนหยัดโดยปราศจากความกลัวเพื่อการนมัสการแท้เช่นนี้ดูเหมือนว่าทำให้ฮะโนคมีศัตรูมากมาย และชีวิตท่านตกอยู่ในอันตราย. ในกรณีนี้ พระยะโฮวาทรงช่วยผู้พยากรณ์ของพระองค์ไว้เพื่อจะไม่ต้องประสบกับความตายอันเจ็บปวด. หลังจากเปิดเผยต่อฮะโนคว่า “ท่านทำให้พระเจ้าพอพระทัย” พระยะโฮวา “ทรงเปลี่ยนแปลง” ท่านจากสภาพมีชีวิตไปสู่ความตาย ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นระหว่างที่ท่านตกอยู่ในภวังค์เหมือนเห็นนิมิตเชิงพยากรณ์.—เฮ็บราย 11:5, 13, ล.ม.; เยเนซิศ 5:24.
15. ฮะโนควางตัวอย่างที่ดีเช่นไรสำหรับผู้รับใช้พระยะโฮวาในปัจจุบัน?
15 ทันทีหลังจากกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับฮะโนค เปาโลเน้นอีกครั้งถึงความสำคัญของความเชื่อโดยกล่าวว่า “แต่ถ้าไม่มีความเชื่อแล้ว, จะเป็นที่ชอบพระทัยพระเจ้าก็หามิได้.” (เฮ็บราย 11:6) ใช่แล้ว การมีความเชื่อทำให้ฮะโนคมีความกล้าที่จะดำเนินกับพระยะโฮวาและประกาศข่าวสารการพิพากษาของพระองค์ต่อโลกอธรรม. ในเรื่องนี้ ฮะโนควางตัวอย่างที่ดีไว้ให้เรา. เรามีงานคล้าย ๆ กันที่ต้องทำในโลกที่ต่อต้านการนมัสการแท้และเต็มไปด้วยความชั่วร้ายทุกรูปแบบ.—บทเพลงสรรเสริญ 92:7; มัดธาย 24:14; วิวรณ์ 12:17.
ความกล้าหาญเกิดมาจากความเกรงกลัวพระเจ้า
16, 17. โอบัดยาเป็นใคร และท่านพบว่าตัวเองตกอยู่ในสถานการณ์เช่นไร?
16 นอกจากความเชื่อแล้ว ยังมีคุณลักษณะอีกอย่างหนึ่งที่ส่งเสริมให้กล้าหาญ นั่นก็คือความเคารพยำเกรงพระเจ้า. ให้เราพิจารณาตัวอย่างที่โดดเด่นของชายผู้เกรงกลัวพระเจ้าที่มีชีวิตในสมัยผู้พยากรณ์เอลียาและกษัตริย์อาฮาบ ซึ่งปกครองอาณาจักรอิสราเอลที่อยู่ทางเหนือ. ระหว่างการปกครองของอาฮาบ การนมัสการบาละแพร่ระบาดไปทั่วอาณาจักรทางเหนืออย่างที่ไม่เคยมีมากถึงขนาดนี้. ที่จริง ผู้พยากรณ์ 450 คนที่นมัสการบาละและผู้พยากรณ์ 400 คนที่นมัสการเสาศักดิ์สิทธิ์1 กษัตริย์ 16:30-33; 18:19.
“กินอาหารจากโต๊ะของพระนางอีซาเบ็ล” มเหสีของอาฮาบ.—17 อีซาเบ็ล ซึ่งเป็นศัตรูผู้เหี้ยมโหดของพระยะโฮวา พยายามกำจัดการนมัสการแท้ให้หมดไปจากแผ่นดิน. พระนางสังหารผู้พยากรณ์บางคนของพระยะโฮวาและถึงกับพยายามฆ่าเอลียาซึ่งหลุดรอดไปได้โดยได้รับการชี้นำจากพระเจ้าให้หนีข้ามแม่น้ำจอร์แดนไป. (1 กษัตริย์ 17:1-3; 18:13) คุณนึกภาพออกไหมว่าการยึดมั่นอยู่กับการนมัสการบริสุทธิ์ในอาณาจักรทางเหนือสมัยนั้นยากลำบากขนาดไหน? แย่ยิ่งกว่านั้นเข้าไปอีก จะเป็นอย่างไรหากคุณทำงานอยู่ในพระราชวังนั้นเอง? นั่นเป็นสถานการณ์ที่โอบัดยาผู้เกรงกลัวพระเจ้า * ซึ่งเป็นอธิบดีกรมวังของอาฮาบ ต้องประสบด้วยตัวเอง.—1 กษัตริย์ 18:3.
18. อะไรทำให้โอบัดยาโดดเด่นเป็นพิเศษในฐานะผู้นมัสการพระยะโฮวา?
18 ไม่ต้องสงสัยเลยว่า โอบัดยาคงต้องคอยระแวดระวัง และยังต้องใช้ความสุขุมด้วยในการนมัสการพระยะโฮวา. ถึงกระนั้น เขาไม่ได้ประนีประนอม. ที่จริง 1 กษัตริย์ 18:3 บอกเราว่า “โอบัดยานั้นเกรงกลัว พระยะโฮวามาก.” ใช่แล้ว ความเกรงกลัวพระเจ้าของโอบัดยานั้นไม่ธรรมดาเลย! ความเกรงกลัวนี้ส่งผลให้เขามีความกล้าหาญอย่างโดดเด่น เพราะเขาแสดงให้เห็นเช่นนั้นในทันทีหลังจากอีซาเบ็ลสังหารเหล่าผู้พยากรณ์ของพระยะโฮวา.
19. โอบัดยาทำอะไรซึ่งแสดงให้เห็นถึงความกล้าหาญ?
19 เราอ่านดังนี้: “เมื่อพระนางอีซาเบ็ลได้ฆ่าผู้พยากรณ์แห่งพระยะโฮวา, โอบัดยาได้นำผู้พยากรณ์ร้อยคน, ไปซ่อนไว้พวกละห้าสิบคนในถ้ำ, เลี้ยงเขาไว้ด้วยขนมปังและน้ำ.” (1 กษัตริย์ 18:4) ดังที่คุณคงนึกภาพออก การเลี้ยงอาหารคนนับร้อยอย่างลับ ๆ เป็นงานที่อันตรายอย่างยิ่ง. ไม่เพียงโอบัดยาต้องคอยหลบหลีกไม่ให้ถูกอาฮาบและอีซาเบ็ลจับได้ แต่เขายังต้องคอยหลบเลี่ยงไม่ให้ถูกแกะรอยโดยพวกผู้พยากรณ์เท็จ 850 คนซึ่งได้มาที่พระราชวังอยู่เป็นประจำ. นอกจากนั้น ไม่ต้องสงสัยเลยว่าผู้นมัสการเท็จคนอื่น ๆ อีกหลายคนในแผ่นดิน ไล่ตั้งแต่บ่าวไพร่ไปจนถึงพวกเจ้าชาย คงพร้อมจะฉวยโอกาสที่จะได้รับความดีความชอบจากกษัตริย์และราชินีด้วยการเปิดโปงโอบัดยา. ถึงกระนั้น โอบัดยาดูแลความจำเป็นของผู้พยากรณ์ของพระยะโฮวาอย่างกล้าหาญ ต่อหน้าต่อตาของพวกผู้บูชารูปเคารพนั้นเอง. ความเกรงกลัวพระเจ้าช่างมีพลังที่ทำให้กล้าหาญได้มากสักเพียงไร!
20. ความเกรงกลัวพระเจ้าของโอบัดยาช่วยเขาอย่างไร และตัวอย่างของเขาช่วยคุณอย่างไร?
20 เนื่องจากโอบัดยาแสดงความกล้าหาญซึ่งเกิดจากความเกรงกลัวพระเจ้า จึงดูเหมือนว่าพระยะโฮวาทรงปกป้องเขาไว้จากเหล่าศัตรู. สุภาษิต 29:25 (ล.ม.) กล่าวว่า “การกลัวมนุษย์เป็นบ่วงแร้ว แต่ผู้ที่วางใจพระยะโฮวาจะได้รับการคุ้มครอง.” โอบัดยาไม่ใช่ยอดมนุษย์; เขาก็กลัวจะถูกจับและถูกฆ่า เช่นเดียวกับเราเหมือนกัน. (1 กษัตริย์ 18:7-9, 12) ถึงกระนั้น ความเกรงกลัวที่เขามีต่อพระเจ้าทำให้เขามีความกล้าที่เหนือกว่าความกลัวใด ๆ ที่เขาอาจมีต่อมนุษย์. โอบัดยาเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับเราทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่นมัสการพระยะโฮวาในสภาพที่เสี่ยงต่อการสูญเสียเสรีภาพหรือแม้แต่ชีวิต. (มัดธาย 24:9) ใช่แล้ว ขอให้เราทุกคนพยายามรับใช้พระยะโฮวา “ด้วยความเกรงกลัวและเกรงขามพระองค์.”—เฮ็บราย 12:28, ล.ม.
21. จะมีการพิจารณาอะไรในบทความถัดไป?
21 ไม่ได้มีเพียงความเชื่อและความเกรงกลัวพระเจ้าเท่านั้นที่ช่วยสร้างเสริมความกล้าหาญ; ความรักสามารถเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นเสียอีก. เปาโลเขียนว่า “พระเจ้าไม่ได้ประทานน้ำใจขลาดกลัว แต่น้ำใจที่มีพลัง มีความรักและมีสุขภาพจิตดีแก่เรา.” (2 ติโมเธียว 1:7, ล.ม.) ในบทความถัดไป เราจะเห็นวิธีที่ความรักสามารถช่วยเราให้รับใช้พระยะโฮวาอย่างกล้าหาญในสมัยสุดท้ายอันวิกฤตินี้.—2 ติโมเธียว 3:1.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 17 คนละคนกับผู้พยากรณ์โอบัดยา.
คุณตอบได้ไหม?
• อะไรช่วยเสริมความกล้าหาญให้แก่ยะโฮซูอะและคาเลบ?
• ความเชื่อแท้หมายรวมถึงอะไรบ้าง?
• เหตุใดฮะโนคไม่กลัวที่จะประกาศข่าวสารการพิพากษาของพระเจ้า?
• ความเกรงกลัวพระเจ้าช่วยเสริมความกล้าหาญอย่างไร?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 16, 17]
พระยะโฮวาทรงบัญชายะโฮซูอะว่า “จงเข้มแข็งและกล้าหาญเถิด”
[ภาพหน้า 18]
โอบัดยาดูแลและปกป้องผู้พยากรณ์ของพระเจ้า
[ภาพหน้า 19]
ฮะโนคกล่าวพระคำของพระเจ้าอย่างกล้าหาญ