คำพยากรณ์ของโฮเซอาช่วยเราให้ดำเนินกับพระเจ้า
คำพยากรณ์ของโฮเซอาช่วยเราให้ดำเนินกับพระเจ้า
“เขาจะติดตามพระยะโฮวา.”—โฮเซอา 11:10.
1. ในพระธรรมโฮเซอามีละครอะไรที่มีความหมายเป็นนัย?
คุณชอบละครที่เล่นโดยนักแสดงที่น่าสนใจและมีเรื่องราวที่ชวนติดตามไหม? พระธรรมโฮเซอามีเรื่องราวที่เป็นละครซึ่งมีความหมายเป็นนัย. * ละครนั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นในครอบครัวโฮเซอาผู้พยากรณ์ของพระเจ้า และเกี่ยวข้องกับการสมรสโดยนัยซึ่งพระยะโฮวาทำกับชาติอิสราเอลโบราณโดยทางพระบัญญัติของโมเซ.
2. เรารู้อะไรเกี่ยวกับโฮเซอา?
2 เราจะพบภูมิหลังของละครดังกล่าวในบทแรกของพระธรรมโฮเซอา. ดูเหมือนว่าโฮเซอาอาศัยอยู่ในเขตแดนของอาณาจักรอิสราเอลสิบตระกูล (ถูกระบุชื่อว่าเอฟรายิมด้วย ตามชื่อตระกูลเด่นในอาณาจักร). ท่านพยากรณ์ในช่วงรัชกาลของกษัตริย์เจ็ดองค์สุดท้ายของอาณาจักรอิสราเอล ซึ่งตรงกับช่วงรัชกาลของกษัตริย์อุซียา, โยธาม, อาฮาศ, และฮิศคียาแห่งอาณาจักรยูดาห์. (โฮเซอา 1:1) ดังนั้น โฮเซอาจึงกล่าวพยากรณ์อย่างน้อย 59 ปี. แม้ว่าพระธรรมที่มีชื่อตามชื่อของท่านเขียนเสร็จหลังจากปี 745 ก่อนสากลศักราชไม่นาน แต่พระธรรมนี้ยังมีความหมายสำหรับทุกวันนี้ที่หลายล้านคนกำลังติดตามแนวทางชีวิตดังที่มีพยากรณ์ไว้ล่วงหน้าด้วยถ้อยคำที่ว่า “เขาจะติดตามพระยะโฮวา.”—โฮเซอา 11:10.
การพิจารณาอย่างย่อ ๆ บอกอะไร?
3, 4. จงอธิบายเนื้อหาของโฮเซอาห้าบทแรกพอสังเขป.
3 การพิจารณาพระธรรมโฮเซอาห้าบทแรกอย่างคร่าว ๆ จะเสริมความตั้งใจของเราที่จะดำเนินกับพระเจ้าโดยการแสดงความเชื่อและติดตามแนวทางที่สอดคล้องกับพระทัยประสงค์ของพระองค์. ถึงแม้ว่าผู้คนในอาณาจักรอิสราเอลกลายเป็นผู้มีความผิดฐานเล่นชู้ในความหมายทางฝ่ายวิญญาณ แต่พระเจ้าจะทรงเมตตาพวกเขาถ้าพวกเขากลับใจ. มีการแสดงให้เห็นเรื่องนี้โดยวิธีที่โฮเซอาปฏิบัติต่อโฆเมร ภรรยาของท่าน. หลังจากให้กำเนิดบุตรคนหนึ่งแก่โฮเซอา ดูเหมือนว่านางมีบุตรนอกสายสมรสอีกสองคน. กระนั้น โฮเซอารับนางกลับคืนมา เช่นเดียวกับที่พระยะโฮวาเต็มพระทัยแสดงความเมตตาต่อชาวอิสราเอลที่กลับใจ.—โฮเซอา 1:1–3:5.
4 พระยะโฮวามีคดีความกับอาณาจักรอิสราเอล เพราะว่าไม่มีความจริง, ความกรุณารักใคร่, และความรู้ของพระเจ้าในแผ่นดินนั้น. พระองค์จะลงอาชญาอาณาจักรอิสราเอลที่ไหว้รูปเคารพและอาณาจักรยูดาห์ที่ไม่เชื่อฟัง. อย่างไรก็ตาม เมื่อประชาชนของพระเจ้า “ทุกข์ร้อน” พวกเขาก็จะแสวงหาพระยะโฮวา.—โฮเซอา 4:1–5:15, ฉบับแปลใหม่.
ละครเปิดฉากออกมา
5, 6. (ก) การล่วงประเวณีแพร่หลายเพียงใดในอาณาจักรอิสราเอลสิบตระกูล? (ข) เหตุใดคำเตือนที่ให้แก่อาณาจักรอิสราเอลโบราณจึงมีความหมายสำหรับเราด้วย?
5 พระเจ้าตรัสสั่งโฮเซอาว่า “จงไปเถิด จงรับเอาภรรยาที่ผิดประเวณีและบุตรแห่งการผิดประเวณีมาเป็นของตน เพราะว่าเนื่องด้วยการผิดประเวณีแผ่นดินจึงหันไปจากการติดตามพระยะโฮวาอย่างแท้จริง.” (โฮเซอา 1:2, ล.ม.) มีการล่วงประเวณีมากแค่ไหนในอาณาจักรอิสราเอล? คัมภีร์ไบเบิลบอกเราว่า “นิสัยของการเล่นชู้ได้พาเขา [ประชาชน ในอาณาจักรอิสราเอลสิบตระกูล] ให้หลงไป, และเขาได้ละพระเจ้าของเขาไปส้องเสพกับพระเท็จ. . . . ลูกสาวของเจ้าก็เลยเป็นหญิงมากชาย, และลูกสะใภ้ของเจ้าก็เป็นคนล่วงประเวณี. . . . ผู้ชายเองก็ส้องเสพกับหญิงชั่ว, และทำการสักการบูชาร่วมกับหญิงมากชายในโบสถ์.”—โฮเซอา 4:12-14.
6 มีการล่วงประเวณีอย่างแพร่หลายในอิสราเอลทั้งในทางกายและในแง่ฝ่ายวิญญาณ. ด้วยเหตุนี้ พระยะโฮวาจะลง “อาชญา” ชาวอิสราเอล. (โฮเซอา 1:4; 4:9) คำเตือนนี้มีความสำคัญสำหรับเราเนื่องจากว่าพระยะโฮวาจะลงโทษทุกคนที่กระทำผิดศีลธรรมทางเพศและเข้าร่วมในการนมัสการที่แปดเปื้อนมลทินในสมัยปัจจุบัน. แต่คนที่ดำเนินกับพระเจ้าบรรลุมาตรฐานของพระองค์ในเรื่องการนมัสการอันบริสุทธิ์ และตระหนักว่า “คนล่วงประเวณี . . . จะได้แผ่นดินของพระคริสต์และพระเจ้าเป็นมฤดกก็หามิได้.”—เอเฟโซ 5:5; ยาโกโบ 1:27.
7. การสมรสของโฮเซอากับนางโฆเมรเป็นภาพเปรียบเทียบถึงอะไร?
7 ตอนที่โฮเซอาสมรสกับโฆเมรนั้น ดูเหมือนว่านางเป็นพรหมจารี และเป็นภรรยาที่ซื่อสัตย์ในช่วงเวลาที่ “คลอดบุตร” คนแรกให้ท่าน. (โฮเซอา 1:3) ดังที่ละครซึ่งมีความหมายเป็นนัยได้แสดงภาพให้เห็น ไม่นานหลังจากที่พระเจ้าได้ปลดปล่อยชาวอิสราเอลเป็นอิสระจากแอกของอียิปต์ในปี 1513 ก่อน ส.ศ. พระเจ้าทำสัญญาคล้าย ๆ กันนั้นกับพวกเขา ซึ่งเป็นเหมือนการทำสัญญาสมรสที่บริสุทธิ์สะอาด. โดยการเห็นพ้องกับข้อสัญญานั้น ชาติอิสราเอลสัญญาว่าจะซื่อสัตย์ต่อ “สามี” ของพวกเขา คือพระยะโฮวา. (ยะซายา 54:5) ใช่แล้ว การสมรสของโฆเมรหญิงพรหมจารีกับโฮเซอานี้ให้ภาพเปรียบถึงการสมรสโดยนัยของชาติอิสราเอลกับพระเจ้านั่นเอง. แต่สิ่งต่าง ๆ เปลี่ยนไปสักเพียงไร!
8. อาณาจักรอิสราเอลสิบตระกูลเกิดขึ้นมาอย่างไร และคุณอาจกล่าวเช่นไรได้เกี่ยวกับการนมัสการในอาณาจักรนี้?
8 ภรรยาโฮเซอา “ตั้งครรภ์ขึ้นอีก และคลอดบุตรเป็นหญิง.” บุตรีคนนี้และบุตรอีกคนหนึ่งในเวลาต่อมาดูเหมือนเป็นการตั้งครรภ์จากการที่นางโฆเมรเล่นชู้. (โฮเซอา 1:6, 8) เนื่องจากนางโฆเมรเป็นภาพแสดงถึงชาติอิสราเอล คุณอาจถามว่า ‘อาณาจักรอิสราเอลกลายเป็นหญิงสำส่อนได้อย่างไร?’ ในปี 997 ก่อน ส.ศ. สิบตระกูลของอิสราเอลแยกตัวจากตระกูลยูดาห์และเบนยามินที่อยู่ทางใต้. มีการตั้งรูปโคขึ้นนมัสการในอาณาจักรอิสราเอลสิบตระกูลทางเหนือเพื่อประชาชนจะไม่กลับไปยูดาห์เพื่อนมัสการพระยะโฮวาที่พระวิหารในกรุงเยรูซาเลม. การนมัสการพระเท็จบาละ พร้อมทั้งงานเลี้ยงซึ่งมีการปล่อยตัวทางเพศอย่างสุดเหวี่ยง ได้ฝังรากลึกในอาณาจักรอิสราเอล.
9. ดังที่บอกไว้ล่วงหน้าที่โฮเซอา 1:6 เกิดอะไรขึ้นกับอาณาจักรอิสราเอล?
9 ตอนที่นางโฆเมรคลอดลูกคนที่สองซึ่งน่าจะเป็นลูกนอกสายสมรส พระเจ้าบอกโฮเซอาว่า “จงตั้งชื่อบุตรสาวของเจ้าว่าโลรูฮามาห์ [มีความหมายว่า “เธอมิได้รับความเมตตา”] ด้วยว่าเราจะไม่แสดงความเมตตาแก่เรือนอิสราเอลอีก เพราะเราจะเอาพวกเขาไปแน่.” (โฮเซอา 1:6, ล.ม.) พระยะโฮวาทรง “เอาพวกเขาไป” เมื่ออัสซีเรียได้มากวาดชาวอิสราเอลไปเป็นเชลยในปี 740 ก่อน ส.ศ. อย่างไรก็ตาม พระเจ้าทรงแสดงความเมตตาต่ออาณาจักรยูดาห์สองตระกูล และช่วยให้พวกเขารอดพ้น แต่ไม่ใช่โดยใช้ธนู, ดาบ, การสู้รบ, ม้า, หรือทหารม้า. (โฮเซอา 1:7) ชั่วเวลาคืนเดียวในปี 732 ก่อน ส.ศ. ทูตสวรรค์เพียงองค์เดียวสังหารทหารอัสซีเรีย 185,000 คนที่มาคุกคามเยรูซาเลม ราชธานีของอาณาจักรยูดาห์.—2 กษัตริย์ 19:35.
พระยะโฮวามีคดีความกับอิสราเอล
10. การเล่นชู้ของโฆเมรเป็นภาพเปรียบเทียบแสดงถึงอะไร?
10 นางโฆเมรทิ้งโฮเซอาไป และกลายเป็น ‘หญิงผู้นอกใจสามี’ ไปอยู่กินกับชายอื่น. นี่เป็นภาพเปรียบเทียบแสดงให้เห็นวิธีที่อาณาจักรอิสราเอลเข้าไปเป็นพันธมิตรทางการโฮเซอา 1:2; 2:2, 12, 13.
เมืองกับชาติต่าง ๆ ที่บูชารูปเคารพและเริ่มพึ่งอาศัยพวกเขา. แทนที่จะยกย่องพระยะโฮวาว่าเป็นผู้ทำให้พวกเขาเจริญรุ่งเรือง ชาวอิสราเอลกลับยกย่องบรรดาพระเจ้าของชาติต่าง ๆ ดังกล่าวสำหรับสิ่งเหล่านั้น และละเมิดคำสัญญาการสมรสกับพระเจ้าโดยเข้าร่วมในการนมัสการเท็จ. ไม่น่าประหลาดใจที่พระยะโฮวามีคดีความกับชาติที่เล่นชู้ทางฝ่ายวิญญาณ!—11. เกิดอะไรขึ้นกับสัญญาไมตรีแห่งพระบัญญัติเมื่อพระยะโฮวายอมให้ชาวอิสราเอลและชาวยูดาห์ตกไปเป็นเชลย?
11 อาณาจักรอิสราเอลได้รับโทษเช่นไรจากการทิ้งผู้เป็นเจ้าของซึ่งเป็นดุจสามีของพวกเขาไป? พระเจ้าทำให้ชาตินี้ “เข้าไปในถิ่นทุรกันดาร” อันได้แก่บาบิโลน ชาติที่ชนะอัสซีเรีย ซึ่งชาวอิสราเอลถูกกวาดไปเป็นเชลยที่นั่นในปี 740 ก่อน ส.ศ. (โฮเซอา 2:14, ฉบับแปลใหม่) ฉะนั้น เมื่อพระยะโฮวาทำให้อาณาจักรสิบตระกูลสิ้นสุดลง พระองค์ไม่ได้ยกเลิกสัญญาการสมรสที่ทำกับชาติอิสราเอลดั้งเดิมที่มี 12 ตระกูล. ที่จริง เมื่อพระเจ้าทรงปล่อยให้บาบิโลนทำลายกรุงเยรูซาเลมในปี 607 ก่อน ส.ศ. และยอมให้ชาวยูดาห์ถูกกวาดไปเป็นเชลยนั้น พระองค์ไม่ได้ยกเลิกสัญญาไมตรีแห่งพระบัญญัติที่โมเซเป็นผู้กลาง ซึ่งอิสราเอล 12 ตระกูลได้เข้าสู่การสมรสโดยนัยกับพระองค์โดยทางสัญญาไมตรีนี้. ความสัมพันธ์ในลักษณะดังกล่าวสิ้นสุดลงหลังจากที่บรรดาผู้นำชาวยิวปฏิเสธพระเยซูคริสต์ และประหารพระองค์ในปี ส.ศ. 33.—โกโลซาย 2:14.
พระยะโฮวาเตือนอิสราเอล
12, 13. เนื้อหาสำคัญของโฮเซอา 2:6-8 คืออะไร และถ้อยคำเหล่านั้นสำเร็จเป็นจริงอย่างไรกับอาณาจักรอิสราเอล?
12 พระเจ้าเตือนอิสราเอล ‘ให้ทิ้งการเล่นชู้เสีย’ แต่พวกเขาต้องการติดตามบรรดาชู้รักไป. (โฮเซอา 2:2, 5, ฉบับแปลใหม่) พระยะโฮวาตรัสว่า “เพราะเหตุนั้นนี่แน่ะ, เราจะเอาหนามสะทางของเขา, และจะก่อกำแพงกั้นเพื่อเขาจะหาทางไม่พบ. เขาจะติดตามชู้แต่จะตามไม่ทัน, และจะแสวงหาแต่จะไม่พบ; แล้วเขาก็จะกล่าวว่า, ‘ฉันจะกลับไปหาสามีเดิม, เพราะในกาลครั้งก่อนนั้น ฉันยังมีฐานะดีกว่าในกาลครั้งนี้อีก’ ด้วยว่าเขามิได้รู้ว่าเราเป็นผู้ประทานให้เขามีข้าว, น้ำองุ่น, และน้ำมัน, และได้ให้เงินและทองของเขาทวีขึ้นซึ่งเขากลับเอาไปใช้สำหรับบูชาพระบาละนั้น.”—โฮเซอา 2:6-8.
13 แม้อิสราเอลแสวงหาความช่วยเหลือจากชาติต่าง ๆ ที่เป็น “ชู้” ของพวกเขา แต่ก็ไม่มีชู้คนใดสามารถช่วยได้. พวกเขาประหนึ่งถูกล้อมด้วยพงไม้หนาทึบ ชู้จึงไม่สามารถให้ความช่วยเหลือได้. หลังจากถูกอัสซีเรียล้อมอยู่สามปี ซะมาเรียนครหลวงของพวกเขาก็แตกในปี 740 ก่อน ส.ศ. และอาณาจักรอิสราเอลสิบตระกูลก็ไม่รับการสถาปนาขึ้นอีกเลย. มีเพียงบางคนในหมู่เชลยชาวอิสราเอลที่คงได้สำนึกว่าสภาพการณ์ในชีวิตของพวกเขาดีกว่ามากเมื่อครั้งที่บรรพบุรุษของพวกเขานมัสการพระยะโฮวา. พวกที่เหลืออยู่เหล่านี้จะปฏิเสธการบูชาพระบาละ และปรารถนาที่จะมีสัมพันธภาพกับพระยะโฮวาผ่านทางสัญญาไมตรีอีก.
ฟื้นฟูความสัมพันธ์
14. เป็นไปได้อย่างไรที่โฮเซอากลับมามีความสัมพันธ์ฉันสามีภรรยากับนางโฆเมรอีก?
14 เพื่อจะเข้าใจมากขึ้นถึงความเกี่ยวข้องกันระหว่างสายสมรสของโฮเซอากับความสัมพันธ์ที่อิสราเอลมีกับพระยะโฮวา ขอพิจารณาถ้อยคำต่อไปนี้: “พระยะโฮวาตรัสแก่ข้าพเจ้าว่า, ‘จงไปสมานรักกับหญิงที่นอกใจสามีและมักมากในการล่วงประเวณีอีก.’ ” (โฮเซอา 3:1) โฮเซอายอมทำตามพระบัญชานี้ด้วยการซื้อโฆเมรคืนจากชายที่เธอได้ไป อยู่กินด้วย. จากนั้น โฮเซอาตักเตือนภรรยาของตนอย่างหนักแน่นว่า “เธอจะต้องรอฉันหลายวัน, เธออย่าได้เล่นชู้เลย, และเธออย่ายอมเป็นภรรยาของผู้ใดเลย.” (โฮเซอา 3:2, 3) โฆเมรยอมรับคำตักเตือน และโฮเซอามีความสัมพันธ์ฉันสามีภรรยากับเธออีก. ฉากเหตุการณ์นี้ให้ภาพแสดงถึงวิธีที่พระเจ้าปฏิบัติกับชาวอิสราเอลและชาวยูดาห์อย่างไร?
15, 16. (ก) ชาติที่ถูกตีสอนจากพระเจ้าได้รับความเมตตาจากพระองค์ขณะอยู่ในสภาพการณ์เช่นไร? (ข) โฮเซอา 2:18 สำเร็จเป็นจริงอย่างไร?
15 ขณะเมื่อชาวอิสราเอลและยูดาห์เป็นเชลยอยู่ที่บาบิโลน พระเจ้าใช้ผู้พยากรณ์ของพระองค์ไป “พูดปลอบใจ” พวกเขา. เพื่อจะได้รับความเมตตาจากพระเจ้า ประชาชนของพระองค์ต้องสำแดงการกลับใจและกลับไปหาผู้เปรียบประดุจสามีของพวกเขา เช่นเดียวกับที่นางโฆเมรได้กลับไปหาสามีของตน. แล้วพระยะโฮวาจะพาชาติที่เป็นดุจภรรยาซึ่งถูกตีสอนนี้ออกจาก “ถิ่นทุรกันดาร” อันได้แก่บาบิโลน และพานางกลับคืนสู่แผ่นดินยูดาห์และกรุงเยรูซาเลม. (โฮเซอา 2:14, 15, ฉบับแปลใหม่) พระองค์ทำตามคำสัญญาดังกล่าวในปี 537 ก่อน ส.ศ.
16 พระเจ้าทรงทำให้สัญญาต่อไปนี้สำเร็จที่ว่า “ในครั้งนั้นเพื่อเขาเราจะกระทำพันธสัญญากับบรรดาสัตว์ป่าทุ่ง บรรดานกในอากาศ และบรรดาสัตว์เลื้อยคลานบนแผ่นดิน เราจะทำลายคันธนูดาบและสงครามเสียจากแผ่นดินและเราจะกระทำให้เขานอนลงอย่างปลอดภัย.” (โฮเซอา 2:18, ฉบับแปลใหม่) ชาวยิวที่เหลืออยู่ซึ่งได้กลับคืนสู่มาตุภูมิของตนอาศัยอยู่อย่างปลอดภัย ไม่ต้องกลัวอันตรายจากสัตว์ต่าง ๆ. คำพยากรณ์นี้สำเร็จเป็นจริงเช่นเดียวกันในปี ส.ศ. 1919 เมื่อชนที่เหลือแห่งอิสราเอลฝ่ายวิญญาณออกมาจาก “บาบิโลนใหญ่” จักรวรรดิโลกแห่งศาสนาเท็จ. บัดนี้พวกเขาอาศัยอยู่อย่างปลอดภัยในอุทยานฝ่ายวิญญาณร่วมกับสหายของพวกเขา ผู้มีความหวังจะมีชีวิตตลอดไปบนแผ่นดินโลก. ลักษณะนิสัยที่ดุร้ายเยี่ยงสัตว์ไม่มีอยู่ในท่ามกลางคริสเตียนแท้เหล่านี้.—วิวรณ์ 14:8, ล.ม.; ยะซายา 11:6-9; ฆะลาเตีย 6:16.
จงใส่ใจบทเรียนนี้
17-19. (ก) คุณลักษณะอะไรของพระเจ้าที่เราได้รับการกระตุ้นให้เลียนแบบในที่นี้? (ข) ความเมตตาสงสารของพระยะโฮวาน่าจะส่งผลกระทบเช่นไรต่อเรา?
17 พระเจ้าทรงเมตตากรุณา และเราควรเป็นคนแบบนั้นด้วย. นี่เป็นบทเรียนหนึ่งที่ได้จากบทต้น ๆ ของพระธรรมโฮเซอา. (โฮเซอา 1:6, 7; 2:23) ความเต็มพระทัยของพระเจ้าในการสำแดงความเมตตาต่อชาวอิสราเอลที่กลับใจนั้นสอดคล้องกับสุภาษิตที่มีขึ้นโดยการดลใจที่ว่า “คนที่ปกปิดความบาปของตัวไว้จะไม่เจริญ; แต่คนที่รับสารภาพและละทิ้งการผิดของตนเสียจะประสบความเมตตา.” (สุภาษิต 28:13) ผู้กระทำผิดที่กลับใจได้รับการชูใจเช่นกันจากถ้อยคำของผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญที่ว่า “เครื่องบูชาที่สมควรแก่พระเจ้าคือจิตต์วิญญาณที่ชอกช้ำแล้ว: ข้าแต่พระเจ้า, ใจแตกและฟกช้ำแล้วนั้นพระองค์ไม่ดูถูกดูหมิ่นเลย.”—บทเพลงสรรเสริญ 51:17.
18 คำพยากรณ์ของโฮเซอาเน้นความเมตตาสงสารของบทเพลงสรรเสริญ 78:38-41) ความเมตตาเช่นนั้นน่าจะกระตุ้นเราให้ดำเนินต่อ ๆ ไปกับพระยะโฮวา พระเจ้าผู้ทรงเมตตากรุณา.
พระเจ้าผู้ที่เรานมัสการ. ถึงแม้บางคนหลงไปจากแนวทางอันชอบธรรม พวกเขาก็สามารถสำนึกผิดกลับใจและหันกลับจากแนวทางผิดนั้น. หากพวกเขาทำอย่างนั้น พระยะโฮวาก็จะยินดีต้อนรับพวกเขา. พระองค์สำแดงความเมตตาต่อสมาชิกที่กลับใจของชาติอิสราเอล ซึ่งเป็นชาติที่พระองค์ได้สมรสโดยนัยด้วย. แม้พวกเขาไม่เชื่อฟังพระยะโฮวาและ ‘ได้ขัดพระทัยพระองค์ผู้บริสุทธิ์ของพวกยิศราเอล, พระองค์ทรงพระกรุณา, ทรงระลึกอยู่ว่าพวกเขาเป็นแต่มนุษย์.’ (19 ถึงแม้บาปต่าง ๆ เช่น การฆ่ากัน, การลักขโมย, และการเล่นชู้มีอยู่ทั่วไปในอิสราเอล พระยะโฮวาก็ทรง “พูดปลอบโยนใจของเขา.” (โฮเซอา 2:14; 4:2) การใคร่ครวญถึงความเมตตาสงสารของพระองค์น่าจะกระตุ้นใจเราและทำให้เราผูกพันใกล้ชิดกับพระยะโฮวามากยิ่งขึ้น. ดังนั้น ให้เราถามตัวเองว่า ‘ฉันจะเลียนแบบความเมตตาสงสารของพระยะโฮวาให้ดียิ่งขึ้นได้อย่างไรในการติดต่อสัมพันธ์กับคนอื่น? หากพี่น้องคริสเตียนที่ทำให้ฉันขุ่นเคืองมาขอโทษฉัน ฉันพร้อมจะให้อภัยเขาเช่นเดียวกับพระเจ้าพร้อมจะให้อภัยไหม?’—บทเพลงสรรเสริญ 86:5.
20. จงยกตัวอย่างที่แสดงว่าเราควรมั่นใจในความหวังที่พระเจ้าประทานให้.
20 พระเจ้าประทานความหวังที่มั่นใจได้. ตัวอย่างเช่น พระองค์สัญญาว่า ‘เราจะให้ที่ราบอาโคระเป็นประตูแห่งความหวังแก่นาง.’ (โฮเซอา 2:15) องค์การของพระยะโฮวาครั้งโบราณซึ่งเป็นดุจภรรยาของพระองค์มีความหวังที่มั่นใจได้ในเรื่องการได้กลับคืนสู่มาตุภูมิ ซึ่งมี ‘ที่ราบอาโคระ’ ตั้งอยู่. การที่คำสัญญาดังกล่าวสำเร็จเป็นจริงในปี 537 ก่อน ส.ศ. ทำให้เรามีเหตุผลหนักแน่นที่จะปีติยินดีในความหวังที่แน่นอนซึ่งพระยะโฮวาตั้งไว้ต่อหน้าเรา.
21. ความรู้มีบทบาทอะไรในการที่เราดำเนินกับพระเจ้า?
21 เพื่อจะดำเนินกับพระเจ้าเรื่อยไป เราต้องรับเอาความรู้เกี่ยวกับพระองค์และนำความรู้นั้นไปใช้ในชีวิตของเราต่อ ๆ ไป. ความรู้ของพระยะโฮวาแทบไม่มีในอิสราเอล. (โฮเซอา 4:1, 6) กระนั้น ยังมีบางคนที่ถือว่าคำสอนจากพระเจ้ามีค่ามาก, ประพฤติสอดคล้องกับคำสอนนั้น, และได้รับพระพรมากมาย. โฮเซอาเป็นคนหนึ่งในจำนวนนั้น. ที่เป็นเช่นนั้นด้วยก็คือ 7,000 คนซึ่งอยู่ในสมัยเอลียาที่ไม่ได้คุกเข่าลงต่อบาละ. (1 กษัตริย์ 19:18; โรม 11:1-4) ความรู้สึกขอบคุณที่เรามีต่อคำสอนจากพระเจ้าจะช่วยเราให้ดำเนินกับพระเจ้าเรื่อยไป.—บทเพลงสรรเสริญ 119:66; ยะซายา 30:20, 21.
22. เราควรมีทัศนะเช่นไรต่อการออกหาก?
22 พระยะโฮวาคาดหมายให้ผู้ที่นำหน้าประชาชนของพระองค์ปฏิเสธการออกหาก. อย่างไรก็ตาม โฮเซอา 5:1 กล่าวว่า “ดูก่อนเจ้าพวกปุโรหิตจงฟังไว้, ดูก่อนเจ้าพวกยิศราเอลจงเงี่ยหูฟัง, และดูก่อนเชื้อวงศ์ของกษัตริย์จงสดับฟัง, เพราะเจ้าทั้งหลายจะต้องมีโทษ; ด้วยว่าเจ้าทั้งหลายได้เป็นดุจบ่วงแร้วที่ตำบลมิศพา, และดุจข่ายที่ดักไว้ที่ภูเขาธาโบน์ [ทาโบร์].” ผู้นำที่ออกหากเป็นบ่วงแร้วและข่ายดักชาวอิสราเอล ชักนำคนเหล่านั้นเข้าสู่การบูชารูปเคารพ. เป็นไปได้ว่าภูเขาทาโบร์และตำบลมิศพาเป็นศูนย์กลางของการนมัสการเท็จดังกล่าว.
23. คุณได้ประโยชน์อย่างไรจากการศึกษาพระธรรมโฮเซอาห้าบทแรก?
23 เท่าที่พิจารณากันมา คำพยากรณ์ของโฮเซอาเผยให้เห็นว่าพระยะโฮวาเป็นพระเจ้าที่เมตตา ผู้ซึ่งประทานความหวังและอวยพรแก่ผู้ที่นำเอาคำแนะนำของพระองค์ไปใช้และปฏิเสธการออกหาก. ฉะนั้น เช่นเดียวกับชาวอิสราเอลสมัยโบราณที่กลับใจ ให้เราแสวงหาพระยะโฮวาและพยายามประพฤติตัวให้เป็นที่พอพระทัยพระองค์เสมอ. (โฮเซอา 5:15) โดยการทำเช่นนั้น เราจะเก็บเกี่ยวสิ่งที่ดี และมีความยินดีและสันติสุขอันหาที่เปรียบมิได้ ดังที่คนทั้งปวงซึ่งดำเนินกับพระเจ้าอย่างซื่อสัตย์ได้ประสบ.—บทเพลงสรรเสริญ 100:2; ฟิลิปปอย 4:6, 7.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 1 มีการกล่าวถึงละครเรื่องหนึ่งที่มีความหมายเป็นนัยที่ฆะลาเตีย 4:21-26. เกี่ยวกับละครเรื่องนี้ ขอดูการหยั่งเห็นเข้าใจพระคัมภีร์ (ภาษาอังกฤษ) เล่ม 2 หน้า 693-694 จัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา.
คุณจะตอบอย่างไร?
• การสมรสระหว่างโฮเซอากับโฆเมรเป็นภาพเปรียบเทียบถึงอะไร?
• ทำไมพระยะโฮวาจึงมีคดีความกับอิสราเอล?
• บทเรียนใดในพระธรรมโฮเซอาบท 1 ถึง 5 ที่ประทับใจคุณ?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 18]
คุณรู้ไหมว่าภรรยาโฮเซอาเป็นภาพเปรียบเทียบถึงใคร?
[ภาพหน้า 19]
ชาวกรุงซะมาเรียถูกชาวอัสซีเรียพิชิตในปี 740 ก่อน ส.ศ.
[ภาพหน้า 20]
ประชาชนที่มีความปีติยินดีกลับคืนสู่มาตุภูมิของตน