คุณจะสะท้อนพระรัศมีของพระเจ้าไหม?
คุณจะสะท้อนพระรัศมีของพระเจ้าไหม?
“เรา . . . สะท้อนพระรัศมีของพระยะโฮวาเสมือนกระจก.”—2 โกรินโธ 3:18, ล.ม.
1. โมเซได้เห็นอะไร และมีอะไรเกิดขึ้นหลังจากนั้น?
ภาพที่ได้เห็นนั้นดูน่าครั่นคร้ามที่สุดเท่าที่มนุษย์คนใด ๆ เคยประสบพบเห็นมา. ขณะอยู่ที่สูงบนภูเขาไซนายตามลำพัง โมเซได้รับตามคำทูลขอที่ผิดธรรมดา. ท่านได้รับอนุญาตให้เห็นสิ่งที่ไม่มีมนุษย์คนใดเคยได้เห็นมาก่อน นั่นคือ พระรัศมีของพระยะโฮวา. แน่นอน โมเซไม่ได้เห็นพระยะโฮวาโดยตรง. ความสง่าเรืองรองของพระเจ้าเจิดจ้าจนไม่มีมนุษย์คนใดเห็นพระองค์แล้วยังจะมีชีวิตอยู่ได้. แทนที่จะให้เห็นโดยตรง พระยะโฮวาทรงเอา “มือ” ของพระองค์บังโมเซไว้ขณะที่พระองค์เสด็จผ่านท่านไป ซึ่งดูเหมือนว่าทรงใช้ทูตสวรรค์องค์หนึ่งให้ทำเช่นนั้นแทนพระองค์. จากนั้น พระยะโฮวาทรงโปรดให้โมเซได้เห็นแสงแห่งพระรัศมีที่พระองค์ได้สำแดงนี้ที่คงค้างอยู่. พระยะโฮวาตรัสกับโมเซผ่านทางทูตสวรรค์ด้วย. คัมภีร์ไบเบิลพรรณนาสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น: “อยู่มาเมื่อโมเซได้ลงมาจากภูเขาซีนาย . . . หน้าของตนมีแสงรัศมีเนื่องด้วยพระเจ้าได้ทรงสนทนากับท่าน.”—เอ็กโซโด 33:18–34:7, 29.
2. อัครสาวกเปาโลเขียนไว้ว่าอย่างไรเกี่ยวกับพระรัศมีที่คริสเตียนสะท้อน?
2 ขอลองจินตนาการว่าคุณอยู่บนภูเขานั้นกับโมเซ. ช่างจะเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นสักเพียงไรที่ได้เห็นความสง่าเรืองรองของพระผู้ทรงฤทธานุภาพทุกประการและได้ยินพระสุรเสียงของพระองค์! นับว่าเป็นเกียรติเสียจริง ๆ ที่ได้ก้าวเดินลงภูเขาไซนายมาพร้อมกับโมเซ ผู้เป็นคนกลางแห่งสัญญาไมตรีแห่งพระบัญญัติ! แต่คุณรู้ไหมว่าในบางวิธี คริสเตียนแท้สะท้อนพระรัศมีของพระเจ้ามากยิ่งกว่าวิธีที่โมเซสะท้อนนั้นเสียอีก? ข้อเท็จจริงที่ชวนให้คิดนี้พบได้ในจดหมายที่อัครสาวกเปาโลเป็นผู้เขียน. ท่านเขียนว่า คริสเตียนผู้ถูกเจิม “สะท้อนพระรัศมีของพระยะโฮวาเสมือนกระจก.” (2 โกรินโธ 3:7, 8, 18, ล.ม.) ในแง่หนึ่ง คริสเตียนที่มีความหวังทางแผ่นดินโลกก็สะท้อนพระรัศมีของพระเจ้าด้วยเช่นกัน.
วิธีที่คริสเตียนสะท้อนพระรัศมีของพระเจ้า
3. เราได้มารู้จักพระยะโฮวาอย่างไรในหลายทางที่โมเซไม่อาจรู้ได้?
3 เป็นไปได้อย่างไรที่เราสามารถสะท้อนพระรัศมีของพระเจ้า? เราไม่ได้เห็นพระยะโฮวาหรือได้ยินพระสุรเสียงของพระองค์เหมือนอย่างโมเซ. อย่างไรก็ตาม เราได้มารู้จักพระยะโฮวาในหลายทางที่โมเซไม่อาจรู้ได้. พระเยซูไม่ได้ปรากฏพระองค์ในฐานะพระมาซีฮาจนกระทั่งเกือบ 1,500 ปีหลังจากโมเซเสียชีวิตไป. ดังนั้น โมเซจึงไม่รู้ว่าพระบัญญัติจะสำเร็จอย่างไรในพระเยซู ผู้วายพระชนม์เพื่อไถ่ถอนมนุษย์ให้หลุดพ้นจากอำนาจเลวร้ายแห่งความบาปและความตาย. (โรม 5:20, 21; ฆะลาเตีย 3:19) ยิ่งกว่านั้น โมเซยังมีความเข้าใจที่จำกัดในเรื่องพระประสงค์อันล้ำเลิศของพระยะโฮวา ซึ่งรวมจุดอยู่ที่ราชอาณาจักรมาซีฮาและอุทยานบนแผ่นดินโลกที่จะมีมาโดยทางราชอาณาจักรนั้น. ด้วยเหตุนี้ เราจึงเห็นพระรัศมีของพระยะโฮวา ไม่ใช่ด้วยตาจริง ๆ ของเรา แต่ด้วยตาแห่งความเชื่อที่อาศัยคำสอนในคัมภีร์ไบเบิล. นอกจากนี้ เราได้ยินพระสุรเสียงของพระยะโฮวา ไม่ใช่ผ่านทางทูตสวรรค์ แต่ผ่านทางคัมภีร์ไบเบิล โดยเฉพาะในพระธรรมกิตติคุณ ซึ่งพรรณนาอย่างยอดเยี่ยมถึงคำสอนและงานรับใช้ของพระเยซู.
4. (ก) คริสเตียนผู้ถูกเจิมสะท้อนพระรัศมีของพระเจ้าอย่างไร? (ข) ผู้ที่มีความหวังทางแผ่นดินโลกสะท้อนพระรัศมีของพระเจ้าได้ในทางใดบ้าง?
4 ถึงแม้คริสเตียนไม่ได้สะท้อนพระรัศมีของพระเจ้าโดยแสงที่เปล่งออกจากใบหน้าของตน แต่ใบหน้าของพวกเขาก็สะท้อนประกายแห่งความยินดีเมื่อพวกเขาบอกคนอื่น ๆ เกี่ยวกับบุคลิกลักษณะของพระยะโฮวาและพระประสงค์อันยอดเยี่ยมของพระองค์. ผู้พยากรณ์ยะซายาบอกไว้ล่วงหน้าเกี่ยวกับสมัยของเราว่า ประชาชนของพระเจ้าจะ “ประกาศสง่าราศีของ [พระยะโฮวา] ท่ามกลางประชาชาติ.” (ยะซายา 66:19) นอกจากนี้ ที่ 2 โกรินโธ 4:1, 2 (ล.ม.) เราอ่าน ว่า “เนื่องจากเรามีการรับใช้นี้ . . . เราได้สลัดทิ้งสิ่งต่าง ๆ อันเต็มด้วยเล่ห์เหลี่ยมน่าละอาย ไม่ประพฤติตนอย่างฉลาดแกมโกง ไม่บิดเบือนพระคำของพระเจ้า แต่โดยการสำแดงความจริงให้ปรากฏ เราจึงแนะนำตัวเองแก่สติรู้สึกผิดชอบของคนทั้งปวงจำเพาะพระเจ้า.” ในที่นี้เปาโลกำลังกล่าวถึงคริสเตียนผู้ถูกเจิมโดยเฉพาะ ซึ่งเป็น “ผู้รับใช้แห่งสัญญาใหม่.” (2 โกรินโธ 3:6, ล.ม.) แต่งานรับใช้ของพวกเขาส่งผลกระทบต่อผู้คนนับไม่ถ้วนที่มีความหวังจะมีชีวิตนิรันดร์บนแผ่นดินโลก. งานรับใช้ของทั้งสองกลุ่มเกี่ยวข้องกับการสะท้อนพระรัศมี (สง่าราศี) ของพระยะโฮวาไม่ใช่โดยสิ่งที่พวกเขาสอนเท่านั้น แต่โดยการประพฤติด้วย. นับว่าเป็นความรับผิดชอบและสิทธิพิเศษของเราที่จะสะท้อนสง่าราศีของพระเจ้าผู้ใหญ่ยิ่งสูงสุด!
5. ความรุ่งเรืองฝ่ายวิญญาณของเราเป็นหลักฐานถึงอะไร?
5 ในทุกวันนี้ ข่าวดีอันรุ่งโรจน์เรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้ากำลังได้รับการประกาศไปทั่วแผ่นดินโลกที่มีคนอาศัยอยู่ ดังที่พระเยซูบอกไว้ล่วงหน้า. (มัดธาย 24:14) ปัจเจกบุคคลจากทุกประเทศ, ทุกเผ่า, ทุกชนชาติ, และทุกภาษา ตอบรับข่าวดีอย่างกระตือรือร้น และเปลี่ยนแปลงชีวิตของตนเพื่อดำเนินตามน้ำพระทัยของพระเจ้า. (โรม 12:2; วิวรณ์ 7:9) เช่นเดียวกับคริสเตียนยุคแรก พวกเขาไม่อาจหยุดพูดในสิ่งที่ตนได้เห็นและได้ยิน. (กิจการ 4:20) ผู้คนมากกว่าหกล้านคน มากกว่ายุคใดในประวัติศาสตร์มนุษย์ กำลังสะท้อนสง่าราศีของพระเจ้าอยู่ในทุกวันนี้. คุณเป็นคนหนึ่งในท่ามกลางพวกเขาไหม? ความรุ่งเรืองฝ่ายวิญญาณของประชาชนของพระเจ้าเป็นหลักฐานหนักแน่นที่แสดงว่าพระยะโฮวาทรงอวยพรและปกป้องคุ้มครองพวกเขา. ที่ว่าพระวิญญาณของพระยะโฮวาอยู่กับเรานั้นยิ่งเห็นได้ชัดเมื่อนึกถึงอิทธิพลต่าง ๆ ที่มีพลังที่เรียงแถวขัดขวางเราอยู่. ตอนนี้ให้เรามาพิจารณาว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น.
ประชาชนของพระเจ้าจะไม่หยุดพูด
6. ทำไมต้องมีความเชื่อและความกล้าเพื่อจะยืนหยัดอยู่ฝ่ายพระยะโฮวา?
6 สมมุติว่าคุณถูกเรียกตัวไปให้การเป็นพยานในศาลถึงการกระทำผิดของอาชญากรที่เหี้ยมโหดคนหนึ่ง. คุณรู้ว่าอาชญากรผู้นี้เป็นหัวหน้าองค์การหนึ่งที่ทรงอิทธิพลมาก และเขาจะใช้ทุกวิถีทางเพื่อจะยับยั้งคุณไม่ให้เปิดโปงเขา. สำหรับคุณ การเป็นพยานถึงการกระทำผิดของอาชญากรผู้นี้ย่อมต้องมีความกล้าและมีความมั่นใจว่าเจ้าหน้าที่รัฐจะคุ้มครองคุณ. เราอยู่ในสภาพการณ์คล้าย ๆ กันนั้น. เมื่อเราให้การเป็นพยานถึงพระยะโฮวาและพระประสงค์ของพระองค์ เราแถลงความผิดของซาตานพญามาร เปิดโปงว่ามันเป็นผู้ฆ่าคนและผู้ลวงมนุษย์โลกทั้งปวง. (โยฮัน 8:44; วิวรณ์ 12:9) ที่จะยืนหยัดอยู่ฝ่ายพระยะโฮวาและต่อต้านพญามารต้องมีทั้งความเชื่อและความกล้า.
7. ซาตานมีอิทธิพลขนาดไหน และมันพยายามจะทำอะไร?
7 แน่นอน พระยะโฮวาทรงเป็นพระผู้สูงสุด. ฤทธิ์อำนาจของพระองค์เหนือกว่าอำนาจซาตานอย่างลิบลับ. เรามั่นใจได้ว่าพระยะโฮวาไม่เพียงแต่มีพระปรีชาสามารถที่จะปกป้องเรา แต่พระองค์ประสงค์อย่างแรงกล้าที่จะทำเช่นนั้นด้วย เมื่อเรารับใช้พระองค์ด้วยความภักดี. (2 โครนิกา 16:9) กระนั้น ซาตานเป็นผู้ครอบครองทั้งเหล่าผีปิศาจและโลกแห่งมนุษยชาติที่เหินห่างจากพระเจ้า. (มัดธาย 12:24, 26; โยฮัน 14:30) เมื่อถูกจำกัดให้อยู่บริเวณแผ่นดินโลก อีกทั้ง “มีความโกรธยิ่งนัก” ซาตานจึงต่อต้านผู้รับใช้พระยะโฮวาอย่างหนัก และใช้โลกที่อยู่ใต้อำนาจของมันเพื่อพยายามทำให้ทุกคนที่ประกาศข่าวดีนั้นหยุดประกาศ. (วิวรณ์ 12:7-9, 12, 17) มันทำเช่นนี้โดยวิธีใด? อย่างน้อยในสามวิธี.
8, 9. ซาตานใช้ประโยชน์อย่างไรจากความรักที่ผิดทางและทำไมเราควรเลือกคนที่เราคบหาอย่างระมัดระวัง?
2 ติโมเธียว 3:1-4) เนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่มัวแต่หมกมุ่นอยู่กับกิจธุระในชีวิตประจำวัน พวกเขาจึง “ไม่แยแส” ข่าวดีที่พวกเรานำไปบอก. พวกเขาไม่สนใจที่จะเรียนรู้ความจริงในคัมภีร์ไบเบิลแม้แต่น้อย. (มัดธาย 24:37-39, ล.ม.) เจตคติดังกล่าวอาจติดต่อได้ ชักนำเราให้ตกอยู่ในสภาพเฉยเมยฝ่ายวิญญาณ. ถ้าเราปล่อยให้ตนเองพัฒนาความรักต่อสิ่งฝ่ายวัตถุและต่อความสนุกสนานในชีวิต ความรักที่เรามีต่อพระเจ้าจะเย็นลง.—มัดธาย 24:12.
8 วิธีหนึ่งที่ซาตานพยายามจะหันเหความสนใจของเราคือโดยใช้ความเป็นห่วงกังวลเรื่องชีวิต. ผู้คนในยุคสุดท้ายนี้เป็นคนรักเงินทอง, รักตัวเอง, รักความสนุกสนาน. พวกเขาไม่รักพระเจ้า. (9 ด้วยเหตุนี้ คริสเตียนจึงระมัดระวังในการเลือกบุคคลที่เขาคบหา. กษัตริย์ซะโลโมเขียนว่า “บุคคลที่ดำเนินกับคนมีปัญญาก็จะเป็นคนมีปัญญา แต่คนที่คบกับคนโฉดเขลาย่อมจะรับความเสียหาย.” (สุภาษิต 13:20, ล.ม.) ขอให้เรา “ดำเนิน” กับผู้ที่สะท้อนสง่าราศีของพระเจ้า. การคบหาเช่นนั้นก่อความยินดีแก่เราสักเพียงไร! เมื่อเราพบปะกับพี่น้องฝ่ายวิญญาณของเราในการประชุมหรือในโอกาสอื่น ๆ เราได้รับการชูใจจากความรัก, ความเชื่อ, ความยินดี, และสติปัญญาของพวกเขา. การคบหาในทางเสริมสร้างเช่นนั้นเสริมความตั้งใจมุ่งมั่นของเราที่จะทำงานรับใช้ต่อ ๆ ไปไม่เลิกรา.
10. ซาตานใช้การเยาะเย้ยในทางใดบ้างเพื่อยับยั้งบรรดาผู้ที่สะท้อนสง่าราศีของพระเจ้า?
10 วิธีที่สองที่ซาตานพยายามยับยั้งคริสเตียนทุกคนไม่ให้สะท้อนสง่าราศีของพระเจ้าคือใช้การเยาะเย้ย. กลยุทธ์นี้ไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับเรา. ระหว่างงานรับใช้ของพระเยซูคริสต์บนแผ่นดินโลก พระองค์ประสบการเยาะเย้ย คือถูกหัวเราะเยาะ, ถูกเย้ยหยัน, กลายเป็นตัวตลก, ถูกดูหมิ่น, และแม้กระทั่งถูกถ่มน้ำลายรด. (มาระโก 5:40; ลูกา 16:14; 18:32) คริสเตียนในยุคแรกตกเป็นเป้าของการเยาะเย้ยเช่นกัน. (กิจการ 2:13; 17:32) ผู้รับใช้ของพระยะโฮวาในสมัยปัจจุบันก็ได้รับการปฏิบัติอย่างผิด ๆ ในทำนองเดียวกันนั้น. ตามที่อัครสาวกเปโตรกล่าว จะมีการปฏิบัติต่อพวกเขาอย่างกับถูกตราหน้าว่าเป็น “ผู้พยากรณ์เท็จ.” ท่านบอกไว้ล่วงหน้าว่า “ในสมัยสุดท้ายจะมีคนเยาะเย้ยโดยใช้การหัวเราะเยาะของเขา ดำเนินตามความปรารถนาของตนเอง และกล่าวว่า ‘การประทับของพระองค์ที่ทรงสัญญาไว้นี้อยู่ที่ไหนล่ะ? . . . สิ่งทั้งปวงก็ดำเนินต่อไปเหมือนตั้งแต่ตอนเริ่มต้นการทรงสร้างนั้นทีเดียว.’ ” (2 เปโตร 3:3, 4, ล.ม.) ประชาชนของพระเจ้าถูกเยาะเย้ยว่าไม่ได้อยู่ในโลกของความเป็นจริง. มาตรฐานศีลธรรมในคัมภีร์ไบเบิลถูกมองว่าล้าสมัย. หลายคนมองข่าวสารที่เราประกาศว่าเป็นเรื่องโง่. (1 โกรินโธ 1:18, 19) ฐานะคริสเตียน เราอาจเผชิญการเยาะเย้ยที่โรงเรียน ในที่ทำงาน และบางครั้งแม้แต่จากคนในครอบครัว. เราสะท้อนสง่าราศีของพระเจ้าต่อ ๆ ไปโดยการประกาศเผยแพร่ของเรา โดยไม่ยอมให้ใครมาขัดขวาง เนื่องจากเรารู้อย่างที่พระเยซูทรงรู้ ที่ว่าพระคำของพระเจ้าเป็นความจริง.—โยฮัน 17:17.
11. ซาตานใช้การข่มเหงอย่างไรเพื่อพยายามยุติงานให้คำพยานของคริสเตียน?
11 วิธีที่สามที่พญามารใช้เพื่อพยายามยุติงานให้คำพยานของเราคือการต่อต้านหรือการข่มเหง. พระเยซูบอกเหล่าสาวกของพระองค์ว่า “เขาจะมอบท่านทั้งหลายไว้ให้ทนทุกข์ลำบากและฆ่าท่านเสีย, และชาติต่าง ๆ จะเกลียดมัดธาย 24:9) จริงดังกล่าว ในฐานะพยานพระยะโฮวา เราเผชิญการกดขี่ข่มเหงอย่างโหดร้ายในหลายส่วนของโลก. เรารู้ว่าพระยะโฮวาบอกไว้ล่วงหน้านานมาแล้วว่า ความเกลียดชัง หรือความเป็นศัตรูกัน จะเกิดขึ้นระหว่างผู้ที่รับใช้พระเจ้ากับผู้ที่รับใช้ซาตานพญามาร. (เยเนซิศ 3:15) เรารู้ด้วยว่า โดยการรักษาความซื่อสัตย์มั่นคงของเราเมื่อเผชิญการทดลอง เราให้การเป็นพยานว่าพระยะโฮวามีสิทธิโดยชอบธรรมที่จะเป็นผู้ปกครองเอกภพทั้งสิ้น. การรู้อย่างนี้ช่วยให้เราเข้มแข็งอยู่ได้แม้เมื่อตกอยู่ในสภาพการณ์สุดแสนเลวร้าย. จะไม่มีการข่มเหงใด ๆ ยุติงานให้คำพยานของเราได้อย่างถาวรหากเรามุ่งมั่นที่จะสะท้อนสง่าราศีของพระเจ้าต่อ ๆ ไป.
ชังพวกท่านเพราะนามของเรา.” (12. ทำไมเราควรมีความยินดีเมื่อเรารักษาความซื่อสัตย์ไว้เมื่อถูกต่อต้านจากซาตาน?
12 คุณต้านทานสิ่งเย้ายวนของโลกและพิสูจน์ตัวว่าซื่อสัตย์ทั้ง ๆ ที่มีการเยาะเย้ยและการต่อต้านไหม? ถ้าอย่างนั้น คุณก็มีเหตุที่จะยินดี. พระเยซูรับรองแก่ผู้ที่จะติดตามพระองค์ว่า “เมื่อเขาจะติเตียนข่มเหงและนินทาท่านทั้งหลายต่าง ๆ เป็นความเท็จเพราะเรา, ท่านก็เป็นสุข. จงชื่นชมยินดีอย่างยิ่งเพราะว่าบำเหน็จของท่านมีบริบูรณ์ในสวรรค์ เพราะเขาได้ข่มเหงศาสดาพยากรณ์ทั้งหลายที่อยู่ก่อนท่านเหมือนกัน.” (มัดธาย 5:11, 12) การที่คุณมีความอดทนเป็นหลักฐานแสดงว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์อันทรงพลังของพระยะโฮวาอยู่กับคุณ ประทานกำลังให้คุณเพื่อคุณจะสะท้อนสง่าราศีของพระองค์.—2 โกรินโธ 12:9.
ความอดทนด้วยการช่วยเหลือจากพระยะโฮวา
13. อะไรคือเหตุผลสำคัญอย่างหนึ่งที่เรามีความอดทนในการทำงานรับใช้ฝ่ายคริสเตียน?
13 เหตุผลสำคัญอย่างหนึ่งที่เราอดทนในการรับใช้ก็คือเรารักพระยะโฮวาและมีความยินดีจากการสะท้อนสง่าราศีของพระองค์. มนุษย์เรามีแนวโน้มที่จะเลียนแบบบุคคลที่เขารักและนับถือ และไม่มีใครจะคู่ควรกับการเลียนแบบมากไปกว่าพระยะโฮวาพระเจ้า. เนื่องจากความรักอย่างใหญ่หลวง พระองค์ทรงส่งพระบุตรของพระองค์มายังแผ่นดินโลกเพื่อให้คำพยานถึงความจริงและไถ่มนุษยชาติที่เชื่อฟัง. (โยฮัน 3:16; 18:37) เช่นเดียวกับพระเจ้า เราปรารถนาให้คนทุกชนิดกลับใจและได้รับความรอด ด้วยเหตุนี้เราจึงประกาศแก่พวกเขา. (2 เปโตร 3:9) ความปรารถนานี้ บวกกับความตั้งใจแน่วแน่ของเราที่จะเลียนแบบพระเจ้า กระตุ้นเราให้สะท้อนสง่าราศีของพระเจ้าต่อไปอย่างไม่ย่อท้อโดยทางงานรับใช้ของเรา.
14. พระยะโฮวาเสริมกำลังเราอย่างไรเพื่อจะอดทนในงานรับใช้?
14 แต่โดยพื้นฐานแล้ว กำลังที่เรามีเพื่อจะอดทนในการทำงานรับใช้ของคริสเตียนนั้นมาจากพระยะโฮวา. พระองค์ทรงค้ำจุนและเสริมกำลังเราโดยทางพระวิญญาณ, องค์การ, และคัมภีร์ไบเบิลพระคำของพระองค์. พระยะโฮวา “ประทานความเพียรอดทน” แก่ผู้เต็มใจสะท้อนสง่าราศีของพระองค์. พระองค์ตอบคำอธิษฐานและประทานสติปัญญาแก่เราเพื่อรับมือกับการทดลองต่าง ๆ. (โรม 15:5, ล.ม.; ยาโกโบ 1:5) นอกจากนี้ พระยะโฮวาจะไม่ปล่อยให้เราถูกทดลองเกินกว่าที่เราจะทนได้. ถ้าเราวางใจพระยะโฮวา พระองค์จะจัดทางออกให้ เพื่อเราจะสะท้อนสง่าราศีของพระองค์ได้ต่อ ๆ ไป.—1 โกรินโธ 10:13, ล.ม.
15. อะไรช่วยเราให้เพียรอดทน?
15 การที่เรามีความอดทนในการทำงานรับใช้นั้นเป็นหลักฐานแสดงว่าพระวิญญาณของพระเจ้าอยู่กับเรา. ขอยกตัวอย่าง สมมุติว่ามีใครสักคนขอให้คุณแจกขนมปังชนิดหนึ่งตามบ้านโดยไม่คิดค่า. เขาให้คุณออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานนี้ด้วยตัวเองและใช้เวลาส่วนตัวของคุณเอง. ยิ่งไปกว่านั้น ไม่นานคุณก็รู้ว่ามีเพียงไม่กี่คนที่อยากได้ขนมปังที่คุณนำไปให้ บางคนถึงกับขัดขวางความพยายามของคุณในการแจกจ่ายขนมปังด้วยซ้ำ. คุณคิดว่าคุณจะทำงานนี้ต่อ ๆ ไป เป็นเดือนเป็นปีไหม? คงจะไม่. กระนั้น คุณอาจจะได้พากเพียรประกาศข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรโดยใช้เวลาส่วนตัวของคุณและออกค่าใช้จ่ายเองเป็นเวลาหลายปี กระทั่งหลายสิบปี. เพราะเหตุใด? เพราะคุณรักพระยะโฮวาและพระองค์ทรงอวยพรความพยายามของคุณโดยทางพระวิญญาณของพระองค์ที่ช่วยให้คุณมีความอดทนมิใช่หรือ? เป็นอย่างนั้นแน่นอน!
การงานซึ่งจะเป็นที่จดจำ
16. ความเพียรอดทนในงานรับใช้ส่งผลเช่นไรต่อเราและผู้ที่ฟังเรา?
16 งานรับใช้เกี่ยวกับสัญญาไมตรีใหม่เป็นสิทธิพิเศษอันล้ำค่า. (2 โกรินโธ 4:7) งานรับใช้ฝ่ายคริสเตียนที่แกะอื่นทำอยู่ตลอดทั่วโลกก็มีค่าเช่นกัน. ดังที่เปาโลเขียนไปถึงติโมเธียว เมื่อคุณอดทนต่อ ๆ ไปในงานรับใช้ คุณสามารถ ‘ช่วยทั้งตัวของคุณและคนทั้งปวงที่ฟังคุณให้รอด.’ (1 ติโมเธียว 4:16) คิดดูสิว่านี่หมายถึงอะไร. ข่าวดีที่คุณประกาศเปิดโอกาสให้คนอื่น ๆ ได้รับชีวิตนิรันดร์. คุณสามารถพัฒนามิตรภาพที่แน่นแฟ้นกับคนที่คุณช่วยเหลือเขาทางฝ่ายวิญญาณ. ขอให้นึกภาพว่าการมีชีวิตตลอดไปในอุทยานกับคนที่คุณได้ช่วยเขาให้เรียนรู้เรื่องพระเจ้านั้นจะก่อความยินดีสักเพียงไร! พวกเขาจะไม่มีวันลืมความบากบั่นของคุณในการพยายามช่วยเหลือพวกเขาอย่างแน่นอน. นั่นช่างจะทำให้อิ่มใจพอใจเสียจริง ๆ!
17. ทำไมยุคสมัยของเราจึงเป็นยุคที่ไม่มีใดเหมือนในประวัติศาสตร์มนุษย์?
17 คุณมีชีวิตอยู่ในยุคสมัยที่ไม่มีใดเหมือนในประวัติศาสตร์มนุษย์. จะไม่มียุคสมัยใดอีกที่ข่าวดีจะได้รับการประกาศท่ามกลางโลกที่เหินห่างจากพระเจ้า. โนฮามีชีวิตอยู่ในโลกที่มีลักษณะอย่างนั้น และท่านเห็นมันผ่านพ้นไป. ท่านคงต้องมีความยินดีสักเพียงไรที่รู้ว่าท่านได้ทำตามพระทัยประสงค์ของพระเจ้าอย่างซื่อสัตย์ในการสร้างนาวา ซึ่งนำไปสู่การช่วยตัวท่านและครอบครัวให้รอดชีวิต! (เฮ็บราย 11:7) คุณจะมีความยินดีดังกล่าวได้เช่นกัน. ลองนึกภาพดูสิว่าคุณจะมีความรู้สึกอย่างไรในโลกใหม่ เมื่อมองย้อนกลับมาดูงานประกาศที่ได้ทำไประหว่างสมัยสุดท้ายนี้ และรู้ว่าคุณได้ทำทุกสิ่งที่คุณทำได้เพื่อส่งเสริมผลประโยชน์แห่งราชอาณาจักร.
18. พระยะโฮวาให้คำรับรองและการหนุนใจอะไรแก่ผู้รับใช้ของพระองค์?
18 ฉะนั้น ขอให้เราสะท้อนสง่าราศีของพระเจ้าต่อ ๆ ไป. การทำเช่นนั้นจะเป็นสิ่งที่เราจะจดจำไปตลอดกาล. พระยะโฮวาจะจดจำการงานของเราเช่นกัน. คัมภีร์ไบเบิลให้การหนุนกำลังใจแก่เราว่า “พระเจ้าไม่ใช่อธรรมที่จะทรงลืมการงานของท่านและความรักที่ท่านได้สำแดงต่อพระนามของพระองค์, ในการที่ท่านได้ปรนนิบัติสิทธชนนั้น, และยังกำลังปรนนิบัติอยู่. และเราปรารถนาให้ท่านทั้งหลายต่างคนต่างสำแดงความอุสส่าห์เช่นเดียวกันจนถึงที่สุดปลาย. จึงจะได้ความหวังใจอย่างบริบูรณ์ เพื่อจะไม่ให้ท่านเป็นคนเงื่องหงอย, แต่ให้ตามเยี่ยงอย่างแห่งคนเหล่านั้นที่อาศัยความเชื่อและความเพียร จึงได้รับคำสัญญาเป็นมฤดก.”—เฮ็บราย 6:10-12.
คุณอธิบายได้ไหม?
• คริสเตียนสะท้อนสง่าราศีของพระเจ้าอย่างไร?
• อะไรคือกลยุทธ์บางอย่างที่ซาตานใช้เพื่อพยายามทำให้ประชาชนของพระเจ้าหยุดการให้คำพยาน?
• มีหลักฐานอะไรที่แสดงว่าพระวิญญาณของพระเจ้าอยู่กับเรา?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 15]
ใบหน้าของโมเซสะท้อนพระรัศมี
[ภาพหน้า 16]
เราสะท้อนสง่าราศีของพระเจ้าในงานรับใช้ของเรา