“สอนเขาให้ถือรักษาสิ่งสารพัดซึ่งเราได้สั่งพวกเจ้าไว้”
“สอนเขาให้ถือรักษาสิ่งสารพัดซึ่งเราได้สั่งพวกเจ้าไว้”
“ฉะนั้น จงไปทำให้คน . . . เป็นสาวก . . . สอนเขาให้ถือรักษาสิ่งสารพัดซึ่งเราได้สั่งพวกเจ้าไว้.”—มัดธาย 28:19, 20, ล.ม.
1. มีการสนทนาอะไรระหว่างสาวกฟิลิปกับชายคนหนึ่งที่มาจากเอธิโอเปีย?
ชายผู้นี้ได้เดินทางไกลจากเอธิโอเปียมากรุงเยรูซาเลม. ที่นั่นเขานมัสการพระยะโฮวา พระเจ้าที่เขารัก. ปรากฏชัดว่าเขารักพระคำของพระเจ้าที่มีขึ้นโดยการดลใจด้วย. ขณะเดินทางกลับบ้านโดยรถม้า เขาอ่านหนังสือของผู้พยากรณ์ยะซายา ในตอนนั้น ฟิลิป สาวกของพระคริสต์ได้พบเขา. ฟิลิปถามชาวเอธิโอเปียคนนี้ว่า “ซึ่งท่านอ่านนั้นท่านเข้าใจหรือ.” ชายผู้นั้นตอบว่า “ถ้าไม่มีใครอธิบายให้, ที่ไหนจะเข้าใจได้?” ฟิลิปจึงช่วยนักศึกษาพระคัมภีร์ที่จริงใจคนนี้ต่อไปให้เข้ามาเป็นสาวกของพระคริสต์.—กิจการ 8:26-39.
2. (ก) คำตอบของชาวเอธิโอเปียมีความหมายในทางใด? (ข) เราจะพิจารณาคำถามอะไรบ้างเกี่ยวกับงานมอบหมายของพระคริสต์ที่ให้ทำคนเป็นสาวก?
2 คำตอบของชาวเอธิโอเปียเป็นที่น่าสังเกต. เขากล่าวว่า “ถ้าไม่มีใครอธิบาย ให้, ที่ไหนจะเข้าใจได้?” ใช่แล้ว เขาต้องการให้ใครสักคนสอนวิธีที่เขาจะเข้าใจสิ่งที่อ่านนั้น. คำพูดนี้เองแสดงให้เห็นความสำคัญของคำสั่งที่เจาะจงซึ่งพระเยซูรวมไว้ในงานมอบหมายให้ทำคนเป็นสาวก. คำสั่งอะไร? เพื่อทราบคำตอบ ขอให้เราพิจารณาคำตรัสของพระเยซูที่พบในมัดธายบท 28 ต่อไป. บทความก่อนเพ่งเล็งคำถามที่ว่าเหตุใด? และที่ไหน? ตอนนี้เราจะพิจารณาอีกสองคำถามที่เกี่ยวข้องกับพระบัญชาของพระคริสต์ที่ให้ทำคนเป็นสาวก ซึ่งก็คือคำถามที่ว่า อะไร? และเมื่อไร?
“สอนเขาให้ถือรักษาสิ่งสารพัด”
3. (ก) คนเราเข้ามาเป็นสาวกของพระเยซูคริสต์โดยวิธีใด? (ข) การทำให้คนเป็นสาวกรวมไปถึงการสอนอะไร?
3 เราต้องสอนอะไรเพื่อช่วยคนอื่นให้มาเป็นสาวกของพระคริสต์? พระเยซูทรงบัญชาเหล่าสาวกของพระองค์ว่า “ฉะนั้น จงไปทำให้คนจากทุกชาติเป็นสาวก ให้เขารับบัพติสมาในนามแห่งพระบิดาและพระบุตรและพระวิญญาณบริสุทธิ์ สอนเขาให้ถือรักษาสิ่งสารพัดซึ่งเราได้สั่งพวกเจ้าไว้.” (มัดธาย 28:19, 20, ล.ม.) ดังนั้น เราต้องสอนสิ่งที่พระคริสต์ได้ทรงบัญชา. * แต่อะไรจะช่วยให้แน่ใจได้ว่าคนที่ได้รับการสอนพระบัญชาของพระเยซูจะไม่เพียงแต่เข้ามาเป็นสาวกเท่านั้น แต่ยังคงเป็นเช่นนั้นอยู่เรื่อยไปด้วย? ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งเห็นได้จากการที่พระเยซูทรงเลือกใช้คำอย่างระมัดระวัง. โปรดสังเกตว่า พระองค์ไม่ได้เพียงแต่ตรัสว่า ‘สอนเขาถึงสิ่งสารพัดซึ่งเราได้สั่งพวกเจ้าไว้.’ แทนที่จะเป็นเช่นนั้น พระองค์ตรัสว่า “สอนเขาให้ถือรักษา สิ่งสารพัดซึ่งเราได้สั่งพวกเจ้าไว้.” (มัดธาย 19:17) นั่นบ่งชี้ถึงอะไร?
4. (ก) การถือรักษาพระบัญชาหมายความเช่นไร? (ข) จงยกตัวอย่างเปรียบเทียบในเรื่องวิธีที่เราสอนคนอื่นให้ถือรักษาพระบัญชาของพระคริสต์.
4 การถือรักษาพระบัญชาหมายถึง “ให้การกระทำของคนเราสอดคล้องกับ” พระบัญชา—เชื่อฟังหรือปฏิบัติตาม. ถ้าเช่นนั้น เราสอนคนอื่นโดยวิธีใดให้ถือรักษา หรือเชื่อฟังสิ่งที่พระคริสต์ทรงบัญชาไว้? ขอให้คิดถึงวิธีที่ครูสอนขับรถสอนนักเรียนของเขาให้ปฏิบัติตามกฎจราจร. ครูอาจสอนกฎจราจรแก่นักเรียนระหว่างอยู่ในห้องเรียน. อย่างไรก็ดี เพื่อจะสอนนักเรียนให้รู้วิธีเชื่อฟังกฎเหล่านั้น เขาต้องให้คำชี้แนะแก่นักเรียนขณะที่ทั้งสองขับรถไปตามถนนที่มีโยฮัน 14:15; 1 โยฮัน 2:3) ด้วยเหตุนี้ การปฏิบัติตามพระบัญชาของพระคริสต์อย่างเต็มที่ในการทำคนเป็นสาวกเรียกร้องให้เราเป็นทั้งครูและผู้ให้คำชี้แนะ. เมื่อเป็นเช่นนั้น เราจึงเลียนแบบตัวอย่างที่พระเยซูและพระยะโฮวาเองทรงวางไว้.—บทเพลงสรรเสริญ 48:14; วิวรณ์ 7:17.
รถสัญจรไปมาจริง ๆ และพยายามที่จะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้นั้นมาใช้. เช่นเดียวกัน เมื่อเราศึกษาคัมภีร์ไบเบิลกับผู้คน เราสอนพระบัญชาของพระคริสต์แก่เขา. อย่างไรก็ตาม เรายังต้องชี้แนะนักศึกษาขณะที่เขาพยายามเอาคำแนะนำของพระคริสต์มาใช้ในชีวิตประจำวันและในงานเผยแพร่. (5. เหตุใดบางคนที่เราศึกษาคัมภีร์ไบเบิลด้วยอาจลังเลที่จะเชื่อฟังพระบัญชาของพระคริสต์ที่ให้ทำคนเป็นสาวก?
5 การสอนคนอื่นให้ถือรักษาพระบัญชาของพระเยซูรวมไปถึงการช่วยเขาให้เอาใจใส่ฟังพระบัญชาที่ให้ทำคนเป็นสาวก. สำหรับบางคนที่เราศึกษาคัมภีร์ไบเบิลด้วย นั่นอาจเป็นงานที่ยาก. ถึงแม้แต่ก่อนเขาเคยเป็นสมาชิกที่ขันแข็งของบางคริสตจักรในคริสต์ศาสนจักร อดีตผู้สอนศาสนาของเขาคงจะไม่เคยสอนเขาให้ไปทำคนเป็นสาวก. ผู้นำคริสตจักรบางคนยอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่า เมื่อพูดถึงเรื่องการสอนสมาชิกให้เผยแพร่ข่าวดี คริสตจักรต่าง ๆ ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง. เมื่อออกความเห็นในเรื่องพระบัญชาของพระเยซูที่ให้เข้าไปในโลกและช่วยคนทุกชนิดให้มาเป็นสาวก จอห์น อาร์. ดับเบิลยู. สทอตต์ ผู้คงแก่เรียนด้านคัมภีร์ไบเบิลได้กล่าวว่า “ความล้มเหลวของเราในการเชื่อฟังนัยสำคัญของพระบัญชานี้เป็นข้อบกพร่องร้ายแรงที่สุดของคริสเตียนโปรเตสแตนต์ในกิจการงานเผยแพร่ข่าวดีในทุกวันนี้.” เขากล่าวเสริมอีกว่า “เรามีแนวโน้มที่จะประกาศข่าวสารของเราไม่ใช่แบบเข้าถึงตัวบุคคล. บางครั้งเราดูคล้ายกับคนซึ่งอยู่บนชายหาดที่ปลอดภัยตะโกนให้คำแนะนำแก่คนที่กำลังจะจมน้ำ. เราไม่ได้กระโดดลงไปเพื่อช่วยชีวิตเขา. เรากลัวว่าตัวเองจะเปียก.”
6. (ก) เมื่อช่วยนักศึกษาพระคัมภีร์ เราจะเลียนแบบตัวอย่างของฟิลิปได้อย่างไร? (ข) เราจะแสดงความห่วงใยของเราได้โดยวิธีใดเมื่อนักศึกษาพระคัมภีร์เริ่มมีส่วนร่วมในงานประกาศ?
6 หากคนที่เราศึกษาพระคัมภีร์ด้วยเคยอยู่ในศาสนาซึ่งสมาชิก “กลัวว่าตัวเองจะเปียก” กลัวการเป็นผู้เผยแพร่ข่าวดี นั่นอาจเป็นข้อท้าทายสำหรับเขาที่จะเอาชนะการกลัวน้ำ ตามคำพูดเปรียบเทียบนั้น แล้วเชื่อฟังพระบัญชาของพระคริสต์ในการทำให้คนเป็นสาวก. เขาจะต้องได้รับความช่วยเหลือ. ด้วยเหตุนี้ เราต้องอดทนขณะที่ให้คำแนะนำและการชี้แนะแบบที่ทำให้เขามีความเข้าใจลึกซึ้งยิ่งขึ้นและกระตุ้นเขาให้ลงมือปฏิบัติ เช่นเดียวกับคำสอนของฟิลิปทำให้ชาวเอธิโอเปียคนนั้นเข้าใจแจ่มแจ้งและกระตุ้นเขาให้รับบัพติสมา. (โยฮัน 16:13; กิจการ 8:35-38) นอกจากนี้ ความปรารถนาของเราที่จะสอนนักศึกษาพระคัมภีร์ให้ถือรักษาพระบัญชาที่ให้ทำคนเป็นสาวกยังกระตุ้นเราให้ ไปด้วยกันกับเขาเพื่อชี้แนะเขาเมื่อปฏิบัติขั้นตอนแรกในการประกาศราชอาณาจักร.—ท่านผู้ประกาศ 4:9, 10; ลูกา 6:40.
“สิ่งสารพัด”
7. การสอนคนอื่นให้ “ถือรักษาสิ่งสารพัด” รวมไปถึงการสอนพระบัญชาอะไรแก่เขา?
7 เรามิได้จำกัดตัวเองอยู่แค่การสอนสาวกใหม่ให้ทำคนเป็นสาวก. พระเยซูทรงสั่งเราสอนคนอื่นให้ “ถือรักษาสิ่งสารพัด” ที่พระองค์ได้บัญชาไว้. แน่นอน นั่นรวมไปถึงพระบัญชาสำคัญที่สุดสองข้อ คือให้รักพระเจ้าและรักเพื่อนบ้าน. (มัดธาย 22:37-39) สาวกใหม่อาจได้รับการสอนให้ถือรักษาพระบัญชาเหล่านี้โดยวิธีใด?
8. จงยกตัวอย่างแสดงวิธีที่สาวกใหม่อาจได้รับการสอนพระบัญชาที่ให้แสดงความรัก.
8 ขอให้คิดถึงตัวอย่างของผู้เรียนขับรถอีกครั้ง. ขณะที่นักเรียนขับรถไปตามถนนที่มียวดยานโดยมีผู้สอนนั่งอยู่ข้าง ๆ เขาเรียนรู้ไม่เพียงแค่โดยการฟังผู้สอนเท่านั้น แต่โดยสังเกตคนขับรถคนอื่นด้วย. ตัวอย่างเช่น ผู้สอนอาจชี้ให้เขาดูคนขับรถใจดีซึ่งยอมให้รถอีกคันหนึ่งแซงขึ้นหน้าตน; หรือคนขับรถที่มีมารยาทซึ่งเปิดไฟต่ำเพื่อมิให้แสงเข้าตาคนขับรถที่สวนทางมา; หรือคนขับรถซึ่งเต็มใจให้ความช่วยเหลือคนรู้จักกันซึ่งรถของเขาเสีย. ตัวอย่างดังกล่าวสอนนักเรียนให้รู้บทเรียนอันทรงคุณค่าที่เขาสามารถนำมาใช้ได้ขณะขับรถ. คล้ายกัน สาวกใหม่ซึ่งเดินทางบนเส้นทางสู่ชีวิตเรียนรู้ไม่เฉพาะจากครูเท่านั้น แต่จากตัวอย่างที่ดีซึ่งเขาพบเห็นในประชาคมด้วย.—มัดธาย 7:13, 14.
9. โดยวิธีใดที่สาวกใหม่เรียนรู้ความหมายของการถือรักษาพระบัญชาที่ให้แสดงความรัก?
9 ตัวอย่างเช่น นักศึกษาพระคัมภีร์อาจสังเกตมารดาไร้คู่ซึ่งทุ่มเทความพยายามที่จะมาหอประชุมพร้อมกับจูงลูกเล็ก ๆ มาด้วย. เขาอาจเห็นคนที่ท้อแท้ซึ่งมาประชุมเป็นประจำทั้ง ๆ ที่ต้องต่อสู้ความซึมเศร้า, แม่ม่ายสูงอายุซึ่งขับรถรับส่งผู้สูงอายุคนอื่นมาการประชุมประชาคมแต่ละรายการ, หรือวัยรุ่นคนหนึ่งซึ่งช่วยทำความสะอาดหอประชุม. นักศึกษาพระคัมภีร์อาจสังเกตผู้ปกครองคนหนึ่งในประชาคมซึ่งนำหน้าอย่างซื่อสัตย์ในงานรับใช้ทั้ง ๆ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบหลายอย่างในประชาคม. เขาอาจพบพยานฯ ซึ่งทุพพลภาพและต้องอยู่แต่ในบ้าน แต่ก็เป็นแหล่งที่ให้กำลังใจทางฝ่ายวิญญาณแก่ทุกคนที่มาเยี่ยมเขา. นักศึกษาอาจสังเกตเห็นคู่สมรสซึ่งทำการปรับเปลี่ยนขนานใหญ่ในชีวิตเพื่อจะเอาใจใส่ดูแลบิดามารดาที่สูงอายุ. โดยสังเกตดูคริสเตียนที่แสดงความกรุณา, ชอบช่วยเหลือ, และพึ่งพาอาศัยได้ดังกล่าว สาวกใหม่เรียนรู้โดยตัวอย่างเกี่ยวกับสิ่งที่หมายถึงการเชื่อฟังพระบัญชาของพระคริสต์ที่ให้รักพระเจ้าและรักเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อนร่วมความเชื่อ. (สุภาษิต 24:32; โยฮัน 13:35; ฆะลาเตีย 6:10; 1 ติโมเธียว 5:4, 8; 1 เปโตร 5:2, 3) ในวิธีเช่นนี้ สมาชิกแต่ละคนในประชาคมคริสเตียนสามารถ—และควรจะ—เป็นครูและเป็นผู้ชี้แนะ.—มัดธาย 5:16.
“จนกระทั่งช่วงอวสานแห่งระบบ”
10. (ก) เราจะทำให้คนเป็นสาวกต่อไปอีกนานเท่าไร? (ข) พระเยซูทรงวางตัวอย่างอะไรไว้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานมอบหมายให้สำเร็จ?
10 เราควรทำให้คนเป็นสาวกต่อไปจนกระทั่งเมื่อไร? ตลอดช่วงอวสานแห่งระบบ. (มัดธาย 28:20, ล.ม.) เราจะสามารถทำให้แง่มุมนี้แห่งงานมอบหมายของพระเยซูสำเร็จได้ไหม? ในฐานะประชาคมทั่วโลก เราตั้งใจแน่วแน่ที่จะทำเช่นนั้น. ในหลายปีที่ผ่านมา เราใช้เวลา, พลัง, และทรัพยากรของเราด้วยความยินดีเพื่อหาคนเหล่านั้นซึ่ง “มีความโน้มเอียงอย่างถูกต้องเพื่อชีวิตนิรันดร์.” (กิจการ 13:48, ล.ม.) เมื่อเร็ว ๆ นี้ พยานพระยะโฮวาใช้เวลาเฉลี่ยแล้วมากกว่าสามล้านชั่วโมงแต่ละวันตลอดปีในกิจการงานประกาศราชอาณาจักรและการทำให้คนเป็นสาวกทั่วโลก. เราทำเช่นนั้นเพราะเราปฏิบัติตามแบบอย่างของพระเยซู. พระองค์ตรัสว่า “อาหารของเราคือที่จะกระทำตามพระทัยของพระองค์ผู้ทรงใช้เรามา, และ ให้การของพระองค์สำเร็จ.” (โยฮัน 4:34) นั่นคือความปรารถนาอย่างจริงใจของเราด้วย. (โยฮัน 20:21) เราไม่เพียงต้องการเริ่มต้นทำงานที่ได้มอบหมายให้เรา; เราต้องการทำให้งานนี้สำเร็จ.—มัดธาย 24:13; โยฮัน 17:4.
11. ได้เกิดอะไรขึ้นกับพี่น้องชายหญิงคริสเตียนบางคน และเราควรถามตัวเองเช่นไร?
โรม 15:1; เฮ็บราย 12:12) วิธีที่พระเยซูทรงช่วยอัครสาวกของพระองค์ตอนที่พวกเขาอยู่ในสภาพอ่อนแอชั่วขณะบ่งบอกถึงสิ่งที่เราอาจทำได้ในทุกวันนี้.
11 อย่างไรก็ดี เรารู้สึกเศร้าใจที่สังเกตว่าเพื่อนร่วมความเชื่อของเราบางคนได้อ่อนแอลงทางฝ่ายวิญญาณ และผลก็คือเขาช้าลงหรือเลิกเชื่อฟังพระบัญชาของพระคริสต์ที่ให้ทำคนเป็นสาวก. มีวิธีใดไหมที่เราจะช่วยเขาให้กลับมาคบหากับประชาคมอีกครั้งและมีส่วนร่วมในการทำให้คนเป็นสาวกดังเดิม? (แสดงความห่วงใย
12. (ก) ก่อนการวายพระชนม์ของพระเยซู พวกอัครสาวกได้ทำอะไร? (ข) พระเยซูทรงปฏิบัติอย่างไรกับพวกอัครสาวกทั้ง ๆ ที่พวกเขาแสดงให้เห็นความอ่อนแอที่ร้ายแรง?
12 ณ ช่วงท้ายแห่งงานรับใช้ของพระเยซูบนแผ่นดินโลก ขณะที่การวายพระชนม์ของพระองค์จวนจะมาถึง พวกอัครสาวก “ได้ละทิ้งพระองค์ไว้และพากันหนีไป.” ดังที่พระเยซูได้ทรงบอกไว้ล่วงหน้า พวกเขา “กระจัดกระจายไปยังที่ของตัวสิ้นทุกคน.” (มาระโก 14:50; โยฮัน 16:32) พระเยซูทรงปฏิบัติกับสหายของพระองค์ที่อ่อนแอฝ่ายวิญญาณอย่างไร? ไม่นานหลังจากการคืนพระชนม์ พระเยซูทรงแจ้งแก่สาวกบางคนของพระองค์ว่า “อย่ากลัวเลย จงไปบอกพวกพี่น้องของเราให้ไปยังฆาลิลาย จะได้พบกับเราที่นั่น.” (มัดธาย 28:10) ถึงแม้เหล่าอัครสาวกได้แสดงความอ่อนแอที่ร้ายแรง พระเยซูยังคงเรียกพวกเขาว่า “พี่น้องของเรา.” (มัดธาย 12:49) พระองค์มิได้หมดหวังในตัวพวกเขา. โดยวิธีนี้ พระเยซูแสดงความเมตตาและให้อภัย เช่นเดียวกับที่พระยะโฮวาทรงเมตตาและให้อภัย. (2 กษัตริย์ 13:23) เราจะเลียนแบบพระเยซูได้อย่างไร?
13. เราควรมีทัศนะอย่างไรต่อคนเหล่านั้นที่กลายเป็นคนอ่อนแอฝ่ายวิญญาณ?
13 เราควรมีความห่วงใยอย่างลึกซึ้งต่อคนเหล่านั้นที่ช้าลงหรือเลิกมีส่วนร่วมในงานรับใช้. เรายังคงจำได้ถึงการงานด้วยความรักที่เพื่อนร่วมความเชื่อเหล่านี้ได้ทำในอดีต—บางคนอาจได้ทำมาเป็นเวลาหลายสิบปี. (เฮ็บราย 6:10) เราอาลัยถึงมิตรภาพที่เคยมีกับเขาอย่างแท้จริง. (ลูกา 15:4-7; 1 เธซะโลนิเก 2:17) แต่เราอาจแสดงความห่วงใยพวกเขาได้โดยวิธีใด?
14. ในการเลียนแบบพระเยซู เราจะช่วยคนที่อ่อนแอได้โดยวิธีใด?
14 พระเยซูทรงแจ้งแก่อัครสาวกที่ท้อแท้ใจว่าพวกเขาควรไปที่แกลิลีและจะได้พบพระองค์ที่นั่น. ที่แท้แล้ว พระเยซูทรงเชิญพวกเขาให้เข้าร่วมการประชุมพิเศษ. (มัดธาย 28:10) เช่นเดียวกันในทุกวันนี้ เราสนับสนุนคนเหล่านั้นซึ่งอ่อนแอฝ่ายวิญญาณให้เข้าร่วมการประชุมของประชาคมคริสเตียน และเราอาจต้องสนับสนุนพวกเขามากกว่าหนึ่ง ครั้งให้เข้าร่วม. ในกรณีของพวกอัครสาวก คำเชิญบังเกิดผล เนื่องจาก “สาวกสิบเอ็ดคนนั้นก็ได้ไปยังฆาลิลายถึงภูเขาที่พระเยซูได้ทรงกำหนดไว้.” (มัดธาย 28:16) เรารู้สึกยินดีอะไรเช่นนี้เมื่อคนที่อ่อนแอได้ตอบรับอย่างเดียวกันต่อคำเชิญอันอบอุ่นของเราแล้วเข้าร่วมการประชุมคริสเตียนอีก!—ลูกา 15:6.
15. เราจะติดตามแบบอย่างของพระเยซูได้อย่างไรในการต้อนรับคนอ่อนแอฝ่ายวิญญาณซึ่งมายังสถานที่ประชุมของเรา?
15 เราจะมีปฏิกิริยาอย่างไรเมื่อคริสเตียนที่อ่อนแอมายังหอประชุม? เอาละ พระเยซูทรงทำประการใดเมื่อเห็นพวกอัครสาวกซึ่งความเชื่อของพวกเขาอ่อนแอลงชั่วขณะ ณ สถานที่ประชุมซึ่งได้กำหนดไว้? “พระเยซูเจ้าจึงเสด็จมาใกล้ ๆ แล้วตรัสแก่เขา.” (มัดธาย 28:18) พระองค์มิได้ห่างเหินเย็นชา แต่เสด็จมาหาพวกเขา. ขอให้นึกภาพว่าพวกอัครสาวกคงต้องรู้สึกโล่งอกสักเพียงไรเมื่อพระเยซูเป็นฝ่ายริเริ่ม! ขอให้เราเช่นกันเป็นฝ่ายริเริ่มและยินดีต้อนรับคนที่อ่อนแอฝ่ายวิญญาณอย่างอบอุ่นซึ่งพยายามที่จะกลับคืนสู่ประชาคมคริสเตียน.
16. (ก) เราเรียนอะไรได้จากท่าทีที่พระเยซูทรงปฏิบัติต่อเหล่าสาวกของพระองค์? (ข) เราจะสะท้อนให้เห็นทัศนะของพระเยซูต่อผู้ที่อ่อนแอได้อย่างไร? (ดูเชิงอรรถ.)
16 พระเยซูทรงทำอะไรอื่นอีก? ประการแรก พระองค์ทรงประกาศว่า “อำนาจทั้งสิ้นได้มอบให้กับเราแล้ว.” ประการที่สอง พระองค์ทรงมอบหมายงานคือ “ฉะนั้น จงไปทำให้คน . . . เป็นสาวก.” ประการที่สาม พระองค์ทรงสัญญาว่า “เราอยู่กับพวกเจ้าเสมอ.” แต่คุณสังเกตไหมว่าพระเยซูไม่ได้ ทำอะไร? พระองค์มิได้ต่อว่าพวกสาวกในเรื่องความล้มเหลวและความสงสัยของพวกเขา. (มัดธาย 28:17) วิธีการของพระองค์บังเกิดผลไหม? ใช่แล้ว. ไม่นานนัก พวกอัครสาวกก็ “สั่งสอนและประกาศข่าวดี” อีกครั้ง. (กิจการ 5:42, ล.ม.) โดยติดตามแบบอย่างของพระเยซูในการคำนึงถึงผู้ที่อ่อนแอและวิธีปฏิบัติต่อพวกเขา เราหวังได้ว่าจะประสบผลที่ทำให้หัวใจอบอุ่นเช่นเดียวกันในประชาคมของเรา. *—กิจการ 20:35.
“เราอยู่กับพวกเจ้าเสมอ”
17, 18. มีข้อคิดที่ให้กำลังใจเช่นไรในคำตรัสของพระเยซูที่ว่า “เราอยู่กับพวกเจ้าเสมอ”?
17 คำตรัสตอนท้ายเกี่ยวกับงานมอบหมายของพระเยซูที่ว่า “เราอยู่กับพวกเจ้าเสมอ” มีข้อคิดที่ให้กำลังใจแก่บรรดาคนเหล่านั้นที่พยายามปฏิบัติตามพระบัญชาของพระคริสต์ที่ให้ทำคนเป็นสาวก. ไม่ว่าการต่อต้านใด ๆ ก็ตามที่ศัตรูอาจก่อขึ้นเพื่อขัดขวางงานประกาศราชอาณาจักรและไม่ว่าคำใส่ร้ายรูปแบบใดก็ตามที่พวกเขาอาจระดมใส่เรา เราไม่มีสาเหตุที่จะกลัว. เพราะเหตุใด? พระเยซู ผู้นำของเราซึ่งมี ‘อำนาจทั้งสิ้นทั้งในสวรรค์และบนแผ่นดินโลก’ ทรงอยู่กับเราเพื่อสนับสนุนเรา!
2 โครนิกา 6:29) พวกเราบางคนผ่านช่วงเวลาทุกข์โศกขณะที่อาลัยอาวรณ์ถึงผู้เป็นที่รักซึ่งเสียชีวิตไป. (เยเนซิศ 23:2; โยฮัน 11:33-36) บางคนกำลังรับมือกับวัยชรา เมื่อสุขภาพและกำลังวังชาเสื่อมถอย. (ท่านผู้ประกาศ 12:1-6) ยังมีบางคนเผชิญกับช่วงเวลาที่จมอยู่ในความรู้สึกซึมเศร้า. (1 เธซะโลนิเก 5:14) และพวกเรามากขึ้นเรื่อย ๆ ฝ่าฟันความยากลำบากอย่างสาหัสทางเศรษฐกิจ. ถึงกระนั้น ทั้ง ๆ ที่มีความยุ่งยากดังกล่าว เราก็ยังประสบผลสำเร็จในงานรับใช้ของเรา เพราะพระเยซูทรงอยู่กับเรา “เสมอ” รวมทั้งในช่วงที่ยากลำบากที่สุดในชีวิตเราด้วย.—มัดธาย 11:28-30.
18 คำสัญญาของพระเยซูที่ว่า “เราอยู่กับพวกเจ้าเสมอ” ยังเป็นแหล่งของการปลอบโยนมากมายอีกด้วย. ขณะที่เราพยายามปฏิบัติตามพระบัญชาของพระคริสต์ที่ให้ทำคนเป็นสาวก เราประสบไม่เฉพาะช่วงที่มีความยินดี แต่ช่วงที่มีความโศกเศร้าด้วย. (19. (ก) งานมอบหมายของพระเยซูที่ให้ทำคนเป็นสาวกมีคำสั่งอะไรบ้างอยู่ในนั้นด้วย? (ข) อะไรทำให้เราสามารถปฏิบัติงานมอบหมายของพระคริสต์ได้สำเร็จ?
19 ดังที่เราได้เห็นในบทความนี้และบทความก่อน งานมอบหมายของพระเยซูที่ให้ทำคนเป็นสาวกครอบคลุมทุกแง่มุม. พระเยซูทรงแจ้งให้เราทราบว่าเหตุใดและที่ไหนที่เราควรปฏิบัติตามพระบัญชาของพระองค์. พระองค์ยังทรงบอกให้เราทราบว่าเราควรสอนอะไรและเราควรทำเช่นนั้นจนกระทั่งเมื่อไร. จริงอยู่ การทำให้งานมอบหมายที่ใหญ่โตนี้สำเร็จนับว่าเป็นข้อท้าทาย. แต่โดยที่อำนาจของพระคริสต์หนุนหลังเราและพระองค์ทรงอยู่กับเรา เราจึงสามารถ ทำงานนี้ให้สำเร็จได้! คุณเห็นด้วยมิใช่หรือ??
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 3 หนังสืออ้างอิงเล่มหนึ่งชี้แจงว่าพระบัญชาของพระเยซูที่ให้รับบัพติสมาและสอนนั้น “ไม่ใช่ . . . การกระทำสองอย่างตามลำดับอย่างตายตัว.” แทนที่จะเป็นเช่นนั้น “การสอนเป็นขั้นตอนที่ดำเนินต่อเนื่องซึ่งบางส่วนมาก่อนการรับบัพติสมา . . . และบางส่วนหลังจากการรับบัพติสมา.”
^ วรรค 16 ข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องทัศนะต่อผู้ที่อ่อนแอและวิธีช่วยเขาพบได้ในหอสังเกตการณ์ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2003 หน้า 15-18.
คุณจะตอบอย่างไร?
• เราสอนคนอื่นโดยวิธีใดให้ถือรักษาสิ่งที่พระเยซูได้ทรงบัญชาไว้?
• สาวกใหม่อาจเรียนบทเรียนอะไรบ้างจากคนอื่นในประชาคม?
• เราสามารถทำประการใดได้บ้างเพื่อช่วยคนเหล่านั้นที่อ่อนแอลงทางฝ่ายวิญญาณ?
• เราได้รับกำลังและการปลอบโยนเช่นไรจากคำสัญญาของพระเยซูที่ว่า “เราอยู่กับพวกเจ้าเสมอ”?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 15]
เราต้องเป็นทั้งครูและผู้ชี้แนะ
[ภาพหน้า 17]
สาวกใหม่เรียนรู้บทเรียนอันทรงคุณค่าจากตัวอย่างของคนอื่น