“พระองค์จะทรงเข้าใกล้ท่านทั้งหลาย”
“พระองค์จะทรงเข้าใกล้ท่านทั้งหลาย”
“[พระเจ้า] มิได้ทรงอยู่ห่างไกลจากพวกเราแต่ละคน.”—กิจการ 17:27, ล.ม.
1, 2. (ก) เมื่อเรามองขึ้นไปบนฟ้าที่ดารดาษไปด้วยดวงดาว เราอาจมีคำถามอะไรเกี่ยวกับพระผู้สร้าง? (ข) คัมภีร์ไบเบิลให้คำรับรองแก่เราอย่างไรว่ามนุษย์ใช่ว่าไม่สำคัญในสายพระเนตรของพระยะโฮวา?
คุณเคยมองขึ้นไปบนท้องฟ้าที่ดารดาษไปด้วยดวงดาวในคืนฟ้าโปร่ง แล้วรู้สึกอัศจรรย์ใจไหม? ดวงดาวเหลือคณานับในอวกาศอันกว้างใหญ่ไพศาลทำให้เรารู้สึกเกรงขาม. ในเอกภพขนาดมหึมานี้ แผ่นดินโลกของเราเปรียบได้แค่เพียงเศษธุลี. นี่หมายความว่าพระผู้สร้าง ‘พระผู้สูงสุดเหนือแผ่นดินโลกทั้งสิ้น’ ทรงสูงส่งเกินกว่าที่จะสนใจไยดีมนุษย์ หรืออยู่ไกลเกินกว่าที่มนุษย์จะสืบค้นหาเพื่อจะรู้จักพระองค์ได้อย่างนั้นไหม?—บทเพลงสรรเสริญ 83:18, ฉบับแปลใหม่.
2 คัมภีร์ไบเบิลให้คำรับรองแก่เราว่า มนุษย์ใช่ว่าไม่สำคัญในสายพระเนตรของพระยะโฮวา. จริง ๆ แล้ว พระคำของพระเจ้าสนับสนุนเราให้แสวงหาพระองค์ โดยกล่าวว่า “พระองค์มิได้ทรงอยู่ห่างไกลจากพวกเราแต่ละคน.” (กิจการ 17:27, ล.ม.; 1 โครนิกา 28:9) อันที่จริง ถ้าเราลงมือกระทำเพื่อจะเข้าใกล้พระเจ้า พระองค์จะทรงตอบสนองความพยายามของเรา. ในทางใด? ถ้อยคำในข้อพระคัมภีร์สำหรับปี 2003 ให้คำตอบที่อบอุ่นหัวใจดังนี้: “พระองค์จะทรงเข้าใกล้ท่านทั้งหลาย.” (ยาโกโบ 4:8, ล.ม.) ขอให้เราพิจารณาพระพรอันน่าพิศวงบางประการที่พระยะโฮวาจะเทลงมาให้แก่ผู้ที่อยู่ใกล้พระองค์.
ของประทานเฉพาะตัวจากพระยะโฮวา
3. ของประทานอะไรที่พระยะโฮวาทรงให้แก่ผู้ที่เข้าใกล้พระองค์?
3 ประการแรก ผู้รับใช้ของพระยะโฮวาได้รับของประทานอันล้ำค่าอย่างหนึ่งที่พระองค์ทรงสงวนไว้สำหรับไพร่พลของพระองค์. อำนาจ, ความมั่งคั่ง, และการศึกษาใด ๆ ที่ได้รับจากระบบนี้ไม่สามารถทำให้มนุษย์คนใดได้รับของประทานนี้. นี่เป็นของประทานเฉพาะตัวที่พระยะโฮวาทรงให้แก่ผู้ที่อยู่ใกล้พระองค์เท่านั้น. ของประทานที่ว่านี้คืออะไร? พระคำของพระเจ้าให้คำตอบดังนี้: “ถ้าเจ้า . . . ส่งเสียงของเจ้าวอนหาความเข้าใจ; ถ้าเจ้าจะเสาะหาพระปัญญาเหมือนหาเงิน, และขุดค้นหาพระปัญญาเหมือนหนึ่งทรัพย์ที่ซ่อนอยู่นั้น; เมื่อนั้นเจ้าจะเข้าใจความยำเกรงพระยะโฮวา, และจะพบความรู้ของพระเจ้า. เพราะว่าพระยะโฮวาพระราชทานปัญญา.” (สุภาษิต 2:3-6) ลองคิดดูสิ มนุษย์ไม่สมบูรณ์สามารถพบ “ความรู้ของพระเจ้า” ได้! ของประทานดังกล่าว อันได้แก่ความรู้ที่พบในพระคำของพระเจ้านั้น เปรียบได้กับ “ทรัพย์ที่ซ่อนอยู่.” เพราะเหตุใด?
4, 5. ทำไม “ความรู้ของพระเจ้า” จึงเปรียบได้กับ “ทรัพย์ที่ซ่อนอยู่”? จงยกตัวอย่าง.
โยฮัน 17:3) แต่ความรู้ดังกล่าวยังอำนวยประโยชน์แก่ชีวิตของเราแม้แต่ในปัจจุบันด้วย. ยกตัวอย่าง เมื่อเราได้ศึกษาพระคำของพระเจ้าอย่างถี่ถ้วน เราพบคำตอบสำหรับคำถามสำคัญ ๆ อย่างเช่น พระนามของพระเจ้าคืออะไร? (บทเพลงสรรเสริญ 83:18) สภาพที่แท้จริงของคนตายเป็นเช่นไร? (ท่านผู้ประกาศ 9:5, 10) อะไรคือพระประสงค์ของพระเจ้าสำหรับแผ่นดินโลกและมนุษยชาติ? (ยะซายา 45:18) เรายังได้มารู้ด้วยว่าวิธีที่ดีที่สุดในการดำเนินชีวิตคือการนำเอาคำแนะนำอันสุขุมจากคัมภีร์ไบเบิลไปใช้. (ยะซายา 30:20, 21; 48:17, 18) ด้วยเหตุนี้ เราจึงมีคำแนะนำที่ดีซึ่งช่วยเราให้สามารถรับมือกับความกังวลต่าง ๆ ในชีวิตและติดตามแนวทางชีวิตที่ส่งเสริมความสุขและความอิ่มใจพอใจที่แท้จริง. และที่สำคัญที่สุดก็คือ การศึกษาพระคำของพระเจ้าช่วยให้เรามารู้จักคุณลักษณะอันยอดเยี่ยมของพระยะโฮวาและทำให้เราเข้าใกล้พระองค์. จะมีอะไรอีกหรือที่มีค่ายิ่งไปกว่าการมีสัมพันธภาพที่ใกล้ชิดกับพระยะโฮวาซึ่งอาศัย “ความรู้ของพระเจ้า”?
4 เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือ ความรู้ของพระเจ้านั้นมีค่ามหาศาล. หนึ่งในผลตอบแทนอันล้ำค่าที่สุดซึ่งได้จากความรู้นั้นคือความหวังในเรื่องชีวิตนิรันดร์. (5 ยังมีเหตุผลอีกอย่างหนึ่งด้วยที่ความรู้ของพระเจ้าเปรียบเหมือนกับ “ทรัพย์ที่ซ่อนอยู่.” เช่นเดียวกับสมบัติล้ำค่าหลายอย่างที่น้อยคนจะมี ผู้ที่ได้พบความรู้ของพระเจ้าก็มีค่อนข้างน้อยในโลกใบนี้. ในจำนวนประชากรโลกหกพันล้านคน มีผู้นมัสการพระยะโฮวาประมาณหกล้านคน หรือประมาณ 1 ใน 1,000 คนเท่านั้นที่ได้พบ “ความรู้ของพระเจ้า.” เพื่อจะยกตัวอย่างให้เห็นว่าการรู้ความจริงในพระคำของพระเจ้านั้นเป็นสิ่งล้ำค่าเพียงไร ขอให้เราพิจารณาคำถามสักข้อหนึ่งจากคัมภีร์ไบเบิลที่ว่า เกิดอะไรขึ้นกับมนุษย์เมื่อตายไป? เรารู้จากพระคัมภีร์ว่าจิตวิญญาณตายและคนตายแล้วไม่รับรู้อะไรเลย. (ยะเอศเคล 18:4) ถึงกระนั้น ความเชื่อผิด ๆ ที่ว่ามีบางสิ่งในตัวคนเรายังคงดำรงอยู่ต่อไปหลังจากตายแล้ว เป็นที่ยอมรับกันในศาสนาส่วนใหญ่ของโลก. นั่นเป็นองค์ประกอบหลักของความเชื่อในนิกายต่าง ๆ ของคริสต์ศาสนจักร. ความเชื่อดังกล่าวยังแพร่หลายไปในศาสนาชินโต, เชน, ซิกข์, เต๋า, พุทธ, ยูดาห์, อิสลาม, และฮินดู. คิดดูสิ หลายพันล้าน คนถูกหลอกด้วยคำสอนผิด ๆ นี้เพียงคำสอนเดียว!
6, 7. (ก) มีแต่ใครเท่านั้นที่จะพบ “ความรู้ของพระเจ้า” ได้? (ข) ตัวอย่างอะไรแสดงว่าพระยะโฮวาได้ประทานความเข้าใจที่ลึกซึ้งให้แก่เรา ซึ่ง “ผู้มีปัญญาและผู้ฉลาด” จำนวนมากในโลกไม่อาจจะเข้าใจได้?
6 ทำไมคนที่ได้พบ “ความรู้ของพระเจ้า” จึงมีไม่มาก? นั่นเป็นเพราะไม่มีใครจะเข้าใจความหมายของพระคำของพระเจ้าได้หากไม่ได้รับการช่วยเหลือจากพระองค์. อย่าลืมว่าความรู้นี้เป็นของประทาน. พระยะโฮวาทรงประทานความรู้นี้ให้เฉพาะกับคนเหล่านั้นที่เต็มใจแสวงหาพระคำของพระองค์ด้วยความจริงใจและความถ่อมใจ. คนแบบนั้นอาจไม่ใช่ผู้ “ที่โลกนิยมว่ามีปัญญา.” (1 โกรินโธ 1:26) หลายคนในท่ามกลางพวกเขาอาจถูกมองว่าเป็นเพียงแค่ “ผู้มีความรู้น้อย และมิได้เล่าเรียนมาก” ตามมาตรฐานของโลก. (กิจการ 4:13) แต่นั่นไม่สำคัญ. พระยะโฮวาทรงประทาน “ความรู้ของพระเจ้า” แก่เราเพราะคุณลักษณะต่าง ๆ ที่พระองค์ทรงพบในหัวใจเรา.
7 ขอให้พิจารณาตัวอย่างหนึ่ง. ผู้คงแก่เรียนหลายคนในคริสต์ศาสนจักรได้ผลิตหนังสืออรรถาธิบายคัมภีร์ไบเบิลอย่างละเอียด. หนังสืออ้างอิงเหล่านี้อาจอธิบายภูมิหลังทางประวัติศาสตร์, ความหมายของคำภาษาฮีบรูและกรีก, และอื่น ๆ. เมื่อคำนึงถึงสิ่งสารพัดที่พวกเขาได้เรียนรู้ ผู้คงแก่เรียนเหล่านั้นได้พบ “ความรู้ของพระเจ้า” อย่างแท้จริงไหม? พวกเขาเข้าใจชัดเจนไหมในอรรถบทของคัมภีร์ไบเบิล ซึ่งได้แก่การพิสูจน์ความถูกต้องแห่งพระบรมเดชานุภาพของพระยะโฮวาโดยทางราชอาณาจักรฝ่ายสวรรค์ของพระองค์? พวกเขารู้ไหมว่าพระยะโฮวาพระเจ้าไม่ใช่ส่วนของตรีเอกานุภาพ? แต่พวกเรารู้ และเข้าใจ เรื่องเหล่านี้อย่างถูกต้อง. เพราะเหตุใด? เพราะพระยะโฮวาทรงประทานความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับความจริงฝ่ายวิญญาณให้แก่เรา ความรู้ซึ่ง “ผู้มีปัญญาและผู้ฉลาด” จำนวนมากในโลกไม่อาจจะเข้าใจได้. (มัดธาย 11:25) พระยะโฮวาทรงประทานบำเหน็จให้แก่คนเหล่านั้นที่อยู่ใกล้พระองค์มากสักเพียงไร!
“พระยะโฮวาทรงพิทักษ์คนทั้งปวงที่รักพระองค์”
8, 9. (ก) ดาวิดได้พรรณนาไว้อย่างไรถึงพระพรอีกอย่างหนึ่งที่ผู้อยู่ใกล้พระยะโฮวาจะได้รับ? (ข) ทำไมคริสเตียนแท้จำเป็นต้องได้รับการปกป้องจากพระเจ้า?
8 ผู้ที่อยู่ใกล้พระยะโฮวายังได้รับพระพรอีกอย่างหนึ่งด้วย นั่นคือ การปกป้องจากพระองค์. ดาวิด ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญ ซึ่งคุ้นเคยดีกับความยากลำบากได้เขียนไว้ดังนี้: “พระยะโฮวาทรงสถิตใกล้คนทั้งปวงที่ร้องทูลต่อพระองค์ คือทุกบทเพลงสรรเสริญ 145:18-20, ล.ม.) ถูกแล้ว เนื่องจากพระยะโฮวาทรงอยู่ใกล้คนที่รักพระองค์ พระองค์จึงสามารถช่วยผู้ที่ร้องขอความช่วยเหลือได้ทันที.
คนที่ทูลต่อพระองค์ด้วยความสัตย์จริง. พระองค์จะทรงโปรดแก่คนทั้งหลายที่เกรงกลัวพระองค์ให้ได้สมปรารถนา และจะทรงสดับเสียงร้องขอความช่วยเหลือของเขา และพระองค์จะทรงช่วยเขาให้รอด. พระยะโฮวาทรงพิทักษ์คนทั้งปวงที่รักพระองค์.” (9 ทำไมเราต้องได้รับการปกป้องจากพระเจ้า? นอกจากผลกระทบที่เราอาจได้รับจากการมีชีวิตอยู่ใน “วิกฤตกาลซึ่งยากที่จะรับมือได้” นี้แล้ว คริสเตียนแท้ยังตกเป็นเป้าการโจมตีเป็นพิเศษจากปรปักษ์ตัวสำคัญของพระยะโฮวา คือซาตานพญามาร. (2 ติโมเธียว 3:1, ล.ม.) ศัตรูที่มีเล่ห์เหลี่ยมตัวนี้จ้องจะ “ขย้ำกลืน” เราเสีย. (1 เปโตร 5:8, ล.ม.) ซาตานข่มเหง, สร้างความกดดัน, และล่อใจเรา. มันยังเฝ้าสังเกตดูท่าทีของจิตใจและหัวใจเราที่มันอาจจะนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้. เป้าหมายในจิตใจของมันก็คือ บ่อนทำลายความเชื่อและขย้ำกลืนเราทางฝ่ายวิญญาณ. (วิวรณ์ 12:12, 17) เนื่องจากเราต้องต่อสู้กับศัตรูที่มีอำนาจมากดังกล่าว จึงเป็นเรื่องที่ทำให้อุ่นใจมิใช่หรือที่รู้ว่า “พระยะโฮวาทรงพิทักษ์คนทั้งปวงที่รักพระองค์”?
10. (ก) พระยะโฮวาทรงปกป้องไพร่พลของพระองค์อย่างไร? (ข) การปกป้องในทางใดที่สำคัญที่สุด และเพราะเหตุใด?
10 แต่พระยะโฮวาทรงปกป้องไพร่พลของพระองค์อย่างไร? คำสัญญาของพระองค์ในเรื่องการปกป้องไม่ได้รับประกันว่าชีวิตของเราในระบบนี้จะปราศจากปัญหา อีกทั้งไม่ได้หมายความว่าพระองค์จะต้องทำการอัศจรรย์เพื่อประโยชน์ของเรา. แต่กระนั้นก็ตาม พระยะโฮวาทรงให้การปกป้องทางกายภาพแก่ไพร่พลของพระองค์ในฐานะกลุ่มชน. อันที่จริง พระองค์จะไม่ยอมให้พญามารขจัดผู้นมัสการแท้ให้หมดไปจากแผ่นดินโลกอย่างเด็ดขาด! (2 เปโตร 2:9) ที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดนั้น พระยะโฮวาทรงปกป้องเราทางฝ่ายวิญญาณ. พระองค์จัดเตรียมสิ่งจำเป็นที่เราต้องได้รับเพื่อจะสามารถทนต่อความยากลำบากและรักษาสัมพันธภาพระหว่างเรากับพระองค์ไว้ได้. เมื่อคำนึงถึงผลในระยะยาวแล้ว การปกป้องฝ่ายวิญญาณนี้เป็นการปกป้องที่สำคัญที่สุด. เพราะเหตุใด? เพราะตราบเท่าที่เรามีสัมพันธภาพกับพระยะโฮวา ไม่มีสิ่งใด—แม้กระทั่งความตาย—จะสามารถก่อผลเสียหายอย่างถาวรแก่เราได้.—มัดธาย 10:28.
11. พระยะโฮวาทรงจัดเตรียมอะไรบ้างเพื่อปกป้องไพร่พลของพระองค์ทางฝ่ายวิญญาณ?
11 พระยะโฮวาได้จัดเตรียมอย่างบริบูรณ์เพื่อให้การปกป้องฝ่ายวิญญาณสำหรับผู้ที่อยู่ใกล้พระองค์. พระองค์ทรงประทานสติปัญญาแก่เราโดยทางพระคำของพระองค์ คือคัมภีร์ไบเบิล เพื่อจะรับมือกับการทดลองต่าง ๆ ได้. (ยาโกโบ 1:2-5) การนำเอาคำแนะนำที่ใช้ได้จริงจากคัมภีร์ไบเบิลไปใช้นั้นเป็นการปกป้องเราอยู่แล้ว. นอกจากนี้ พระยะโฮวายังประทาน “พระวิญญาณบริสุทธิ์แก่คนทั้งปวงที่ขอจากพระองค์.” (ลูกา 11:13) พระวิญญาณนี้เป็นพลังที่ทรงอานุภาพที่สุดในเอกภพ จึงช่วยเราได้อย่างแน่นอนให้พร้อมที่จะเผชิญการทดลองหรือการล่อใจใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับเราได้อย่างประสบผลสำเร็จ. โดยทางพระคริสต์ พระยะโฮวาทรงจัดเตรียม “ของประทานในลักษณะมนุษย์.” (เอเฟโซ 4:8, ล.ม.) ชายผู้มีคุณวุฒิฝ่ายวิญญาณเหล่านี้พยายามจะสะท้อนความเมตตาสงสารอย่างสุดซึ้งของพระยะโฮวาเมื่อพวกเขาให้การช่วยเหลือเพื่อนร่วมนมัสการ.—ยาโกโบ 5:14, 15.
12, 13. (ก) พระยะโฮวาทรงจัดให้เราได้รับอาหารฝ่ายวิญญาณในเวลาอันเหมาะโดยทางใดบ้าง? (ข) คุณรู้สึกเช่นไรต่อการจัดเตรียมของพระยะโฮวาเพื่อสวัสดิภาพฝ่ายวิญญาณของเรา?
12 อีกสิ่งหนึ่งที่พระยะโฮวาทรงจัดเตรียมเพื่อปกป้องเราคือ อาหารฝ่ายวิญญาณในเวลาอันเหมาะ. (มัดธาย 24:45) พระยะโฮวาทรงจัดให้เราได้รับสิ่งจำเป็นในเวลาที่เราต้องได้รับโดยทางสรรพหนังสือต่าง ๆ รวมถึงวารสารหอสังเกตการณ์ และตื่นเถิด! อีกทั้งการประชุมท้องถิ่น, การประชุมหมวด, และการประชุมภาค. คุณยังจำได้ไหมถึงบางสิ่งที่คุณได้ยินจากการประชุมคริสเตียน, การประชุมหมวด, หรือการประชุมภาคซึ่งกระทบหัวใจคุณ ให้การเสริมกำลังหรือปลอบโยนคุณ? คุณเคยได้อ่านบทความในวารสารที่กล่าวถึงข้างต้นแล้วรู้สึกว่าบทความนั้นเขียนเพื่อคุณโดยเฉพาะไหม?
13 หนึ่งในอาวุธที่ทรงประสิทธิภาพมากที่สุดของซาตานคือความท้อแท้ใจ และเราไม่ได้รับการคุ้มกันให้พ้นจากผลกระทบของความรู้สึกนี้. ซาตานรู้ดีว่าการจมอยู่ในความท้อแท้สิ้นหวังเป็นเวลานานจะทำให้เราหมดกำลัง และนั่นยิ่งทำให้เราถูกโจมตีได้ง่าย. (สุภาษิต 24:10) เนื่องจากซาตานพยายามจะฉวยโอกาสจากความรู้สึกในแง่ลบ เราจึงต้องได้รับความช่วยเหลือ. เป็นครั้งคราว วารสารหอสังเกตการณ์ และตื่นเถิด! ได้ลงบทความที่ช่วยเราให้ต่อสู้กับความท้อแท้ใจ. เกี่ยวกับบทความเช่นนั้น พี่น้องหญิงคริสเตียนคนหนึ่งเขียนดังนี้: “ดิฉันอ่านบทความนั้นแทบทุกวัน และยังน้ำตาไหลทุกที. ดิฉันเก็บบทความนี้ไว้ข้างเตียงเพื่อจะหยิบมาอ่านได้สะดวกในยามที่ตัวเองรู้สึกท้อแท้ใจ. บทความต่าง ๆ ทำนองนี้ทำให้ดิฉันรู้สึกว่าพระพาหุที่ให้การปกป้องของพระยะโฮวากำลังโอบดิฉันไว้อยู่ทีเดียว.” * เรารู้สึกขอบคุณพระยะโฮวามิใช่หรือที่ทรงจัดให้เราได้รับอาหารฝ่ายวิญญาณในเวลาอันเหมาะ? ขอให้เราอย่าลืมว่าการจัดเตรียมของพระองค์เพื่อสวัสดิภาพฝ่ายวิญญาณของเราเป็นหลักฐานว่าพระองค์ทรงอยู่ใกล้เราและคอยปกป้องดูแลเรา.
การเข้าเฝ้า “ผู้ทรงสดับคำอธิษฐาน”
14, 15. (ก) ของประทานเฉพาะตัวอะไรที่พระยะโฮวาทรงมอบให้แก่ผู้ที่อยู่ใกล้พระองค์? (ข) เหตุใดการได้รับอนุญาตให้เข้าเฝ้าพระยะโฮวาได้ตลอดเวลาโดยการอธิษฐานจึงถือเป็นสิทธิพิเศษอันยอดเยี่ยม?
14 คุณเคยสังเกตไหมว่าเมื่อมนุษย์มีตำแหน่งและอำนาจ บ่อยครั้งพวกเขาจะเป็นบุคคลที่เข้าพบได้ยากสำหรับผู้คนที่อยู่ใต้อำนาจพวกเขา? แต่จะว่าอย่างไรสำหรับพระยะโฮวาพระเจ้า? พระองค์ทรงสูงส่งเกินกว่าจะสนใจถ้อยคำของผู้ที่เป็นแค่มนุษย์ไหม? ไม่เลย! ของประทานในเรื่องการอธิษฐานเป็นพระพรอีกอย่างหนึ่งที่พระยะโฮวาทรงมอบแก่ผู้ที่อยู่ใกล้พระองค์. การได้รับอนุญาตให้เข้าเฝ้า “ผู้ทรงสดับคำอธิษฐาน” ได้ตลอดเวลาเช่นนี้ถือเป็นสิทธิพิเศษอันยอดเยี่ยมจริง ๆ. (บทเพลงสรรเสริญ 65:2, ล.ม.) เพราะเหตุใด?
15 เพื่อเป็นตัวอย่าง ประธานฝ่ายบริหารของบริษัทใหญ่แห่งหนึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบหลายอย่าง. เขาตัดสินใจว่าเรื่องไหนที่เขาจะจัดการด้วยตัวเอง และเรื่องไหนที่เขาจะมอบหมายให้คนอื่นทำแทน. ในทำนองเดียวกัน ผู้ปกครององค์สูงสุดแห่งเอกภพมีสิทธิ์ในการตัดสินพระทัยเลือกว่าเรื่องไหนที่พระองค์จะเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยพระองค์เองและเรื่องไหนที่พระองค์จะมอบหมายให้ผู้อื่นทำแทน. ขอให้คิดถึงงานทั้งสิ้นที่พระยะโฮวาทรงมอบหมายให้พระเยซู พระบุตรที่รักของพระองค์. พระบุตรได้รับมอบ “อำนาจที่จะพิพากษา.” (โยฮัน 5:27) ทูตสวรรค์ทั้งหลายถูกมอบให้ “อยู่ใต้อำนาจของพระองค์.” (1 เปโตร 3:22) พระวิญญาณบริสุทธิ์อันทรงฤทธิ์ของพระยะโฮวาถูกมอบให้อยู่ในอำนาจจัดการของพระเยซูเพื่อช่วยพระองค์ในการชี้นำเหล่าสาวกของพระองค์บนแผ่นดินโลก. (โยฮัน 15:26; 16:7) ด้วยเหตุนี้ พระเยซูจึงกล่าวได้ว่า “อำนาจทั้งสิ้นได้มอบให้กับเราแล้ว ทั้งในสวรรค์และบนแผ่นดินโลก.” (มัดธาย 28:18, ล.ม.) ถึงกระนั้น ในเรื่องของการอธิษฐาน พระยะโฮวา ทรงเลือกที่จะเป็นผู้สดับฟังคำอธิษฐานของเราด้วยพระองค์เอง. นั่นคือเหตุที่คัมภีร์ไบเบิลบอกให้เราอธิษฐานมุ่งตรงไปยังพระยะโฮวาเพียงผู้เดียว โดยทำเช่นนั้นในนามของพระเยซู.—บทเพลงสรรเสริญ 69:13; โยฮัน 14:6, 13.
16. ทำไมเราจึงมั่นใจได้ว่าพระยะโฮวาทรงฟังคำอธิษฐานของเราจริง ๆ?
16 พระยะโฮวาทรงฟังคำอธิษฐานของเราจริง ๆ ไหม? ถ้าพระองค์ไม่สนใจสดับรับฟัง พระองค์คงไม่กระตุ้นเราให้ “หมั่นอธิษฐานอยู่เสมอ” หรือให้มอบภาระและความกระวนกระวายของเราไว้กับพระองค์. (โรม 12:12; บทเพลงสรรเสริญ 55:22; 1 เปโตร 5:7) เหล่าผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์ในสมัยพระคัมภีร์มั่นใจเต็มที่ว่าพระยะโฮวาทรงฟังคำอธิษฐาน. (1 โยฮัน 5:14) ด้วยเหตุนี้ ดาวิดผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญจึงกล่าวว่า “[พระยะโฮวา] ทรงฟังเสียงของข้าพเจ้า.” (บทเพลงสรรเสริญ 55:17, ฉบับแปลใหม่) เช่นเดียวกัน เรามีเหตุผลทุกประการที่จะมั่นใจว่าพระยะโฮวาทรงอยู่ใกล้ และพร้อมที่จะรับฟังความคิดคำนึงและความกังวลใจของเราทุกอย่าง.
พระยะโฮวาทรงประทานบำเหน็จแก่ผู้รับใช้ของพระองค์
17, 18. (ก) พระยะโฮวาทรงมองงานรับใช้อย่างซื่อสัตย์ที่สิ่งทรงสร้างที่มีเชาวน์ปัญญาทำถวายแด่พระองค์นั้นอย่างไร? (ข) จงอธิบายว่าสุภาษิต 19:17 แสดงอย่างไรว่าการกระทำด้วยความเมตตาของเรานั้นไม่ได้รอดพ้นการสังเกตจากพระยะโฮวา.
17 ตำแหน่งของพระยะโฮวาในฐานะองค์บรมมหิศรแห่งเอกภพไม่ได้รับผลกระทบอะไรจากเพียงแค่สิ่งที่มนุษย์อาจจะทำหรือไม่ทำ. ถึงกระนั้น พระยะโฮวาทรงเป็นพระเจ้าที่หยั่งรู้ค่า. พระองค์ทรงเห็นค่า อันที่จริง ทรงรักและทะนุถนอมงานรับใช้อย่างซื่อสัตย์ที่สิ่งทรงสร้างที่มีเชาวน์ปัญญาทำถวายแด่พระองค์. (บทเพลงสรรเสริญ 147:11) ด้วยเหตุนั้น พระพรอีกอย่างหนึ่งที่คนเหล่านั้นซึ่งอยู่ใกล้พระยะโฮวาจะได้รับก็คือ พระองค์ทรงประทานบำเหน็จแก่ผู้รับใช้ของพระองค์.—เฮ็บราย 11:6.
18 คัมภีร์ไบเบิลแสดงอย่างชัดเจนว่าพระยะโฮวาทรงถือว่าสิ่งที่ผู้นมัสการของพระองค์ทำนั้นมีค่า. ยกตัวอย่าง เราอ่านว่า “คนที่เอ็นดูเผื่อแผ่แก่คนยากจนเปรียบเหมือนได้ให้พระยะโฮวาทรงยืมไป; และพระองค์จะทรงตอบแทนคุณความดีของเขา.” (สุภาษิต 19:17) เราเห็นได้จากพระบัญญัติของโมเซว่าพระยะโฮวาทรงเมตตาและเห็นอกเห็นใจคนยากจน. (เลวีติโก 14:21; 19:15) พระยะโฮวาทรงรู้สึกเช่นไรเมื่อ เราเลียนแบบความเมตตาของพระองค์ในการปฏิบัติกับคนยากจน? เมื่อเราให้ อะไร ๆ แก่คนยากจนโดยไม่ได้หวังสิ่งใดตอบแทน พระยะโฮวาทรงถือว่าเราให้พระองค์ยืม. พระยะโฮวาทรงสัญญาว่าจะใช้คืนให้เราด้วยการแสดงความโปรดปรานและพระพรต่าง ๆ. (สุภาษิต 10:22; มัดธาย 6:3, 4; ลูกา 14:12-14) ถูกแล้ว เมื่อเราแสดงความเมตตาสงสารต่อเพื่อนร่วมนมัสการที่ขัดสน พระยะโฮวาทรงซาบซึ้งพระทัย. เรารู้สึกขอบคุณสักเพียงไรที่รู้ว่าการกระทำด้วยความเมตตาของเราไม่ได้รอดพ้นการสังเกตจากพระบิดาฝ่ายสวรรค์ของเรา!—มัดธาย 5:7.
19. (ก) ทำไมเราแน่ใจได้ว่าพระยะโฮวาทรงหยั่งรู้ค่าสิ่งที่เราทำในงานประกาศและงานทำให้คนเป็นสาวก? (ข) พระยะโฮวาทรงตอบแทนงานรับใช้ที่ทำเพื่อสนับสนุนราชอาณาจักรของพระองค์อย่างไร?
19 พระยะโฮวาทรงหยั่งรู้ค่าเป็นพิเศษในสิ่งที่เราทำเพื่อประโยชน์แห่งราชอาณาจักรของพระองค์. เมื่อเราเข้าใกล้พระยะโฮวา ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่เราปรารถนาจะใช้เวลา, กำลัง, และทรัพย์สมบัติของเราเพื่อจะมีส่วนร่วมเต็มที่เท่าที่เป็นไปได้ในงานประกาศเรื่องราชอาณาจักรและงานทำให้คนเป็นสาวก. (มัดธาย 28:19, 20) บางครั้ง เราอาจรู้สึกว่าเราประสบความสำเร็จไม่มากนัก. หัวใจของเราที่ไม่สมบูรณ์อาจถึงกับทำให้เราสงสัยว่าพระยะโฮวาจะทรงพอพระทัยในความพยายามของเราหรือไม่. (1 โยฮัน 3:19, 20) แต่พระยะโฮวาทรงถือว่าทุกสิ่งที่เราทำถวายพระองค์นั้นมีค่า—ไม่ว่าจะเล็กน้อยสักเพียงไร—หากมาจากหัวใจที่ได้รับแรงกระตุ้นจากความรัก. (มาระโก 12:41-44) คัมภีร์ไบเบิลให้คำรับรองแก่เราว่า “พระเจ้าไม่ใช่อธรรมที่จะทรงลืมการงานของท่านและความรักที่ท่านได้สำแดงต่อพระนามของพระองค์.” (เฮ็บราย 6:10) อันที่จริง แม้ว่างานรับใช้ที่เราทำเพื่อสนับสนุนงานราชอาณาจักรของพระองค์จะเป็นสิ่งเล็กน้อยที่สุด พระยะโฮวาจะทรงระลึกถึงและตอบแทน. นอกจากพระพรต่าง ๆ ฝ่ายวิญญาณที่ได้รับอย่างอุดมในปัจจุบันแล้ว เรายังสามารถคอยท่าชีวิตอันน่าชื่นชมยินดีในโลกใหม่ที่กำลังจะมาถึง ซึ่งที่นั่นพระยะโฮวาจะแบพระหัตถ์ของพระองค์และสนองความปรารถนาที่ถูกทำนองคลองธรรมของทุกคนที่อยู่ใกล้พระองค์!—บทเพลงสรรเสริญ 145:16; 2 เปโตร 3:13.
20. เราอาจจะระลึกถึงข้อพระคัมภีร์ประจำปีของเราตลอดปี 2003 ได้โดยวิธีใด และพร้อมด้วยผลประการใด?
20 ตลอดปี 2003 ให้เราถามตัวเองว่าเราบากบั่นพยายามเรื่อยไปเพื่อเข้าใกล้พระบิดาฝ่ายสวรรค์ของเราหรือไม่. ถ้าเราบากบั่นเช่นนั้น เราแน่ใจได้เลยว่าพระองค์จะตอบแทนให้แก่เราอย่างที่พระองค์ทรงสัญญาไว้. ที่จริงแล้ว “พระเจ้า . . . ตรัสมุสาไม่ได้.” (ติโต 1:2) ถ้าคุณเข้าใกล้พระเจ้า พระองค์จะทรงเข้าใกล้คุณ. (ยาโกโบ 4:8) และพร้อมด้วยผลประการใด? นั่นก็คือพระพรอันอุดมในปัจจุบันและความหวังที่จะได้เข้าใกล้พระยะโฮวามากขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดกาล!
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 13 จากจดหมายฉบับหนึ่งของผู้ที่ได้อ่านบทความ “พระยะโฮวาทรงเป็นใหญ่กว่าใจของเรา” ในหอสังเกตการณ์ ฉบับ 1 พฤษภาคม 2000 หน้า 28-31.
คุณจำได้ไหม?
• ของประทานอะไรที่พระยะโฮวาทรงให้แก่ผู้ที่เข้าใกล้พระองค์?
• พระยะโฮวาทรงจัดเตรียมอะไรบ้างเพื่อปกป้องไพร่พลของพระองค์ทางฝ่ายวิญญาณ?
• เหตุใดการได้รับอนุญาตให้เข้าเฝ้าพระยะโฮวาได้ตลอดเวลาโดยการอธิษฐานจึงถือเป็นสิทธิพิเศษอันยอดเยี่ยม?
• คัมภีร์ไบเบิลแสดงอย่างไรว่าพระยะโฮวาทรงหยั่งรู้ค่างานรับใช้อย่างซื่อสัตย์ที่สิ่งทรงสร้างที่มีเชาวน์ปัญญาทำถวายแด่พระองค์?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 15]
พระยะโฮวาทรงอวยพรให้เรามีความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับความจริงฝ่ายวิญญาณ
[ภาพหน้า 16, 17]
พระยะโฮวาทรงให้การปกป้องฝ่ายวิญญาณ
[ภาพหน้า 18]
พระยะโฮวาทรงอยู่ใกล้ และพร้อมจะฟังคำอธิษฐานทุกอย่างของเรา