คริสเตียนควรหวงแหนไหม?
คริสเตียนควรหวงแหนไหม?
ความหวงแหนเป็นลักษณะที่คริสเตียนควรปลูกฝังไหม? พวกเราฐานะเป็นคริสเตียนได้รับการกระตุ้นให้ “แสวงหาความรัก” และเราได้มารับรู้ว่า “ความรักไม่อิจฉาริษยา.” (1 โกรินโธ 13:4, ล.ม.; 14:1) นอกจากนี้ เรายังได้เรียนรู้ด้วยว่า “พระยะโฮวา . . . เป็นพระเจ้าผู้หวงแหน” และมีบัญชาให้เรา “เป็นผู้เลียนแบบพระเจ้า.” (เอ็กโซโด 34:14; เอเฟโซ 5:1, ล.ม.) ข้อความเหล่านี้ของคัมภีร์ไบเบิลทำให้บางคนมีคำถามขึ้นในใจ. ทำไมล่ะ?
เพราะทั้งคำภาษาฮีบรูและภาษากรีกที่แปลออกมาในคัมภีร์ไบเบิลว่า “อิจฉาริษยา” และ “หวงแหน” นั้นเป็นคำเดียวกันและมีความหมายกว้าง. ความหมายของคำเหล่านั้นอาจแสดงนัยทั้งแง่บวกหรือแง่ลบ ขึ้นอยู่กับว่าใช้คำเหล่านั้นอย่างไร. ตัวอย่างเช่น คำฮีบรูที่ได้รับการแปลเป็น “หวงแหน” นั้นอาจหมายความว่า “ยืนยันในเรื่องความเลื่อมใสโดยเฉพาะ; ไม่ยอมให้มีคู่แข่ง; ใจแรงกล้า; กระตือรือร้น; หวงแหน [ทั้งในทางที่ชอบธรรมและในทางที่เป็นบาป]; ริษยา.” คำภาษากรีกที่ตรงกับคำนี้ก็มีความหมายคล้ายกัน. คำเหล่านี้อาจเกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึกที่ไม่ถูกต้องต่อผู้ที่อยู่ในข่ายสงสัยว่าเป็นคู่แข่ง หรือต่อผู้ที่ตนคิดว่าได้เปรียบ. (สุภาษิต 14:30) คำภาษาฮีบรูและภาษากรีกเหล่านั้นอาจพาดพิงถึงการแสดงคุณลักษณะในด้านดีตามที่ได้รับจากพระเจ้า นั่นคือ ความต้องการจะปกป้องคนที่เรารักให้พ้นภัยอันตราย.—2 โกรินโธ 11:2.
ตัวอย่างที่ดีเยี่ยม
พระยะโฮวาได้วางตัวอย่างที่ดีเยี่ยมในการแสดงความหวงแหนอย่างเหมาะสม. เจตนาของพระองค์บริสุทธิ์สะอาด ได้รับการกระตุ้นจากพระประสงค์ที่จะพิทักษ์ไพร่พลของพระองค์พ้นจากความเสื่อมฝ่ายวิญญาณและทางศีลธรรม. ในการเปรียบเทียบไพร่พลของพระองค์สมัยโบราณเป็นซีโอน พระองค์ตรัสดังนี้: “เราได้มีความหวงแหนต่อซีโอนด้วยความหวงแหนอันใหญ่, แลเรามีความหึงสาต่อเขาทั้งหลายด้วยความกริ้วอันใหญ่.” (ซะคาระยา 8:2) บิดาที่มีความรักใคร่ย่อมตื่นตัวคอยปกป้องบุตรให้พ้นอันตรายฉันใด พระยะโฮวาทรงพร้อมที่จะคุ้มครองผู้รับใช้ของพระองค์ให้พ้นอันตรายด้านร่างกายและฝ่ายวิญญาณฉันนั้น.
เพื่อป้องกันรักษาไพร่พลของพระองค์ พระยะโฮวาทรงจัดให้มีพระคำของพระองค์คือคัมภีร์ไบเบิล. คัมภีร์ไบเบิลบรรจุถ้อยคำหนุนกำลังใจเป็นอย่างมากเพื่อพวกเขาจะดำเนินชีวิตอย่างสุขุม ทั้งมีตัวอย่างดี ๆ มากมายของคนเหล่านั้นที่กระทำอย่างนั้น. เราอ่านที่ยะซายา 48:17 ว่า “เราคือยะโฮวา, พระเจ้าของเจ้าผู้สั่งสอนเจ้า, เพื่อประโยชน์แก่ตัวของเจ้าเอง, และผู้นำเจ้าให้ดำเนินในทางที่เจ้าควรดำเนิน.” ช่างเป็นการชูใจสักเพียงใดที่รู้ว่าเพราะความหวงแหนนี้เอง พระองค์จึงทรงใฝ่พระทัยและเฝ้าพิทักษ์พวกเรา! หากพระองค์ไม่ได้หวงแหนในทางที่ดีเช่นนี้ พวกเราคงประสบอันตรายเสียหายทุกรูปแบบทีเดียว เนื่องจากเราขาดประสบการณ์. การสำแดงความหวงแหนของพระยะโฮวานั้นหาใช่เพราะความเห็นแก่ตัวอย่างเด็ดขาด.
ถ้าอย่างนั้นแล้ว มีความแตกต่างอย่างไรระหว่างความหวงแหนเยี่ยงพระเจ้ากับความหวงแหนที่ไม่สมควร? เพื่อจะพบคำตอบ ให้เราพิจารณาตัวอย่างของมิระยามและตัวอย่างของฟีนะฮาศ. จงสังเกตว่ามีอะไรกระตุ้นเขาให้ทำอย่างที่ทำไป.
มิระยามและฟีนะฮาศ
มิระยามเป็นพี่สาวของโมเซและอาโรน ผู้นำชาติอิสราเอลระหว่างเดินทางอพยพจากอียิปต์. ในช่วงเวลาที่ชาวอิสราเอลอยู่กลางป่าทุรกันดาร มิระยามเกิดความรู้สึกอิจฉาโมเซน้องชายของตน. บันทึกในคัมภีร์ไบเบิลบอกดังนี้: “มิระยามกับอาโรนได้พูดติโมเซ, เพราะหญิงชาวเมืองคูศภรรยาของโมเซ, . . . เขาได้ว่าพระยะโฮวาได้ตรัสจำเพาะอาฤธโม 12:1-15.
โดยโมเซคนเดียวหรือ? พระองค์ไม่ได้ตรัสโดยเราด้วยหรือ?” ดูเหมือนว่า มิระยามเป็นตัวตั้งตัวตีในการต่อต้านโมเซคราวนี้ ด้วยเหตุนั้นพระยะโฮวาทรงตีสอนมิระยาม แต่ไม่ได้ตีสอนอาโรน โดยบันดาลโรคเรื้อนให้เกิดแก่นางนานหนึ่งสัปดาห์ เนื่องจากนางประพฤติอย่างขาดความเคารพยำเกรง.—อะไรได้กระตุ้นมิระยามให้ต่อต้านโมเซ? ความเป็นห่วงการนมัสการแท้และปรารถนาอยากปกป้องเพื่อนชาวอิสราเอลให้พ้นอันตรายใช่ไหม? ปรากฏชัดว่าไม่ใช่. ดูเหมือนมิระยามยอมให้ความปรารถนาที่ไม่ถูกต้องเข้าครอบงำหัวใจของนาง โดยหวังได้ชื่อเสียงและสิทธิอำนาจมากกว่าที่มีอยู่. ฐานะเป็นผู้พยากรณ์หญิงในชาติอิสราเอล นางย่อมได้รับความนับถืออย่างมากอยู่แล้วจากประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกผู้หญิง. นางเคยนำพวกเขาบรรเลงดนตรีและร้องเพลงหลังจากชาวอิสราเอลประสบความรอดผ่านทะเลแดงได้อย่างอัศจรรย์. มาถึงตอนนี้ มิระยามอาจคิดกังวลอย่างไม่สมควร เกรงว่าฐานะเด่นของตนอาจตกเป็นของผู้ที่อยู่ในข่ายน่าสงสัยเป็นคู่แข่ง นั่นคือภรรยาของโมเซ. เนื่องจากถูกกระตุ้นด้วยความริษยาอันเห็นแก่ตัว นางจึงโต้เถียงอย่างรุนแรงกับโมเซ บุรุษผู้ได้รับการแต่งตั้งจากพระยะโฮวา.—เอ็กโซโด 15:1, 20, 21.
ในทางกลับกัน ฟีนะฮาศมีเจตนาต่างออกไปสำหรับการกระทำของเขา. ไม่นานก่อนจะเข้าไปถึงแผ่นดินตามคำสัญญา ตอนที่ชาวอิสราเอลตั้งค่ายบนที่ราบโมอาบ พวกผู้หญิงชาวโมอาบและชาวมิดยานได้ล่อลวงชายอิสราเอลหลายคนให้หลงทำผิดศีลธรรมและบูชารูปเคารพ. ที่จะชำระค่ายที่พักให้ปราศจากมลทินและเพื่อพระยะโฮวาจะทรงระงับพระพิโรธอันร้อนแรงนั้น บรรดาผู้วินิจฉัยของชาติอิสราเอลได้รับคำสั่งให้สังหารผู้ชายทุกคนที่หันเหไปกระทำผิด. ด้วยจุดประสงค์จะทำผิดศีลธรรม ซิมรีหัวหน้าในตระกูลซีโมนได้พาคัศบีหญิงชาวมิดยานเข้าไปในค่ายที่พักอย่างหน้าด้าน “ตรงหน้าบรรดาพวกยิศราเอลที่ประชุมกัน.” ฟีนะฮาศดำเนินการขั้นเด็ดขาด. เนื่องจากความหวงแหนหรือความมีใจแรงกล้าเพื่อการนมัสการพระยะโฮวาเป็นแรงกระตุ้น และความปรารถนาจะรักษาความบริสุทธิ์สะอาดทางศีลธรรมท่ามกลางค่ายที่พัก ฟีนะฮาศจึงได้ประหารคนเหล่านั้นที่ทำผิดประเวณีภายในกระโจมของพวกเขา. เขาได้รับการยกย่องเพราะเขามี “ความโกรธหวงแหนไม่ยอมให้มีคู่แข่งเลย” เพื่อพระยะโฮวา. การกระทำของฟีนะฮาศโดยฉับพลันช่วยยับยั้งการลงโทษอย่างรุนแรงไว้ได้ ซึ่งผู้คนถูกสังหารไปแล้วถึง 24,000 คน และพระยะโฮวาทรงตอบแทนฟีนะฮาศด้วยสัญญาไมตรีว่าจะมอบหน้าที่ปุโรหิตไว้กับเผ่าพันธุ์ของเขาอย่างไม่มีเวลากำหนด.—อาฤธโม 25:4-13, เดอะ นิว อิงลิช ไบเบิล.
มีความแตกต่างอะไรระหว่างการแสดงออกซึ่งความอิจฉาริษยากับความหวงแหนดังกล่าว? มิระยามแสดงการต่อต้านน้องชายเพราะความอิจฉาอย่างเห็นแก่ตัว ส่วนฟีนะฮาศได้ดำเนินการด้วยความยุติธรรมบนพื้นฐานของความหวงแหนเยี่ยงพระเจ้า. เช่นเดียวกับฟีนะฮาศ บางโอกาสพวกเราน่าจะเกิดความรู้สึกที่จะพูดอย่างตรงไปตรงมา หรือลงมือทำบางอย่างเพื่อปกป้องพระนามของพระยะโฮวา, การนมัสการพระองค์, และไพร่พลของพระองค์.
ความหวงแหนบนพื้นฐานแนวคิดที่ผิดพลาด
แต่เป็นไปได้ไหมที่จะรู้สึกหวงแหนในแง่ที่ผิด? เป็นไปได้. กรณีนี้เคยเกิดขึ้นทั่วไปกับชาวยิวในสมัยศตวรรษแรก. ด้วยความหวงแหน พวกเขาปกป้องรักษาพระบัญญัติที่พระเจ้าประทานแก่เขา รวมทั้งประเพณีที่สืบกันต่อ ๆ มา. ด้วยความพยายามจะปกป้องพระบัญญัติ พวกเขาได้ตั้งกฎเกณฑ์และมัดธาย 23:4) ในเมื่อไม่สามารถหรือไม่เต็มใจจะรับรู้ว่าตอนนั้นพระเจ้าได้นำสิ่งที่เป็นตัวจริงซึ่งบัญญัติของโมเซเป็นเงานั้นเข้ามาแทนแล้ว ความหวงแหนอย่างผิด ๆ ของเขาได้กระตุ้นให้เขาระบายความโกรธต่อสาวกของพระเยซูคริสต์อย่างไม่อาจจะระงับได้. อัครสาวกเปาโล ซึ่งครั้งหนึ่งเคยภักดีต่อพระบัญญัติด้วยความหวงแหนอย่างไม่ถูกต้อง ท่านได้ชี้ให้เห็นว่าคนเหล่านั้นที่ปกป้องพระบัญญัติ “มีใจแรงกล้า [หวงแหน] เพื่อพระเจ้า; แต่หาเป็นไปตามความรู้ถ่องแท้ไม่.”—โรม 10:2, ล.ม.; ฆะลาเตีย 1:14.
ข้อห้ามหยุมหยิมนับไม่ถ้วน ซึ่งกลายเป็นภาระหนักสำหรับประชาชน. (แม้แต่ชาวยิวจำนวนมากที่เข้ามาเป็นคริสเตียนก็รู้สึกว่าเป็นเรื่องยากที่จะหลุดพ้นจากความร้อนรนเพื่อพระบัญญัติจนเกินควรเช่นนั้น. ภายหลังการเดินทางรอบที่สามในฐานะมิชชันนารี เปาโลได้รายงานต่อคณะกรรมการปกครองในศตวรรษแรกเกี่ยวกับการเปลี่ยนศาสนาของชาติต่าง ๆ. เวลานั้น คริสเตียนชาวยิวหลายพันคน “มีใจร้อนรนในการถือพระบัญญัติ.” (กิจการ 21:20) เรื่องนี้เกิดขึ้นหลังจากคณะกรรมการปกครองตัดสินไปแล้วหลายปีว่า คนต่างชาติที่เป็นคริสเตียนไม่จำเป็นต้องรับสุหนัต. ประเด็นที่ว่าด้วยการปฏิบัติตามพระบัญญัติเป็นเหตุให้มีการถกเถียงในประชาคม. (กิจการ 15:1, 2, 28, 29; ฆะลาเตีย 4:9, 10; 5:7-12) ความที่ไม่เข้าใจถ่องแท้เกี่ยวกับวิธีที่พระยะโฮวาติดต่อดำเนินการกับไพร่พลของพระองค์สมัยนั้น คริสเตียนชาวยิวบางคนจึงยืนกรานตามทัศนะของตัวเองและวิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่น.—โกโลซาย 2:17; เฮ็บราย 10:1.
ฉะนั้น เราต้องหลีกเลี่ยงบ่วงแร้วในอันที่จะพยายามอย่างหวงแหนเพื่อปกป้องความคิดเห็นหรือแนวทางที่ตนยึดมั่นซึ่งไม่ตั้งมั่นคงบนพื้นฐานแห่งพระคำของพระเจ้า. เราพึงรับรองความเข้าใจใหม่ ๆ ที่ได้จากพระคำของพระเจ้า ผ่านช่องทางที่พระยะโฮวาทรงใช้ในปัจจุบัน.
จงหวงแหนพระยะโฮวา
อย่างไรก็ตาม ความหวงแหนเยี่ยงพระเจ้าเป็นสิ่งเหมาะสมในการนมัสการแท้. เมื่อเรามีแนวโน้มจะคิดกังวลแต่ชื่อเสียงหรือสิทธิของตัวเองมากเกินไป ความหวงแหนเยี่ยงพระเจ้าจะนำพาเราให้ฝักใฝ่สนใจพระยะโฮวา. ความหวงแหนดังกล่าวจะกระตุ้นเราให้มุ่งแสวงวิธีต่าง ๆ ที่จะบอกกล่าวความจริงเกี่ยวกับพระองค์ กล่าวปกป้องแนวทางต่าง ๆ ของพระองค์และไพร่พลของพระองค์ด้วย.
อะกิโกะ พยานพระยะโฮวาผู้เผยแพร่เต็มเวลา ถูกเจ้าของบ้านตำหนิวิจารณ์อย่างเกรี้ยวกราดในเรื่องความเข้าใจกฎหมายของพระเจ้าอย่างผิด ๆ เกี่ยวกับเลือด. อะกิโกะปกป้องพระคำของพระเจ้าอย่างผ่อนหนักผ่อนเบา กระทั่งพูดถึงความซับซ้อนทางการรักษาและปัญหาแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายเลือด. ด้วยความปรารถนาอันแรงกล้าอยากพูดเกี่ยวกับพระยะโฮวา อะกิโกะจึงเปลี่ยนเรื่องสนทนาเมื่อมองเห็นว่า สิ่งซึ่งเป็นพื้นฐานจริง ๆ ที่ทำให้เจ้าของบ้านคัดค้าน นั่นคือการไม่มีความเชื่อว่าพระผู้สร้างมีอยู่จริง. อะกิโกะจึงหาเหตุผลกับเจ้าของบ้านเกี่ยวกับวิธีที่สิ่งต่าง ๆ ถูกสร้างให้หลักฐานสนับสนุนความเชื่อว่ามีพระผู้สร้าง. การกล่าวปกป้องด้วยความกล้าเช่นนั้นไม่เพียงแต่ขจัดอคติที่ไม่มีมูลเท่านั้น แต่ทำให้ได้เริ่มนำการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลกับหญิงคนนั้นด้วย. เจ้าของบ้านที่โกรธเกรี้ยวเมื่อก่อน เวลานี้เป็นผู้กล่าวคำสรรเสริญพระยะโฮวา.
ความหวงแหน หรือการมีใจแรงกล้าที่เหมาะสมเพื่อการนมัสการแท้ย่อมเป็นแรงบันดาลใจเราให้ตื่นตัวและฉวยโอกาสพูดและปกป้องความเชื่อเมื่ออยู่ในที่ทำงาน, ในโรง * อีกทั้งเสนอจะนำการศึกษาหนังสือนี้กับลูกสาว. ครั้นแล้วก็เริ่มการศึกษา แต่มารดาไม่ได้นั่งร่วมด้วย. มิโดริตัดสินใจจะให้ผู้หญิงคนนี้ได้ชมวีดิทัศน์เรื่องพยานพระยะโฮวา—องค์การเบื้องหลังชื่อนี้. * ครั้นได้ดูวีดิทัศน์แล้ว ความรู้สึกฝังใจแบบผิด ๆ หลายอย่างของเธอถูกขจัดออกไป. สิ่งที่เธอได้ดูกระตุ้นให้เธอพูดว่า “ฉันอยากเป็นอย่างพยานพระยะโฮวา.” เธอได้สมทบกับลูกสาวเมื่อมีการศึกษาพระคัมภีร์.
เรียน, ในห้างร้าน, และระหว่างการเดินทาง. ยกตัวอย่าง มิโดริตั้งใจมุ่งมั่นจะพูดเรื่องความเชื่อศรัทธากับเพื่อนในที่ทำงาน. เพื่อนร่วมงานวัย 40 คนหนึ่งบอกว่าเธอไม่สนใจจะพูดคุยกับพยานพระยะโฮวาแม้แต่น้อย. ต่อมา ณ ช่วงการสนทนาอีกคราวหนึ่ง สตรีผู้นั้นบ่นถึงลูกสาวที่กำลังมีปัญหาด้านบุคลิกภาพ. มิโดริให้เธอดูหนังสือคำถามที่หนุ่มสาวถาม—คำตอบที่ได้ผลความหวงแหนที่เหมาะสมควรมีอยู่ในประชาคมคริสเตียนด้วยเช่นกัน. ความหวงแหนดังกล่าวส่งเสริมน้ำใจแห่งความรักและความเอื้ออาทรอันอบอุ่นและกระตุ้นเราให้ต้านทานอิทธิพลในทางทำลายซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อพี่น้องฝ่ายวิญญาณของเรา เช่น การนินทาที่ก่อความเสียหายและแนวคิดออกหากเป็นต้น. ความหวงแหนเยี่ยงพระเจ้ากระตุ้นเราให้สนับสนุนการตัดสินใจของพวกผู้ปกครอง ซึ่งบางครั้งเห็นว่าจำเป็นต้องว่ากล่าวคนทำผิด. (1 โกรินโธ 5:11-13; 1 ติโมเธียว 5:20) เมื่อเขียนถึงความรู้สึกหวงแหนเพื่อนร่วมความเชื่อในประชาคมโครินท์ [โกรินโธ] เปาโลพูดดังนี้: “ข้าพเจ้าหวงแหนท่านทั้งหลายตามอย่างความหวงแหนของพระเจ้า เหตุว่าข้าพเจ้าได้หมั้นพวกท่านไว้สำหรับสามีผู้เดียว, เพื่อจะได้ถวายพวกท่านให้แก่พระคริสต์เป็นพรหมจารีอันบริสุทธิ์.” (2 โกรินโธ 11:2) ดังนั้น ความหวงแหนของเราก็จะกระตุ้นเราให้ทำทุกอย่างที่ทำได้เช่นเดียวกัน เพื่อปกป้องความบริสุทธิ์ของทุกคนในประชาคมทั้งด้านหลักคำสอน, ฝ่ายวิญญาณ, และทางศีลธรรม.
ถูกแล้ว ความหวงแหนที่เกิดจากแรงกระตุ้นที่เหมาะสม คือความหวงแหนเยี่ยงพระเจ้า ย่อมจูงใจคนอื่นในทางที่ดีงาม, ทำให้พระยะโฮวาพอพระทัย, และควรเป็นหนึ่งในคุณลักษณะที่ถือปฏิบัติในกลุ่มชนคริสเตียนสมัยนี้.—โยฮัน 2:17.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 20 จัดทำโดยพยานพระยะโฮวา.
^ วรรค 20 จัดทำโดยพยานพระยะโฮวา.
[ภาพหน้า 29]
การลงมือปฏิบัติการของฟีนะฮาศเกิดจากความหวงแหนเยี่ยงพระเจ้า
[ภาพหน้า 30]
จงหลีกเลี่ยงบ่วงแร้วของความหวงแหนที่ผิด ๆ
[ภาพหน้า 31]
ความหวงแหนเยี่ยงพระเจ้ากระตุ้นเราให้บอกเรื่องความเชื่อของเราแก่คนอื่น และทะนุถนอมภราดรภาพของเราไว้