พระยะโฮวาทรงอวยพรและปกป้องผู้ที่เชื่อฟังพระองค์
พระยะโฮวาทรงอวยพรและปกป้องผู้ที่เชื่อฟังพระองค์
“ส่วนผู้ที่ฟังเรา เขาจะอาศัยอยู่ด้วยความปลอดภัยและไม่ถูกรบกวนด้วยความหวาดกลัวเนื่องจากความหายนะ.”—สุภาษิต 1:33, ล.ม.
1, 2. เหตุใดการเชื่อฟังพระเจ้าจึงเป็นสิ่งสำคัญ? จงยกตัวอย่างเปรียบเทียบ.
ลูกเจี๊ยบขนสีเหลืองปุยกำลังง่วนอยู่กับการจิกหาอาหารกินตามพื้นหญ้า ไม่รู้เลยว่าเหยี่ยวตัวหนึ่งกำลังบินวนอยู่บนท้องฟ้า. ในทันใดนั้น แม่ไก่ก็ส่งเสียงร้องเตือนสุดเสียงและกางปีกของมันออก. ลูกไก่เหล่านี้พากันวิ่งไปหาแม่ของมัน และไม่ช้า พวกมันก็หลบอยู่ใต้ปีกแม่ไก่นั้น. เหยี่ยวตัวนั้นเลิกล้มการโจมตี. * เรื่องนี้สอนบทเรียนอะไร? การเชื่อฟังรักษาชีวิตให้รอด!
2 บทเรียนดังกล่าวสำคัญเป็นพิเศษสำหรับคริสเตียนในทุกวันนี้ เนื่องจากซาตานพยายามทุกวิถีทางที่จะจับไพร่พลของพระเจ้าเป็นเหยื่อ. (วิวรณ์ 12:9, 12, 17) เป้าหมายของมันคือทำลายสภาพฝ่ายวิญญาณของเราเพื่อให้เราสูญเสียความโปรดปรานจากพระยะโฮวาและความหวังในเรื่องชีวิตนิรันดร์. (1 เปโตร 5:8) อย่างไรก็ตาม ถ้าเราอยู่ใกล้พระเจ้าและว่องไวที่จะทำตามการชี้นำที่เราได้รับผ่านทางพระคำและองค์การของพระองค์ เราก็มั่นใจได้ว่าพระองค์จะปกป้องคุ้มครองเรา. ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญเขียนว่า “พระองค์จะทรงปกคลุมท่านไว้ด้วยปีกของพระองค์, และท่านจะอาศัยอยู่ใต้ปีกของพระองค์.”—บทเพลงสรรเสริญ 91:4.
ชาติที่ไม่เชื่อฟังกลายเป็นเหยื่อ
3. ผลของการไม่เชื่อฟังซ้ำแล้วซ้ำเล่าของชาติอิสราเอลคืออะไร?
3 เมื่อชาติอิสราเอลเชื่อฟังพระยะโฮวา ชาตินั้นได้รับประโยชน์จากการเอาใจใส่ดูแลของพระองค์ไม่ขาด. กระนั้น บ่อยครั้งเหลือเกินที่ชนชาตินั้นละทิ้งพระผู้สร้างของพวกเขาและหันไปหาพระเจ้าที่ทำจากไม้และหิน “สิ่งอนิจจังซึ่งไม่เป็นประโยชน์หรือไม่ช่วยให้พ้น.” (1 ซามูเอล 12:21, ฉบับแปลใหม่) หลังจากหลายศตวรรษแห่งการกบฏ ชาตินี้โดยรวมถลำลึกในการออกหากจนเกินกว่าที่จะฟื้นฟูได้. ด้วยเหตุนั้น พระเยซูจึงทรงคร่ำครวญว่า “โอยะรูซาเลม ๆ ที่ได้ฆ่าบรรดาศาสดาพยากรณ์, และเอาหินขว้างผู้ที่รับใช้มาหาเจ้า, เราใคร่จะรวบรวมลูกของเจ้าไว้เนือง ๆ เหมือนแม่ไก่กกลูกอยู่ใต้ปีกของมัน, แต่เจ้าไม่ยอม. นี่แหละเรือนของเจ้าก็ถูกปล่อยไว้ให้ร้างตามลำพังเจ้า.”—มัดธาย 23:37, 38.
4. การที่พระยะโฮวาทอดทิ้งกรุงเยรูซาเลมนั้นเห็นได้ชัดอย่างไรในปี ส.ศ. 70?
4 การที่พระยะโฮวาทอดทิ้งชาติอิสราเอลที่ทรยศนั้นเห็นได้ชัดจากเหตุการณ์อันน่าเศร้าสลดที่เกิดขึ้นในปี ส.ศ. 70. ในปีนั้นเอง กองทัพโรมันซึ่งชูสัญลักษณ์ประจำกองทัพที่ประดับด้วยรูปนกอินทรี ได้เข้าโจมตีกรุงเยรูซาเลมอย่างฉับพลัน และสังหารผู้คนมากมายอย่างโหดเหี้ยมทารุณ. ในตอนนั้น กรุงเยรูซาเลมเนืองแน่นไปด้วยผู้คนที่มาร่วมฉลองปัศคา. เครื่องบูชามากมายที่พวกเขาถวายไม่ได้ทำให้พระเจ้าพอพระทัย. เหตุการณ์นี้เป็นการเตือนใจอันน่าเศร้าให้ระลึกถึงคำพูดของซามูเอลที่กล่าวแก่กษัตริย์ซาอูลที่ไม่เชื่อฟังว่า “พระยะโฮวาทรงพอพระทัยในเครื่องเผาบูชาเครื่องถวายเสมอเหมือนกับการเชื่อฟังพระดำรัสของพระองค์หรือ? ดูกรท่าน, การเชื่อฟังก็ประเสริฐกว่าเครื่องบูชา, และ1 ซามูเอล 15:22.
การสดับฟังนั้นประเสริฐกว่ามันแกะตัวผู้อีก.”—5. พระยะโฮวาทรงเรียกร้องการเชื่อฟังแบบใด และเราทราบได้อย่างไรว่าการเชื่อฟังเช่นนั้นเป็นไปได้?
5 ถึงแม้พระยะโฮวาเรียกร้องการเชื่อฟัง แต่พระองค์ก็ทราบดีถึงข้อจำกัดของมนุษย์ที่ไม่สมบูรณ์. (บทเพลงสรรเสริญ 130:3, 4) สิ่งที่พระองค์เรียกร้องคือความจริงใจและการเชื่อฟังที่มาจากความเชื่อ, ความรัก, และความกลัวอย่างเหมาะสมว่าจะทำให้พระองค์ไม่พอพระทัย. (พระบัญญัติ 10:12, 13; สุภาษิต 16:6; ยะซายา 43:10; มีคา 6:8; โรม 6:17) มีการแสดงให้เห็นว่าการเชื่อฟังเช่นนั้นเป็นไปได้โดย ‘เมฆใหญ่แห่งพยานก่อนสมัยคริสเตียน’ ผู้ซึ่งรักษาความซื่อสัตย์มั่นคงแม้เผชิญความยากลำบาก กระทั่งความตาย. (เฮ็บราย 11:36, 37; 12:1, ล.ม.) คนเหล่านี้ช่างทำให้พระหฤทัยของพระยะโฮวามีความยินดีจริง ๆ! (สุภาษิต 27:11) อย่างไรก็ตาม คนอื่น ๆ ได้รักษาความซื่อสัตย์ในช่วงต้น แต่ก็ไม่ได้รักษาแนวทางแห่งการเชื่อฟังไว้ตลอดไป. คนหนึ่งในพวกนั้นคือกษัตริย์โยอาศแห่งอาณาจักรยูดาห์โบราณ.
กษัตริย์ที่ประสบความหายนะ เพราะการคบหาสมาคมที่ไม่ดี
6, 7. โยอาศเป็นกษัตริย์แบบไหนเมื่อยะโฮยาดายังมีชีวิต?
6 กษัตริย์โยอาศเกือบไม่รอดชีวิตเมื่อมีผู้พยายามปลงพระชนม์พระองค์ขณะยังเป็นทารก. เมื่อโยอาศพระชนมายุได้เจ็ดพรรษา มหาปุโรหิตยะโฮยาดากล้าที่จะนำพระองค์ออกจากที่หลบซ่อน และตั้งพระองค์ขึ้นเป็นกษัตริย์. เนื่องจากยะโฮยาดาผู้ยำเกรงพระเจ้าทำหน้าที่เป็นบิดาและผู้ถวายคำปรึกษาแก่โยอาศ ผู้ปกครองวัยเยาว์องค์นี้จึง “ประพฤติเป็นการชอบต่อพระเนตรพระยะโฮวา, ตลอดชั่วอายุของยะโฮยาดาผู้ปุโรหิต.”—2 โครนิกา 22:10–23:1, 11; 24:1, 2.
7 การกระทำที่ดีของโยอาศรวมถึงการ “ตั้งพระราชหฤทัย” ที่จะบูรณะพระวิหารของพระยะโฮวา. พระองค์เตือนมหาปุโรหิตยะโฮยาดาถึงความจำเป็นที่จะเก็บเงินภาษีบำรุงพระวิหารจากยูดาห์และเยรูซาเลม ตามที่ ‘โมเซได้กำหนดไว้’ เพื่อเป็นทุนในการซ่อมแซมพระวิหาร. ดูเหมือนว่า ยะโฮยาดาประสบความสำเร็จในการสนับสนุนกษัตริย์วัยเยาว์ให้ศึกษาและเชื่อฟังพระบัญญัติของพระเจ้า. ผลคืองานบูรณะพระวิหารและการทำเครื่องภาชนะสำหรับพระวิหารแล้วเสร็จในเวลาอันสั้น.—2 โครนิกา 24:4, 6, 13, 14; พระบัญญัติ 17:18.
8. (ก) อะไรเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้โยอาศตกต่ำฝ่ายวิญญาณ? (ข) ในที่สุด การไม่เชื่อฟังของกษัตริย์ชักนำพระองค์ให้ทำอะไร?
8 น่าเศร้า โยอาศไม่ได้เชื่อฟังพระยะโฮวาตลอดไป. เพราะเหตุใด? พระคำของพระเจ้าบอกเราดังนี้: “ภายหลังยะโฮยาดาสิ้นชีพแล้ว เจ้านายแผ่นดินยูดาได้เข้ามาเฝ้ากษัตริย์ถวายบังคม, แล้วท่านทรงโปรดอนุญาตให้ตามเขาทูล. พวกนั้นจึงได้ละทิ้งโบสถ์วิหารของพระยะโฮวา พระเจ้าแห่งปู่ย่าตายาย, ไปปฏิบัติเสารูปเคารพและกราบไหว้รูป: เพราะเหตุการณ์หลงผิดนั้นจึงมีพระพิโรธมาสวมทับแผ่นดินยูดาและกรุงยะรูซาเลม.” อิทธิพลที่ไม่ดีของบรรดาเจ้านายแห่งยูดาห์ยังชักนำกษัตริย์ให้ไม่ยอมฟังพวกผู้พยากรณ์ของพระเจ้า ซึ่งหนึ่งในนั้นคือซะคาระยาบุตรยะโฮยาดาผู้ได้ว่ากล่าวโยอาศและประชาชนอย่างกล้าหาญถึงการไม่เชื่อฟังของพวกเขา. แทนที่จะกลับใจ โยอาศบงการให้เอาหินขว้างซะคาระยาจนตาย. โยอาศช่างกลายเป็นคนที่ไม่เชื่อฟังและใจอำมหิตอะไรอย่างนั้น ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะพระองค์ไม่ต้านทานอิทธิพลของการคบหาสมาคมที่ไม่ดี!—2 โครนิกา 24:17-22; 1 โกรินโธ 15:33.
9. ผลที่เกิดขึ้นขั้นสุดท้ายต่อโยอาศและพวกเจ้านายเน้นถึงความโง่เขลาของการไม่เชื่อฟังอย่างไร?
9 เนื่องจากละทิ้งพระยะโฮวา โยอาศและพวกเจ้านาย2 โครนิกา 24:23-25; 2 กษัตริย์ 12:17, 18) คำตรัสของพระยะโฮวาต่อชาติอิสราเอลช่างเป็นจริงสักเพียงไรที่ว่า “ถ้าเจ้าทั้งหลายไม่เชื่อฟังถ้อยคำแห่งพระยะโฮวาพระเจ้าของเจ้า, ไม่ทำตามข้อบัญญัติข้อกฎหมายทั้งปวงของพระองค์ .. . ความแช่งทั้งปวง . . . ก็จะมาตามเจ้าทั้งหลาย”!—พระบัญญัติ 28:15.
ชั่วที่คบหากับพระองค์ได้รับผลเช่นไร? กองทัพขนาดเล็กของชาวซีเรียมารุกรานยูดาห์และได้ “ฆ่าเจ้านายทั้งปวงให้ขาดศูนย์ไปจากพลไพร่.” กองทัพที่รุกรานนั้นยังได้บังคับกษัตริย์ให้ยอมมอบราชทรัพย์ส่วนพระองค์ รวมทั้งทองคำและเงินในสถานศักดิ์สิทธิ์. แม้ว่าโยอาศรอดชีวิตมาได้ แต่พระองค์ก็ถูกละไว้ด้วยโรคร้ายกับความเจ็บปวดรวดร้าว. ไม่นานหลังจากนั้น ข้าราชการบางคนของพระองค์คบคิดกันปลงพระชนม์พระองค์เสีย. (เลขานุการที่รอดชีวิตเพราะการเชื่อฟัง
10, 11. (ก) เหตุใดจึงเป็นประโยชน์ที่จะพิจารณาคำแนะนำที่พระยะโฮวาให้แก่บารุค? (ข) พระยะโฮวาให้คำแนะนำอะไรแก่บารุค?
10 บางครั้ง คุณรู้สึกหมดกำลังใจไหมเนื่องจากผู้คนที่คุณพบในงานประกาศมีเพียงไม่กี่คนที่สนใจข่าวดี? เป็นครั้งคราว คุณรู้สึกอิจฉาคนมั่งมีและรูปแบบชีวิตของพวกเขาที่ทำอะไรก็ได้ตามใจชอบบ้างไหม? ถ้าอย่างนั้น ขอให้คิดถึงบารุคผู้เป็นเลขานุการของยิระมะยา และพิจารณาคำแนะนำอันเปี่ยมด้วยความรักที่พระยะโฮวาทรงให้แก่ท่าน.
11 ขณะที่บารุคกำลังบันทึกข่าวสารเชิงพยากรณ์ พระยะโฮวาได้มุ่งความสนใจมายังท่าน. ทำไม? เนื่องจากบารุคเริ่มรู้สึกเวทนาความเป็นไปในชีวิตของท่านและปรารถนาบางสิ่งที่ดีกว่าสิทธิพิเศษในการรับใช้พระเจ้า. เมื่อได้สังเกตเห็นเจตคติที่เปลี่ยนไปของบารุค พระยะโฮวาจึงให้คำแนะนำที่ชัดเจนและกรุณาแก่ท่าน โดยตรัสว่า “เจ้าได้แสวงหาซึ่งของใหญ่สำหรับตัวหรือ, อย่าหาเลย, เพราะนี่แน่ะ, เราจะนำความร้ายมาบนบรรดาเนื้อหนัง, . . . แต่ชีวิตของเจ้าจะยกให้แก่เจ้าเป็นของปล้นสำหรับเจ้าในบรรดาตำบลที่เจ้าจะไปอยู่นั้น.”—ยิระมะยา 36:4; 45:5.
12. ทำไมเราไม่ควรแสวงหา “ของใหญ่” สำหรับตนเองในระบบปัจจุบัน?
12 ในถ้อยคำที่พระองค์ตรัสกับบารุค คุณรู้สึกไหมถึงความห่วงใยอย่างลึกซึ้งของพระยะโฮวาที่มีต่อชายที่น่าชื่นชมคนนี้ ซึ่งได้รับใช้พระองค์อย่างซื่อสัตย์และกล้าหาญเคียงบ่าเคียงไหล่กับยิระมะยา? คล้ายกันในทุกวันนี้ พระยะโฮวาทรงห่วงใยอย่างลึกซึ้งต่อคนเหล่านั้นที่ถูกล่อใจให้ติดตามสิ่งที่พวกเขาคิดว่าเป็นโอกาสทำรายได้ดีกว่าในระบบนี้. น่ายินดี เช่นเดียวกับบารุค หลายคนในพวกเขาได้ตอบรับการปรับด้วยความรักจากพี่น้องชายที่มีหน้าที่รับผิดชอบ. (ลูกา 15:4-7) ใช่แล้ว ขอเราทุกคนมองให้ออกว่าคนเหล่านั้นที่แสวงหา “ของใหญ่” สำหรับตนเองในระบบนี้ไม่มีอนาคต. คนเหล่านั้นไม่เพียงแต่จะไม่พบความสุขแท้ แต่ที่แย่ยิ่งกว่านั้นคือ ในไม่ช้าพวกเขาจะสูญสิ้นไปพร้อมกับโลกนี้และความปรารถนาทุกอย่างที่เห็นแก่ตัวของมัน.—มัดธาย 6:19, 20; 1 โยฮัน 2:15-17.
13. เรื่องราวเกี่ยวกับบารุคสอนบทเรียนอะไรแก่เราในเรื่องความถ่อมใจ?
13 เรื่องราวเกี่ยวกับบารุคยังสอนบทเรียนที่ดีแก่เราเรื่องความถ่อมใจด้วย. สังเกตว่าพระยะโฮวาไม่ได้ให้คำแนะนำแก่บารุคโดยตรงแต่ตรัสผ่านทางยิระมะยา ซึ่งเป็นคนไม่สมบูรณ์และมีบุคลิกที่แปลก ๆ และบารุคก็คงทราบดี. (ยิระมะยา 45:1, 2) กระนั้น บารุคไม่ได้ปล่อยให้ความหยิ่งเข้าครอบงำ; ด้วยความถ่อมใจ ท่านมองออกว่าแหล่งแห่งคำแนะนำที่แท้จริงคือพระยะโฮวา. (2 โครนิกา 26:3, 4, 16; สุภาษิต 18:12; 19:20) ดังนั้น ถ้าเรา ‘ก้าวพลาดไปประการใดก่อนที่เรารู้ตัว’ และได้รับคำแนะนำที่จำเป็นจากพระคำของพระเจ้า ขอให้เราเลียนแบบความอาวุโส, ความสังเกตเข้าใจฝ่ายวิญญาณ, และความถ่อมใจของบารุค.—ฆะลาเตีย 6:1, ล.ม.
14. เหตุใดจึงเป็นประโยชน์ที่จะเชื่อฟังคนเหล่านั้นซึ่งนำหน้าในท่ามกลางพวกเรา?
14 การที่เรามีเจตคติที่ถ่อมใจอย่างนั้นช่วยผู้ซึ่งให้คำแนะนำแก่เราด้วย. เฮ็บราย 13:17 (ล.ม.) กล่าวว่า “จงเชื่อฟังคนเหล่านั้นซึ่งนำหน้าในท่ามกลางท่านทั้งหลายและจงอยู่ใต้อำนาจ เพราะพวกเขาคอยดูแลจิตวิญญาณของท่านในฐานะเป็นผู้ซึ่งจะชี้แจงรายงาน; เพื่อเขาจะทำเช่นนี้ด้วยความยินดี และไม่ใช่ด้วยการถอนใจ เพราะการเช่นนั้นคงจะเป็นความเสียหายแก่ท่าน.” บ่อยครั้งเพียงไรที่เหล่าผู้ปกครองอธิษฐานถึงพระยะโฮวาอย่างจริงจังเพื่อขอความกล้า, สติปัญญา, และวิจารณญาณที่จำเป็นเพื่อทำงานในด้านที่ยากของการบำรุงเลี้ยงนี้ให้สำเร็จ! ขอให้เรา “นับถือคนเช่นนั้น.”—1 โกรินโธ 16:18.
15. (ก) ยิระมะยาแสดงอย่างไรว่าท่านมั่นใจในตัวบารุค? (ข) บารุคได้รับบำเหน็จอย่างไรจากการเชื่อฟังด้วยใจถ่อม?
ยิระมะยา 36:1-6, 8, 14, 15, ล.ม.) ราว 18 ปีต่อมา เมื่อกรุงนั้นถูกทำลายโดยชาวบาบิโลน ขอให้นึกภาพว่าบารุคต้องรู้สึกขอบคุณสักเพียงไรที่ท่านได้รับการรักษาชีวิตให้รอดเพราะเชื่อฟังคำเตือนของพระยะโฮวาและหยุดแสวงหา “ของใหญ่” สำหรับตนเอง!—ยิระมะยา 39:1, 2, 11, 12; 43:6.
15 การที่บารุคปรับความคิดของท่านนั้นเห็นได้ชัด เนื่องจากต่อมายิระมะยามอบหมายงานที่ท้าทายที่สุดชิ้นหนึ่งแก่ท่าน คือให้ไปยังพระวิหารและอ่านข่าวสารแห่งการพิพากษาที่ท่านเองเขียนตามคำบอกของยิระมะยาให้ประชาชนฟัง. บารุคเชื่อฟังไหม? ใช่แล้ว ท่านทำ “ทุกสิ่งตามที่ยิระมะยาผู้พยากรณ์ได้สั่ง [ท่าน] ไว้.” จริง ๆ แล้ว ท่านถึงกับอ่านข่าวสารเดียวกันนี้ให้พวกเจ้านายในกรุงเยรูซาเลมฟัง ซึ่งคงต้องอาศัยความกล้าอย่างมาก. (การเชื่อฟังระหว่างถูกปิดล้อมทำให้รอดชีวิต
16. พระยะโฮวาทรงแสดงความเมตตาสงสารต่อชาวยิวในกรุงเยรูซาเลมระหว่างการปิดล้อมโดยชาวบาบิโลนในปี 607 ก่อน ส.ศ. อย่างไร?
16 เมื่ออวสานของกรุงเยรูซาเลมมาถึงในปี 607 ก่อน ส.ศ. ความเมตตาสงสารของพระเจ้าต่อผู้ที่เชื่อฟังพระองค์นั้นปรากฏชัดอีกครั้งหนึ่ง. เมื่อการปิดล้อมกรุงมาถึงขั้นสุดยอด พระยะโฮวาตรัสกับชาวยิวว่า “นี่แน่ะ, เราตั้งทางตรงหน้าพวกเจ้าสองทาง, คือทางชีวิตแลทางความตาย. ผู้ใดอยู่ในเมืองนี้จะ [ตาย] ด้วยกะบี่, แลด้วยอดอยาก, แลด้วยโรคห่า, แต่ผู้ที่ออกจากเมือง, แลตกอยู่กับชาติเคเซ็ดที่ยังล้อมเมืองไว้นั้น [“และหนีไปเข้าพวกกับชาวแคลเดียที่ล้อมพวกเจ้าอยู่,” ล.ม.], จะได้รอดชีวิตของตัว, แลชีวิตของเขานั้นจะเป็นต่างของปล้นแก่ตัว.” (ยิระมะยา 21:8, 9) ถึงแม้ผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงเยรูซาเลมสมควรถูกทำลาย พระยะโฮวาทรงแสดงความเมตตาสงสารต่อผู้ที่เชื่อฟังพระองค์ แม้เป็นช่วงวิกฤติ ในนาทีสุดท้ายก็ตาม. *
17. (ก) สองทางใดที่เป็นการทดสอบการเชื่อฟังของยิระมะยาเมื่อพระยะโฮวาทรงสั่งท่านให้บอกแก่ชาวยิวที่ถูกปิดล้อมให้ “หนีไปเข้าพวกกับชาวแคลเดีย”? (ข) เราได้รับประโยชน์อย่างไรจากตัวอย่างของยิระมะยาในเรื่องการเชื่อฟังด้วยความกล้าหาญ?
17 การบอกชาวยิวให้ยอมจำนนนั้นย่อมเป็นการทดสอบการเชื่อฟังของยิระมะยาด้วยเช่นกัน. เหตุผลประการหนึ่งคือท่านมีใจแรงกล้าเพื่อพระนามของพระเจ้า. ท่านไม่ต้องการให้พระนามของพระองค์เป็นที่ติเตียนโดยพวกศัตรูที่จะยกย่องรูปเคารพที่ไร้ชีวิตว่าเป็นเหตุให้พวกเขาได้รับชัยชนะ. (ยิระมะยา 50:2, 11; บทเพลงร้องทุกข์ 2:16) นอกจากนี้ ยิระมะยารู้ว่าการบอกประชาชนให้ยอมจำนนเป็นการทำให้ชีวิตของท่านเองตกอยู่ในอันตรายอย่างยิ่ง เนื่องจากหลายคนจะตีความคำกล่าวของท่านว่าเป็นการยุยง. แต่ท่านไม่หวาดหวั่น ตรงกันข้าม ท่านป่าวประกาศคำตรัสของพระยะโฮวาด้วยความเชื่อฟัง. (ยิระมะยา 38:4, 17, 18) เหมือนยิระมะยา พวกเราประกาศข่าวสารซึ่งไม่เป็นที่นิยมชมชอบของคนทั่วไปเช่นกัน. พระเยซูก็ถูกดูหมิ่นเพราะข่าวสารอย่างเดียวกันนี้. (ยะซายา 53:3; มัดธาย 24:9) ด้วยเหตุนั้น ขอให้เราอย่าหวั่น “กลัวมนุษย์” แต่เหมือนยิระมะยา ขอให้เราเชื่อฟังพระยะโฮวาด้วยความกล้าหาญ และไว้วางใจในพระองค์อย่างเต็มที่.—สุภาษิต 29:25, ล.ม.
การเชื่อฟังขณะเผชิญการโจมตีของโกก
18. ในอนาคต ผู้รับใช้ของพระยะโฮวาจะเผชิญการทดสอบอะไรเกี่ยวกับการเชื่อฟัง?
18 ในไม่ช้า ระบบชั่วทั้งสิ้นของซาตานจะถูกทำลายใน “ความทุกข์ลำบากใหญ่” ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน. (มัดธาย 24:21) เราคาดหมายได้ว่าทั้งก่อนและระหว่างความทุกข์ลำบากใหญ่นั้น ไพร่พลของพระเจ้าจะเผชิญการทดสอบความเชื่อและการเชื่อฟังอย่างหนัก. เพื่อเป็นตัวอย่าง คัมภีร์ไบเบิลบอกเราว่าซาตาน ในฐานะที่เป็น “โกกแห่งแผ่นดินมาโกก” จะพยายามทุกวิถีทางเพื่อโจมตีผู้รับใช้ของพระยะโฮวา โดยรวบรวมกำลังพลจำนวนมหาศาลที่มีการพรรณนาว่าเป็น “กองทัพมหึมา . . . เหมือนอย่างเมฆคลุมแผ่นดิน.” (ยะเอศเคล 38:2, 14-16, ฉบับแปลใหม่) ไพร่พลของพระเจ้าที่มีจำนวนน้อยกว่าและไม่มีอาวุธจะแสวงหาการลี้ภัยอยู่ใต้ “ปีก” ของพระยะโฮวา ซึ่งพระองค์แผ่ออกเพื่อปกป้องผู้ที่เชื่อฟัง.
19, 20. (ก) เหตุใดการเชื่อฟังของชาวอิสราเอลขณะอยู่ที่ทะเลแดงจึงเป็นเรื่องสำคัญจริง ๆ? (ข) การไตร่ตรองเรื่องราวที่ทะเลแดงพร้อมด้วยการอธิษฐานเป็นประโยชน์อย่างไรสำหรับเราในทุกวันนี้?
19 สภาพการณ์ดังกล่าวทำให้เรานึกถึงการอพยพออกจากอียิปต์ของชาวอิสราเอล. หลังจากโจมตีอียิปต์ด้วยภัยพิบัติสิบประการ พระยะโฮวาทรงนำไพร่พลของพระองค์ไปสู่แผ่นดินตามคำสัญญา ไม่ใช่ผ่านเส้นทางที่สั้นที่สุด แต่อ้อมลงไปยังทะเลแดง ที่ซึ่งพวกเขาจะจนมุมและถูกโจมตีได้ง่าย. เมื่อมองจากแง่คิดทางทหาร นั่นดูเหมือนเป็นการเคลื่อนย้ายไปในทางที่ก่อผลเสียหายร้ายแรง. ถ้าคุณอยู่ที่นั่นในเวลานั้น คุณจะเชื่อฟังคำตรัสของพระยะโฮวาผ่านทางโมเซและเคลื่อนขบวนไปยังทะเลแดงด้วยความเชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยมไหม ทั้งที่รู้อยู่ว่าดินแดนตามคำสัญญานั้นไปอีกทางหนึ่ง?—เอ็กโซโด 14:1-4.
20 ขณะที่เราอ่านเอ็กโซโดบท 14 เราเห็นวิธีที่พระยะโฮวาช่วยไพร่พลของพระองค์ให้รอดพ้นด้วยการแสดงฤทธิ์อำนาจอันน่าเกรงขาม. เรื่องราวดังกล่าวช่างเสริมความเชื่อของเราจริง ๆ เมื่อเราใช้เวลาศึกษาและไตร่ตรองเรื่องราวเหล่านั้น! (2 เปโตร 2:9) ผลที่ตามมาคือ ความเชื่อที่มั่นคงจะเสริมเราให้เข้มแข็งเพื่อเชื่อฟังพระยะโฮวา แม้เมื่อข้อเรียกร้องของพระองค์ดูเหมือนขัดแย้งกับการคิดหาเหตุผลของมนุษย์. (สุภาษิต 3:5, 6) ฉะนั้น ขอให้เราถามตัวเองดังนี้: ‘ฉันกำลังพยายามเสริมสร้างความเชื่อของฉันโดยหมั่นศึกษาคัมภีร์ไบเบิล, อธิษฐาน, และคิดรำพึง อีกทั้งคบหากับไพร่พลของพระเจ้าเป็นประจำไหม?’—เฮ็บราย 10:24, 25; 12:1-3.
การเชื่อฟังทำให้มีความหวัง
21. มีพระพรอะไรในปัจจุบันและอนาคตสำหรับคนเหล่านั้นที่เชื่อฟังพระยะโฮวา?
21 คนเหล่านั้นที่ทำให้การเชื่อฟังพระยะโฮวาเป็นทางแห่งชีวิตของตนประสบว่าถ้อยคำที่สุภาษิต 1:33 (ล.ม.) เป็นจริงแม้แต่ในทุกวันนี้ ซึ่งกล่าวว่า “ส่วนผู้ที่ฟัง [เชื่อฟัง] เรา เขาจะอาศัยอยู่ด้วยความปลอดภัยและไม่ถูกรบกวนด้วยความหวาดกลัวเนื่องจากความหายนะ.” ถ้อยคำที่ให้การชูใจนี้จะเป็นจริงอย่างน่าพิศวงสักเพียงไรในวันแห่งการแก้แค้นของพระยะโฮวาที่กำลังใกล้เข้ามา! ที่จริง พระเยซูทรงบอกเหล่าสาวกของพระองค์ดังนี้: “ขณะที่เหตุการณ์ทั้งปวงนี้เริ่มจะบังเกิดขึ้น เจ้าทั้งหลายจงยืดตัวตรงและชู ศีรษะขึ้น เพราะการช่วยให้รอดพ้นสำหรับพวกเจ้าใกล้จะถึงแล้ว.” (ลูกา 21:28, ล.ม.) เห็นได้ชัด เฉพาะคนเหล่านั้นที่เชื่อฟังพระเจ้าเท่านั้นจะมีความมั่นใจในการปฏิบัติตามถ้อยคำเหล่านี้.—มัดธาย 7:21.
22. (ก) ทำไมไพร่พลของพระยะโฮวาจึงมีความมั่นใจ? (ข) จะมีการพิจารณาเรื่องอะไรในบทความถัดไป?
22 เหตุผลอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้มีความมั่นใจคือ “พระยะโฮวาองค์บรมมหิศรจะไม่ทรงทำสิ่งใด เว้นแต่พระองค์ได้ทรงเปิดเผยเรื่องซึ่งพระองค์ถือเป็นความลับแก่ผู้รับใช้ของพระองค์คือพวกผู้พยากรณ์.” (อาโมศ 3:7, ล.ม.) ทุกวันนี้ พระยะโฮวาไม่ได้ดลใจพวกผู้พยากรณ์เหมือนอย่างในอดีต แทนที่จะทำเช่นนั้น พระองค์ทรงมอบหมายชนชั้นทาสสัตย์ซื่อให้จัดเตรียมอาหารฝ่ายวิญญาณตามเวลาแก่ครอบครัวของพระองค์. (มัดธาย 24:45-47, ล.ม.) ด้วยเหตุนี้ การมีเจตคติที่เชื่อฟังต่อ “ทาส” นั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเราจริง ๆ! ดังที่บทความถัดไปจะแสดงให้เห็น การเชื่อฟังเช่นนั้นยังเป็นการสะท้อนถึงเจตคติที่เรามีต่อพระเยซู ผู้เป็นนายของ “ทาส.” พระองค์เป็นผู้ที่ “ชนชาติทั้งปวงจะต้องเชื่อฟัง.”—เยเนซิศ 49:10, ล.ม.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 1 แม้บ่อยครั้งมีการให้ภาพแม่ไก่ว่าเป็นสัตว์ขี้ขลาด แต่จริง ๆ แล้ว “แม่ไก่จะต่อสู้เพื่อปกป้องลูก ๆ ของมันด้วยชีวิต” เอกสารเผยแพร่ของสมาคมพิทักษ์สัตว์แห่งหนึ่งกล่าวไว้อย่างนั้น.
^ วรรค 16 ยิระมะยา 38:19 (ล.ม.) เปิดเผยว่ามีชาวยิวจำนวนหนึ่ง “หนี” ไปเข้าพวกกับชาวแคลเดียและไม่ถูกประหาร แต่ถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลย. เหตุที่พวกเขายอมจำนนนั้นเป็นเพราะได้ฟังคำของยิระมะยาหรือไม่ เราไม่ทราบ. กระนั้น การที่พวกเขารอดชีวิตเป็นการยืนยันความถูกต้องของถ้อยคำของผู้พยากรณ์.
คุณจำได้ไหม?
• ผลของการไม่เชื่อฟังซ้ำแล้วซ้ำเล่าของชาติอิสราเอลคืออะไร?
• การคบหาสมาคมมีผลเช่นไรต่อกษัตริย์โยอาศในช่วงแรกและช่วงหลังของชีวิต?
• บทเรียนอะไรที่เราเรียนได้จากบารุค?
• ทำไมผู้ที่เชื่อฟังพระยะโฮวาจึงไม่มีสาเหตุที่จะกลัวขณะที่ระบบปัจจุบันใกล้จะถึงอวสาน?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 13]
เมื่ออยู่ภายใต้การชี้นำของยะโฮยาดา โยอาศผู้เยาว์ได้เชื่อฟังพระยะโฮวา
[ภาพหน้า 15]
การคบหาสมาคมที่ไม่ดีชักนำโยอาศให้บงการฆ่าผู้พยากรณ์ของพระเจ้า
[ภาพหน้า 16]
ถ้าคุณอยู่ที่ทะเลแดง คุณจะเชื่อฟังพระยะโฮวาและเป็นพยานถึงฤทธิ์อำนาจอันน่าเกรงขามในการช่วยให้รอดของพระองค์ไหม?