โบราณคดีสนับสนุนคัมภีร์ไบเบิลไหม?
โบราณคดีสนับสนุนคัมภีร์ไบเบิลไหม?
โบราณคดีมีประโยชน์สำหรับเหล่านักศึกษาคัมภีร์ไบเบิล เนื่องจากการค้นพบทางโบราณคดีมักจะให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิถีชีวิต, สภาพการณ์, ประเพณี, และภาษาที่ใช้ในสมัยพระคัมภีร์. โบราณคดียังให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับความสำเร็จเป็นจริงของคำพยากรณ์ในคัมภีร์ไบเบิลด้วย เช่น คำพยากรณ์ที่กล่าวถึงความล่มจมของบาบิโลนโบราณ, นีเนเวห์, และไทร์ (ตุโร). (ยิระมะยา 51:37; ยะเอศเคล 26:4, 12; ซะฟันยา 2:13-15) อย่างไรก็ตาม โบราณคดีมีข้อจำกัด. โบราณวัตถุต้องได้รับการตีความ และการตีความเป็นเรื่องที่ผิดพลาดได้และถูกดัดแปลงแก้ไขได้.
ความเชื่อของคริสเตียนไม่ได้อาศัยแจกันแตก ๆ, ก้อนอิฐผุกร่อน, หรือกำแพงที่หักพัง แต่อาศัยความจริงฝ่ายวิญญาณในคัมภีร์ไบเบิลที่สอดคล้องลงรอยกันทั้งหมด. (2 โครินท์ 5:7; ฮีบรู 11:1) แน่นอนว่า ความสอดคล้องลงรอยกัน, ความตรงไปตรงมา, คำพยากรณ์ที่สำเร็จเป็นจริง, และลักษณะอื่น ๆ อีกหลายอย่างของคัมภีร์ไบเบิลให้หลักฐานที่ทำให้มั่นใจว่า “พระคัมภีร์ทุกตอนมีขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า.” (2 ติโมเธียว 3:16) กระนั้น ให้เรามาพิจารณาการค้นพบทางโบราณคดีที่น่าสนใจบางอย่างซึ่งช่วยยืนยันเรื่องราวในคัมภีร์ไบเบิล.
ในปี 1970 ทีมนักโบราณคดีที่ขุดค้นบริเวณกรุงเยรูซาเลมได้พบซากปรักหักพังของบ้านที่ถูกไฟไหม้. นาห์มาน อาวีกาด หัวหน้าทีมขุดค้นเขียนว่า “ถ้าผู้เชี่ยวชาญในด้านโบราณคดีมาเห็นก็จะรู้ทันทีว่าเกิดอะไรขึ้น. ไฟได้เผาผลาญบ้านหลังนี้ และทำให้ผนังกับเพดานบ้านพังลงมา.” ในห้องหนึ่งพบกระดูก [1] ท่อนแขนข้างหนึ่งซึ่งมีนิ้วเหยียดออกไปจับขั้นบันได.
สิ่งที่กระจายอยู่บนพื้นคือเหรียญ [2] ซึ่งเหรียญที่อายุน้อยที่สุดมีอายุย้อนไปในปีที่สี่ของช่วงที่ชาวยิวกบฏต่อโรม คือปีสากลศักราช 69. เหรียญเหล่านี้กระจัดกระจายอยู่บนพื้นก่อนที่บ้านจะยุบพังลงมา. อาวีกาดกล่าวว่า “เมื่อเห็นแบบนี้ทำให้เรานึกถึงสิ่งที่โยเซฟุสพรรณนาถึงตอนที่ทหารโรมันเข้าปล้นบ้านเรือนหลังจากที่กรุงเยรูซาเลมถูกพิชิต.” นักประวัติศาสตร์คำนวณเวลาที่พวกโรมันปล้นสะดมกรุงเยรูซาเลมคือปีสากลศักราช 70.
จากการวิเคราะห์ทำให้ทราบว่ากระดูกนั้นเป็นของสตรีวัย 20 กว่าปี. บทวิจารณ์โบราณคดีด้านคัมภีร์ไบเบิล (ภาษาอังกฤษ) กล่าวว่า “หญิงสาวคนนี้ติดอยู่ในกองเพลิงตอนที่พวกโรมันโจมตี ตอนที่เสียชีวิตเธออยู่ในห้องครัวของบ้านที่ถูกไฟไหม้และกำลังจะคลานไปที่บันไดใกล้ประตู. ไฟได้ลุกลามไปเร็วมาก . . . เธอหนีไม่ได้และถูกฝังอยู่ใต้ซากที่พังลงมา.”
ฉากเหตุการณ์นี้เตือนเราให้นึกถึงคำพยากรณ์ของพระเยซูเกี่ยวกับกรุงเยรูซาเลมซึ่งตรัสไว้เกือบ 40 ปีก่อนที่จะเกิดลูกา 19:43, 44.
ขึ้นจริงดังนี้: “ศัตรูของเจ้า . . . จะเหวี่ยงเจ้ากับลูก ๆ ที่อยู่ภายในเจ้าลงกับดิน พวกเขาจะไม่ปล่อยให้เหลือศิลาซ้อนทับกันอยู่ภายในเจ้าเลย.”—การค้นพบทางโบราณคดีที่สนับสนุนถ้อยคำในคัมภีร์ไบเบิลยังรวมถึงชื่อบุคคลต่าง ๆ ที่กล่าวถึงในพระคัมภีร์ด้วย. การค้นพบบางชื่อหักล้างคำกล่าวอ้างก่อนหน้านี้ของบรรดานักวิจารณ์ที่บอกว่า ผู้เขียนคัมภีร์ไบเบิลสมมุติบางบุคคลขึ้นมาหรืออวดอ้างคุณความดีของบุคคลเหล่านั้น.
คำจารึกชื่อที่มีในพระคัมภีร์
คราวหนึ่ง เหล่าผู้คงแก่เรียนที่มีชื่อเสียงไม่เชื่อว่ากษัตริย์ซาร์กอนที่ 2 แห่งอัสซีเรียซึ่งมีชื่อปรากฏที่ยะซายา 20:1 เคยมีชีวิตอยู่จริง. อย่างไรก็ตาม ในปี 1843 มีการค้นพบพระราชวังของซาร์กอน [3] ริมแควสายหนึ่งของแม่น้ำไทกริสใกล้กับเมืองคอร์ซาบาด ประเทศอิรัก. ราชวังแห่งนี้มีเนื้อที่ประมาณ 62.5 ไร่. จากความเคลือบแคลงสงสัยที่นักวิจารณ์เคยมี ตอนนี้ซาร์กอนที่ 2 เป็นกษัตริย์องค์หนึ่งของอัสซีเรียซึ่งเป็นที่รู้จักกันมากที่สุด. ในจดหมายเหตุ [4] ฉบับหนึ่ง เขาอ้างว่าได้พิชิตกรุงซะมาเรียของชาวอิสราเอล. ตามที่มีการคำนวณจากพระคัมภีร์ ซะมาเรียถูกพิชิตโดยอัสซีเรียในปี 740 ก่อน ส.ศ. ซาร์กอนยังบันทึกเรื่องการพิชิตเมืองอัชโดด ซึ่งเป็นการสนับสนุนเพิ่มเติมสำหรับข้อความในยะซายา 20:1.
ขณะขุดค้นซากปรักหักพังของบาบิโลนโบราณในอิรักสมัยปัจจุบัน นักโบราณคดีได้ค้นพบแผ่นจารึกอักษรรูปลิ่มประมาณ 300 แผ่นใกล้ประตูอิชทาร์. แผ่นจารึกเหล่านี้กล่าวถึงช่วงที่กษัตริย์นะบูคัดเนซัรแห่งบาบิโลนครองราชย์ และมีบันทึกรายชื่อต่าง ๆ ซึ่งในจำนวนนี้กล่าวถึงชื่อ “เยาคิน กษัตริย์แห่งแผ่นดินยาฮูด.” ชื่อนี้หมายถึงกษัตริย์ยะโฮยาคินแห่งยูดาห์ซึ่งถูกจับไปเป็นเชลยที่บาบิโลนช่วงที่นะบูคัดเนซัรโจมตีเยรูซาเลมครั้งแรก ในปี 617 ก่อน ส.ศ. (2 กษัตริย์ 24:11-15) ในแผ่นจารึกมีการกล่าวถึงโอรสห้าองค์ของยะโฮยาคินด้วย.—1 โครนิกา 3:17, 18.
ในปี 2005 ขณะขุดค้นในบริเวณที่คาดกันว่าจะพบราชวังของกษัตริย์ดาวิด นักโบราณคดีได้ค้นพบโครงสร้างที่ทำด้วยหินซึ่งมีอาณาบริเวณกว้างขวางโดยเชื่อกันว่าถูกทำลายในคราวที่บาบิโลนทำลายล้างกรุงเยรูซาเลมจนราบคาบเมื่อกว่า 2,600 ปีมาแล้ว ในสมัยของยิระมะยาผู้พยากรณ์ของพระเจ้า. โครงสร้างนั้นเป็นส่วนที่เหลืออยู่ของพระราชวังของดาวิดหรือไม่นั้นยังไม่ทราบแน่ชัด. อย่างไรก็ตาม เอลัต มาซาร์ นักโบราณคดีได้พบวัตถุชิ้นหนึ่งซึ่งน่าสนใจเป็นพิเศษ นั่นคือดินเหนียวที่มีรอยประทับตรา [5] ขนาดกว้าง 1 เซนติเมตรซึ่งมีอักษรจารึกว่า “เป็นของเยฮูคัล บุตรเชเลมมิยาฮู บุตรโชวี.” ดูเหมือนว่า รอยประทับนี้เป็นตราประทับของเยฮูคัล (หรือยุคัล) ข้าราชการชาวยิวที่คัมภีร์ไบเบิลกล่าวถึงฐานะศัตรูของยิระมะยา.—ยิระมะยา 37:3; 38:1-6.
มาซาร์กล่าวว่า เยฮูคัล เป็น “รัฐมนตรีลำดับสอง” รองจากคะมาระยา บุตรซาฟาน ซึ่งชื่อของเขาปรากฏบนตราประทับที่พบในเมืองของดาวิด. คัมภีร์ไบเบิลระบุว่าเยฮูคัล บุตรเซเล็มยา (เซเล็มมิยาฮู) เป็นเจ้าชายแห่งยูดาห์. ก่อนจะค้นพบตราประทับนี้ นอกจากพระคัมภีร์แล้วไม่มีใครเคยได้ยินชื่อของเขาเลย.
พวกเขาอ่านออกเขียนได้ไหม?
คัมภีร์ไบเบิลบ่งชี้ว่า ชาวอิสราเอลสมัยโบราณอ่านออกเขียนได้. (อาฤธโม 5:23; ยะโฮซูอะ 24:26; ยะซายา 10:19) แต่นักวิจารณ์เคยไม่เห็นด้วย โดยแย้งว่าประวัติศาสตร์ในคัมภีร์ไบเบิลส่วนใหญ่ถ่ายทอดตามคำบอกเล่าสืบปากที่เชื่อถือไม่ได้. ในปี 2005 แนวคิดนี้ก็ล้มคว่ำอย่างไม่เป็นท่าเมื่อนักโบราณคดีที่ทำงานในเมืองเทลซายิตซึ่งอยู่ระหว่างกรุงเยรูซาเลมและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ได้ค้นพบอักขระ โบราณตัวหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นอักขระฮีบรู [6] ที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีการค้นพบ โดยจารึกบนแผ่นหินปูนแผ่นหนึ่ง.
ผู้คงแก่เรียนบางคนกล่าวว่า สิ่งที่ถูกค้นพบนี้ซึ่งอยู่ในช่วงศตวรรษที่สิบก่อน ส.ศ. แสดงให้เห็นถึง “การฝึกเขียนอย่างเป็นระบบ,” “ระดับของวัฒนธรรมที่สูงส่ง,” และ “ระบบราชการที่พัฒนาอย่างรวดเร็วของชาวอิสราเอลในกรุงเยรูซาเลม.” ดังนั้น ตรงข้ามกับสิ่งที่นักวิจารณ์ได้โต้แย้ง ปรากฏว่าอย่างน้อยที่สุดก็ในช่วงต้นศตวรรษที่สิบก่อน ส.ศ. ที่ชาวอิสราเอลอ่านออกเขียนได้และสามารถบันทึกประวัติศาสตร์ของตนได้.
บันทึกของชาวอัสซีเรียให้ข้อสนับสนุนเพิ่มเติม
ฐานะจักรวรรดิอันเกรียงไกรในอดีต ประเทศอัสซีเรียมักจะปรากฏในบันทึกของคัมภีร์ไบเบิล และการค้นพบทางโบราณคดีที่นั่นได้ให้ข้อพิสูจน์เกี่ยวกับความถูกต้องแม่นยำของพระคัมภีร์. ตัวอย่างเช่น การขุดค้นบริเวณกรุงนีเนเวห์โบราณซึ่งเป็นเมืองหลวงของอัสซีเรีย เผยให้เห็นแผ่นหินแกะสลัก [7] ของพระราชวังของกษัตริย์ซันเฮริบ ซึ่งเป็นภาพทหารอัสซีเรียพาชาวยิวไปเป็นเชลยหลังจากเมืองลาคิชถูกทำลายในปี 732 ก่อน ส.ศ. คุณสามารถอ่านเรื่องราวนี้ได้ใน 2 กษัตริย์ 18:13-15.
จดหมายเหตุของซันเฮริบ [8] ซึ่งพบที่เมืองนีเนเวห์ พรรณนาถึงการรบของซันเฮริบในช่วงที่ฮิศคียากษัตริย์แห่งยูดาห์ครองราชย์ โดยจดหมายเหตุกล่าวถึงชื่อของฮิศคียา. บันทึกอักษรรูปลิ่มของผู้ปกครององค์อื่น ๆ กล่าวถึงอาฮาศและมะนาเซ กษัตริย์แห่งยูดาห์ รวมถึงกษัตริย์ของอิสราเอล เช่น อัมรี, เยฮู, ยะโฮอาศ, มะนาเฮ็ม, และโฮเซอา.
ในบันทึกของซันเฮริบ เขาโอ้อวดความสำเร็จในการรบ แต่น่าสังเกตว่าเขาไม่ได้กล่าวถึงการพิชิตกรุงเยรูซาเลมเลย. การจงใจไม่กล่าวถึงเช่นนี้เสริมความน่าเชื่อถือให้กับบันทึกในคัมภีร์ไบเบิลซึ่งกล่าวว่า กษัตริย์ซันเฮริบไม่เคยล้อมกรุงเยรูซาเลมได้สำเร็จ แต่กลับพ่ายแพ้แก่พระหัตถ์ของพระเจ้า. หลังจากนั้น ซันเฮริบผู้อับอายขายหน้าได้เดินทางกลับไปนีเนเวห์ และคัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่าเขาถูกราชโอรสลอบสังหาร. (ยะซายา 37:33-38) น่าสนใจ แผ่นจารึกของชาวอัสซีเรียสองแผ่นกล่าวถึงการลอบสังหารนี้.
เนื่องจากความชั่วของชาวเมืองนีเนเวห์ นาฮูมและซะฟันยาผู้พยากรณ์ของพระยะโฮวาได้บอกล่วงหน้าว่ากรุงนี้จะถูกทำลายอย่างสิ้นเชิง. (นาฮูม 1:1; 2:8–3:19; ซะฟันยา 2:13-15) คำพยากรณ์ของพวกเขาสำเร็จเป็นจริงเมื่อกองกำลังผสมของนะโบโพลัสซาร์ กษัตริย์แห่งบาบิโลน และไซแอกเซอรีสแห่งมีเดียได้ปิดล้อมและพิชิตกรุงนีเนเวห์ในปี 632 ก่อน ส.ศ. การค้นพบและการขุดค้นซากปรักหักพังของเมืองดังกล่าวยืนยันเรื่องราวในคัมภีร์ไบเบิลอีกครั้ง.
ในปี 1925 ถึง 1931 มีการขุดค้นในเมืองนูซีซึ่งเป็นเมืองโบราณที่ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำไทกริสและอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของนีเนเวห์ มีการค้นพบวัตถุโบราณมากมายรวมถึงแผ่นดินเหนียว 20,000 แผ่น. แผ่นดินเหนียวเหล่านี้เขียนด้วยภาษาบาบิโลน บันทึกข้อมูลมากมายเกี่ยวกับธรรมเนียมที่เป็นกฎหมายซึ่งคล้ายกันกับที่มีในยุคของปฐมบรรพบุรุษดังที่พรรณนาไว้ในพระธรรมเยเนซิศ. ตัวอย่างเช่น ข้อความในแผ่นดินเหนียวแสดงว่ารูปเคารพประจำครอบครัว ซึ่งมักจะเป็นรูปปั้นเล็ก ๆ ที่ทำจากดินเหนียว ถูกใช้เป็นโฉนดแสดงกรรมสิทธิ์ซึ่งผู้เป็นเจ้าของสามารถใช้อ้างสิทธิในมรดกได้. ธรรมเนียมนี้อาจอธิบายได้ว่าเหตุใดราเฮ็ล ภรรยาของยาโคบปฐมบรรพบุรุษ จึงเอารูปปั้นประจำครอบครัว หรือ “รูปเคารพ” ติดตัวไปด้วยตอนที่ครอบครัวของยาโคบย้ายออกไป ซึ่งสิ่งนั้นเป็นของลาบานบิดาของนาง. จึงเป็นที่เข้าใจได้ว่าเหตุใดลาบานจึงพยายามตามหารูปปั้นนั้น.—คำพยากรณ์ของยะซายาและกระบอกดินเหนียวของไซรัส
บทจารึกรูปลิ่มบนกระบอกดินเหนียวโบราณที่เห็นในภาพ สนับสนุนอีกเรื่องราวหนึ่งในคัมภีร์ไบเบิล. เอกสารชิ้นนี้ซึ่งรู้จักกันในชื่อกระบอกดินเหนียวของไซรัส [9] ถูกค้นพบในบริเวณเมืองซิพพาร์แถบแม่น้ำยูเฟรทิส ห่างจากกรุงแบกแดดประมาณ 32 กิโลเมตร. กระบอกดินเหนียวนี้กล่าวถึงการพิชิตบาบิโลนโดยไซรัสมหาราช ผู้สถาปนาจักรวรรดิเปอร์เซีย. น่าทึ่ง เมื่อประมาณ 200 ปีก่อนหน้านี้ พระยะโฮวาได้ตรัสผ่านผู้พยากรณ์ยะซายาเกี่ยวกับผู้ปกครองมิโด-เปอร์เซียซึ่งจะได้ชื่อว่าไซรัสดังนี้: “ ‘เจ้าเป็นผู้เลี้ยงแกะของเรา, ผู้ที่ประกอบกิจตามน้ำใจของเราให้สำเร็จผล’; ผู้ที่จะได้กล่าวถึงกรุงยะรูซาเลมว่า, ‘กรุงจะถูกกู้ขึ้น.’ ”—ยะซายา 13:1, 17-19; 44:26–45:3.
ที่น่าสังเกตคือ กระบอกดินเหนียวกล่าวถึงนโยบายของไซรัส ซึ่งตรงข้ามกับผู้พิชิตคนอื่น ๆ ในสมัยโบราณ นั่นคืออนุญาตให้เหล่าเชลยของมหาอำนาจก่อนหน้านี้กลับคืนสู่มาตุภูมิ. ประวัติศาสตร์คัมภีร์ไบเบิลและประวัติศาสตร์โลกต่างก็แสดงหลักฐานว่า ไซรัสได้ปล่อยชาวยิวเป็นอิสระและกลับไปสร้างกรุงเยรูซาเลมขึ้นใหม่.—2 โครนิกา 36:23; เอษรา 1:1-4.
แม้ค่อนข้างเป็นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ แต่โบราณคดีด้านคัมภีร์ไบเบิลก็กลายเป็นงานวิจัยแขนงสำคัญที่ให้ข้อมูลอันมีค่า. และดังที่เราได้เห็น การค้นพบมากมายสนับสนุนความน่าเชื่อถือและความถูกต้องแม่นยำของคัมภีร์ไบเบิลซึ่งบางครั้งอาจเป็นรายละเอียดเล็กน้อยที่สุด.
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
คัมภีร์ไบเบิลช่วยคุณให้มีชีวิตที่มีความสุขและมีจุดมุ่งหมายได้ไหม? ดีวีดีเรื่องคัมภีร์ไบเบิล—หนังสือแห่งความจริงและคำพยากรณ์ ความยาวสองชั่วโมง กล่าวถึงหัวเรื่องที่สำคัญนี้รวมถึงการสัมภาษณ์ที่น่าประทับใจ.—มีใน 32 ภาษา.
The Bible—God’s Word or Man’s?
คุณต้องการหลักฐานเพิ่มเติมว่าคัมภีร์ไบเบิลไม่ใช่นิยายหรือเรื่องราวที่ขัดแย้งกันเองไหม? การอัศจรรย์ที่พรรณนาไว้ในคัมภีร์ไบเบิลเป็นเรื่องจริงไหม? ขอเชิญตรวจสอบข้อเท็จจริงเหล่านี้ได้ในหนังสือขนาด 192 หน้าเล่มนี้ (ภาษาอังกฤษ).—พิมพ์ใน 56 ภาษา.
[ที่มาของภาพ]
Alexander the Great: Roma, Musei Capitolini
คัมภีร์ไบเบิลสอนอะไรจริงๆ?
บทเรียน 19 บทในหนังสือนี้ครอบคลุมคำสอนสำคัญทุกเรื่องในคัมภีร์ไบเบิลและอธิบายพระประสงค์ของพระเจ้าสำหรับแผ่นดินโลกและมนุษยชาติ.—ปัจจุบันมีใน 162 ภาษา.
หนังสือของฉันเกี่ยวด้วยเรื่องราวในพระคัมภีร์ไบเบิ้ล
หนังสือที่มีภาพประกอบสีสันสวยงามนี้ซึ่งออกแบบสำหรับเด็กโดยเฉพาะได้พิจารณาเกี่ยวกับผู้คนและเหตุการณ์ 116 เรื่อง ทั้งหมดเรียงตามลำดับเวลา.—มีใน 194 ภาษา.
[ที่มาของภาพหน้า 15]
Coins: Generously Donated by Company for Reconstruction & Development of Jewish Quarter, Jerusalem Old City
[ที่มาของภาพหน้า 15]
Society for Exploration of Land of Israel and its Antiquities ▸
[ที่มาของภาพหน้า 16]
3: Musée du Louvre, Paris; 4: Photograph taken by courtesy of the British Museum; 5: Gabi Laron/Institute of Archaeology/Hebrew University © Eilat Mazar
[ที่มาของภาพหน้า 17]
6: AP Photo/Keith Srakocic; 7, 8: Photograph taken by courtesy of the British Museum
[ที่มาของภาพหน้า 18]
Photograph taken by courtesy of the British Museum