คุณจะหนีพ้นความชราได้ไหม?
คุณจะหนีพ้นความชราได้ไหม?
“ในชั่วอายุของข้าพเจ้ามีสักเจ็ดสิบปีเท่านั้น, ถ้าแม้ว่ามีกำลังมากก็จะยืนได้ถึงแปดสิบปี . . . เพราะไม่ช้าก็จะเสียไปและข้าพเจ้าทั้งหลายจะล่วงลับไป.”—บทเพลงสรรเสริญ 90:10.
ลองนึกถึงการมีชีวิตในวัยหนุ่มสาวตลอดไป. นึกถึงการมีสุขภาพที่แข็งแรงและมีสติปัญญาเฉียบแหลมอยู่เสมอ. คุณคิดว่าความคาดหวังที่ยอดเยี่ยมเช่นนี้ดูเหมือนเป็นเรื่องเหลือเชื่อไหม? ถ้าอย่างนั้น ขอพิจารณาข้อเท็จจริงที่น่าทึ่งนี้: แม้นกแก้วบางชนิดจะมีชีวิตอยู่ได้ถึงร้อยปี แต่หนูที่มีอายุมากกว่าสามปีกลับหาได้ยาก. ช่วงชีวิตที่แตกต่างกันเช่นนี้ทำให้นักชีววิทยาบางคนลงความเห็นว่า ต้องมีสาเหตุที่ทำให้เกิดความชรา และถ้ามีสาเหตุก็อาจมีวิธีแก้.
บริษัทยาต่างพากันสนใจที่จะนำเงินมาลงทุนเพื่อเสาะหาวิธีที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งความชรา. นอกจากนั้น สำหรับคนที่เกิดหลังสงครามโลกครั้งที่สองซึ่งตอนนี้อยู่ในวัย 60 กว่า ๆ แล้ว การหาวิธีชะลอความแก่กลายเป็นเรื่องที่พวกเขาให้ความสนใจกันมากขึ้น.
การวิจัยเกี่ยวกับความชรากลายเป็นเรื่องหลักที่นักวิจัยเป็นจำนวนมากทั้งในด้านพันธุกรรม, ด้านอณูชีววิทยา, ด้านสัตววิทยา, และด้านชราภาพวิทยาต่างก็ให้ความสนใจเช่นกัน. หนังสือเหตุที่เราแก่ลง โดยสตีเวน ออสตัด กล่าวว่า “ขณะที่นักชราภาพวิทยากำลังประชุมกันอยู่นี้ เรารู้สึกได้เลยว่ามีบรรยากาศแห่งความตื่นเต้นซ่อนอยู่ลึก ๆ. เรากำลังจะเข้าใจกระบวนการพื้นฐานที่ก่อให้เกิดความชราแล้ว.”
มีหลายแนวคิดเกี่ยวกับสาเหตุของความชรา. แนวคิดหนึ่งคือ ความชราเป็นผลมาจากการเสื่อมสภาพของเซลล์ ส่วนอีกแนวคิดหนึ่งคือ ความชราเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดไว้แล้ว. บางคนบอกว่าคำตอบเกี่ยวข้องกับทั้งสองแนวคิดนั้น. นักวิทยาศาสตร์เข้าใจกระบวนการที่ก่อให้เกิดความชราได้ดีแค่ไหน? เป็นเรื่องสมเหตุผลไหมที่จะคาดหวังวิธีบำบัดความชราที่ใช้ได้ผล?
[แผนภูมิ/ภาพหน้า 2, 3]
(รายละเอียดดูจากวารสาร)
อายุขัยโดยประมาณ
ผึ้ง
90 วัน
↓
หนู
3 ปี
↓
สุนัข
15 ปี
↓
ลิง
30 ปี
↓
จระเข้
50 ปี
↓
ช้าง
70 ปี
↓
มนุษย์
80 ปี
↓
นกแก้ว
100 ปี
↓
เต่ายักษ์
150 ปี
↓
สนซีควอยายักษ์
3,000 ปี
↓
สนบริสเซิลโคน
4,700 ปี
[ภาพหน้า 3]
นกแก้วบางชนิดอยู่ได้ถึง 100 ปี แต่มนุษย์มีชีวิตอยู่ได้ราว 80 ปี. บรรดานักวิจัยถามว่า “อะไรเป็นสาเหตุของความชรา?”