ชาวรัสเซียหยั่งรู้ค่าเสรีภาพในการนมัสการ
ชาวรัสเซียหยั่งรู้ค่าเสรีภาพในการนมัสการ
นับตั้งแต่สหภาพโซเวียตล่มสลายในปี 1991 ประชาชนซึ่งอยู่ที่นั่นมีเสรีภาพมากขึ้นในการนมัสการพระเจ้า. ประชาชนที่อพยพไปอยู่ประเทศอื่นก็หยั่งรู้ค่าเสรีภาพนี้เช่นกัน.
สำหรับหลาย ๆ คนที่อาศัยอยู่ในอดีตสหภาพโซเวียต เสรีภาพที่จะประชุมกันเพื่อนมัสการพระเจ้าอย่างเปิดเผยเป็นความชื่นชมยินดีที่พวกเขาทะนุถนอมไว้ ซึ่งถูกพรากไปจากพวกเขาหลายสิบปี.
หลังจากการปฏิวัติบอลเชวิกในปี 1917 การอ่านคัมภีร์ไบเบิลในรัสเซียเป็นเรื่องอันตราย และน้อยคนที่ได้เอาอิสรภาพของตนเข้าเสี่ยงเพื่อจะอ่านคัมภีร์ไบเบิล ยกเว้นพยานพระยะโฮวา. ที่จริง วารสารนิวส์วีก ฉบับ 16 เมษายน 1956 คือเกือบ 44 ปีมาแล้ว ได้ยกคำพูดของเด็กหนุ่มคนหนึ่งในเยอรมนีตะวันออกขึ้นมาที่ว่า “ไม่มีใครอ่านคัมภีร์ไบเบิลหรอกนอกจากพยานพระยะโฮวา.” กระนั้น เนื่องจากพวกเขาจัดการประชุมเพื่อศึกษาคัมภีร์ไบเบิลและประกาศข่าวสารในคัมภีร์ไบเบิล พวกพยานฯ จึงถูกจำคุกและถูกส่งไปค่ายแรงงาน. อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าพวกเขาไปที่ใด พวกเขาก็จะจดจ่ออยู่กับความหวังจากคัมภีร์ไบเบิล ดังบทความในกรอบแสดงให้เห็น.
เมื่อสหภาพโซเวียตเริ่มล่มสลายในปี 1991 พวกพยานฯ ที่นั่นจัดการประชุมใหญ่เจ็ดแห่งซึ่งมีระเบียบวาระเกี่ยวกับคำสอนจากคัมภีร์ไบเบิล. มีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 74,252 คน. เพียงสองปีหลังจากนั้น ในปี 1993 มีถึง 112,326 คนเข้าร่วมการประชุมใหญ่แบบนั้นแปดแห่งซึ่งจัดขึ้นใน 4 สาธารณรัฐจากทั้งหมด 15 สาธารณรัฐซึ่งเมื่อก่อนเป็นส่วนของสหภาพโซเวียต. * หลายคนในจำนวนนี้เคยอยู่ในเรือนจำและค่ายแรงงานของโซเวียตหลายปี. คริสเตียนผู้ซื่อสัตย์เหล่านี้ขอบคุณอย่างเหลือล้นที่ตนได้รับเสรีภาพในการนมัสการพระเจ้าโดยไม่ถูกขัดขวาง.
ทุก ๆ ปีตั้งแต่ปี 1993 ผู้คนจากอดีตสาธารณรัฐของโซเวียตหยั่งรู้ค่าสิทธิพิเศษที่ได้ประชุมกันอย่างเสรี ณ การประชุมคริสเตียนในบ้านเกิดของตน. เพื่อเป็น
ตัวอย่าง ปีที่แล้วมีพยานพระยะโฮวาและผู้สนใจรวมทั้งหมด 282,333 คนที่ชื่นชมยินดีในการนมัสการร่วมกัน ณ การประชุมภาค “พระคำเชิงพยากรณ์ของพระเจ้า” ที่จัดขึ้น 80 แห่งในอดีตสาธารณรัฐของโซเวียต. และมีทั้งหมด 13,452 คนรับบัพติสมา.อาจดูเป็นเรื่องแปลก แต่เมื่อปีที่แล้วมีการประชุมใหญ่ที่ใช้ภาษารัสเซียในประเทศอื่นของโลกด้วย. มีทั้งหมด 6,336 คนเข้าร่วมการประชุมใหญ่สี่แห่งในประเทศต่าง ๆ นอก อดีตสหภาพโซเวียต! การประชุมเหล่านี้จัดขึ้นที่ไหน? และทำไมผู้คนจำนวนมากที่พูดภาษารัสเซียจึงสนใจในคัมภีร์ไบเบิลอย่างยิ่ง? ก่อนอื่นขอให้เราพิจารณาคำถามข้อหลังสั้น ๆ.
พวกเขาตระหนักถึงความจำเป็นฝ่ายวิญญาณ
รัสเซียมีประวัติศาสตร์อันยาวนานทางศาสนา. โบสถ์วิหารอันหรูหราของรัสเซีย ซึ่งสร้างขึ้นหลายศตวรรษมาแล้ว เป็นสิ่งที่มีชื่อเสียงมากที่สุดอย่างหนึ่งในคริสต์ศาสนจักร. กระนั้น คริสตจักรรัสเซียออร์โทด็อกซ์ ก็เป็นเช่นเดียวกับคริสตจักรโรมันคาทอลิก ยังคงทำให้ผู้คนไม่รู้จักคัมภีร์ไบเบิล.
หนังสือที่ออกเมื่อไม่นานมานี้ชื่อโศกนาฏกรรมของรัสเซีย—ภาระแห่งประวัติศาสตร์ (ภาษาอังกฤษ) อธิบายว่า “คัมภีร์ไบเบิลไม่เคยเป็นส่วนสำคัญของนิกายรัสเซียออร์โทด็อกซ์.” ผลเป็นอย่างที่เซียร์เก อีวานเยนโก ผู้คงแก่เรียนทางศาสนาชาวรัสเซียกล่าวไว้ “การขาดความรู้เกี่ยวกับคัมภีร์ไบเบิลของผู้เชื่อถือนิกายออร์โทด็อกซ์ทำให้ศาสนิกชนหลายคนของคริสตจักรนี้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของการถือโชคลาง, อำนาจลึกลับ, และเวทมนตร์ได้ง่ายกว่าผู้ไม่เชื่อถือ.”
ตอลสตอย นักเขียนผู้ลือนามชาวรัสเซีย ให้ข้อสังเกตคล้าย ๆ กัน. เขาเขียนว่า “ผมเชื่อมั่นว่าหลักคำสอนของคริสตจักร [รัสเซียออร์โทด็อกซ์] ในทางทฤษฎีแล้ว เป็นการหลอกลวงที่มีเล่ห์เหลี่ยมซึ่งเป็นอันตราย และในทางปฏิบัติแล้ว เป็นแหล่งของการเชื่อโชคลางและเวทมนตร์คาถาที่เลวร้ายที่สุด ซึ่งปิดบังความหมายทั้งหมดของคำสอนคริสเตียนไว้โดยสิ้นเชิง.”
สภาพการณ์เช่นนี้ปรากฏว่าเอื้อต่อการขึ้นมาของลัทธิคอมมิวนิสต์ในโซเวียตพร้อมด้วยการโฆษณาชวนเชื่อแบบอเทวนิยมและคำกล่าวอันโด่งดังที่ว่า “ศาสนาเป็นสิ่งมอมเมาประชาชน.” แต่ลัทธิคอมมิวนิสต์เองไม่นานก็กลายเป็นศาสนาแบบหนึ่ง ซึ่งมักถูกเรียกว่าศาสนาแดง. แต่ศาสนาแดงนี้อยู่ไม่นาน. เมื่อรัฐโซเวียตล่มสลายในปี 1991 ผู้คนหลายล้านคนสับสนและสงสัยว่าจะหันไปทางไหน. ด้วยความช่วยเหลือจากพยานพระยะโฮวา ชาวรัสเซียหลายพันหลายหมื่นคนมองหาคำตอบในคัมภีร์ไบเบิล.
เนื่องจากมีระบบการศึกษาที่ดี ชาวรัสเซียจึงเป็นชนชาติหนึ่งที่รู้หนังสือมากที่สุดในโลก. ด้วยเหตุนี้ ชาวรัสเซียหลายคนไม่ได้เป็นแค่ผู้อ่านคัมภีร์ไบเบิลเท่านั้น แต่กลายเป็นผู้รักคำสอนของคัมภีร์ไบเบิลด้วย. ในเวลาเดียว
กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทศวรรษ 1990 ผู้คนเป็นแสน ๆ คนย้ายถิ่นฐานจากอดีตสหภาพโซเวียตไปยังประเทศอื่น ๆ เช่น เยอรมนี, กรีซ, และสหรัฐ. ผลเป็นเช่นไร?มีเสรีภาพที่จะนมัสการในเยอรมนี
ในศตวรรษที่ 18 และ 19 ชาวเยอรมันหลายคนอพยพไปรัสเซีย. ผู้ที่โดดเด่นที่สุดคือเจ้าหญิงโซฟีผู้มีพระชนมายุ 15 ชันษา ซึ่งในปี 1762 ได้สืบราชสมบัติต่อจากพระสวามีขึ้นเป็นผู้ปกครองรัสเซีย. ระหว่างรัชกาลอันยาวนานของเจ้าหญิงโซฟี ซึ่งภายหลังเป็นที่รู้จักกันว่า พระนางแคเทอรีนมหาราชินี พระนางเชิญเกษตรกรจากเยอรมนีมาอยู่ในรัสเซีย. ต่อมา เมื่อเยอรมนีโจมตีสหภาพโซเวียตในสงครามโลกครั้งที่ 2 ลูกหลานของชาวเยอรมันเหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกส่งไปไซบีเรียและสาธารณรัฐของโซเวียตอย่างเช่น คาซัคสถาน, คีร์กิซสถาน, และอุซเบกิสถาน. ไม่นานมานี้ ชาวเยอรมันจำนวนมากที่พูดภาษารัสเซีย และชาวเยอรมันอื่น ๆ จากอดีตสหภาพโซเวียต ย้ายไปเยอรมนีเพื่อจะมีสภาพเศรษฐกิจที่ดีกว่า.
ในเดือนธันวาคม 1992 ประชาคมภาษารัสเซียแห่งแรกในเยอรมนีถูกก่อตั้งขึ้นในกรุงเบอร์ลิน. พอถึงปีที่แล้ว มีการก่อตั้งประชาคมไปแล้ว 52 แห่งและกลุ่มเล็ก ๆ อีก 43 กลุ่มในหมวดที่ใช้ภาษารัสเซียสามหมวดในเยอรมนี. มียอดผู้เข้าร่วมประชุม 4,920 คน ณ การประชุมภาค “พระคำเชิงพยากรณ์ของพระเจ้า” ที่ใช้ภาษารัสเซียในเมืองโคโลญ ซึ่งจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคมถึง 1 สิงหาคม และมีผู้รับบัพติสมาเพื่อเป็นสัญลักษณ์ถึงการอุทิศตัวแด่พระยะโฮวา 164 คน. ก่อนหน้านั้นในวันที่ 1 เมษายน ในประชาคมต่าง ๆ ที่ใช้ภาษารัสเซียในเยอรมนี มีถึง 6,175 คนร่วมการประชุมอนุสรณ์เพื่อรำลึกถึงการสิ้นพระชนม์ของพระเยซู.
ชาวรัสเซียในสหรัฐ
สหรัฐเช่นกันมีคนพูดภาษารัสเซียหลั่งไหลเข้าไปมากมายจากอดีตสหภาพโซเวียต. หนังสือพิมพ์เดอะ นิวยอร์ก ไทมส์ รายงานว่า “ระหว่างปี 1991 ถึงปี 1996 ชาวรัสเซียเป็นกลุ่มคนเข้าเมืองที่เพิ่มจำนวนเร็วที่สุดของบรุกลิน. ระหว่างช่วงเวลาเดียวกันนั้น หน่วยตรวจคนเข้าเมืองและโอนสัญชาติรับคนจากอดีตสหภาพโซเวียตเข้าสหรัฐกว่า 339,000 คน.”
ต่อมา หนังสือพิมพ์ ไทมส์ ฉบับมกราคม 1999 ยังกล่าวด้วยว่า ในช่วงทศวรรษที่แล้วชาวยิวประมาณ 400,000 คนจากอดีตสหภาพโซเวียตอพยพมานครนิวยอร์กและบริเวณรอบ ๆ. นอกจากนั้น ชาวรัสเซียหลาย
พันคนลงหลักปักฐานในส่วนอื่น ๆ ของสหรัฐในปีหลัง ๆ นี้. ตัวอย่างเช่น มีคนเข้าเมืองชาวรัสเซียประมาณ 35,000 คนหลั่งไหลเข้าไปในแคลิฟอร์เนียตอนเหนือ ทำให้บริเวณนี้มีคนเข้าเมืองจากอดีตสหภาพโซเวียตมากที่สุดเป็นอันดับสามรองจากนิวยอร์กและลอสแอนเจลิส. คนที่พูดภาษารัสเซียเหล่านี้ยังได้ตอบรับโอกาสที่จะศึกษาคัมภีร์ไบเบิล และหลายร้อยคนเข้ามาเป็นผู้นมัสการพระเจ้าเที่ยงแท้ พระยะโฮวา.ในวันที่ 1 เมษายน 1994 ประชาคมที่ใช้ภาษารัสเซียแห่งแรกของพยานพระยะโฮวาสมัยปัจจุบันในสหรัฐได้รับการก่อตั้งขึ้นที่บรุกลิน นิวยอร์ก. ต่อมา ประชาคมที่ใช้ภาษารัสเซียก็เริ่มมีขึ้นในรัฐเพนซิลเวเนีย, รัฐแคลิฟอร์เนีย, และรัฐวอชิงตัน. กลุ่มการศึกษาถูกตั้งขึ้นในอีกหลายส่วนของประเทศ.
ครั้งแรกในสหรัฐ
ในวันที่ 20 ถึง 22 สิงหาคมที่ผ่านมา ยอดผู้เข้าร่วมประชุม 670 คนจากทั่วสหรัฐและแคนาดาต่างตื่นเต้นที่ได้เข้าร่วมการประชุมภาคภาษารัสเซียเป็นครั้งแรกซึ่งจัดขึ้นที่นครนิวยอร์ก. คำบรรยายทุกเรื่องเป็นภาษารัสเซีย และยังมีละครฉากโบราณ ซึ่งเป็นเรื่องราวในคัมภีร์ไบเบิลเกี่ยวกับยาโคบและเอซาว แสดงโดยสมาชิกประชาคมภาษารัสเซียจากนครลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย. นั่นเป็นจุดเด่นอย่างหนึ่งของการประชุมเลยทีเดียว.
จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งคือมีผู้รับบัพติสมา 14 คน ทั้งหมดอยู่ในภาพนี้แล้ว. หลายคนเดินทางเป็นระยะทาง 4,000 กิโลเมตรจากเมืองพอร์ตแลนด์ รัฐออริกอน รวมทั้งจากนครลอสแอนเจลิสและซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนียเพื่อจะรับบัพติสมาในการประชุมภาคที่นครนิวยอร์ก. เมื่อก่อน 14 คนเหล่านี้เคยอยู่ในอดีตสาธารณรัฐโซเวียตอาร์เมเนีย, อาเซอร์ไบจาน, เบลารุส, มอลโดวา, รัสเซีย, และยูเครน. ประสบการณ์ของพวกเขาแสดงว่าเขาหยั่งรู้ค่าความรู้ของพระเจ้าและเสรีภาพในการนมัสการพระองค์มากสักเพียงไร.
สเวตลานา (แถวหน้า ที่สามจากซ้าย) เติบโตในมอสโก. เมื่ออายุ 17 ปี เธอแต่งงานกับนักร้องชื่อดังซึ่งอายุมากกว่าเธอหลายปี และในปี 1989 ทั้งสองย้ายมาสหรัฐพร้อมด้วยลูกชายซึ่งยังเป็นทารก. สามีของเธอเดินทางไปทั่วสารทิศ และห้าปีต่อมาทั้งสองก็หย่ากัน.
เมื่อสเวตลานาพบกับเพื่อนร่วมงานที่เป็นพยานฯ พวกเพื่อน ๆ เตือนเธอว่า อย่าไปยุ่งกับกลุ่มที่พวกเพื่อนบอกเธอว่าเป็น “นิกายที่จะควบคุมชีวิต [เธอ] และเอาเงิน [เธอ] ไปหมด.” กระนั้น เธอต้องการจะเรียนสิ่งที่คัมภีร์ไบเบิลสอน. เกี่ยวกับเรื่องที่มีการชี้ให้เธอดูพระนามของพระเจ้าในคัมภีร์ไบเบิล เธอบอกว่า “ดิฉันรู้สึกประทับใจมากจริง ๆ ที่ว่าพยานฯ เป็นกลุ่มเดียวเท่านั้นที่ทำให้พระนามนี้เป็นที่รู้จัก.”
เมื่อเป็นหนุ่ม ออนเดร (แถวหลัง ที่สามจากซ้าย) จากบ้านเกิดของเขาในไซบีเรียเพื่อไปฝึกฝนให้เก่งขึ้นฐานะนักกีฬาในเมืองที่ปัจจุบันเรียกว่าเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก. ไม่นานหลังจากนั้น สหภาพโซเวียตก็ล่มสลาย และในปี 1993 ออนเดรในวัย 22 ปีก็ย้ายถิ่นฐานมาสหรัฐ. เขาอธิบายว่า “ผมเริ่มนึกถึงพระเจ้าและเริ่มไปโบสถ์รัสเซียออร์โทด็อกซ์. ครั้งหนึ่ง ระหว่างการฉลองเทศกาลอีสเตอร์แบบรัสเซีย ผมอยู่ในโบสถ์ทั้งคืนเพื่อพยายามเข้าใกล้ชิดพระเจ้า.”
ประมาณช่วงนี้ที่สเวตลานาพบกับออนเดร และเธอบอกเขาเกี่ยวกับสิ่งที่เธอเรียนรู้จากการศึกษาคัมภีร์ไบเบิล. เขาตกลงที่จะไปยังการประชุมของพยานพระยะโฮวากับเธอ และหลังจากนั้นตอบรับการศึกษาคัมภีร์ไบเบิล. ในเดือนมกราคม 1999 ทั้งสองแต่งงานกัน. หลังจากรับบัพติสมาที่การประชุมใหญ่ ทั้งสองต่างรู้สึกอิ่มเอิบใจ.
พาเวล (แถวหลัง ที่สี่จากซ้าย) เกิดใกล้ ๆ เมืองคารากานดี คาซัคสถาน แต่ต่อมาเขาย้ายไปนาลชิก รัสเซีย. เมืองใหญ่นี้อยู่ใกล้กับเชชเนียและดาเกสถาน ซึ่งมีการสู้รบกันมาก. พาเวลพบกับพยานฯ ครั้งแรกที่นั่นในเดือนสิงหาคม 1996 แต่เขาย้ายมาซานฟรานซิสโกในเดือนต่อมา. เขาพัวพันกับยาเสพย์ติดและมีลูกสาวหนึ่งคนซึ่งเขาทิ้งไว้กับแม่ของเด็กในรัสเซีย.
ทันทีที่มาถึงสหรัฐ พาเวลติดต่อกับพยานพระยะโฮวาและศึกษาคัมภีร์ไบเบิล. เขาจัดชีวิตของตนให้เรียบร้อยและเขียนไปถึงแม่ของลูกสาวเกี่ยวกับความเชื่อใหม่ของเขา. ตอนนี้เธอกำลังศึกษาคัมภีร์ไบเบิลกับพยานฯ และมีแผนที่จะให้เธอมาสหรัฐเพื่อที่เธอและพาเวลจะแต่งงานกันและรับใช้พระยะโฮวาร่วมกันในแคลิฟอร์เนียพร้อมด้วยลูกสาว.
จอร์จ (แถวหลัง ที่สองจากซ้าย) เกิดและโตในมอสโก. เขามาสหรัฐในปี 1996 และในปีถัดมาเขาสมรสกับฟลอรา ซึ่งมาจากอาเซอร์ไบจาน. จอร์จไปโบสถ์รัสเซียออร์โทด็อกซ์ แต่หลังจากอ่านวารสารหอสังเกตการณ์ เล่มหนึ่ง เขามีคำถามเกี่ยวกับหลักคำสอนเรื่องตรีเอกานุภาพ. เพื่อเป็นการตอบจดหมายที่เขาส่งไปถึงสมาคมว็อชเทาเวอร์ มีการส่งจุลสารคุณควรเชื่อตรีเอกานุภาพไหม? ให้เขา. ในปี 1998 ทั้งเขาและฟลอราเริ่มศึกษาคัมภีร์ไบเบิล. ตอนนี้เธอวางแผนจะรับบัพติสมาด้วย.
จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของการประชุมภาคคือการได้รับ
ความรักและคิดถึงจากกรุงมอสโก ซึ่งมี 15,108 คนประชุมกันในการประชุมภาคระหว่างสุดสัปดาห์เดียวกันนั้น. น่าตื่นเต้นเพียงไรสำหรับผู้เข้าร่วมการประชุมในนครนิวยอร์กที่ได้ยินคำประกาศว่ามีผู้รับบัพติสมา 600 คนที่นั่น! เป็นเช่นนั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคำนึงถึงรายงานข่าวที่ไม่ค่อยดีนักทางหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ซึ่งเริ่มมีในสหรัฐและที่อื่น ๆ ในสัปดาห์ก่อนการประชุมภาค.เกิดอะไรขึ้นที่มอสโก
ในวันที่ 21 กรกฎาคม 1999 พยานฯ เซ็นสัญญาใช้สนามกีฬาโอลิมปิกซึ่งตั้งอยู่ใกล้ใจกลางกรุงมอสโกและติดกับโบสถ์ขนาดใหญ่ของนิกายรัสเซียออร์โทด็อกซ์เลยทีเดียว. แต่หนึ่งสัปดาห์ก่อนการประชุมภาคจะเริ่มขึ้น ก็เป็นที่แน่ชัดว่าจะมีการต่อต้าน. เมื่อถึงวันพุธที่ 18 สิงหาคม ใบอนุญาตใช้สนามกีฬายังไม่ออกมา แม้ว่าค่าเช่าได้จ่ายไปแล้ว. มีการเน้นกับเจ้าหน้าที่ว่าพยานพระยะโฮวาเป็นศาสนาซึ่งเป็นที่ยอมรับตามกฎหมายในรัสเซีย ดังกรอบในหน้า 28 แสดงให้เห็น.
เนื่องจากผู้เข้าร่วม 15,000 คนเตรียมเข้ามาร่วมประชุมในเช้าวันศุกร์ ตัวแทนของพยานฯ จึงเริ่มเป็นกังวล. ผู้เข้าร่วมบางคนเดินทางมาจากเมืองใหญ่น้อยซึ่งอยู่ห่างออกไปหลายกิโลเมตร เพื่อมายังกรุงมอสโก. ในที่สุด หลังจากการพิจารณานานหลายชั่วโมง ประมาณ 20:00 น. ของวันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม ฝ่ายจัดการของสนามกีฬาก็มีความยินดีที่จะแจ้งแก่ตัวแทนของพยานฯ ว่าการประชุมสามารถดำเนินการได้. เทศบาลเมืองได้บอกว่าพวกเขาไม่มีข้อขัดข้องต่อการประชุมนี้.
เช้าวันถัดมาผู้คนหลายพันคนหลั่งไหลเข้ามาในสนามกีฬา. อาสาสมัครที่เป็นพยานฯ ทำงานตลอดทั้งคืนเพื่อเตรียมรับการมาถึงของพวกเขา. ที่มาในเช้าวันแรกด้วยก็คือบรรดานักข่าว ผู้ซึ่งก่อนหน้านี้ทราบเกี่ยวกับการต่อต้านการจัดการประชุมครั้งนี้. นักข่าวคนหนึ่งบอกว่า “ยินดีด้วยครับ! พวกเราดีใจที่รู้ว่าการประชุมของคุณกำลังดำเนินไปด้วยดี.”
ตัวอย่างของความเป็นระเบียบเรียบร้อย
ฝ่ายจัดการของสนามกีฬารู้สึกว่าเป็นการรอบคอบดีที่จะมีมาตรการรักษาความปลอดภัย. ด้วยเหตุนี้ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยพร้อมกับอุปกรณ์ตรวจจับโลหะเหมือนที่ใช้ตรวจผู้โดยสารในสนามบินจึงประจำ
อยู่ที่ทางเข้าทุกแห่ง. มีตำรวจประจำอยู่ทั่วด้านในของสนามกีฬาด้วย. การประชุมดำเนินไปอย่างเรียบร้อยแม้ว่าจะมีการขู่ขวัญอย่างรุนแรง.ตอนบ่ายวันเสาร์มีคนโทรศัพท์มาบอกว่ามีระเบิดซ่อนอยู่ในสนามกีฬา. คำขู่นี้มีขึ้นไม่นานก่อนที่คำบรรยายก่อนคำบรรยายสุดท้ายของวันนั้นจะจบลง. ดังนั้น เมื่อฝ่ายจัดการของสนามกีฬาขอ จึงมีคำประกาศสั้น ๆ เพื่อให้ทุกคนออกจากสนามกีฬาทันที. เมื่อทุกคนทำอย่างนั้นอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย เจ้าหน้าที่สนามกีฬาและตำรวจต่างก็ประหลาดใจ. พวกเขาไม่เคยเห็นอะไรเช่นนี้เลย! พวกเขาถามว่ามีการซ้อมมาก่อนหรือ.
ไม่พบระเบิด และในวันต่อมาระเบียบวาระก็ยืดออกไปเพื่อรวมเอารายการที่ยังไม่ได้เสนอในวันเสาร์ด้วย. ฝ่ายจัดการของสนามกีฬาก็พอใจกับการประชุมนั้น.
ในประเทศกรีซและในที่อื่น ๆ
ระหว่างสุดสัปดาห์สุดท้ายของเดือนสิงหาคมและสุดสัปดาห์แรกของเดือนกันยายน การประชุมภาคภาษารัสเซียถูกจัดขึ้นที่ประเทศกรีซด้วย—ในกรุงเอเธนส์ก่อน แล้วก็ในเมืองเทสซาโลนีกา. มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 746 คนและ 34 คนรับบัพติสมา. มีประชาคมที่ใช้ภาษารัสเซีย 8 ประชาคมในกรีซ และมีกลุ่มเล็ก ๆ 17 กลุ่มซึ่งประกอบด้วยผู้อพยพจากอดีตสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียตทางใต้. ประชาคมและกลุ่มย่อยเหล่านี้จัดการประชุมของตนในภาษารัสเซียและในภาษาอื่น ๆ ที่ผู้อพยพใช้.
คนหนึ่งที่รับบัพติสมาในกรุงเอเธนส์ชื่อ วิคเตอร์. เขาเคยเป็นนักอเทวนิยม แต่ในเดือนสิงหาคม 1998 เขาเข้าร่วมการประชุมนานาชาติของพยานพระยะโฮวาในกรุงเอเธนส์ ที่ซึ่งภรรยาของเขารับบัพติสมา. เขาบอกว่าเขาประทับใจจริง ๆ ในความรักที่ผู้เข้าร่วมประชุมสำแดงออกมาถึงขนาดที่เขาถูกกระตุ้นให้ศึกษาคัมภีร์ไบเบิล.
ชายคนหนึ่งชื่อ อีกอร์ ได้รับหนังสือท่านจะมีชีวิตอยู่ได้ตลอดไปในอุทยานบนแผ่นดินโลก และเมื่ออ่านแล้วก็ทิ้งรูปเคารพของเขาทั้งหมด. เขาถึงกับเริ่มแนะนำตัวเองว่าเป็นพยานพระยะโฮวา. หลังจากเขียนจดหมายไปยังสำนักงานสาขาในกรุงเอเธนส์และมีพยานฯ มาเยี่ยมในเดือนพฤศจิกายนปี 1998 เขาเข้าร่วมการประชุมประชาคมทันทีครั้งแรกและไม่เคยขาดตั้งแต่นั้นมา. ปัจจุบัน หลังจากรับบัพติสมาแล้ว เป้าหมายของอีกอร์คือจะเป็นผู้รับใช้เต็มเวลาของพยานพระยะโฮวา.
ผู้คนที่พูดภาษารัสเซียได้อพยพไปยังประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกซึ่งเราไม่ได้กล่าวถึง. พวกเขาหลายคนก็เช่นกันได้ชื่นชมกับเสรีภาพในการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลและประชุมอย่างเปิดเผยเพื่อนมัสการพระเจ้า. สำหรับพวกเขาแล้ว สิทธิพิเศษนี้เป็นความชื่นชมยินดีที่พวกเขาทะนุถนอมไว้!
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 5 สาธารณรัฐ 15 แห่งซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศเอกราชประกอบด้วย: อาร์เมเนีย, อาเซอร์ไบจาน, เบลารุส, เอสโตเนีย, จอร์เจีย, คาซัคสถาน, คีร์กิซสถาน, ลัตเวีย, ลิทัวเนีย, มอลโดวา, รัสเซีย, ทาจิกิสถาน, เติร์กเมนิสถาน, ยูเครน, และอุซเบกิสถาน.
[กรอบหน้า 22]
ชาวรัสเซียที่รักคัมภีร์ไบเบิล
ศาสตราจารย์เซียร์เก อีวานเยนโก ผู้คงแก่เรียนด้านศาสนาชาวรัสเซียซึ่งเป็นที่นับหน้าถือตา พรรณนาถึงพยานพระยะโฮวาว่าเป็นผู้ที่ทุ่มเทตัวให้กับการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลอย่างแท้จริง. ในหนังสือของเขาซึ่งออกไม่นานมานี้ชื่อผู้คนที่ไม่เคยแยกจากคัมภีร์ไบเบิล (ภาษารัสเซีย) เขาเขียนถึงประวัติยุคเริ่มแรกของพวกพยานฯ ในสหภาพโซเวียตดังนี้: “แม้แต่เมื่อพวกเขาถูกจำคุกเพราะความซื่อสัตย์ต่อความเชื่อของตน พยานพระยะโฮวาก็ยังหาวิธีที่จะใช้คัมภีร์ไบเบิลจนได้.” เพื่อเป็นตัวอย่าง เขาเล่าประสบการณ์ต่อไปนี้.
“นักโทษถูกห้ามไม่ให้มีคัมภีร์ไบเบิล. คัมภีร์ไบเบิลถูกยึดไประหว่างการตรวจค้น. ในค่ายที่อยู่ทางเหนือ พยานพระยะโฮวาคนหนึ่งเป็นช่างไฟฟ้าและเขาเก็บพระธรรมต่าง ๆ ของคัมภีร์ไบเบิลไว้ในหม้อแปลงไฟฟ้าแรงสูง. คัมภีร์ไบเบิลแต่ละส่วนมีเชือกผูกติดกับสายไฟเส้นหนึ่ง และมีเพียงชายคนนั้นคนเดียวที่รู้ว่าต้องดึงเชือกเส้นไหนเพื่อดึงคัมภีร์ไบเบิลส่วนนั้นออกมาได้—เช่น กิตติคุณของมัดธาย—โดยไม่ถูกไฟดูดตาย. แน่นอน ไม่ว่าพวกยามจะค้นหาละเอียดสักเพียงไรก็ไม่มีทางพบได้ ดังนั้น คัมภีร์ไบเบิลเล่มพิเศษนี้จึงไม่ถูกค้นพบ.”
[กรอบหน้า 28]
พยานพระยะโฮวาจดทะเบียนอีกครั้งในรัสเซีย
พยานพระยะโฮวาประกาศราชอาณาจักรของพระเจ้าอย่างกระตือรือร้นในรัสเซียมากว่าหนึ่งศตวรรษแล้ว. แต่เนื่องจากรัฐบาลสั่งห้าม พวกพยานฯ จึงไม่ได้รับการยอมรับตามกฎหมายจนกระทั่งวันที่ 27 มีนาคม 1991. ในเวลานั้น พวกเขาได้รับการจดทะเบียนภายใต้ชื่อ ศูนย์บริหารองค์การศาสนาของพยานพระยะโฮวาในสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต.
ในวันที่ 26 กันยายน 1997 มีการตรากฎหมาย “ว่าด้วยเสรีภาพแห่งมโนธรรมและสมาคมศาสนา.” มีการออกข่าวเกี่ยวกับกฎหมายใหม่ฉบับนี้ไปทั่วโลก. เพราะเหตุใด? เพราะหลายคนมองว่าการออกกฎหมายฉบับนี้เป็นความพยายามที่จะจำกัดกิจกรรมทางศาสนาของชนกลุ่มน้อยในรัสเซีย.
ด้วยเหตุนี้ แม้ว่าพยานพระยะโฮวาจะได้รับการจดทะเบียนไปแล้วด้วยความยากลำบากในปี 1991 กฎหมายใหม่ของรัสเซียว่าด้วยเสรีภาพแห่งมโนธรรมทำให้พวกเขา รวมทั้งองค์การศาสนาอื่น ๆ ทั้งหมดต้องจดทะเบียนอีกครั้ง. เรื่องนี้ก่อให้เกิดคำถามขึ้นมาหลายข้อ. นี่หมายความไหมว่าเจ้าหน้าที่ของรัสเซียจะกลับไปใช้นโยบายกดขี่พยานพระยะโฮวาอีก? หรือว่าการยอมให้ทางศาสนาและเสรีภาพในการนมัสการซึ่งได้รับการรับรองภายใต้รัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐรัสเซียนั้นจะยังมีเหมือนเดิมไหม?
ในที่สุดคำตอบก็มาถึง. พวกพยานฯ ต่างยินดีสักเพียงไรที่ได้รับการยอมรับตามกฎหมายอีกครั้งหนึ่ง เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมของรัสเซียออกใบรับรองการจดทะเบียนสำหรับ “ศูนย์บริหารพยานพระยะโฮวาในรัสเซีย” ในวันที่ 29 เมษายน 1999!
[ภาพหน้า 23]
การประชุมภาคภาษารัสเซียครั้งแรกในสหรัฐ
[ภาพหน้า 24]
ละครที่อาศัยเรื่องราวจากคัมภีร์ไบเบิลในนิวยอร์กโดยประชาคมภาษารัสเซียจากนครลอสแอนเจลิส
[ภาพหน้า 25]
ผู้รับบัพติสมา 14 คนนี้ในนิวยอร์กมาจากอดีตสาธารณรัฐหกแห่งของสหภาพโซเวียต
[ภาพหน้า 26, 27]
กว่า 15,000 คนประชุมกันในสนามกีฬาโอลิมปิกในกรุงมอสโก