คุณมองที่ไหน?
“ผมเงยหน้ามองพระองค์ ผู้นั่งบัลลังก์อยู่ในสวรรค์”—สดุดี 123:1
1, 2. การมองพระยะโฮวาหมายถึงอะไร?
เรากำลังมีชีวิตอยู่ใน “ช่วงเวลาวิกฤติที่มีแต่ความยุ่งยากลำบาก” (2 ทิโมธี 3:1) ก่อนที่พระยะโฮวาจะมาทำลายโลกชั่วและก่อนที่พระองค์จะทำให้เกิดสันติสุขแท้บนโลก ชีวิตก็ยิ่งลำบากมากขึ้นเรื่อย ๆ เราเลยควรถามตัวเองว่า ‘ฉันมองหาใครเพื่อขอคำแนะนำและความช่วยเหลือ?’ เราอาจตอบได้ทันทีว่า “พระยะโฮวาไงล่ะ” และนั่นก็เป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
2 การมองพระยะโฮวาหมายถึงอะไร? และเมื่อมีปัญหาเราจะทำให้แน่ใจได้อย่างไรว่าเรายังมองพระองค์อยู่เสมอ? นานมาแล้วผู้เขียนคัมภีร์ไบเบิลคนหนึ่งบอกว่าถ้าเราต้องการความช่วยเหลือ มันสำคัญขนาดไหนที่เราต้องมองพระยะโฮวาและขอความช่วยเหลือจากพระองค์ (อ่านสดุดี 123:1-4) ผู้เขียนคัมภีร์ไบเบิลคนนี้บอกว่าเมื่อเรามองพระยะโฮวา เราก็เป็นเหมือนคนรับใช้ที่คอยมองดูนาย มันเป็นอย่างนั้นได้อย่างไร? คนรับใช้จะคอยมองดูหรือพึ่งนายของเขาเพื่อจะมีอาหารกินและได้รับการปกป้องจากนาย และ เขาต้องมองดูนายเสมอเพื่อจะรู้ว่านายอยากจะให้เขาทำอะไร แล้วเขาก็จะทำตามนั้น เหมือนกันเราต้องมองพระยะโฮวาโดยศึกษาคัมภีร์ไบเบิลทุกวันเพื่อจะรู้ว่าพระองค์อยากให้เราทำอะไร แล้วเราก็ต้องทำตามนั้น โดยวิธีนี้เท่านั้นที่พระยะโฮวาจะช่วยเมื่อเราต้องการความช่วยเหลือ—เอเฟซัส 5:17
3. อะไรอาจทำให้เราไขว้เขวจนไม่ได้มองพระยะโฮวา?
3 แม้จะรู้อยู่แล้วว่าเราต้องมองพระยะโฮวาเสมอ แต่บางครั้งเราก็อาจไขว้เขวได้ เรื่องนี้เคยเกิดขึ้นกับมาร์ธาเพื่อนสนิทของพระเยซูมาแล้ว เธอไขว้เขวเพราะ “ยุ่งอยู่กับงานหลายอย่าง” (ลูกา 10:40-42) ให้เราลองคิดดูว่าขนาดคนที่ซื่อสัตย์อย่างมาร์ธาก็ยังไขว้เขวได้ทั้ง ๆ ที่พระเยซูอยู่ตรงนั้นกับเธอ เราก็ไม่แปลกใจเลยถ้าเรื่องนี้อาจเกิดขึ้นกับเราเหมือนกัน ดังนั้น อะไรอาจทำให้เราไขว้เขวจนไม่ได้มองพระยะโฮวา? ในบทความนี้ เราจะดูว่าสิ่งที่คนอื่นทำอาจทำให้เราไขว้เขวได้อย่างไร? และเราจะมองพระยะโฮวาเสมอได้อย่างไร?
ผู้ชายที่ซื่อสัตย์เสียโอกาส
4. ทำไมเราอาจแปลกใจที่โมเสสเสียโอกาสที่จะได้เข้าแผ่นดินที่พระเจ้าสัญญา?
4 แน่นอนว่าโมเสสมองหรือพึ่งพระยะโฮวาเพื่อขอคำแนะนำ คัมภีร์ไบเบิลบอกว่า “เขายืนหยัดต่อไปเหมือนเห็นพระเจ้าที่มนุษย์มองไม่เห็น” (อ่านฮีบรู 11:24-27) และคัมภีร์ไบเบิลยังบอกด้วยว่า “ไม่เคยมีผู้พยากรณ์คนไหนในอิสราเอลที่เป็นเหมือนโมเสส พระยะโฮวาสนิทกับเขาเป็นพิเศษ” (เฉลยธรรมบัญญัติ 34:10) ถึงแม้โมเสสจะสนิทกับพระยะโฮวามากขนาดนั้นแต่เขาก็ยังเสียโอกาสที่จะเข้าแผ่นดินที่พระเจ้าสัญญา (กันดารวิถี 20:12) ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น?
5-7. หลังจากที่ชาวอิสราเอลออกจากอียิปต์ได้ไม่นานเกิดอะไรขึ้น? และโมเสสทำอย่างไร?
5 ไม่ถึงสองเดือนหลังจากที่ชาวอิสราเอลออกจากอียิปต์ และก่อนที่พวกเขาจะถึงภูเขาซีนายก็มีเรื่องวุ่นวายเกิดขึ้น ชาวอิสราเอลเริ่มบ่นโมเสสว่าไม่มีน้ำกินและพวกเขาก็โมโหมาก โมเสสเลยพูดกับพระยะโฮวาว่า “ผมจะทำยังไงดีกับคนพวกนี้? พวกเขาจะเอาหินขว้างผมอยู่แล้ว” (อพยพ 17:4) พระยะโฮวาให้คำแนะนำที่ชัดเจนกับโมเสส พระองค์บอกให้เขาเอาไม้เท้าตีหิน คัมภีร์ไบเบิลบอกว่า “โมเสสทำอย่างนั้นต่อหน้าพวกผู้นำของชาวอิสราเอล” ที่โฮเรบ แล้วก็มีน้ำออกมามากมายให้ชาวอิสราเอลกิน และปัญหาก็คลี่คลายลง—อพยพ 17:5, 6
6 คัมภีร์ไบเบิลบอกว่าโมเสสตั้งชื่อที่นั่นว่า “มัสสาห์” ซึ่งแปลว่า “ลองดี” และเมรีบาห์ซึ่งแปลว่า “ต่อว่า” ทำไมโมเสสตั้งชื่อแบบนี้? “เพราะชาวอิสราเอลมาต่อว่าโมเสสและลองดีกับพระยะโฮวาโดยพูดว่า ‘พระยะโฮวาอยู่กับพวกเราจริง ๆ หรือ?’”—อพยพ 17:7
7 พระยะโฮวาคิดอย่างไรกับความวุ่นวายที่เมรีบาห์? พระองค์คิดว่าชาวอิสราเอลไม่ได้แค่ขัดคำสั่งของโมเสสเท่านั้น แต่พวกเขากบฏและต่อต้านอำนาจของพระองค์ด้วย (อ่านสดุดี 95:8, 9) สิ่งที่พวกเขาทำมันผิดมาก แต่โมเสสทำสิ่งที่ถูกต้อง เขามองพระยะโฮวาและทำตามคำแนะนำทุกอย่างที่พระองค์ให้กับเขา
8. ตอนที่ชาวอิสราเอลเกือบจะได้เข้าแผ่นดินที่พระเจ้าสัญญามีอะไรเกิดขึ้น?
8 ผ่านไปอีก 40 ปีก็มีเรื่องวุ่นวายคล้ายกันเกิดขึ้นกับชาวอิสราเอลอีกครั้ง การเดินทางในที่กันดารของพวกเขาเกือบจะจบลงแล้ว พวกเขาหยุดอยู่ตรงที่แห่ง * เพราะอะไร? ชาวอิสราเอลบ่นเรื่องไม่มีน้ำกินอีกครั้ง (กันดารวิถี 20:1-5) แต่สิ่งที่ต่างกันก็คือ ครั้งนี้โมเสสทำผิดร้ายแรง
หนึ่งซึ่งใกล้กับคาเดชและใกล้ชายแดนของแผ่นดินที่พระเจ้าสัญญา ที่นั่นถูกเรียกว่าเมรีบาห์ด้วย9. พระยะโฮวาให้คำแนะนำอะไรกับโมเสส? แต่โมเสสทำอะไร? (ดูภาพแรก)
9 โมเสสทำอะไรตอนที่ชาวอิสราเอลกบฏ? เหมือนกับครั้งก่อนโมเสสมองพระยะโฮวาเพื่อขอคำแนะนำ แต่ครั้งนี้พระยะโฮวาไม่ได้บอกให้โมเสสตีหิน พระองค์บอกเขาให้เอาไม้เท้าไป พาประชาชนไปที่หิน แล้วให้เขาพูดกับหิน (กันดารวิถี 20:6-8) โมเสสทำตามที่พระยะโฮวาบอกไหม? ไม่เลย เขาโมโหประชาชนมากและพูดว่า “ฟังให้ดี ไอ้พวกกบฏ อยากให้พวกเราเอาน้ำออกจากหินนี้มากใช่ไหม?” และเขาไม่ได้ตีหินแค่ครั้งเดียว แต่ตีถึงสองครั้ง—กันดารวิถี 20:10, 11
10. พระยะโฮวาคิดอย่างไรกับสิ่งที่โมเสสทำ?
10 พระยะโฮวาโกรธโมเสสมาก (เฉลยธรรมบัญญัติ 1:37; 3:26) ทำไม? เหตุผลหนึ่งก็คือเพราะโมเสสไม่ได้ทำตามคำแนะนำใหม่ที่พระยะโฮวาให้กับเขา
11. ทำไมการที่โมเสสตีหินอาจทำให้ชาวอิสราเอลคิดว่าพระยะโฮวาไม่ได้ทำการอัศจรรย์?
11 นอกจากนั้นอาจมีอีกเหตุผลหนึ่ง หินที่เมรีบาห์ที่แรกเป็นหินแกรนิตแข็ง ต่อให้ตีหินนั้นแรงขนาดไหนก็คงไม่มีใครคิดว่าจะมีน้ำออกมาจากหินนั้นได้ แต่หินที่เมรีบาห์แห่งที่สองมันต่างออกไป หินที่นั่นส่วนใหญ่เป็นหินปูน หินชนิดนี้ไม่แข็งเท่ากับหินแกรนิต น้ำสามารถซึมเข้าไปได้ง่ายและทำให้ชั้นหินปูนสามารถอุ้มน้ำไว้ได้ ถ้าใครอยากได้น้ำก็แค่เจาะรูที่หินปูนนี้ น้ำก็จะไหลออกมา ดังนั้น พอโมเสสตีหินแทนที่จะพูดกับหินก็อาจทำให้ชาวอิสราเอลคิดว่าน้ำพวกนี้ไหลออกมาเอง ไม่ใช่การอัศจรรย์จากพระยะโฮวา * อย่างไรก็ตาม เราไม่รู้ว่ามันเป็นอย่างไรจริง ๆ
โมเสสขัดคำสั่งอย่างไร?
12. อะไรอาจเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้พระยะโฮวาโกรธโมเสสกับอาโรน?
12 อาจมีอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้พระยะโฮวาโกรธโมเสสกับอาโรนมาก โมเสสบอกกับประชาชนว่า “อยากให้พวกเราเอาน้ำออกจากหินนี้มากใช่ไหม?” การที่โมเสสใช้คำว่า “พวกเรา” เขาอาจหมายถึงตัวเขากับอาโรน สิ่งที่โมเสสทำไม่ได้ให้เกียรติพระยะโฮวาเพราะว่าทุกคนควรรู้ว่าการอัศจรรย์ที่เกิดขึ้นมาจากพระองค์ สดุดี 106:32, 33 บอกว่า “พวกเขายั่วให้พระองค์โมโหที่น้ำเมรีบาห์ โมเสสจึงเดือดร้อนเพราะพวกเขา พวกเขาทำให้โมเสสโมโห เขาจึงพูดออกมาโดยไม่คิด” * (กันดารวิถี 27:14) โมเสสไม่ได้ให้เกียรติพระยะโฮวาอย่างที่พระองค์สมควรได้รับ พระองค์บอกโมเสสกับอาโรนว่า “เจ้าทั้งสองขัดคำสั่งของเรา” (กันดารวิถี 20:24) เรื่องนี้เป็นบาปร้ายแรงจริง ๆ
13. ทำไมเราถึงบอกได้ว่าการที่พระยะโฮวาลงโทษโมเสสแบบนั้นเป็นเรื่องยุติธรรมและถูกต้อง?
13 พระยะโฮวาคาดหมายจากโมเสสกับอาโรนมากลูกา 12:48) ก่อนหน้านี้พระยะโฮวาไม่ให้ชาวอิสราเอลรุ่นหนึ่งเข้าแผ่นดินที่พระองค์สัญญาก็เพราะคนเหล่านั้นขัดคำสั่งของพระองค์ (กันดารวิถี 14:26-30, 34) ดังนั้น พอโมเสสขัดคำสั่งของพระองค์ มันก็เลยยุติธรรมและถูกต้องแล้วที่พระยะโฮวาจะลงโทษเขาในแบบเดียวกัน โมเสสไม่ได้เข้าแผ่นดินที่พระเจ้าสัญญาเหมือนกับชาวอิสราเอลคนอื่น ๆ ที่ไม่ได้เข้าแผ่นดินที่พระเจ้าสัญญา
กว่าคนอื่น ๆ ที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะพวกเขาเป็นผู้นำประชาชนของพระองค์ (สาเหตุของปัญหา
14, 15. อะไรทำให้โมเสสขัดคำสั่งของพระยะโฮวา?
14 อะไรทำให้โมเสสขัดคำสั่งของพระยะโฮวา? ให้เราลองดูที่สดุดี 106:32, 33 อีกครั้ง “พวกเขายั่วให้พระองค์โมโหที่น้ำเมรีบาห์ โมเสสจึงเดือดร้อนเพราะพวกเขา พวกเขาทำให้โมเสสโมโห เขาจึงพูดออกมาโดยไม่คิด” ดังนั้น แม้ชาวอิสราเอลขัดคำสั่งพระยะโฮวา แต่โมเสสกลับเป็นคนที่โมโหซะเอง เขาไม่ได้ควบคุมตัวเองแต่กลับพูดโดยไม่คิดถึงผลที่จะตามมาเลย
15 โมเสสไม่ได้มองพระยะโฮวาหรือพึ่งพระองค์ เขาปล่อยให้การกระทำของคนอื่นมาทำให้ตัวเองไขว้เขว เพราะครั้งแรกที่ชาวอิสราเอลบ่นเรื่องที่ไม่มีน้ำกิน โมเสสก็ยังทำสิ่งที่ถูกต้อง (อพยพ 7:6) แต่อาจเป็นเพราะเขาเหนื่อยและหงุดหงิดที่ต้องอยู่กับชาวอิสราเอลที่กบฏมาตลอดหลายปี มันเลยทำให้เขาเอาแต่คิดถึงความรู้สึกของตัวเอง แทนที่จะคิดว่าเขาจะยกย่องสรรเสริญพระยะโฮวาอย่างไร
16. ทำไมเราต้องคิดถึงสิ่งที่โมเสสทำ?
16 ถ้าผู้พยากรณ์ที่ซื่อสัตย์อย่างโมเสสยังไขว้เขวและทำผิดได้ มันก็อาจเกิดขึ้นกับเราได้ง่ายเหมือนกัน โมเสสเกือบจะได้เข้าแผ่นดินที่พระเจ้าสัญญาไว้อยู่แล้ว เราก็ใกล้จะได้เข้าโลกใหม่อยู่แล้วเหมือนกัน (2 เปโตร 3:13) เราคงไม่อยากเสียโอกาสนั้นแน่ ๆ ดังนั้น เพื่อที่เราจะได้เข้าโลกใหม่ เราต้องมองพระยะโฮวาและเชื่อฟังพระองค์เสมอ (1 ยอห์น 2:17) ให้เรามาดูกันว่าเราได้บทเรียนอะไรจากความผิดพลาดของโมเสส?
อย่าให้การกระทำของคนอื่น มาทำให้เราไขว้เขว
17. ถ้ามีใครทำให้เราโมโห เราจะยังคงควบคุมตัวเองไว้ได้อย่างไร?
17 ให้พยายามควบคุมตัวเองไว้ตอนที่มีคนทำให้โมโห บางทีเราอาจเจอกับปัญหาเดิม ๆ ครั้งแล้วครั้งเล่า แต่คัมภีร์ไบเบิลบอกว่า “ขอให้เราอย่าเลิกทำดี เพราะถ้าเราไม่ท้อในการทำดี เราจะเก็บเกี่ยวผลเมื่อถึงเวลา” (กาลาเทีย 6:9; 2 เธสะโลนิกา 3:13) ดังนั้น ถ้ามีบางอย่างหรือบางคนทำให้เราโมโหหลายครั้ง เราคิดก่อนพูดไหม? เราควบคุมอารมณ์ได้ไหม? (สุภาษิต 10:19; 17:27; มัทธิว 5:22) ตอนที่มีคนมายั่วโมโห เราต้องฝึกที่จะ “ปล่อยให้พระเจ้าแสดงความโกรธกับเขาดีกว่า” (อ่านโรม 12:17-21) นี่หมายถึงอะไร? แทนที่เราจะเป็นฝ่ายโมโหซะเอง เราจะอดทนรอให้พระยะโฮวาจัดการกับปัญหานั้นถ้าพระองค์เห็นว่าจำเป็น แต่ถ้าเราแก้แค้นเองก็หมายความว่าเราไม่พึ่งพระยะโฮวาและเราก็ไม่ได้ให้เกียรติพระองค์
18. เราต้องจำอะไรไว้ในเรื่องการทำตามคำแนะนำ?
18 ให้ทำตามคำแนะนำล่าสุดอย่างเคร่งครัด เมื่อพระยะโฮวาให้คำแนะนำล่าสุด เราทำตามอย่างฮีบรู 13:17) นอกจากนั้น เราต้องระวังที่จะไม่ทำ “เลยขอบเขตที่เขียนบอกไว้” (1 โครินธ์ 4:6) เมื่อเราทำตามคำแนะนำของพระยะโฮวาอย่างเคร่งครัด มันก็เหมือนกับว่าเรากำลังมองพระองค์
ซื่อสัตย์ไหม? ถ้าพระยะโฮวาให้คำแนะนำใหม่ ๆ กับเราผ่านทางองค์การของพระองค์ เราควรรีบทำตามคำแนะนำนั้น เราไม่ควรทำตามหรือยึดติดกับวิธีเดิม ๆ ที่เคยทำเพราะเราชินกับวิธีนั้น (19. เราจะไม่ให้ความผิดพลาดของคนอื่นมาทำลายความสัมพันธ์ของเรากับพระยะโฮวาได้อย่างไร?
19 อย่าให้ความผิดพลาดของคนอื่นทำลายความสัมพันธ์ของคุณกับพระยะโฮวา ถ้าเรามองพระยะโฮวาเสมอ เราจะไม่ทำลายความสัมพันธ์ของเรากับพระองค์และไม่โมโหในสิ่งที่คนอื่นทำ เรื่องนี้สำคัญมากโดยเฉพาะถ้าเรามีหน้าที่รับผิดชอบในองค์การของพระยะโฮวา ตัวอย่างของโมเสสเป็นบทเรียนสำหรับเรา แน่นอนว่าคริสเตียนทุกคนต้องพยายามอย่างมากและต้องเชื่อฟังพระองค์เพื่อจะรอด (ฟีลิปปี 2:12) แต่ยิ่งเรามีหน้าที่รับผิดชอบมาก พระยะโฮวาก็ยิ่งคาดหมายจากเรามาก (ลูกา 12:48) ถ้าเรารักพระยะโฮวาจริง ๆ มันก็ไม่มีอะไรที่จะทำให้เราล้มพลาดได้ และไม่มีอะไรขัดขวางความรักที่พระเจ้าแสดงต่อเราได้—สดุดี 119:165; โรม 8:37-39
20. เราควรตั้งใจทำอะไร?
20 เรามีชีวิตอยู่สมัยที่ยุ่งยากและมีแต่ปัญหา ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่เราจะมองพระยะโฮวาผู้ “นั่งบัลลังก์อยู่ในสวรรค์” และทำอย่างนั้นเสมอเพื่อจะเข้าใจว่าพระองค์อยากให้เราทำอะไร เราไม่ควรยอมให้การกระทำของคนอื่นมาทำลายความสัมพันธ์ของเรากับพระองค์ สิ่งที่เกิดขึ้นกับโมเสสสอนบทเรียนสำคัญว่า แทนที่เราจะมีปฏิกิริยามากเกินไปกับความผิดพลาดของคนอื่น เราต้อง “มองพระยะโฮวาพระเจ้าของพวกเรา จนกว่าพระองค์จะเมตตาพวกเรา”—สดุดี 123:1, 2
^ วรรค 8 เมรีบาห์แห่งที่สองนี้เป็นคนละที่กับเมรีบาห์แห่งแรกซึ่งอยู่ใกล้เรฟีดิมซึ่งมีอีกชื่อหนึ่งว่ามัสสาห์ เมรีบาห์ทั้งสองที่ถูกเรียกแบบนี้เพราะชาวอิสราเอลต่อว่าหรือบ่นเมื่ออยู่ที่นั่น—ดูแผนที่ในภาคผนวก ข3 ในคัมภีร์ไบเบิลฉบับแปลโลกใหม่
^ วรรค 11 ตามที่นักวิชาการด้านคัมภีร์ไบเบิลบอกไว้ แหล่งอ้างอิงของชาวยิวบอกว่า พวกกบฏอ้างว่าเหตุการณ์นั้นไม่ได้เป็นการอัศจรรย์เพราะโมเสสรู้อยู่แล้วว่าในหินนั้นมีน้ำ พวกเขาถึงกับอยากให้โมเสสตีหินอีกก้อนหนึ่งเพื่อทำการอัศจรรย์ให้พวกเขาดูอีกครั้ง แต่ถึงอย่างนั้น นี่ก็เป็นแค่เรื่องเล่าสืบต่อกันมา
^ วรรค 12 ดูหอสังเกตการณ์ 15 พฤศจิกายน 1987 “คำถามจากผู้อ่าน”